[ADVERTORIAL by Club VI]
<< ภาพรวมธุรกิจ >>
บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) (“OSP” “บริษัทฯ” หรือ “โอสถสภา”) เป็นบริษัทที่เก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 127 ปี จาก “ร้านขายยาเต๊กเฮงหยู” ในกรุงเทพ เจ้าตำรับยากฤษณากลั่นตรากิเลน แก้ท้องเสีย และจัดตั้งเป็นบริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) จำกัด ในปี 2492 และเริ่มขยายกิจการสู่ตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์ โดยได้รับอนุญาตจากบริษัทญี่ปุ่น เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทย ภายใต้ตราสินค้าที่คนไทยคุ้นหูกันดี คือ ลิโพวิตัน-ดี
ธุรกิจของโอสถสภาเติบโตต่อเนื่องผ่านกาลเวลาเรื่อยมากว่าหนึ่งศตวรรษ และถึงวันนี้ บริษัทฯ กำลังดำเนินการนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ตัวย่อ “OSP”
ปัจจุบัน “โอสถสภา” เป็นบริษัทระดับแนวหน้าในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (FMCG) ของเมืองไทย โดยประสบความสำเร็จโดดเด่นในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ด้วยมีสัดส่วนมูลค่าตลาดค้าปลีกถึง 54.4% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกของเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 (ตามรายงานของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (Frost & Sullivan)) โดยผลิตภัณฑ์ “ลิโพวิตัน-ดี” เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังผลิตภัณฑ์แรกที่นำออกสู่ตลาดในปี 2508 ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ “เอ็ม-150” ในปี 2528 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภค และก้าวขึ้นครองตำแหน่งผู้นำตลาดมานานหลายปี
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มภายใต้แบรนด์อื่นๆ อาทิ ฉลาม ชาร์คคูลไบท์ โสมอิน-ซัม เอ็มเกลือแร่ (M-Electrolyte) เอ็ม-เพรสโซ เอ็ม-สตอร์ม เปปทีน ซี-วิต และคาลพิส ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักของคนไทยในวงกว้าง
ไม่เพียงเท่านั้น โอสถสภายังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าในกลุ่ม “ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล” ทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก “เบบี้มายด์” ที่เป็นผลิตภัณฑ์สบู่อาบน้ำ แป้งเด็ก และมอยซ์เจอร์ไรเซอร์สำหรับเด็กอันดับหนึ่งของประเทศไทย ในปี 2560 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศ (ตามรายงานของนีลเส็น) หรือผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้หญิง “ทเวลฟ์พลัส” ที่เป็นผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์โคโลญจน์สำหรับผู้หญิงในประเทศไทยในปี 2560 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศ (ตามรายงานของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (Frost & Sullivan)) ซึ่งล้วนเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง
นอกจากประเทศไทย บริษัทฯ ยังจัดจำหน่ายสินค้าไปยังต่างประเทศผ่านผู้จัดจำหน่ายรวม 25 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่เป็นตลาดหลักของบริษัทฯ ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว นอกจากธุรกิจเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล บริษัทฯ ยังมีธุรกิจบริหารจัดการด้านซัพพลายเชน โดยรับจ้างผลิตและ/หรือบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล รวมถึงจัดจำหน่ายขวดแก้วให้แก่กิจการร่วมค้าของบริษัทฯ และบุคคลภายนอก นอกจากนี้ยังมีธุรกิจให้บริการผลิตสินค้าหรือที่เรียกว่า OEM และรับจัดจำหน่ายสินค้าด้วย
<< จุดแข็งของธุรกิจ >>
วอร์เรน บัฟเฟตต์ สอนว่า ให้ลงทุนในบริษัทที่มี “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” ซึ่งองค์ประกอบสำคัญคือการมี “แบรนด์ที่เข้มแข็ง” ได้รับความภักดีจากผู้บริโภค
และนี่คือ “จุดแข็ง” ที่โอสถสภามีอยู่เต็มเปี่ยม
แบรนด์อย่าง “เอ็ม-150” ซึ่งคว้ารางวัล Brand of The Year จากเวที World Branding Award ที่ประเทศอังกฤษมาเมื่อปีที่แล้ว เป็นเครื่องยืนยันว่าบริษัทฯ ยังคงมีศักยภาพในการแข่งขัน แม้จะถูกท้าทายจากคู่แข่งหน้าใหม่อยู่เสมอ
ไม่เพียงเรื่องของแบรนด์ โอสถสภายังมีความได้เปรียบด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น “เครือข่ายการจัดจำหน่าย” อันเข้มแข็ง ซึ่งเป็นจุดสำคัญ ของธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งยังได้เปรียบด้าน “ต้นทุน” จากการประหยัดต่อขนาด เช่นเดียวกับ “ประสิทธิภาพในการผลิต” อันเกิดจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ ภายใต้การบริหารงานของ “ทีมผู้บริหาร” ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และ "การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์" ตามแนวคิด “พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิต (The Power to Enhance Life)” ที่มุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้บริโภคและสังคมด้วยผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ทันสมัย
โดยภาพรวม ถือว่า OSP ก็เข้าเกณฑ์ ตามตำราของบัฟเฟตต์
นอกเหนือจาก “ปัจจัยเชิงคุณภาพ” อีกสิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ “ตัวเลขทางการเงิน” ของบริษัทฯ
ปี 2560 โอสถสภามีรายได้รวม 26,210.7 ล้าน กำไรสุทธิ 2,939.2 ล้าน และสำหรับงวดหกเดือนแรกของปี 2561 บริษัทฯ มีรายได้รวม 12,543.2 ล้าน ลดลง 4.5% กำไรสุทธิ 1,471.9 ล้าน ลดลง 18% และ EBITDA 2,340.3 ล้าน ลดลง 14.5% เมื่อเทียบกับงวดหกเดือนแรกของปี 2560 ซึ่งมีรายได้รวม 13,133.8 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,795.4 ล้านบาท และ EBITDA 2,735.6 ล้านบาท
สาเหตุหลักของรายได้ที่ลดลงในช่วงหกเดือนแรกของปี 2561 มาจากการลดลงของรายได้จากการขายขวดแก้วตามสัญญาการบริการผลิตสินค้าเนื่องจากการหยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อดำเนินการซ่อมบำรุงเตาหลอมหนึ่งเตาที่โรงงานผลิตขวดแก้วและเลิกธุรกิจการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางชนิด ทว่ารายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงเข้ามาชดเชยได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ สามารถเพิ่มอัตรากำไรได้อย่างต่อเนื่องในช่วงสามปีหลัง นับจากปี 2558 2559 ถึง 2560 โดยอัตรากำไรขั้นต้น เพิ่มจาก 29.6% เป็น 30.0% และ 32.6% ตามลำดับ ขณะที่อัตรากำไรสุทธิ เพิ่มจาก 7.3% เป็น 9.0% และ 11.2% ถือว่ามีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด
คำถามต่อไปคือ บริษัทฯ ยังมีโอกาสในการเติบโตแค่ไหน อย่างไร?
วิเคราะห์ทิศทางการขยายธุรกิจและโอกาสในการเติบโต
ข้อมูลในหนังสือชี้ชวน น่าจะตอบคำถามดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จากข้อมูลในหนังสือชี้ชวน บริษัทฯ มีแผนจะขยายธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและการดำเนินธุรกิจ อาทิ การก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ในเมียนมาร์ การสร้างเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทฯ และการก่อสร้างโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทแป้งแห่งใหม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีแผนจะซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ ลงทุนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตขวดแก้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งโรงงานต้นแบบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อทดสอบคุณภาพอีกด้วย
<< รายละเอียดในการระดมทุน >>
สำหรับรายละเอียดของการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยสรุปมีดังนี้ ปัจจุบันบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 3,003,750,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 3,003,750,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาทต่อหุ้น โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน 2,497,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 2,497,000,000 หุ้น และจำนวนหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้โดยบริษัทฯ Orizon Limited และ Y Investment Ltd. รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนไม่เกิน 603,750,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.1 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
<< วิเคราะห์และความคิดเห็นโดย Club VI >>
ผู้เขียนมองว่า บริษัทฯ ยังมีศักยภาพในการเติบโต โดยสามารถมุ่งเน้นทำตลาดในต่างประเทศ อาทิ ตะวันออกกลาง ตลอดจนขยายและเสริมสร้างธุรกิจในกลุ่มประเทศ CLMV รวมทั้ง “โจทย์ยาก” อย่างประเทศจีน ที่แม้จะเป็น “งานหิน” แต่ด้วยความแข็งแกร่งและประสบการณ์อันยาวนาน คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากบริษัทฯ ไม่เข้าไปท้าทาย
โดยสรุป โอสถสภาหรือ OSP เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความมั่นคง มีความได้เปรียบในการแข่งขัน พร้อมทีมผู้บริหารมืออาชีพชั้นนำที่มีประสบการณ์ในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคในระดับท้องถิ่นและบริษัทข้ามชาติ และแม้จะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ แต่ยังมีโอกาสในการเติบโตอยู่พอสมควร ทว่าจะ “น่าลงทุน” หรือไม่นั้น ผู้เขียนมองว่าขึ้นอยู่กับระดับหนี้สินของบริษัทฯ ในเวลานั้นๆ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงควรอ่านหนังสือชี้ชวนและข้อมูลทางการเงินของบริษัทฯ โดยละเอียดและตัดสินใจด้วยตัวของท่านเอง
https://www.facebook.com/ClubVI/posts/2128703667181649?__tn__=K-R
"OSP” เส้นทางของบริษัทระดับตำนาน
<< ภาพรวมธุรกิจ >>
บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) (“OSP” “บริษัทฯ” หรือ “โอสถสภา”) เป็นบริษัทที่เก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 127 ปี จาก “ร้านขายยาเต๊กเฮงหยู” ในกรุงเทพ เจ้าตำรับยากฤษณากลั่นตรากิเลน แก้ท้องเสีย และจัดตั้งเป็นบริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) จำกัด ในปี 2492 และเริ่มขยายกิจการสู่ตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์ โดยได้รับอนุญาตจากบริษัทญี่ปุ่น เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทย ภายใต้ตราสินค้าที่คนไทยคุ้นหูกันดี คือ ลิโพวิตัน-ดี
ธุรกิจของโอสถสภาเติบโตต่อเนื่องผ่านกาลเวลาเรื่อยมากว่าหนึ่งศตวรรษ และถึงวันนี้ บริษัทฯ กำลังดำเนินการนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ตัวย่อ “OSP”
ปัจจุบัน “โอสถสภา” เป็นบริษัทระดับแนวหน้าในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (FMCG) ของเมืองไทย โดยประสบความสำเร็จโดดเด่นในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ด้วยมีสัดส่วนมูลค่าตลาดค้าปลีกถึง 54.4% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกของเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 (ตามรายงานของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (Frost & Sullivan)) โดยผลิตภัณฑ์ “ลิโพวิตัน-ดี” เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังผลิตภัณฑ์แรกที่นำออกสู่ตลาดในปี 2508 ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ “เอ็ม-150” ในปี 2528 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภค และก้าวขึ้นครองตำแหน่งผู้นำตลาดมานานหลายปี
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มภายใต้แบรนด์อื่นๆ อาทิ ฉลาม ชาร์คคูลไบท์ โสมอิน-ซัม เอ็มเกลือแร่ (M-Electrolyte) เอ็ม-เพรสโซ เอ็ม-สตอร์ม เปปทีน ซี-วิต และคาลพิส ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักของคนไทยในวงกว้าง
ไม่เพียงเท่านั้น โอสถสภายังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าในกลุ่ม “ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล” ทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก “เบบี้มายด์” ที่เป็นผลิตภัณฑ์สบู่อาบน้ำ แป้งเด็ก และมอยซ์เจอร์ไรเซอร์สำหรับเด็กอันดับหนึ่งของประเทศไทย ในปี 2560 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศ (ตามรายงานของนีลเส็น) หรือผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้หญิง “ทเวลฟ์พลัส” ที่เป็นผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์โคโลญจน์สำหรับผู้หญิงในประเทศไทยในปี 2560 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศ (ตามรายงานของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (Frost & Sullivan)) ซึ่งล้วนเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง
นอกจากประเทศไทย บริษัทฯ ยังจัดจำหน่ายสินค้าไปยังต่างประเทศผ่านผู้จัดจำหน่ายรวม 25 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่เป็นตลาดหลักของบริษัทฯ ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว นอกจากธุรกิจเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล บริษัทฯ ยังมีธุรกิจบริหารจัดการด้านซัพพลายเชน โดยรับจ้างผลิตและ/หรือบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล รวมถึงจัดจำหน่ายขวดแก้วให้แก่กิจการร่วมค้าของบริษัทฯ และบุคคลภายนอก นอกจากนี้ยังมีธุรกิจให้บริการผลิตสินค้าหรือที่เรียกว่า OEM และรับจัดจำหน่ายสินค้าด้วย
<< จุดแข็งของธุรกิจ >>
วอร์เรน บัฟเฟตต์ สอนว่า ให้ลงทุนในบริษัทที่มี “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” ซึ่งองค์ประกอบสำคัญคือการมี “แบรนด์ที่เข้มแข็ง” ได้รับความภักดีจากผู้บริโภค
และนี่คือ “จุดแข็ง” ที่โอสถสภามีอยู่เต็มเปี่ยม
แบรนด์อย่าง “เอ็ม-150” ซึ่งคว้ารางวัล Brand of The Year จากเวที World Branding Award ที่ประเทศอังกฤษมาเมื่อปีที่แล้ว เป็นเครื่องยืนยันว่าบริษัทฯ ยังคงมีศักยภาพในการแข่งขัน แม้จะถูกท้าทายจากคู่แข่งหน้าใหม่อยู่เสมอ
ไม่เพียงเรื่องของแบรนด์ โอสถสภายังมีความได้เปรียบด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น “เครือข่ายการจัดจำหน่าย” อันเข้มแข็ง ซึ่งเป็นจุดสำคัญ ของธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งยังได้เปรียบด้าน “ต้นทุน” จากการประหยัดต่อขนาด เช่นเดียวกับ “ประสิทธิภาพในการผลิต” อันเกิดจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ ภายใต้การบริหารงานของ “ทีมผู้บริหาร” ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และ "การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์" ตามแนวคิด “พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิต (The Power to Enhance Life)” ที่มุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้บริโภคและสังคมด้วยผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ทันสมัย
โดยภาพรวม ถือว่า OSP ก็เข้าเกณฑ์ ตามตำราของบัฟเฟตต์
นอกเหนือจาก “ปัจจัยเชิงคุณภาพ” อีกสิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ “ตัวเลขทางการเงิน” ของบริษัทฯ
ปี 2560 โอสถสภามีรายได้รวม 26,210.7 ล้าน กำไรสุทธิ 2,939.2 ล้าน และสำหรับงวดหกเดือนแรกของปี 2561 บริษัทฯ มีรายได้รวม 12,543.2 ล้าน ลดลง 4.5% กำไรสุทธิ 1,471.9 ล้าน ลดลง 18% และ EBITDA 2,340.3 ล้าน ลดลง 14.5% เมื่อเทียบกับงวดหกเดือนแรกของปี 2560 ซึ่งมีรายได้รวม 13,133.8 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,795.4 ล้านบาท และ EBITDA 2,735.6 ล้านบาท
สาเหตุหลักของรายได้ที่ลดลงในช่วงหกเดือนแรกของปี 2561 มาจากการลดลงของรายได้จากการขายขวดแก้วตามสัญญาการบริการผลิตสินค้าเนื่องจากการหยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อดำเนินการซ่อมบำรุงเตาหลอมหนึ่งเตาที่โรงงานผลิตขวดแก้วและเลิกธุรกิจการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางชนิด ทว่ารายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงเข้ามาชดเชยได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ สามารถเพิ่มอัตรากำไรได้อย่างต่อเนื่องในช่วงสามปีหลัง นับจากปี 2558 2559 ถึง 2560 โดยอัตรากำไรขั้นต้น เพิ่มจาก 29.6% เป็น 30.0% และ 32.6% ตามลำดับ ขณะที่อัตรากำไรสุทธิ เพิ่มจาก 7.3% เป็น 9.0% และ 11.2% ถือว่ามีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด
คำถามต่อไปคือ บริษัทฯ ยังมีโอกาสในการเติบโตแค่ไหน อย่างไร?
วิเคราะห์ทิศทางการขยายธุรกิจและโอกาสในการเติบโต
ข้อมูลในหนังสือชี้ชวน น่าจะตอบคำถามดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จากข้อมูลในหนังสือชี้ชวน บริษัทฯ มีแผนจะขยายธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและการดำเนินธุรกิจ อาทิ การก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ในเมียนมาร์ การสร้างเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทฯ และการก่อสร้างโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทแป้งแห่งใหม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีแผนจะซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ ลงทุนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตขวดแก้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งโรงงานต้นแบบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อทดสอบคุณภาพอีกด้วย
<< รายละเอียดในการระดมทุน >>
สำหรับรายละเอียดของการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยสรุปมีดังนี้ ปัจจุบันบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 3,003,750,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 3,003,750,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาทต่อหุ้น โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน 2,497,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 2,497,000,000 หุ้น และจำนวนหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้โดยบริษัทฯ Orizon Limited และ Y Investment Ltd. รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนไม่เกิน 603,750,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.1 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
<< วิเคราะห์และความคิดเห็นโดย Club VI >>
ผู้เขียนมองว่า บริษัทฯ ยังมีศักยภาพในการเติบโต โดยสามารถมุ่งเน้นทำตลาดในต่างประเทศ อาทิ ตะวันออกกลาง ตลอดจนขยายและเสริมสร้างธุรกิจในกลุ่มประเทศ CLMV รวมทั้ง “โจทย์ยาก” อย่างประเทศจีน ที่แม้จะเป็น “งานหิน” แต่ด้วยความแข็งแกร่งและประสบการณ์อันยาวนาน คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากบริษัทฯ ไม่เข้าไปท้าทาย
โดยสรุป โอสถสภาหรือ OSP เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความมั่นคง มีความได้เปรียบในการแข่งขัน พร้อมทีมผู้บริหารมืออาชีพชั้นนำที่มีประสบการณ์ในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคในระดับท้องถิ่นและบริษัทข้ามชาติ และแม้จะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ แต่ยังมีโอกาสในการเติบโตอยู่พอสมควร ทว่าจะ “น่าลงทุน” หรือไม่นั้น ผู้เขียนมองว่าขึ้นอยู่กับระดับหนี้สินของบริษัทฯ ในเวลานั้นๆ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงควรอ่านหนังสือชี้ชวนและข้อมูลทางการเงินของบริษัทฯ โดยละเอียดและตัดสินใจด้วยตัวของท่านเอง
https://www.facebook.com/ClubVI/posts/2128703667181649?__tn__=K-R