[CR] ปากีสถาน ชมซากุระ (ดอก Apricot) ธารน้ำแข็ง และภูเขาหิมะ แสนสวย

เกริ่นนิดนึงครับ อันนี้เป็นการรีวิวทริปไปปากีสถานช่วงซากุระ 7-17 เมษายน ปี 2561
เรามาชมที่ภาพตัวอย่างกันก่อน ถ้าชอบ อ่านต่อได้เลยครับ...








โปรแกรมท่องเที่ยว :
1. เดินทางจากประเทศไทย ด้วยสายการบินไทย สู่เมืองอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน
2. เดินทางออกจากกรุงอิสลามาบัด มุ่งหน้าสู่เมือง Gilgit ด้วยสายการบิน PIA (ถ้าเขาไม่เทเรา)
3. ถ้า PIA เทเรา เราก็จะนั่งรถไป Gilgit ผ่านเมือง Besham เนื่องจาก เส้นทาง Karakorum Highway ส่วนที่ผ่าน Babusar Pass นั้น จะถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้
4. จากเมือง Gilgit เรามีสถานที่ชมดอกไม้บานได้หลายแห่ง ทั้งเขต Ghizer, Hunza, Yasin Valley, Hoper Valley, Passu, Sost, Khunjerab Pass, ฯลฯ
5. เที่ยวนี้ เราไป Phander Valley, Hoper Valley, Hunza, Passu, ก่อนจะปิดท้ายด้วย Fairy Meadows แสนสวย

บริษัท: Pakistan Packages Tour
Web Site : https://pakistanpackagestour.com/
Facebook : https://www.facebook.com/pakistanpackagestour/
ไกด์ที่ไปกับผม ชื่อ Maqsood Alam ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทด้วย...

*** Internet *** ผมคิดว่าสำคัญสำหรับหลายๆ คนนะครับ... เนื่องจากนั่งรถค่อนข้างนาน และ สาธารณูปโภคพื้นฐาน ยังไม่ดีเท่าใหร่นัก... เน็ท ก็เช่นกัน
1. Sim จะซื้อของ Dtac ไปใช้ก็ได้ครับ ตัวซิมเที่ยวต่างประเทศ ใช้ได้ในบางพื้นที่ บางพื้นที่ก็บอด ไม่แน่ไม่นอน
2. Sim ของที่นั่น ก็มีขายครับ แจ้งกับไกด์ล่วงหน้าได้ครับ เขาอาจจะหาให้ได้
3. โรงแรมส่วนใหญ๋ จะมี Wifi ให้คุณได้ใช้ แต่จะคุยเป็น Video ได้หรือเปล่านี่ ไม่แน่ใจครับ... บางที่ก็ได้แค่ Line คุยกัน ส่งไฟล์รูป ผ่านบ้าง ไม่ผ่านบ้าง ต้องทำใจหน่อยนะครับ...
4. คำแนะนำของผม... ซื้อของ DTAC มาก็ใช้ได้ครับ... แล้วระหว่างทาง ระหว่างเที่ยว ไม่ต้องเปิดเน็ทหรอกครับ เราอาจจะไม่สามารถ Live สดให้ใครดูได้ อาจไม่สามารถส่งรูปไปให้ใครได้... แม้แต่ Wifi โรงแรม ก็อาจใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ครับ... Enjoy กับทิวทัศน์สวยๆ และตัดขาดจากโลกภายนอกบ้างครับ
5. บางท่านอยากจะ Check In สดๆ ใน Instagram อันนี้เห็นใจครับ... ลองหาทางกดย้อนหลังตอนถึงโรงแรมดูนะครับ... เอาใจช่วยครับ
6. ขา Live สด อันนี้ผมเห็นใจจริงๆ ที่ Facebook Live ของท่าน อาจจะไม่ได้ออกอากาศสดๆ ตรงจากสถานที่ได้ (ถ้าไม่มีสัญญาณเน็ท)

- ค่าทัวร์ เอาแบบอาหารครบ อยู่สบายๆ ก็ราวๆ 1,200 - 1,300 US$ อันนี้ไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบินนะครับ
- ค่าตั๋วเครื่องบิน ช่วง Prime Time มันก็แพงสิครับ ถ้าจองล่วงหน้า 6 เดือน ก็จะไม่แพงมาก ราวๆ 17,xxx บาท แต่ถ้าจองหลังปีใหม่ ก็ 20,000+ นะครับ... สำหรับโปรแกรมปีหน้า (62) ถ้าจองเดือน ก.ย. ก็ยังได้ราวๆ 17,xxx ครับ แต่เดือน ต.ค. ไปแล้ว นี่ 20,000+ แล้ววว ใช้เวลาบิน 4-5 ชั่วโมง ออกเดินทาง ประมาณ 19:00 น. ถึงที่อิสลามาบัด ประมาณ 5 ทุ่ม เวลาที่นั่นครับ (ที่ปากีสถาน จะช้ากว่าเมืองไทย 2 ชั่วโมงนะครับ)

ข้อมูลเพิ่มเติม ที่บางทัวร์ ก็ไม่ได้บอกคุณ เอาเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มก่อนนะครับ...

- ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เท่าที่ผมจำได้นะครับ ก็จะมี... เงินช็อปปิ้ง แล้วแต่ท่าน แต่ผมตีให้คร่าวๆ ที่ 200 US$ ค่าทิปไกด์ แล้วแต่ศรัทธา เด็กยกกระเป๋า จ่ายประมาณ 5 US$ / แขก 1 คน / วัน ติ๊ปคนขับรถ อันนี้ก็แล้วแต่ความเมตตาของลูกทัวร์ครับ (เรื่องช็อปปิ้ง ที่นั่นมีตลาดครับ ผลไม้แห้ง ขนม น้ำผลไม้สด ชา น้ำมันจากเมล็ด Apricot ชุดชาล็อต น้ำผึ้งป่า ซึ่งของเหล่านี้ ซื้อกลับไปใช้เอง หรือกลับไปเป็นของฝากได้ครับ)
- ค่าภาษีตั๋วเครื่องบินเพิ่ม เตรียมเงินรูปีไว้ราวๆ คนละไม่เกิน 10,000 รูปี สุดท้าย สำหรับจ่ายเงินค่าภาษีที่จะถูกเรียกเก็บ ณ Counter เช็คอิน ซึ่งคุณจะซื้อตั๋วมากี่บาทก็ช่างครับ ยังไงก็โดน... ออ แล้วก็... เงินที่เหลือ เอาไว้ซื้อชา กาแฟ ขนม นั่งกินก่อนขึ้นเครื่องด้วยนะครับ รอนาน ที่นั่งไม่ค่อยเยอะ... ซื้อของเขากินจะได้นั่งโต๊ะสบายๆ ครับ...

ค่าใช้จ่ายแล้ว ก็ต้องพูดเรื่องเงินด้วย ที่นั่น ใช้เงินรูปี ครับ แต่ ไม่ต้องตกใจนะครับ พก US$ ไป แล้วแลกซัก 100-200 US$ ที่สนามบิน ตอนรับกระเป๋าเสร็จแล้ว แลกได้ครับ หรือจะแลกกกับไกด์ก็ได้ แต่จะบอกว่า แลกที่สนามบินได้ ก็ดีครับ เรทดีกว่าแลกกับไกด์

มาถึงเรื่องกระเป๋าที่เราๆ ควรใช้บ้างครับ... เนื่องจากรถบัสไม่มีช่องเก็บของใต้รถ ข้างหลังก็ที่เล็กๆ ไม่พอหรอก... ดังนั้น กระเป๋าเราจะต้องถูกวางบน Rack ข้างบนครับ... ผมแนะนำเป็นกระเป๋าแข็งที่กันฝนได้ กับกระเป๋า Duffel ที่กันน้ำกันฝนได้ กระเป๋าเดินทางใบสี่เหลี่ยม ที่เป็นบุผ้า อย่าเอาไปครับ... สัมภาระเปียกมันจะไม่สนุกเลย แนะนำให้กันเหนียวด้วยการเตรียมเสื้อผ้าแบ่งใส่ถุงไว้ แล้วปิดให้สนิทครับ

เสื้อผ้าที่จะใช้ ก็ควรมีเสื้อผ้าทั้งสำหรับรับอากาศหนาว และอากาศสบายๆ ไว้ด้วย วันแรกๆ กับวันหลังๆ มันจะไม่หนาว แต่ช่วงที่เราขึ้นภูเขาสูงที่นั่น จะหนาวมากๆ โดยเฉพาะท่านที่จะขึ้น Fairy Meadows ก็เตรียมเผื่อไว้รับอากาศหนาวซัก -10 C ครับ ใช่ครับ มันหนาวมากๆ หนาวแบบน่าสะพรึง ออ ชุดนอน บางๆ เบาๆ พริ้วๆ นี่ เก็บไว้บ้านเลยครับ เอาที่อุ่นมากๆ ไว้ซัก 1-2 ชุด เพราะที่นั่น ไม่มี Heater ใช่ครับ ไม่มี Heater ในห้อง ผ้าห่มไฟฟ้า ก็ไม่ค่อยเห็น ถึงเขาจะมีผ้าห่มหนาๆ ให้คุณใช้ก็เถอะครับ... แต่ ชุดนอน ขอที่อุ่นๆ ไว้ ดีกว่าครับ... ผ้าปิดจมูก กันฝุ่น ที่นั่นฝุ่นเยอะมาก เตรียมไว้ได้เลยครับ ยิ่งตอนนั่งรถจี๊ปขึ้น Fairy Meadows ยิ่งต้องมีเลยครับ

เรื่องรองเท้า อยากให้เอารองเท้า Trek กับรองเท้าผ้าใบไปอย่างละคู่นะครับ จะได้ไม่เละมาก (ถ้าไปลุยมา)

ของใช้อื่นๆ ที่จำเป็น ถ้าเดิน Trek ด้วย ก็ต้องมีเป้ มีไม้ Trekking Pole เอาที่น้ำหนักเบาๆ ครับ ไฟฉาย ขวดน้ำ (เอาไว้ใส่น้ำไว้กินตอนเราเดินครับ ติดเป้ไว้ เวลาเดินขึ้นเขา คุณจะต้องใช้มัน) กล้องถ่ายรูป อาจจะมีขาตั้งกล้องไปด้วยก็ได้ครับ ถ้าคิดจะถ่ายดาว (ผมไม่ได้เอาไป เพราะของเยอะ เสียดายมาก) ยาประจำตัว ยาแก้แพ้ความสูง (เราก็ไม่รู้สิ ใครจะมีอาการบ้างเนอะ แต่ที่แน่ๆ ความสูงระดับ 3500 เมตร มีผลต่อระบบการหายใจของเราทุกคนแน่ๆ ครับ มันจะเหนื่อยง่าย) ปลอกแขน ผ้าบัฟกันแดด หมวก ถุงมือกันหนาว แว่นกันแดด ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสมครับ... ถุงเท้าหนาๆ เอาไว้ใส่นอน อีกเรื่อง Plug พวง เอาไปเถอะครับ แบบ 6 รูเลยก็ดี กล้อง มือถือ บางท่านมี Power bank notebook ฯลฯ จะได้มีพอใช้ครับ
ของกินกันบ้าง... แนะนำให้ติดน้ำพริก สำหรับคลุกกับข้าวกิน พวกน้ำจิ้มต่างๆ เช่นแจ่ว น้ำจิ้มซีฟู้ด ขนมต่างๆ ที่อยากกิน นมข้นหวาน แบบหลอด มันจะช่วยให้อาหารเช้าของท่าน อร่อย สะดวก ง่าย ขึ้นมากๆ ซื้อไปเถอะครับ มันดีจริงๆ ต่ออีกนิด ใครที่ติดกาแฟ แนะนำให้พกกาแฟส่วนตัวไปชงเองนะครับ... คนที่นั่น ดื่มชาร้อน ชานมร้อน ครับ ไม่มีกาแฟหรอก... หากินยากมาก จะซื้อดริปแบบซองไปก็ดีครับ สะดวกดีครับ

เพิ่มเติมเรื่องกล้อง ผมใช้ Fuji X-T2 เลนส์ มี 12mm f2 ยี่ห้อ Samyang, Fuji 23 f1.4, Fuji 56 f1.2

       เรามาเริ่มทริปกันเลยครับ จากสุวรรณภูมิ เราเดินทางด้วยเครื่องบินของสายการบินไทย ไปลงที่ท่าอากาศยาน Bennazir Bhutto ซึ่งเป็นสนามบินเก่า (หลังจากเดือน มิ.ย. 2561 ท่านจะได้บินไปลงท่าอากาศยานแห่งใหม่ ที่กว้างขวาง ใหญ่โต และสะดวกสบาย) จุดตรวจ Passport มีเพียง 4 ช่อง ทำให้เราต้องใช้เวลาร่วมๆ 2 ชั่วโมง ในการตรวจสอบหนังสือเดินทาง กว่าจะออกมาจากสนามบินได้ กว่าจะถึงโรงแรม ได้อาบน้ำ ก็ 1:30 น. เวลาที่ปากีสถานเลยครับ วันรุ่งขึ้นต้องออกเดินทางราวๆ 5:30 เอาล่ะสิ จะนอนทันมั้ยล่ะครับ? น่า... ทุกทัวร์ก็แบบนี้แหละ คืนพรุ่งนี้ค่อยนอนต่อก็ได้นะ... โรงแรมที่เรานอน ชื่อ Grace Crown Hotel Rawalpindi อยู่กลางเมืองเลยล่ะครับ... ตามประสาโรงแรมราคาไม่แพง ก็มีของให้พอควร สั่งน้ำ สั่งของกินได้ แต่จ่ายด้วยเงินรูปีนะครับ... ปล. น้ำเปล่า ทริปนี้ไกด์จะเอามาให้ครับ...
https://goo.gl/maps/1HJvrbBcsG62 อันนี้ Location ของโรงแรมนะครับ...
ผมกำลังรู้สึกว่า ถ้า PTDC เปิดโรงแรมที่สนามบินใหม่เลย เพื่อให้ผู้ที่จะเดินทางต่อในเช้าวันรุ่งขึ้นไม่ต้องต่อรถเข้าเมืองอีก น่าจะดีมากเลยครับ... คือ... กว่าจะถึงโรงแรมก็เที่ยงคืนกว่า ตีหนึ่งแล้ว โอยยย ผมง่วง ถ้าลงเครื่องแล้ว นอนแถวสนามบินได้เลย คงจะดีไม่น้อยครับ...

     วันที่ 2 ของการเดินทาง เราออกไปท่าอากาศยาน Bennazir Bhutto (ที่เดิม) เพื่อไปรอขึ้นเครื่องเดินทางไปเมือง Gilgit ที่อยากนั่งเครื่องบินไปนี่ เพราะการเดินทางจากเมือง Islamabad ไป Gilgit ใช้เวลาราวๆ 2 วัน ด้วยทางรถ นะครับ... ถ้านั่งเครื่องนี่ ชั่วโมงเดียวถึงครับ... แต่... เราถูกเทครับ เวลา 7:00 น. (เวลาเครื่องออก) เราได้รับแจ้งว่าไฟลท์ไปกิลกิตของเรา ถูกยกเลิก ครับ !!!! (ไม่นะ!!! แล้วทริปผมจะเป็นยังไงล่ะ?) แน่นอนครับ ไม่ต้องรอ ไม่ต้องคิดจะเปลี่ยนไฟลท์ให้เสียเวลาครับ ไกด์รีบจัดรถเดินทางไป Gilgit ต่อเลย... เอาล่ะสิ เมื่อต้องไปทางรถแทน ก็ได้นอนสมใจอยากแล้วล่ะครับ... นั่งรถ 280 กิโลเมตร ใช้เวลา 7-10 ชั่วโมง (ตัวแปรคือเมือง Abbottabad) ซึ่งรถติดมากๆ ในช่วง 10:00 - 14:00 น. และช่วงค่ำๆ ซึ่งเราผ่านเมือง Abbottabad ไปได้ราวๆ บ่ายโมงครับ... มื้อแรก แน่นอนเลย แกงกะหรี่ ครับ มีเนื้อ มีไก่ ให้เลือก กินกับแป้งจาปาตี และข้าวหมก (Biryani) อร่อยดีครับ (มื้อแรกๆ ก็ร่อยอยู่ครับ เค็มๆ รสจัด หอมเครื่องเทศ) เดี๋ยวมาต่อบันทึกวันที่ 2-10 กันครับ
ชื่อสินค้า:   ปากีสถาน ตอนเหนือ
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่