ทำไมเราถึงคัน แล้วเราควรเกาไหม

News ไทย  
BBC News บีบีซีไทย นาวิเกชัน



Getty Images  
ความรู้สึกคันถูกส่งผ่านใยประสาทเฉพาะของมันเอง

เมื่อพูดถึง ศาสตร์ของอาการคัน เราศึกษามันเพียงผิวเผินมาก แต่ประเด็นทางการแพทย์ที่มักถูกมองข้ามไปนี้ มีผลการศึกษาเกียวกับสมองของมนุษย์ที่น่าทึ่งไม่น้อย

นี่คือความจริง 12 ข้อ ที่เกี่ยวพันกับผิวหนังของเรา

1. คนเราเกาประมาณ 97 ครั้งต่อวัน

Getty Images
คนเราเกาประมาณ 97 ครั้งต่อวัน
ผลการศึกษาระบุว่า เราเกาเกือบ 100 ครั้งต่อวัน คุณอาจจะกำลังเกาอยู่ในขณะนี้ เกาต่อได้ ไม่มีใครมอง

2. อาการคันจากสัตว์หรือพืช เกิดจากสารพิษที่ตกค้างบนผิวหนัง

Getty Images  
แมงกะพรุน ทำให้เราหมดสนุกเวลาเล่นน้ำได้ หากไปโดนตัวมันเข้า
เมื่อสารพิษปล่อยสารฮิสตามีนออกมา ภูมิต้านทานบางส่วนในร่างกายเราก็ตอบสนอง ซึ่งส่งผลให้ใยประสาทส่งสัญญาณคันไปยังสมองของเรา

3. อาการคันมีเครือข่ายเส้นประสาทของตัวเอง

Getty Images  
กรุณา หยุดเกา!
เราเคยคิดว่า ความรู้สึกคันและเจ็บเกิดขึ้นมาจากใยประสาทเดียวกัน แต่ในปี 1997 มีการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ที่เปิดเผยว่า ความรู้สึกคันมีใยประสาทเฉพาะของตัวมันเอง

4. แต่สัญญาณคันเดินทางช้ามาก

Getty Images
ไม่ใช่แค่มนุษย์เท่านั้นที่มีอาการคัน
ใยประสาทมีความเร็วแตกต่างกัน:
สัญญาณการสัมผัสเดินทางผ่านใยประสาทด้วยความเร็ว 200 ไมล์ต่อชั่วโมง
"ความเจ็บปวดแบบทันที" (เช่น เมื่อเราโดนหม้อร้อน ๆ โดยไม่ตั้งใจ) เดินทาง 80 ไมล์ต่อชั่วโมง
ส่วนความรู้สึกคันนั้นเดินทางที่ 2 ไมล์ต่อชั่วโมง ช้ากว่าการเดินของคนเสียอีก

5. เมื่อเห็นคนอื่นเกา เราอาจเกาตามได้ เหมือนกับการหาว

Getty Images  
อาการคันติดกันได้
นักวิทยาศาสตร์ พิสูจน์แล้วว่า การเปิดวิดีโอหนูกำลังเกาให้หนูตัวอื่นดู ปรากฏว่า หนูกลุ่มแรกเริ่มเกาตามอย่างรวดเร็ว

6. การเกาตามกันมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมองส่วนเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า ซูปราไคแอสมาติก นิวเคลียส(suprachiasmatic nucleus)

Getty Images
ซูปราไคแอสมาติก นิวเคลียส ทำงานอย่างไร? อยากรู้จัง...
ปัจจุบัน นักประสาทวิทยายังไม่รู้ว่า สมองส่วนนี้ของเรามีส่วนเกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการทำให้เกิดการเกาตามกันได้อย่างไร

7. การเกาเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของเราในการรับมือกับผู้บุกรุกที่ทำให้เกิดอาการคัน

Getty Images  
อาการคันที่ไม่หาย
การเกาช่วยไล่แมลงที่สร้างความรำคาญ หรือพืชที่มีพิษได้ นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมผิวหนังของเราจึงกลายเป็นปื้นแดง

8. การเกาทำให้รู้สึกดี เพราะมันช่วยทำให้เกิดการหลั่งสารเซโรโทนิน (serotonin) ในสมอง

Getty Images
การเกาช่วยทำให้มีความสุข
สารเซโรโทนิน เป็นสารสื่อประสาทที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุข และรู้สึกดี
ยิ่งมีสารเซโรโทนินไหลผ่านร่างกายมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้รู้สึกมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น ไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมบางครั้งถึงห้ามไม่ให้ตัวเองเกาได้ยาก

9. จุดที่คนมักจะเกามากที่สุดคือ ข้อเท้า...
Getty Images
นั่นแหละ รู้สึกดีจัง!
...จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารตจวิทยาของอังกฤษ (British Journal of Dermatology) ในปี 2012 ระบุว่า คนเรารู้สึกคันมากที่สุดที่บริเวณข้อเท้า และยังเป็นจุดที่เกาแล้วรู้สึกดีที่สุดด้วย และมักจะคันตรงนั้นนานที่สุด
เมื่อกี้ คุณเพิ่งลองเกาที่ข้อเท้าตัวเองหรือเปล่า?

10. ยิ่งเกายิ่งคัน

Getty Images  
อย่าเกาไม่หยุด ต้องรู้ว่าต้องหยุดเกาเมื่อไหร่
ระวัง วัฏจักรของการคันแล้วเกา เกาแล้วคัน!
การเกาที่ผิวหนังจะมีสารฮิสตามีนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งสัญญาณคันไปที่สมองมากขึ้นด้วย
เกามากไป ก็อาจจะทำให้ผิวหนังถลอกได้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเป็นแผลตกสะเก็ด

11. วัฏจักรคันแล้วเกา เกาแล้วคัน เป็นปัญหาเดียวกับที่พบในโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) และโรคผิวหนังอักเสบ(eczema)

Getty Images  
อาการทางผิวหนังบางอย่างยิ่งรุนแรงมากขึ้นเมื่อเราเกา
แพทย์มักจะสั่งจ่ายยาต้านฮิสตามีน เพื่อลดผลกระทบจากสารฮิสตามีน และลดอาการคัน

12. การคันเรื้อรังทำให้เราอ่อนเพลียได้เท่ากับการปวดเรื้อรัง
Getty Images
การคันเรื้อรังอาจทำให้อ่อนเพลียได้

นักวิจัยทางการแพทย์พบว่า คนที่มีอาการคันเรื้อรัง ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวและซึมเศร้าในระดับหนึ่ง คล้ายกับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังอื่น ๆ

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน หอจดหมายเหตุตจวิทยา (Archives of Dermatology) พบว่า ผู้ที่มีอาการคันติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ หรือหลายปี ทำให้รู้สึกแย่ไปหมดเหมือนกับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง

ความจริงแล้ว ผู้เขียนผลการศึกษานี้ บอกว่า อาการคันเรื้อรัง ไม่ต่างจาก "ความรู้สึกปวดทางผิวหนัง" และไม่เพียงเท่านั้น เราไม่ควรเพิกเฉยกับอาการคันต่อเนื่อง การคันเรื้อรังอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการของโรคบางอย่างได้ เช่น โรคตับ หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
BBC/NEWS/ไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่