สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
จริง ๆ แล้วดินแดนแถบหมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย (นุสันตะรา) และฟิลิปปินส์ มีอักษรพื้นเมืองของตัวเองตั้งแต่โบราณแล้วครับ โดยดัดแปลงมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ยุคราชวงศ์ปัลลวะ นั่นคืออักษรกวิ (Aksara Kawi) ซึ่งเป็นอักษรสายเดียวกับอักษรมอญโบราณและเขมรโบราณที่เป็นต้นแบบของอักษรของชนชาติต่าง ๆ บนแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งอักษรไทย
จารึกอักษรกวิโบราณ
อักษรกวิแพร่จากเกาะชวาสู่เกาะต่าง ๆ จนถึงฟิลิปปินส์ยุคก่อนที่สเปนจะเข้ามา โดยแต่ละชาติพันธุ์ก็ดัดแปลงให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ปัจจุบันยังใช้ในชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ชวา บาหลี มีนังกาเบา ลนตะรา ตากาล็อก หนึ่งในนั้นคือ “ชาวมลายู” ซึ่งเป็นชนชาติที่มีอิทธิพลในแถบช่องแคบมะละกาและตอนเหนือของเกาะสุมาตรา
ภาษามลายูโบราณเคยเขียนด้วยอักษรปัลลวะ และอักษรเรินจง (Rencong) ซึ่งชาวมลายูดัดแปลงมาจากอักษรกวิเพื่อบันทึกภาษามลายูโบราณ (Old Malay)
บันทึกอักษรเรินจง (มลายูโบราณ)
ชาวมลายูใช้อักษรเรินจงมานาน จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 14 เมื่อชาวอาหรับนำศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมอาหรับมาเผยแพร่ ชาวมลายูจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามและดัดแปลงอักษรอาหรับเพื่อใช้เขียนภาษามลายู เรียกว่าอักษรจาวี (Huruf Jawi) ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกว่า “ภาษามลายูคลาสสิก” (Classical Malay) ปัจจุบันอักษรจาวียังคงแพร่หลายในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา บรูไน รวมถึงทางภาคใต้ของไทย ซึ่งทำให้คนไทยพากันเรียกภาษามลายูถิ่นปาตานีว่า “ภาษายาวี” ตามชื่ออักษรที่เขียนไปด้วย
จารึกตรังกานู เป็นเอกสารภาษามลายูยุคแรก ๆ ที่บันทึกด้วยอักษรจาวี
ในยุคที่อินโดนีเซียได้รับเอกราชจากดัตช์ใหม่ ๆ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างความเป็นเอกภาพภายในชาติ ซึ่งประกอบด้วยชาติพันธุ์หลากหลาย ทางการจึงสร้างภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ขึ้นมาโดยใช้ภาษามลายูเป็นพื้นฐาน ทั้ง ๆ ที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชาวชวาไม่ใช่มลายู เนื่องจากภาษามลายูเป็นภาษากลางทางการค้าในแถบช่องแคบมะละกามาตั้งแต่โบราณแล้ว ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ใช้และคุ้นเคยกับภาษามลายูในฐานะภาษากลางสำหรับติดต่อสื่อสารกัน
และเพื่อให้การเรียนการเขียนภาษาอินโดนีเซียเป็นไปได้ง่ายขึ้นจึงนำอักษรโรมันมาใช้ ซึ่งประเทศมาเลเซียก็ใช้แบบเป็นทางการเหมือนกัน ต่อมาอินโดนีเซียได้ปรับปรุงวิธีสะกดใหม่จากแบบดัตช์ให้เป็นการสะกดแบบมาตรฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับภาษามลายูในมาเลเซียและบรูไน
ที่เมืองสุรากาตามีกระแสทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น คือนำอักษรชวามาใช้เขียนภาษาอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่สะดวกในการใช้เพราะการพิมพ์ยุ่งยาก มีสระหน้า บน ล่าง หลัง เหมือนอักษรตระกูลอินเดียทั่วไป จึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร
ตัวอย่างอักษรชวา
ประเทศฟิลิปปินส์ปัจจุบันยังมีคนรื้อฟื้นอักษรไบไบยิน (Baybayin) กลับมาใช้เขียนภาษาตากาล็อกด้วย แต่ก็เป็นแค่กระแสทางวัฒนธรรมเท่านั้น ซึ่งขบวนการคะติปูนันเคยพยายามที่จะชูความเป็นชาตินิยม แต่ก็ไม่สำเร็จ อักษรตากาล็อกไม่สามารถบันทึกคำยืมภาษาสเปนและอังกฤษได้อย่างสมบูรณ์ อักษรโรมันจึงยังคงทำหน้าที่นี้ต่อไป
ตัวอย่างอักษรไบไบยิน (ตากาล็อก)
สรุป————
คนมาเลย์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์สมัยโบราณเคยมีอักษรตระกูลอินเดียใช้เหมือนคนไทย ลาว พม่า เขมร เหมือนกันแต่เลิกใช้ไปนานแล้ว ที่นำอักษรโรมันมาใช้เพื่อให้คนในชาติซึ่งมีหลายเชื้อชาติได้เรียนรู้ภาษาประจำชาติที่ทางการสร้างขึ้นมาได้ง่ายขึ้น เพื่อให้การสร้างชาติเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีเอกภาพ
คนประเทศเหล่านี้ปัจจุบันไม่คุ้นเคยกับอักษรที่มีอักขรวิธีซับซ้อนอย่างคนสมัยโบราณอีกต่อไปแล้ว ซึ่งต่างจากคนแถบบ้านเราที่คุ้นเคยดีและยังรักษาวัฒนธรรมอินเดียไว้อย่างเหนียวแน่น อักษรโรมัน เขียนง่าย อ่านง่าย พิมพ์ง่าย เรียงตัว ABCD ไม่ต้องมีสระข้างบนข้างล่าง
จารึกอักษรกวิโบราณ
อักษรกวิแพร่จากเกาะชวาสู่เกาะต่าง ๆ จนถึงฟิลิปปินส์ยุคก่อนที่สเปนจะเข้ามา โดยแต่ละชาติพันธุ์ก็ดัดแปลงให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ปัจจุบันยังใช้ในชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ชวา บาหลี มีนังกาเบา ลนตะรา ตากาล็อก หนึ่งในนั้นคือ “ชาวมลายู” ซึ่งเป็นชนชาติที่มีอิทธิพลในแถบช่องแคบมะละกาและตอนเหนือของเกาะสุมาตรา
ภาษามลายูโบราณเคยเขียนด้วยอักษรปัลลวะ และอักษรเรินจง (Rencong) ซึ่งชาวมลายูดัดแปลงมาจากอักษรกวิเพื่อบันทึกภาษามลายูโบราณ (Old Malay)
บันทึกอักษรเรินจง (มลายูโบราณ)
ชาวมลายูใช้อักษรเรินจงมานาน จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 14 เมื่อชาวอาหรับนำศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมอาหรับมาเผยแพร่ ชาวมลายูจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามและดัดแปลงอักษรอาหรับเพื่อใช้เขียนภาษามลายู เรียกว่าอักษรจาวี (Huruf Jawi) ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกว่า “ภาษามลายูคลาสสิก” (Classical Malay) ปัจจุบันอักษรจาวียังคงแพร่หลายในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา บรูไน รวมถึงทางภาคใต้ของไทย ซึ่งทำให้คนไทยพากันเรียกภาษามลายูถิ่นปาตานีว่า “ภาษายาวี” ตามชื่ออักษรที่เขียนไปด้วย
จารึกตรังกานู เป็นเอกสารภาษามลายูยุคแรก ๆ ที่บันทึกด้วยอักษรจาวี
ในยุคที่อินโดนีเซียได้รับเอกราชจากดัตช์ใหม่ ๆ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างความเป็นเอกภาพภายในชาติ ซึ่งประกอบด้วยชาติพันธุ์หลากหลาย ทางการจึงสร้างภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ขึ้นมาโดยใช้ภาษามลายูเป็นพื้นฐาน ทั้ง ๆ ที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชาวชวาไม่ใช่มลายู เนื่องจากภาษามลายูเป็นภาษากลางทางการค้าในแถบช่องแคบมะละกามาตั้งแต่โบราณแล้ว ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ใช้และคุ้นเคยกับภาษามลายูในฐานะภาษากลางสำหรับติดต่อสื่อสารกัน
และเพื่อให้การเรียนการเขียนภาษาอินโดนีเซียเป็นไปได้ง่ายขึ้นจึงนำอักษรโรมันมาใช้ ซึ่งประเทศมาเลเซียก็ใช้แบบเป็นทางการเหมือนกัน ต่อมาอินโดนีเซียได้ปรับปรุงวิธีสะกดใหม่จากแบบดัตช์ให้เป็นการสะกดแบบมาตรฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับภาษามลายูในมาเลเซียและบรูไน
ที่เมืองสุรากาตามีกระแสทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น คือนำอักษรชวามาใช้เขียนภาษาอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่สะดวกในการใช้เพราะการพิมพ์ยุ่งยาก มีสระหน้า บน ล่าง หลัง เหมือนอักษรตระกูลอินเดียทั่วไป จึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร
ตัวอย่างอักษรชวา
ประเทศฟิลิปปินส์ปัจจุบันยังมีคนรื้อฟื้นอักษรไบไบยิน (Baybayin) กลับมาใช้เขียนภาษาตากาล็อกด้วย แต่ก็เป็นแค่กระแสทางวัฒนธรรมเท่านั้น ซึ่งขบวนการคะติปูนันเคยพยายามที่จะชูความเป็นชาตินิยม แต่ก็ไม่สำเร็จ อักษรตากาล็อกไม่สามารถบันทึกคำยืมภาษาสเปนและอังกฤษได้อย่างสมบูรณ์ อักษรโรมันจึงยังคงทำหน้าที่นี้ต่อไป
ตัวอย่างอักษรไบไบยิน (ตากาล็อก)
สรุป————
คนมาเลย์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์สมัยโบราณเคยมีอักษรตระกูลอินเดียใช้เหมือนคนไทย ลาว พม่า เขมร เหมือนกันแต่เลิกใช้ไปนานแล้ว ที่นำอักษรโรมันมาใช้เพื่อให้คนในชาติซึ่งมีหลายเชื้อชาติได้เรียนรู้ภาษาประจำชาติที่ทางการสร้างขึ้นมาได้ง่ายขึ้น เพื่อให้การสร้างชาติเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีเอกภาพ
คนประเทศเหล่านี้ปัจจุบันไม่คุ้นเคยกับอักษรที่มีอักขรวิธีซับซ้อนอย่างคนสมัยโบราณอีกต่อไปแล้ว ซึ่งต่างจากคนแถบบ้านเราที่คุ้นเคยดีและยังรักษาวัฒนธรรมอินเดียไว้อย่างเหนียวแน่น อักษรโรมัน เขียนง่าย อ่านง่าย พิมพ์ง่าย เรียงตัว ABCD ไม่ต้องมีสระข้างบนข้างล่าง
แสดงความคิดเห็น
อินโดนิเชียไม่มีภาษาเชียน