โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช
https://bit.ly/2MWzHHy
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ส.ค. 2561 (กรอบบ่าย)
สกู๊ปพิเศษ: กรมชลประทาน เดินเครื่อง... โครงการ 'ฟลัดเวย์' รุกสกัดน้ำท่วม #เมืองคอน
โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเมื่อปี 2531 ส่งผลให้พื้นที่ 16 อำเภอ ในจ.นครศรีธรรมราช ได้รับความเดือดร้อนถึง 633,787 ราย และในปี 2554 เป็นปีที่ได้รับความเสียหายครั้งใหญ่ มีพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยจำนวน 23 อำเภอ พื้นที่การเกษตรเสียหายรวม 580,816 ไร่ ประเมินความเสียหายรวมเป็นเงิน 2,300 ล้านบาท
เนื่องจาก จ.นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ริมทะเลทางด้านอ่าวไทย มีลำน้ำธรรมชาติซึ่งเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลผ่านตัวเมืองอยู่หลายสาย เมื่อเกิดฝนตกหนักในบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชจะมีปริมาณน้ำในคลองต่างๆปริมาณมากไหลผ่านตัวเมือง แต่คลองต่างๆ มีขนาดเล็กลง เนื่องจากถูกบุกรุกและตื้นเขิน ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลไม่ทัน จึงเกิดการไหลบ่าท่วมตัวเมืองเป็นประจำทุกปี
ต่อมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง "โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.60 วงเงิน9,580 ล้านบาท วางเป้าให้เร่งรัดโครงการแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ในการดำเนินการก่อสร้างทางผันน้ำ หรือ ฟลัดเวย์ (Flood Way) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตัวเมืองนครศรีธรรมราช และบริเวณใกล้เคียงและเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการเกษตรกรรมริมฝั่งคลองระบายน้ำ รวมทั้งสามารถป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้ามาในบริเวณพื้นที่โครงการในช่วงฤดูแล้ง
นายชยันต์ เมืองสง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา ด้านควบคุมการก่อสร้าง กรมชลประทานกล่าวว่า กรมชลประทาน ได้เร่งรัดติดตามการก่อสร้างโครงการ "ฟลัดเวย์" บรรเทาอุทกภัยเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราชโดยการขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ 3 สาย ความยาวรวม 18.64 กิโลเมตร พร้อมกับปรับปรุงคลองธรรมชาติเดิม ได้แก่ คลองวังวัว คลองหัวตรุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้สูงสุด 850 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเพียงพอที่จะไม่ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจในตัวเมือง ในขณะที่การจัดหาที่ดินทางกรมชลประทานได้มีการปักหลักเขตแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์รวมทั้งได้มีการเตรียมแผนแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพี่น้องประชาชนต่อเนื่องไปอีก 10 ปีอีกด้วย หลังการดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถแก้ปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมตัวเมืองนครศรีธรรมราชได้อย่างแท้จริง
ด้านนายธเนศดิษฐปัญญา ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 10 กล่าวว่า สำหรับแผนอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม แม้โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช จะไม่ได้จัดอยู่ในประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่กรมชลประทาน ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างโครงการ จึงได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งจะดำเนินการควบคู่กับการก่อสร้างโครงการ จำนวน 16 แผนงาน งบประมาณทั้งสิ้น 62.77 ล้านบาทระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี ได้แก่ แผนการช่วยเหลือเยียวยาให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะมีทั้งการจ่ายค่าชดเชยที่ดิน ทรัพย์สินให้กับราษฎรที่มีที่ดินตามแนวคลองระบาย 3 สาย ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับราษฎรดังกล่าวด้วย เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และแผนการอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่ในลุ่มน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคลองสายต่างๆ เช่น คลองท่าดี 4.แผนการติดตามเฝ้าระวังระบบนิเวศวิทยาต่างๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการก่อสร้าง และ 5.แผนติดตามด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น โดยจะมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้การพัฒนาโครงการเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
สยามรัฐ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561
โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช
https://bit.ly/2MWzHHy
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ส.ค. 2561 (กรอบบ่าย)
สกู๊ปพิเศษ: กรมชลประทาน เดินเครื่อง... โครงการ 'ฟลัดเวย์' รุกสกัดน้ำท่วม #เมืองคอน
โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเมื่อปี 2531 ส่งผลให้พื้นที่ 16 อำเภอ ในจ.นครศรีธรรมราช ได้รับความเดือดร้อนถึง 633,787 ราย และในปี 2554 เป็นปีที่ได้รับความเสียหายครั้งใหญ่ มีพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยจำนวน 23 อำเภอ พื้นที่การเกษตรเสียหายรวม 580,816 ไร่ ประเมินความเสียหายรวมเป็นเงิน 2,300 ล้านบาท
เนื่องจาก จ.นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ริมทะเลทางด้านอ่าวไทย มีลำน้ำธรรมชาติซึ่งเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลผ่านตัวเมืองอยู่หลายสาย เมื่อเกิดฝนตกหนักในบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชจะมีปริมาณน้ำในคลองต่างๆปริมาณมากไหลผ่านตัวเมือง แต่คลองต่างๆ มีขนาดเล็กลง เนื่องจากถูกบุกรุกและตื้นเขิน ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลไม่ทัน จึงเกิดการไหลบ่าท่วมตัวเมืองเป็นประจำทุกปี
ต่อมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง "โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.60 วงเงิน9,580 ล้านบาท วางเป้าให้เร่งรัดโครงการแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ในการดำเนินการก่อสร้างทางผันน้ำ หรือ ฟลัดเวย์ (Flood Way) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตัวเมืองนครศรีธรรมราช และบริเวณใกล้เคียงและเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการเกษตรกรรมริมฝั่งคลองระบายน้ำ รวมทั้งสามารถป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้ามาในบริเวณพื้นที่โครงการในช่วงฤดูแล้ง
นายชยันต์ เมืองสง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา ด้านควบคุมการก่อสร้าง กรมชลประทานกล่าวว่า กรมชลประทาน ได้เร่งรัดติดตามการก่อสร้างโครงการ "ฟลัดเวย์" บรรเทาอุทกภัยเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราชโดยการขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ 3 สาย ความยาวรวม 18.64 กิโลเมตร พร้อมกับปรับปรุงคลองธรรมชาติเดิม ได้แก่ คลองวังวัว คลองหัวตรุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้สูงสุด 850 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเพียงพอที่จะไม่ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจในตัวเมือง ในขณะที่การจัดหาที่ดินทางกรมชลประทานได้มีการปักหลักเขตแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์รวมทั้งได้มีการเตรียมแผนแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพี่น้องประชาชนต่อเนื่องไปอีก 10 ปีอีกด้วย หลังการดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถแก้ปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมตัวเมืองนครศรีธรรมราชได้อย่างแท้จริง
ด้านนายธเนศดิษฐปัญญา ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 10 กล่าวว่า สำหรับแผนอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม แม้โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช จะไม่ได้จัดอยู่ในประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่กรมชลประทาน ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างโครงการ จึงได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งจะดำเนินการควบคู่กับการก่อสร้างโครงการ จำนวน 16 แผนงาน งบประมาณทั้งสิ้น 62.77 ล้านบาทระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี ได้แก่ แผนการช่วยเหลือเยียวยาให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะมีทั้งการจ่ายค่าชดเชยที่ดิน ทรัพย์สินให้กับราษฎรที่มีที่ดินตามแนวคลองระบาย 3 สาย ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับราษฎรดังกล่าวด้วย เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และแผนการอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่ในลุ่มน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคลองสายต่างๆ เช่น คลองท่าดี 4.แผนการติดตามเฝ้าระวังระบบนิเวศวิทยาต่างๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการก่อสร้าง และ 5.แผนติดตามด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น โดยจะมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้การพัฒนาโครงการเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
สยามรัฐ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561