พุทธทาสฉีกพระไตรปิฎก มุมมองปัจเจกหรือส่วนรวม

พุทธทาสฉีกพระไตรปิฎก มุมมองปัจเจกหรือส่วนรวม

    พุทธทาสอ่านพระไตรปิฎกจบแล้ว บอกว่า ต้องมีการฉีกพระไตรปิฎก ๓๐-๖๐% ทิ้ง

    สิ่งเหล่านี้เราต้องดูก่อนว่า หลวงพ่อพุทธทาสตอนต้นของชีวิตท่านหรือเปล่า?

    ถ้าหลวงพ่อพุทธทาสประกาศว่าอันนี้เป็นความคิดปัจเจก อันนี้ว่าไม่ได้ เพราะว่าทุกคนมีความปัจเจกสามารถบอกได้ว่า ตรงนี้ดีหรือไม่ดี

    แต่ถ้าท่านประกาศว่า อันนี้ไม่ใช่ปัจเจก เป็นส่วนรวมหรือหลักวิชาการอะไรอย่างนี้ไม่ได้ ต้องมีคำว่า ปัจเจกลงได้ ถ้าท่านประกาศบอกว่าสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นความคิดเห็นปัจเจก ส่วนตน ไม่ผิด ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิดได้เหมือนกัน แต่ถ้าไม่ประกาศว่าเป็นปัจเจก อันนี้ผิด เป็นการอหังการ

    ถ้าพูดถึงในธรรม ถูกต้องแล้ว มีความหลากหลาย แต่ทีนี้ว่า บุคคลมีสิทธิ์ที่จะบอกว่าตรงนี้ใช่ ตรงนั้นไม่ใช่

    ถ้าเป็นผู้รู้ หรือนักปราชญ์ ก็เช่นเดียวกันว่า ถ้าเป็นปัจเจกก็สามารถบอกได้ แต่ถ้าไม่ใช่ปัจเจก ไม่ใช่ความคิดของตนเอง เป็นหลักวิชาการ ก็ต้องเอาความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ส่วนรวม ต้องเป็นองค์คณะ

    การที่เราจะเลือกเอาธรรมสิ่งใดก็ต้องอาศัยองค์คณะ เราลองไปศึกษาดูว่า สังคยนาครั้งที่ ๑ หรือหลายๆ ครั้งต่อมายังต้องมีพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป โดยมีพระมหากัสสปะ เป็นประธาน และทำหน้าที่ซักถามพระวินัยและพระธรรม ส่วนพระอุบาลี ผู้เลิศทางพระวินัย เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์ ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม ได้พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภกในการทำสังคายนา โดยสถานที่ทำปฐมสังคายนาคือ ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ กระทำทั้งสิ้น ๗ เดือนจึงสำเร็จ

    ทำไมเราถึงไม่ยึดเอา "ธรรม" เพราะว่าธรรมตรงนี้ไม่ตายตัว ธรรมเคลื่อน

    แล้วธรรมเคลื่อนได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เรามองคนๆ หนึ่ง ดูตรงๆ ใบหน้าสว่าง แต่ถ้าเขามองมาที่เรา เขาจะบอกว่าใบหน้าของเราหน้ามืด เราจะมาเถียงกันว่าสว่างอยู่ แต่เขาบอกว่ามืด ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราไปนั่งอยู่มุมมองไหน ฉะนั้น ต้องใช้องค์คณะ

    ธรรมนี้ก็ยังต้องใช้องค์คณะตรวจสอบ เพราะว่า ถ้าไม่ทำเช่นนี้ก็ต่างมุมมอง

    แล้วถ้าหากว่าองค์คณะมีมุมมองอคติล่ะ จะทำยังไง?

    ถ้าหากมีอคติก็คงไม่ไปทั้งหมด ถึงต้องมีองค์คณะ อย่างน้อยข้างในก็ต้องมี ๒๐ คนที่เห็นด้วย แต่อีก ๘ คนไม่เห็นด้วย มีอีกข้างหนึ่งให้เห็นอีกมุมหนึ่ง

    เราจะสังเกตว่า ตั้งแต่สังคายนามาจวบถึงปัจจุบันนี้ มีองค์คณะทั้งนั้น ไม่มีเดี่ยว ประธานต้องมี แต่ก็ต้องมีองค์คณะ

    อธิปไตย (dominant influence; supremacy) คือ ความเป็นใหญ่ ภาวะที่ถือเอาเป็นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความคิดเห็น หรือความเป็นไป สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มีดังนี้คือ

    ๑. อัตตาธิปไตย (supremacy of self; self-dependence) คือ ความมีตนเป็นใหญ่ ถือตนเป็นใหญ่

    ๒. โลกาธิปไตย (supremacy of the world or public opinion)  คือ ความมีโลกเป็นใหญ่ ถือโลกเป็นใหญ่

    ๓. ธัมมาธิปไตย (supremacy of the Dharma or righteousness) คือ ความมีธรรมเป็นใหญ่, ถือธรรมเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภความถูกต้อง เป็นจริง สมควรตามธรรม เป็นประมาณ

    ถ้าเราจะเอาธรรมาธิปไตย เราจะบอกว่าเราเป็น "องค์ธรรม" ไม่ได้ ถ้าสมมติว่าเราเป็นองค์ธรรมเมื่อไหร่เราก็จะเกิดอหังการเมื่อนั้น

    แล้วเราจะคิดยังไงว่า ให้ถือว่าเป็นธรรมาธิปไตย ธรรมาธิปไตยก็คือว่าเป็นหลักการ ที่เรายึดและปฏิบัติและทดสอบดูว่าใช่แล้ว เราก็ถือว่าเป็นหลักการ แต่ในหลักการนี้ยังอาจจะไม่สมบูรณ์ อย่าไปคิดว่าต้องสมบูรณ์เพราะเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ต้องมีองค์ประกอบ คิดง่ายๆ ทำไมถึงไม่มีทิศเดียว ทำไมต้องมีตั้ง ๔ ทิศ แยกไปอีก มีตั้ง ๘ ทิศ แยกไปอีก มี ๑๐ ทิศ แยกไปอีก ๖๔ ทิศ ฯลฯ ทิศนี้ก็เป็นแต่ละภูมิศาสตร์

    ยกตัวอย่าง สมมติว่า คนเขาอยู่ใกล้ทะเล เขาก็จะมีเทพเจ้าแห่งทะเล คนอยู่บนดอยก็จะมีเทพเจ้าแบบบนดอย ขุนเขา บนดอยก็คือธรรม ในทะเลก็คือธรรม

    ยกตัวอย่าง พระพุทธเจ้าตรัส อริยสัจ ๔ ออกมาให้กับประชาชน แล้วอริยสัจ ๔ สมบูรณ์หรือยัง?

    อริยสัจ ๔ ยังไม่สมบูรณ์

    ทำไมอริยสัจ ๔ ถึงยังไม่สมบูรณ์ ทั้งๆ ว่าเป็นสัจธรรม

    ถ้าอย่างนั้น ถ้าเราไม่ได้นับถือพระพุทธเจ้า เราจะบอกว่าใช่หรือเปล่า?

    ก็จะบอกว่าไม่ใช่ จะเถียงว่าไม่ใช่

    ถ้าเรานับถือคริสต์ก็จะบอกว่าธรรมคำสั่งสอนของคริสต์ดีที่สุด ถ้าเรานับถืออัลเลาะห์ เราก็จะบอกว่าอัลเลาะห์ดีที่สุด นี่เห็นไหม? ไม่มีทางที่จะไปให้เกิดความสมบูรณ์ทุกฝ่าย ที่เรียกว่าอย่างนั้น

    เพราะว่าเรานับถือพระพุทธเจ้าเราก็บอกว่าอริยสัจ ๔ เป็นคำสอนที่ดีที่สุด เป็นสัจธรรม แต่ถ้าเราไม่นับถือท่านเราก็ไม่เอา

    ก็เราบอกว่าหลักการของเราถูกต้อง แต่คนอื่นก็บอกว่าไม่ใช่

    ถ้าหากว่าเราอยู่คนละฝ่าย คนละข้าง ก็เปรียบเสมือนว่า เหมือนกับว่าเราอยู่กันคนละทิศใช่ไหม? สังเกตได้ว่าอัลเลาะห์ท่านจะอยู่ทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่ แต่ทางพระพุทธเจ้าไม่มี

    แล้วที่องค์ทะไลลามะ สามารถไหว้พระเจ้า องค์เทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของทุกศาสนาได้ล่ะ แสดงว่าจิตใจของท่านประกอบด้วยอะไร

    เพราะว่าองค์ทะไลลามะ (達賴喇嘛) เป็นองค์ที่ ๑๔ ชื่อ เทนซิน เกียตโซ (Tenzin Gyatso) เข้าสู่ธรรม ถ้าเข้าสู่ธรรมก็จะเกิดกว้างทุกด้าน เวลานี้องค์ทะไลลามะไม่ได้ถือท่านเป็นพุทธ แต่เป็นของธรรม ของโลก เราจะสังเกตได้ว่า คำสอนของท่านหลังจากปัจจุบันย้อนกลับไปกว่า ๒๐ ปี สิ่งที่พูดกับเวลานี้พูดไม่เหมือนกัน

    และหลวงพ่อพุทธทาสก็เช่นเดียวกัน พอท่านแก่ตัวลง อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านหันมาศึกษาหลักคำสอนพระพุทธศาสนามหายาน ของเว่ยหล่าง พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ (六祖壇經) ฮวงโป (ตวนชิ) นิกายเซน (禅) พระพุทธศาสนาของธิเบต รับมาศึกษา และพุทธ คริสต์ อิสลามก็สามารถเข้าหาท่านได้ ทีแรกพุทธทาสท่านเป็นพุทธทาส ต่อไปท่านเป็นธรรมทาส เพราะว่าภูมิท่านสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้วว่า ท่านไม่ใช่แค่พุทธแล้ว ต้องมีธรรม แรกๆ ท่านไม่เอาท่านเอาเป็นพุทธทาส หากว่าเราดูหนังสือพุทธทาสจะเป็น ๓ ตอน ตอนแรกๆ เป็นพุทธจ๋า พอตอนที่ ๒ เริ่มเปลี่ยนแปลง ตอนขั้นที่ ๓ หลวงพ่อท่านพุทธทาสท่านยอมรับเลย แต่เสียดายท่านพุทธทาสอายุมากแล้ว แต่ถ้าหากว่าอยู่อีก ๕๐ ปี พุทธทาสตรงนั้นจะสรุปสมบูรณ์มากเลย คนที่เป็นลูกศิษย์ของท่านจะโอเคมากเลย จะไม่เป็นด้านเดียว ตอนนี้ยังหนักข้างไปหมด

    แต่ทำไมภาวะธรรมจึงเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าภาวะธรรมเป็นเช่นนี้ต้องเริ่มจากปฐม มัธยม แล้วไปถึงมหาวิทยาลัย นี่แหละทำไมพระพุทธเจ้าจึงต้องบำเพ็ญ ๕๐๐ ชาติ แต่ละชาติก็สืบเนื่องๆ ต่อกันไปเรื่อย ศึกษาต่อไป

    สมมติว่า พุทธทาสท่านมีจิตใจตั้งปณิธาน เวลาพุทธทาสเกิดก็ศึกษาเรียนรู้ต่อเนื่อง มาสืบสานต่อ ถ้าคนทั่วไปก็ไม่รู้

    เหมือนกับผู้รู้บางท่านก็มาสานต่อ



ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่