ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของไวรัสโบราณสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งแทรกอยู่ใน "ดีเอ็นเอขยะ" (Junk DNA) ของมนุษย์ อาจเป็นกุญแจไขปริศนาที่ช่วยอธิบายได้ว่า เหตุใดบางคนจึงมีความเสี่ยงที่จะติดยาเสพติดได้สูงกว่าผู้อื่น
ทีมนักวิจัยนานาชาติจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดของสหราชอาณาจักรและมหาวิทยาลัยเอเธนส์ของกรีซ พบว่าส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมจากเรโทรไวรัส (Retrovirus) ชนิด HK2 ที่พบสอดแทรกอยู่ใกล้กับหน่วยพันธุกรรมหรือยีนบางตัวของคนเราซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งสารโดพามีนในสมอง อาจเป็นตัวการทำให้เกิดพฤติกรรมเสพติดที่ไม่พึงประสงค์ได้
มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาข้างต้นในวารสารวิชาการ PNAS โดยระบุว่าคนทั่วไปราว 5-10% มีสารพันธุกรรมจากไวรัส HK2 ในตำแหน่งใกล้กับยีนที่ควบคุมการหลั่งสารสร้างความรู้สึกพึงพอใจ แต่ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้นที่สหราชอาณาจักรและกรีซนั้น ผู้วิจัยพบว่าคนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีสารพันธุกรรมจากไวรัสดังกล่าว ปนเปื้อนในดีเอ็นเอตรงตำแหน่งเฉพาะมากกว่าคนทั่วไปในอัตราสูงสุดถึง 3.6 เท่า
◾เภสัชกรยิปซี : กฤษณา ไกรสินธุ์ กับโครงการสุดท้ายในชีวิต
◾พันธุกรรมส่งผลให้เรียนเก่งยิ่งกว่านิสัยหรือสิ่งแวดล้อม
ดร. กีคาส มากิออร์คินิส ผู้นำทีมวิจัยระบุว่า ผลการค้นพบนี้ชี้ว่าสารพันธุกรรมจากไวรัสโบราณที่อยู่ในร่างกายของคนเรา สามารถทำให้เกิดโรคและความผิดปกติขึ้นได้ โดยมนุษย์ในปัจจุบันรับทอดชิ้นส่วนพันธุกรรมของไวรัสนี้มาจากมนุษย์โบราณที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว เนื่องจากไวรัสได้ทำสำเนาสารพันธุกรรมของตนใส่เอาไว้ในดีเอ็นเอของผู้ติดเชื้อเสมอ
"ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่มักคิดกันว่า ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของไวรัสที่พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในดีเอ็นเอมนุษย์นั้น ไม่มีบทบาทหน้าที่และไม่มีอันตรายอะไร แต่นับจากนี้ไปคงต้องมีการศึกษาสารพันธุกรรมดังกล่าวให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของดีเอ็นเอขยะ ซึ่งจะช่วยไขความลับทางพันธุกรรมออกมาได้เพิ่มขึ้น" ดร. มากิออร์คินิส กล่าว
ฺBBC/NEWS/ไทย
มนุษย์ได้รับ 'ยีนเสพติด' จากพันธุกรรมของไวรัสโบราณ
ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของไวรัสโบราณสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งแทรกอยู่ใน "ดีเอ็นเอขยะ" (Junk DNA) ของมนุษย์ อาจเป็นกุญแจไขปริศนาที่ช่วยอธิบายได้ว่า เหตุใดบางคนจึงมีความเสี่ยงที่จะติดยาเสพติดได้สูงกว่าผู้อื่น
ทีมนักวิจัยนานาชาติจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดของสหราชอาณาจักรและมหาวิทยาลัยเอเธนส์ของกรีซ พบว่าส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมจากเรโทรไวรัส (Retrovirus) ชนิด HK2 ที่พบสอดแทรกอยู่ใกล้กับหน่วยพันธุกรรมหรือยีนบางตัวของคนเราซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งสารโดพามีนในสมอง อาจเป็นตัวการทำให้เกิดพฤติกรรมเสพติดที่ไม่พึงประสงค์ได้
มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาข้างต้นในวารสารวิชาการ PNAS โดยระบุว่าคนทั่วไปราว 5-10% มีสารพันธุกรรมจากไวรัส HK2 ในตำแหน่งใกล้กับยีนที่ควบคุมการหลั่งสารสร้างความรู้สึกพึงพอใจ แต่ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้นที่สหราชอาณาจักรและกรีซนั้น ผู้วิจัยพบว่าคนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีสารพันธุกรรมจากไวรัสดังกล่าว ปนเปื้อนในดีเอ็นเอตรงตำแหน่งเฉพาะมากกว่าคนทั่วไปในอัตราสูงสุดถึง 3.6 เท่า
◾เภสัชกรยิปซี : กฤษณา ไกรสินธุ์ กับโครงการสุดท้ายในชีวิต
◾พันธุกรรมส่งผลให้เรียนเก่งยิ่งกว่านิสัยหรือสิ่งแวดล้อม
ดร. กีคาส มากิออร์คินิส ผู้นำทีมวิจัยระบุว่า ผลการค้นพบนี้ชี้ว่าสารพันธุกรรมจากไวรัสโบราณที่อยู่ในร่างกายของคนเรา สามารถทำให้เกิดโรคและความผิดปกติขึ้นได้ โดยมนุษย์ในปัจจุบันรับทอดชิ้นส่วนพันธุกรรมของไวรัสนี้มาจากมนุษย์โบราณที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว เนื่องจากไวรัสได้ทำสำเนาสารพันธุกรรมของตนใส่เอาไว้ในดีเอ็นเอของผู้ติดเชื้อเสมอ
"ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่มักคิดกันว่า ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของไวรัสที่พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในดีเอ็นเอมนุษย์นั้น ไม่มีบทบาทหน้าที่และไม่มีอันตรายอะไร แต่นับจากนี้ไปคงต้องมีการศึกษาสารพันธุกรรมดังกล่าวให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของดีเอ็นเอขยะ ซึ่งจะช่วยไขความลับทางพันธุกรรมออกมาได้เพิ่มขึ้น" ดร. มากิออร์คินิส กล่าว
ฺBBC/NEWS/ไทย