บทวิจารณ์หัวข้อ "ดราม่า : นิธิ เอียวศรีวงศ์"
คำว่า ดราม่า จะดูเป็นคำที่นิยมใช้ในบ้านเมืองเรา โดยเฉพาะสังคมโซเชียลมีเดีย ที่ใช้คำนี้อย่างแพร่หลาย ซื่งคนไทยส่วนใหญ่ที่เล่นโซเชียลมีเดียใช้คำนี้เป็นจำนวนมากโดยไม่รู้ความหมายจริง ๆ ของคำ หากแปลความคำนี้ตรง ๆ ในแง่ของการอ้างอิงดราม่าจะมีความหมายดังนี้
จากพจนาณุกรรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัยให้ความหมายไว้ว่า ดราม่าเป็นวิวาทะเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างบุคคลสองบุคคลขึ้นไป ซึ่งมีการตอบโต้กันไปมาจนกลายเป็นความขัดแย้ง แล้วมีผู้สนใจเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนมากจนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่อาจกินเวลาเพียงชั่วข้ามคืนแล้วก็เงียบหายไปเองหรืออาจขยายวงกว้างจนก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อร้อยเรียงเหตุการณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และวิวาทะต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นเรื่องราวที่สามารถนำไปเขียนเป็นนิยายหรือสร้างเป็นละครได้
ในมุมมองของคุณนิธิได้แทนคำว่า ดราม่าในการสื่อสารทางสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมทบทวนคุณค่าบางอย่างรวมกัน โดยไม่ได้ล้มล้างคุณค่าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกไป จริงอยู่ของเรื่องที่ใช่คำว่า “ดราม่า” ไม่ใช่แค่เป็นการจัดฉากในสังคมสมัยนี้ ซึ่งมันได้รวมไปถึงการตีความไปในเรื่องต่าง ๆ ที่มากระทบความรู้สึก เศร้าเกินไป เครียดเกินไป หรือเลวร้ายเกินไปในทำนองนี้
บางเรื่องหาคุณค่าจากสื่อ (สาร)ไม่ได้เลย ตีความกันไปเองว่าเป็นอย่างนู้นอย่างนี้ คนไทยสมัยนี้มักมองเรื่องดราม่าบางเรื่องเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น แตกต่างจากเมื่อก่อนที่พอเกิดขึ้นดราม่าทีก็เป็นที่จดจำ และให้ความสนใจ จากที่เคยสื่อสารผ่าน (โทรทัศน์) ตอนนี้อะไร ๆ ก็ผ่านโซเชียลมีเดียรวดเร็วขึ้น รับข่าวสารง่ายขึ้นไตรตรองน้อยลง ในส่วนของเรื่องดราม่า เด็กติดถ้ำที่เชียงราย เหตุการณ์นี้เป็นที่กล่าวถึงมากและมีผู้คนสนใจ และ กระตือรือร้นมาก ๆ และเป็นหัวข้อดราม่ามากมาย รวมไปถึงความเป็นปึกแผ่นด้วย สังคมไทยกำลังขาดแคลนที่สุดในเรื่องนี้ รวมไปถึงเด็กที่ติดถ้ำเป็น "คนชายขอบ" ที่อยู่ในระดับชายแดนเลยก็ว่าได้ แต่กำลังถูกให้ก้าวเข้าสู่ "ความเป็นไทย" แล้ว เพราะเด็ก ๆ มีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ที่มักสามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคมได้นั้นเอง จึงทำให้ทุกภาคส่วนต่างก็ทุ่มเทกำลังทั้งหมดที่มีร่วมระดมกำลังจากมิตรประเทศที่สามารถจะทำได้เพื่อช่วยทั้ง 13 ชีวิต ให้รอด โดยไม่สนใจสถานะทางเศรษฐกิจ-สังคม หรือการเมืองของคนเหล่านี้เลย ดราม่านี้ยังแฝงแก่นเรื่องไว้ให้ได้คิดด้วย เพราะคนไทยสมัยนี้ขาดความเป็นปึกแผ่นมากกว่าเมื่อก่อนและยังมีเรื่องของ "ไสยศาสตร์" เข้ามาเกี่ยวข้องของหัวข้อดราม่านี้อีกที่ว่า เจ้าแม่เขานางนอนกักเด็ก ๆ เอาไว้ เพราะถ้ำยี้เคยมีตำนาน จึงทำให้เกิดพิธีกรรม รวมทั้งเชิญ "ครูบา" มาจัดพิธีหน้าถ้ำอีกด้วย
ดราม่าจึงถูกยกให้เป็นการสื่อสารทางสังคมชั้นดีที่สื่อทั้งสารหลักที่อยากสื่อ และสารรองที่บางครั้งก็ไม่อยากให้สื่อ แต่ก็ถูกสื่อสารออกไปจนในที่สุด จนเกิดดราม่ามากมายจนเลือกสรรที่จะเสพข่าวไม่ถูกกันเลยทีเดียว
บทความมาจาก
https://www.matichonweekly.com/column/article_118529
( วิจารณ์บทความ ดราม่า ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ผู้จัดทำ
1. น.ส.อนงค์นาถ ทับทิมทอง
2. น.ส. วิไลวรรณ บุตรงาม
3. น.ส.บุษกร อัมพวัน
การวิจารณ์ครั้งนี้มาจากรายวิชา ศิลป์วิจารณ์ สาขาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.)
คุณคิดว่า คำว่า "ดราม่า" ให้ความหมายแบบไหน?
คำว่า ดราม่า จะดูเป็นคำที่นิยมใช้ในบ้านเมืองเรา โดยเฉพาะสังคมโซเชียลมีเดีย ที่ใช้คำนี้อย่างแพร่หลาย ซื่งคนไทยส่วนใหญ่ที่เล่นโซเชียลมีเดียใช้คำนี้เป็นจำนวนมากโดยไม่รู้ความหมายจริง ๆ ของคำ หากแปลความคำนี้ตรง ๆ ในแง่ของการอ้างอิงดราม่าจะมีความหมายดังนี้
จากพจนาณุกรรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัยให้ความหมายไว้ว่า ดราม่าเป็นวิวาทะเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างบุคคลสองบุคคลขึ้นไป ซึ่งมีการตอบโต้กันไปมาจนกลายเป็นความขัดแย้ง แล้วมีผู้สนใจเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนมากจนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่อาจกินเวลาเพียงชั่วข้ามคืนแล้วก็เงียบหายไปเองหรืออาจขยายวงกว้างจนก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อร้อยเรียงเหตุการณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และวิวาทะต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นเรื่องราวที่สามารถนำไปเขียนเป็นนิยายหรือสร้างเป็นละครได้
ในมุมมองของคุณนิธิได้แทนคำว่า ดราม่าในการสื่อสารทางสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมทบทวนคุณค่าบางอย่างรวมกัน โดยไม่ได้ล้มล้างคุณค่าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกไป จริงอยู่ของเรื่องที่ใช่คำว่า “ดราม่า” ไม่ใช่แค่เป็นการจัดฉากในสังคมสมัยนี้ ซึ่งมันได้รวมไปถึงการตีความไปในเรื่องต่าง ๆ ที่มากระทบความรู้สึก เศร้าเกินไป เครียดเกินไป หรือเลวร้ายเกินไปในทำนองนี้
บางเรื่องหาคุณค่าจากสื่อ (สาร)ไม่ได้เลย ตีความกันไปเองว่าเป็นอย่างนู้นอย่างนี้ คนไทยสมัยนี้มักมองเรื่องดราม่าบางเรื่องเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น แตกต่างจากเมื่อก่อนที่พอเกิดขึ้นดราม่าทีก็เป็นที่จดจำ และให้ความสนใจ จากที่เคยสื่อสารผ่าน (โทรทัศน์) ตอนนี้อะไร ๆ ก็ผ่านโซเชียลมีเดียรวดเร็วขึ้น รับข่าวสารง่ายขึ้นไตรตรองน้อยลง ในส่วนของเรื่องดราม่า เด็กติดถ้ำที่เชียงราย เหตุการณ์นี้เป็นที่กล่าวถึงมากและมีผู้คนสนใจ และ กระตือรือร้นมาก ๆ และเป็นหัวข้อดราม่ามากมาย รวมไปถึงความเป็นปึกแผ่นด้วย สังคมไทยกำลังขาดแคลนที่สุดในเรื่องนี้ รวมไปถึงเด็กที่ติดถ้ำเป็น "คนชายขอบ" ที่อยู่ในระดับชายแดนเลยก็ว่าได้ แต่กำลังถูกให้ก้าวเข้าสู่ "ความเป็นไทย" แล้ว เพราะเด็ก ๆ มีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ที่มักสามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคมได้นั้นเอง จึงทำให้ทุกภาคส่วนต่างก็ทุ่มเทกำลังทั้งหมดที่มีร่วมระดมกำลังจากมิตรประเทศที่สามารถจะทำได้เพื่อช่วยทั้ง 13 ชีวิต ให้รอด โดยไม่สนใจสถานะทางเศรษฐกิจ-สังคม หรือการเมืองของคนเหล่านี้เลย ดราม่านี้ยังแฝงแก่นเรื่องไว้ให้ได้คิดด้วย เพราะคนไทยสมัยนี้ขาดความเป็นปึกแผ่นมากกว่าเมื่อก่อนและยังมีเรื่องของ "ไสยศาสตร์" เข้ามาเกี่ยวข้องของหัวข้อดราม่านี้อีกที่ว่า เจ้าแม่เขานางนอนกักเด็ก ๆ เอาไว้ เพราะถ้ำยี้เคยมีตำนาน จึงทำให้เกิดพิธีกรรม รวมทั้งเชิญ "ครูบา" มาจัดพิธีหน้าถ้ำอีกด้วย
ดราม่าจึงถูกยกให้เป็นการสื่อสารทางสังคมชั้นดีที่สื่อทั้งสารหลักที่อยากสื่อ และสารรองที่บางครั้งก็ไม่อยากให้สื่อ แต่ก็ถูกสื่อสารออกไปจนในที่สุด จนเกิดดราม่ามากมายจนเลือกสรรที่จะเสพข่าวไม่ถูกกันเลยทีเดียว
บทความมาจาก
https://www.matichonweekly.com/column/article_118529
( วิจารณ์บทความ ดราม่า ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ผู้จัดทำ
1. น.ส.อนงค์นาถ ทับทิมทอง
2. น.ส. วิไลวรรณ บุตรงาม
3. น.ส.บุษกร อัมพวัน
การวิจารณ์ครั้งนี้มาจากรายวิชา ศิลป์วิจารณ์ สาขาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.)