ผนึกกำลังลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ วัยรุ่นไทยอายุ 10 -19 ปี คลอดลูกปีละ 8.4 หมื่นคน
Sun, 2018-09-30 09:37 -- hfocus
ภาครัฐ-เอกชนผนึกกำลังลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ พบวัยรุ่นไทยอายุ 10 ถึง 19 ปี คลอดลูกปีละ 8.4 หมื่นคน[1] ดีเดย์ในวันที่ 26 กันยายน วันคุมกำเนิดโลก 2018 ขับเคลื่อนร่วมกับนานาชาติ แนะผู้ปกครองเปิดใจคุยเรื่องเพศกับลูกหวังรู้เท่าทันก็สามารถป้องกันได้ สถิติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า มีสตรีตั้งครรภ์โดยขาดความรู้คุมกำเนิดที่ถูกต้องถึง 33 ล้านคน ทั่วโลก[2]
กรุงเทพฯ - วันที่ 26 กันยายน 2561 องค์กรภาคีในประเทศไทยรณรงค์ “วันคุมกำเนิดโลก 2018” (World Contraception Day 2018) ร่วมกับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมนโยบายการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และแก้ปัญหาท้องก่อนวัย โดยมีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ร่วมให้การสนับสนุน
นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงวันคุมกำเนิดโลก 2018 ว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สภาพสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และการท้องในวัยรุ่นของหญิงมีแนวโน้มสูงขึ้น อายุต่ำสุดที่พบคือ 10 ปี จากการมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นและในช่วงอายุที่น้อยลง เป็นปัญหาสังคมและสุขภาพที่ทุกฝ่ายจำเป็นต้องให้ความรู้ที่ถูกต้อง และการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี พร้อมรณรงค์ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบในเรื่องนี้
โดยจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2560 พบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงอายุ 10-19 ปี คลอดบุตรรวมทั้งสิ้น 84,578 คน หรือเฉลี่ย 232 คนต่อวัน การคลอดซ้ำในกลุ่มอายุนี้ 9,092 คน หรือร้อยละ 10.7 ขณะที่วัยรุ่นอายุ 10-14 ปี คลอดบุตร 2,559 คน หรือประมาณวันละ 7 คน
“ในจำนวนผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี เราพบว่ามีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์อายุน้อยแนวโน้มสูงขึ้น เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงปัญหาทางสังคมที่จะตามมา เช่น การเรียน การทำแท้งที่ผิดกฎหมาย การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การหย่าร้างและขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงดูลูก ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข”
ปัจจุบัน พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 เริ่มบังคับใช้เมื่อ 29 กรกฎาคม 2559 กำหนดให้โรงพยาบาล หรือสถานบริการ ต้องช่วยเหลือให้คำปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์กับวัยรุ่นอายุ 10-20 ปี และวัยรุ่นสามารถขอรับบริการคุมกำเนิดทุกวิธี และการใช้ยาฝังคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรชนิด 3 ปี และ 5 ปี รวมทั้งห่วงอนามัยได้ฟรี ขณะเดียวกัน กรมอนามัยยังจัดโครงการ “Young Love รักเป็น ปลอดภัย” มีบุคลากรทางการแพทย์ร่วมให้ความรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงงานต่างๆ
“สิ่งสำคัญของการคุมกำเนิด คือต้องเป็นการรับผิดชอบของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ฝ่ายชายควรใช้ถุงยางอนามัย ควบคู่กับฝ่ายหญิงในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดหรือวิธีการคุมกำเนิดต่างๆ เพราะนอกจากจะป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ด้วย”
รศ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สูติ-นรีเวชศาสตร์ อนามัยเจริญพันธุ์และงานวางแผนครอบครัว กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารอย่างอิสระของกลุ่มวัยรุ่น และนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องเพศที่อาจไม่ถูกต้องและไม่ได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง ดังนั้นครอบครัว รวมถึงสถาบันการศึกษา จึงควรเป็นที่ปรึกษาที่สำคัญให้แก่วัยรุ่น เราควรส่งเสริมพ่อแม่ให้เปิดใจพูดคุยกับลูกหลานอย่างมีทักษะและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
“การให้ความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษาและการคุมกำเนิดต้องเริ่มตั้งแต่ในบ้านระดับครอบครัวเป็นกุญแจและเสาหลักที่สำคัญ รวมถึงครูและเพื่อนต้องคอยเป็นที่ปรึกษาให้พวกเขา ก็จะเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชนได้”
รศ.นพ.มานพชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การคุมกำเนิดมีทางเลือกหลายวิธี ทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงและสะดวกสำหรับสตรีคือการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด นอกจากนี้ยาเม็ดคุมกำเนิดยังมีประสิทธิภาพในเรื่องของการรักษาสิว ผิวหน้ามัน ที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่มากเกิน การลดภาวะแปรปรวนทางจิตใจและอารมณ์ในช่วงก่อนหรือขณะมีรอบเดือน รักษาอาการปวดประจำเดือน ช่วยควบคุมรอบเดือน รวมถึงการช่วยลดอุบัติการณ์ของมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก นอกจากนี้จากการวิจัยและพัฒนาการของยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมบางชนิดยังสามารถลดผลข้างเคียง ไม่ทำให้เกิดการบวม อ้วน หรือน้ำหนักเพิ่มที่เกิดเนื่องจากการคั่งของน้ำในร่างกายได้อีกด้วย
ด้าน นางสาวณปภา ตันตระกูล (แพท) ดาราชื่อดังร่วมรณรงค์ในเรื่องนี้โดยระบุว่า ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันและโซเชียลมีเดียจำนวนมากที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ดังนั้นการรู้เท่าทันข้อมูลในยุค 4.0 เป็นสิ่งสำคัญจะช่วยป้องกันปัญหาท้องก่อนวัยได้ และหากวัยรุ่นเกิดปัญหาชีวิตก็อยากให้พวกเขายังมีสิทธิเรื่องการศึกษาต่อไปเพื่ออนาคตที่ดี
นายริอาซ บัคช ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจยา บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ในฐานะผู้นำธุรกิจฟาร์มาซูติคอลและส่งเสริมสุขภาพผู้หญิง กล่าวว่า ไบเออร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์เรื่องการคุมกำเนิดทั่วโลก ดังนั้นเนื่องในโอกาส วันคุมกำเนิดโลก 2561 หรือ World Contraception Day 2018 บริษัทไบเออร์ร่วมกับ 15 ภาคีเครือข่ายทั่วโลกจัดกิจกรรมรณรงค์โครงการ Young Life ภายใต้แนวคิด “It’s Your Life, It’s Your Future”
โครงการ Young Life ดำเนินกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ www.your-life.com ได้เปิดเผยข้อมูลระบุว่า ในปี 2555 มีจำนวนสตรีตั้งครรภ์ 213 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้ 85 ล้านคน เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และพบว่า 33 ล้านคน เกิดจากการคุมกำเนิดอย่างไม่ถูกวิธี[3]
“สำหรับประเทศไทย เนื่องในวันคุมกำเนิดโลกปี 2561 นี้ ได้มีการจัดทำ คลิปวิดีโอออนไลน์สื่อสารความรู้เรื่องการคุมกำเนิด โดยมี คุณแพท ณปภา ตันตระกูล เป็นพิธีกร สัมภาษณ์พิเศษ นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง และ รศ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ เพื่อให้ความรู้และรณรงค์ เรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง และป้องกันปัญหาการท้องก่อนวัย ซึ่งแนวทางที่เกิดขึ้นจะมีผลดีต่ออนาคตของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหญิง ที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มากที่สุด โดยจะเผยแพร่คลิปวิดิโอนี้ผ่านทาง Facebook Young Love” นายริอาซ กล่าว
ผู้ที่สนใจสามารถรับชมและติดตามวิดีโอรายการพิเศษนี้ได้ ที่
https://th-th.facebook.com/younglovethailand/
Fullvesion : วันคุมกำเนิดโลก
https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/914216872110709/
Ep.1 คิดให้ดีก่อนทำ
https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/421127731747728/
Ep.2 เรื่องเซ็กส์ คุยกันได้
https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/747355635607236/
Ep.3 เมื่อไม่พร้อม ต้องรับมือ
https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/463958300762763/
Ep.4 เสริมสร้างทักษะชีวิต
https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/2129966890554480/
[1]ข้อมูลการสำรวจปี 2560 จาก สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
[2]WHO, Unsafe Abortion—Global and Regional Estimates of the Incidence of Unsafe Abortion and Associated Mortality in 2008, 6th ed, 2011
[3] Sedgh G. et al. Intended and unintended pregnancies worldwide in 2012 and recent trends. Stud Fam Plann 2014; 45: 301-314, URL:
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4727534/ [24/05/2018]
https://www.hfocus.org/content/2018/09/16403
ผนึกกำลังลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ วัยรุ่นไทยอายุ 10 -19 ปี คลอดลูกปีละ 8.4 หมื่นคน
Sun, 2018-09-30 09:37 -- hfocus
ภาครัฐ-เอกชนผนึกกำลังลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ พบวัยรุ่นไทยอายุ 10 ถึง 19 ปี คลอดลูกปีละ 8.4 หมื่นคน[1] ดีเดย์ในวันที่ 26 กันยายน วันคุมกำเนิดโลก 2018 ขับเคลื่อนร่วมกับนานาชาติ แนะผู้ปกครองเปิดใจคุยเรื่องเพศกับลูกหวังรู้เท่าทันก็สามารถป้องกันได้ สถิติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า มีสตรีตั้งครรภ์โดยขาดความรู้คุมกำเนิดที่ถูกต้องถึง 33 ล้านคน ทั่วโลก[2]
กรุงเทพฯ - วันที่ 26 กันยายน 2561 องค์กรภาคีในประเทศไทยรณรงค์ “วันคุมกำเนิดโลก 2018” (World Contraception Day 2018) ร่วมกับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมนโยบายการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และแก้ปัญหาท้องก่อนวัย โดยมีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ร่วมให้การสนับสนุน
นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงวันคุมกำเนิดโลก 2018 ว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สภาพสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และการท้องในวัยรุ่นของหญิงมีแนวโน้มสูงขึ้น อายุต่ำสุดที่พบคือ 10 ปี จากการมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นและในช่วงอายุที่น้อยลง เป็นปัญหาสังคมและสุขภาพที่ทุกฝ่ายจำเป็นต้องให้ความรู้ที่ถูกต้อง และการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี พร้อมรณรงค์ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบในเรื่องนี้
โดยจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2560 พบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงอายุ 10-19 ปี คลอดบุตรรวมทั้งสิ้น 84,578 คน หรือเฉลี่ย 232 คนต่อวัน การคลอดซ้ำในกลุ่มอายุนี้ 9,092 คน หรือร้อยละ 10.7 ขณะที่วัยรุ่นอายุ 10-14 ปี คลอดบุตร 2,559 คน หรือประมาณวันละ 7 คน
“ในจำนวนผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี เราพบว่ามีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์อายุน้อยแนวโน้มสูงขึ้น เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงปัญหาทางสังคมที่จะตามมา เช่น การเรียน การทำแท้งที่ผิดกฎหมาย การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การหย่าร้างและขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงดูลูก ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข”
ปัจจุบัน พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 เริ่มบังคับใช้เมื่อ 29 กรกฎาคม 2559 กำหนดให้โรงพยาบาล หรือสถานบริการ ต้องช่วยเหลือให้คำปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์กับวัยรุ่นอายุ 10-20 ปี และวัยรุ่นสามารถขอรับบริการคุมกำเนิดทุกวิธี และการใช้ยาฝังคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรชนิด 3 ปี และ 5 ปี รวมทั้งห่วงอนามัยได้ฟรี ขณะเดียวกัน กรมอนามัยยังจัดโครงการ “Young Love รักเป็น ปลอดภัย” มีบุคลากรทางการแพทย์ร่วมให้ความรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงงานต่างๆ
“สิ่งสำคัญของการคุมกำเนิด คือต้องเป็นการรับผิดชอบของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ฝ่ายชายควรใช้ถุงยางอนามัย ควบคู่กับฝ่ายหญิงในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดหรือวิธีการคุมกำเนิดต่างๆ เพราะนอกจากจะป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ด้วย”
รศ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สูติ-นรีเวชศาสตร์ อนามัยเจริญพันธุ์และงานวางแผนครอบครัว กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารอย่างอิสระของกลุ่มวัยรุ่น และนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องเพศที่อาจไม่ถูกต้องและไม่ได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง ดังนั้นครอบครัว รวมถึงสถาบันการศึกษา จึงควรเป็นที่ปรึกษาที่สำคัญให้แก่วัยรุ่น เราควรส่งเสริมพ่อแม่ให้เปิดใจพูดคุยกับลูกหลานอย่างมีทักษะและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
“การให้ความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษาและการคุมกำเนิดต้องเริ่มตั้งแต่ในบ้านระดับครอบครัวเป็นกุญแจและเสาหลักที่สำคัญ รวมถึงครูและเพื่อนต้องคอยเป็นที่ปรึกษาให้พวกเขา ก็จะเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชนได้”
รศ.นพ.มานพชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การคุมกำเนิดมีทางเลือกหลายวิธี ทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงและสะดวกสำหรับสตรีคือการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด นอกจากนี้ยาเม็ดคุมกำเนิดยังมีประสิทธิภาพในเรื่องของการรักษาสิว ผิวหน้ามัน ที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่มากเกิน การลดภาวะแปรปรวนทางจิตใจและอารมณ์ในช่วงก่อนหรือขณะมีรอบเดือน รักษาอาการปวดประจำเดือน ช่วยควบคุมรอบเดือน รวมถึงการช่วยลดอุบัติการณ์ของมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก นอกจากนี้จากการวิจัยและพัฒนาการของยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมบางชนิดยังสามารถลดผลข้างเคียง ไม่ทำให้เกิดการบวม อ้วน หรือน้ำหนักเพิ่มที่เกิดเนื่องจากการคั่งของน้ำในร่างกายได้อีกด้วย
ด้าน นางสาวณปภา ตันตระกูล (แพท) ดาราชื่อดังร่วมรณรงค์ในเรื่องนี้โดยระบุว่า ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันและโซเชียลมีเดียจำนวนมากที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ดังนั้นการรู้เท่าทันข้อมูลในยุค 4.0 เป็นสิ่งสำคัญจะช่วยป้องกันปัญหาท้องก่อนวัยได้ และหากวัยรุ่นเกิดปัญหาชีวิตก็อยากให้พวกเขายังมีสิทธิเรื่องการศึกษาต่อไปเพื่ออนาคตที่ดี
นายริอาซ บัคช ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจยา บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ในฐานะผู้นำธุรกิจฟาร์มาซูติคอลและส่งเสริมสุขภาพผู้หญิง กล่าวว่า ไบเออร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์เรื่องการคุมกำเนิดทั่วโลก ดังนั้นเนื่องในโอกาส วันคุมกำเนิดโลก 2561 หรือ World Contraception Day 2018 บริษัทไบเออร์ร่วมกับ 15 ภาคีเครือข่ายทั่วโลกจัดกิจกรรมรณรงค์โครงการ Young Life ภายใต้แนวคิด “It’s Your Life, It’s Your Future”
โครงการ Young Life ดำเนินกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ www.your-life.com ได้เปิดเผยข้อมูลระบุว่า ในปี 2555 มีจำนวนสตรีตั้งครรภ์ 213 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้ 85 ล้านคน เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และพบว่า 33 ล้านคน เกิดจากการคุมกำเนิดอย่างไม่ถูกวิธี[3]
“สำหรับประเทศไทย เนื่องในวันคุมกำเนิดโลกปี 2561 นี้ ได้มีการจัดทำ คลิปวิดีโอออนไลน์สื่อสารความรู้เรื่องการคุมกำเนิด โดยมี คุณแพท ณปภา ตันตระกูล เป็นพิธีกร สัมภาษณ์พิเศษ นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง และ รศ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ เพื่อให้ความรู้และรณรงค์ เรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง และป้องกันปัญหาการท้องก่อนวัย ซึ่งแนวทางที่เกิดขึ้นจะมีผลดีต่ออนาคตของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหญิง ที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มากที่สุด โดยจะเผยแพร่คลิปวิดิโอนี้ผ่านทาง Facebook Young Love” นายริอาซ กล่าว
ผู้ที่สนใจสามารถรับชมและติดตามวิดีโอรายการพิเศษนี้ได้ ที่ https://th-th.facebook.com/younglovethailand/
Fullvesion : วันคุมกำเนิดโลก https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/914216872110709/
Ep.1 คิดให้ดีก่อนทำ https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/421127731747728/
Ep.2 เรื่องเซ็กส์ คุยกันได้ https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/747355635607236/
Ep.3 เมื่อไม่พร้อม ต้องรับมือ https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/463958300762763/
Ep.4 เสริมสร้างทักษะชีวิต https://www.facebook.com/younglovethailand/videos/2129966890554480/
[1]ข้อมูลการสำรวจปี 2560 จาก สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
[2]WHO, Unsafe Abortion—Global and Regional Estimates of the Incidence of Unsafe Abortion and Associated Mortality in 2008, 6th ed, 2011
[3] Sedgh G. et al. Intended and unintended pregnancies worldwide in 2012 and recent trends. Stud Fam Plann 2014; 45: 301-314, URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4727534/ [24/05/2018]
https://www.hfocus.org/content/2018/09/16403