US AIR FORCE
เครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีโรงงานแห่งหนึ่งในเมือง Marienburg ของเยอรมนี เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 1943
ระเบิดที่ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้ในการโจมตีทางอากาศระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีความรุนแรงถึงขั้นทำให้บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere ) ซึ่งมีขอบเขตติดต่อกับห้วงอวกาศและเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้า ต้องสูญเสียอิเล็กตรอนไปจนมีสภาพเบาบางและอ่อนแอลงชั่วคราว
การโจมตีทิ้งระเบิดไม่เพียงแค่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งสร้างความเสียหายยับเยินให้กับเมืองต่าง ๆ บนพื้นโลกเท่านั้น คลื่นกระแทก (Shock wave) ที่เกิดขึ้นจากแรงระเบิด ซึ่งปลดปล่อยพลังงานออกมาในระดับเดียวกับฟ้าผ่าอย่างน้อย 300 ครั้ง ยังส่งผลกระทบไปไกลถึงบรรยากาศชั้นบนของโลก ซึ่งช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตจากรังสีอันตรายในอวกาศ
◾จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือไม่?
◾"เที่ยวบินสุดท้าย" ของนักบินสงครามโลกครั้งที่ 2
◾เกิดอะไรขึ้นที่ดันเคิร์ก?
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเรดดิงของสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลในอดีตเรื่องความหนาแน่นของอนุภาคอิเล็กตรอนในชั้นบรรยากาศ พบว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมักเกิดปรากฏการณ์ที่อิเล็กตรอนในชั้นไอโอโนสเฟียร์ลดต่ำลงอย่างมาก ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทำการโจมตีทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ 152 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการโจมตีกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี และเหตุการณ์ทิ้งระเบิดเพื่อสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่เมืองนอร์มังดีของฝรั่งเศสด้วย
NATIONAL MUSEUM/PA WIRE
การโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1942 สร้างความเสียหายยับเยินให้กับเมืองของฝ่ายตรงข้ามเช่นเดรสเดนและฮัมบวร์ก
รายงานการวิจัยนี้ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร European Geosciences Union ระบุว่า ได้ข้อมูลในอดีตดังกล่าวจากบันทึกการปล่อยคลื่นวิทยุขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศโลกโดยศูนย์วิจัยที่ชานกรุงลอนดอน ทำให้ทราบได้ว่าคลื่นกระแทกจากแรงระเบิดเดินทางขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ซึ่งสูงจากพื้นโลก 75 - 1,000 กิโลเมตร ส่งผลให้บรรยากาศชั้นดังกล่าวร้อนขึ้นและสูญเสียอิเล็กตรอนไปจำนวนมากเป็นบริเวณกว้าง
อย่างไรก็ตาม การสูญเสียอิเล็กตรอนในชั้นบรรยากาศนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และจะกลับคืนมาเป็นปกติเมื่ออุณหภูมิที่ร้อนขึ้นก่อนหน้านี้ลดลง
ศ. คริส สกอตต์ ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า ปกติแล้วสภาพของบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์จะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยพลังงานของดวงอาทิตย์เป็นหลัก แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พบว่าการกระทำของมนุษย์สามารถส่งผลต่อบรรยากาศโลกชั้นดังกล่าวได้
บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสื่อสารโทรคมนาคม การรับส่งวิทยุ รวมทั้งระบบจีพีเอส ซึ่งบอกพิกัดตำแหน่งผ่านดาวเทียม การสูญเสียประจุไฟฟ้าของชั้นไอโอโนสเฟียร์อาจส่งผลกระทบต่อระบบดังกล่าวและทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล
ทีมผู้วิจัยยังบอกว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่นฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น่าจะส่งผลต่อชั้นบรรยากาศโลกในทำนองเดียวกับที่แรงระเบิดมีผลกระทบต่อชั้นไอโอโนสเฟียร์ด้วย ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมกันต่อไป
ฺฺBBC/NEWS/ไทย
แรงระเบิดจากสงครามโลกทำบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์เบาบางลง
US AIR FORCE
เครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีโรงงานแห่งหนึ่งในเมือง Marienburg ของเยอรมนี เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 1943
ระเบิดที่ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้ในการโจมตีทางอากาศระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีความรุนแรงถึงขั้นทำให้บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere ) ซึ่งมีขอบเขตติดต่อกับห้วงอวกาศและเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้า ต้องสูญเสียอิเล็กตรอนไปจนมีสภาพเบาบางและอ่อนแอลงชั่วคราว
การโจมตีทิ้งระเบิดไม่เพียงแค่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งสร้างความเสียหายยับเยินให้กับเมืองต่าง ๆ บนพื้นโลกเท่านั้น คลื่นกระแทก (Shock wave) ที่เกิดขึ้นจากแรงระเบิด ซึ่งปลดปล่อยพลังงานออกมาในระดับเดียวกับฟ้าผ่าอย่างน้อย 300 ครั้ง ยังส่งผลกระทบไปไกลถึงบรรยากาศชั้นบนของโลก ซึ่งช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตจากรังสีอันตรายในอวกาศ
◾จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือไม่?
◾"เที่ยวบินสุดท้าย" ของนักบินสงครามโลกครั้งที่ 2
◾เกิดอะไรขึ้นที่ดันเคิร์ก?
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเรดดิงของสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลในอดีตเรื่องความหนาแน่นของอนุภาคอิเล็กตรอนในชั้นบรรยากาศ พบว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมักเกิดปรากฏการณ์ที่อิเล็กตรอนในชั้นไอโอโนสเฟียร์ลดต่ำลงอย่างมาก ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทำการโจมตีทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ 152 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการโจมตีกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี และเหตุการณ์ทิ้งระเบิดเพื่อสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่เมืองนอร์มังดีของฝรั่งเศสด้วย
NATIONAL MUSEUM/PA WIRE
การโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1942 สร้างความเสียหายยับเยินให้กับเมืองของฝ่ายตรงข้ามเช่นเดรสเดนและฮัมบวร์ก
รายงานการวิจัยนี้ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร European Geosciences Union ระบุว่า ได้ข้อมูลในอดีตดังกล่าวจากบันทึกการปล่อยคลื่นวิทยุขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศโลกโดยศูนย์วิจัยที่ชานกรุงลอนดอน ทำให้ทราบได้ว่าคลื่นกระแทกจากแรงระเบิดเดินทางขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ซึ่งสูงจากพื้นโลก 75 - 1,000 กิโลเมตร ส่งผลให้บรรยากาศชั้นดังกล่าวร้อนขึ้นและสูญเสียอิเล็กตรอนไปจำนวนมากเป็นบริเวณกว้าง
อย่างไรก็ตาม การสูญเสียอิเล็กตรอนในชั้นบรรยากาศนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และจะกลับคืนมาเป็นปกติเมื่ออุณหภูมิที่ร้อนขึ้นก่อนหน้านี้ลดลง
ศ. คริส สกอตต์ ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า ปกติแล้วสภาพของบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์จะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยพลังงานของดวงอาทิตย์เป็นหลัก แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พบว่าการกระทำของมนุษย์สามารถส่งผลต่อบรรยากาศโลกชั้นดังกล่าวได้
บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสื่อสารโทรคมนาคม การรับส่งวิทยุ รวมทั้งระบบจีพีเอส ซึ่งบอกพิกัดตำแหน่งผ่านดาวเทียม การสูญเสียประจุไฟฟ้าของชั้นไอโอโนสเฟียร์อาจส่งผลกระทบต่อระบบดังกล่าวและทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล
ทีมผู้วิจัยยังบอกว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่นฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น่าจะส่งผลต่อชั้นบรรยากาศโลกในทำนองเดียวกับที่แรงระเบิดมีผลกระทบต่อชั้นไอโอโนสเฟียร์ด้วย ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมกันต่อไป
ฺฺBBC/NEWS/ไทย