คนจนลดเหลือ 1 ล้านคน แม่ฮ่องสอนหนาแน่น-น้อยสุดอยู่อัมพวา
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำ บิ๊กดาต้าสำรวจปริมาณคนจนแบบครบวงจรทั่วประเทศครั้งแรกของประเทศไทยพบมีทั้งหมด 1.03 ล้านคน จ.เชียงใหม่ มีมากสุด 1.8 หมื่นคน น้อยสุดที่ จ.สมุทรสงคราม 903 คน
ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เนคเทค กล่าวว่า จากสถานการณ์ความยากจนของประเทศไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า ปัจจุบันประเทศไทยใช้เส้นความยากจนที่เป็นทางการคือ ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 2,667 บาท/คน/ เดือน ซึ่งหากมองย้อนไปในช่วง 30 ปี พบว่าปัญหาความยากจนในภาพรวมของประเทศไทยลดลงอย่างมาก โดยจำนวนคนจนลดลงประมาณ 28 ล้านคนใน ช่วงเวลาดังกล่าว จากจำนวนคนจน 34.1 ล้านคน ในปี 2531 เหลือเพียง 5.8 ล้านคน ในปี 2559 สัดส่วนคนจนลดลงจาก 65.2% เป็นเพียง 8.6% ในปี 2559
อย่างไรก็ตาม การประเมินสถานการณ์ความยากจนของประเทศไทยสามารถสะท้อนถึงสถานการณ์ที่แท้จริงได้ จำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดจากหลายด้านมาประกอบกัน นอกจากคิดจากรูปแบบตัวเงินแล้วยังพิจารณาในมิติอื่นๆ ด้วย
การสำรวจครั้งนี้ได้จัดทำขึ้นตามที่คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ มีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาการพัฒนาระบบบิ๊กดาต้าของภาครัฐและมอบให้ สศช.ร่วมกับเนคเทค พัฒนาระบบ TPMAP ซึ่งเป็นระบบบิ๊กดาต้าของภาครัฐในประเด็นการแก้ปัญหาความยากจนที่สามารถระบุความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ทำให้เกิดการแก้ปัญหาความยากจนได้ตรงจุดมากขึ้น
ทั้งนี้ เนคเทคพร้อมทีมนักวิจัยลงพื้นที่จริงสำรวจข้อมูลเชิงสัมภาษณ์ และความจำเป็นพื้นฐาน พบว่ามีคนจนทั่วประเทศ 36.6 ล้านคน และจากการลงทะเบียนคนจน กระทรวงการคลังอีก 11 ล้านคน โดยนำทั้งหมดมาหาค่าผู้ที่ยากจนจากการวัดผลใน 5 มิติ คือ รายได้ การศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ และการเข้าถึงบริการทางภาครัฐ พบว่ามีคนจนใน 5 มิติ ทั่วประเทศ 1.03 ล้านคน ลดลงจากปี 2560 ที่พบ 1.3 ล้านคน
https://www.posttoday.com/social/general/565123
เนคเทคพัฒนาระบบ TPMAP ชี้เป้าคนจนใน 5 มิติ
เนคเทคจับมือ สศช.พัฒนาแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้า TPMAP ชี้เป้าคนจนจริงใน 5 มิติ เผยมีเข้าข่ายคนยากจน 1.03 ล้านราย โดยแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนมากสุดในประเทศ
วันนี้(21 กันยายน 2561) ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า จากการที่คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบิ๊กดาต้าของภาครัฐ ได้มอบหมายให้เนคเทคและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ขึ้น โดยเบื้องต้นระบบแล้วเสร็จ สามารถระบุความยากจนถึงระดับรายบุคคล และใช้ดัชนีชี้วัด ถึง 5 มิติ ซึ่งนอกจากจะดูที่รายได้หรือการเงินแล้ว ยังพิจารณาในมิติของการศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่และการเข้าถึงบริการรัฐด้วย
ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจะมีการนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในเร็ว ๆ นี้ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการข้อมูล ทำให้เห็นภาพรวมและช่วยตอบโจทย์ได้ว่า คนจนอยู่ที่ไหน คนจนมีปัญหาอะไร และจะพ้นความยากจนได้อย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่การวางนโยบายแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้านดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ นักวิจัยหน่วยวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลและการคำนวณ เนคเทค เปิดเผยว่า ระบบดังกล่าวใช้ฐานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)จากกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งสำรวจประชากรในชนบทประมาณ 36 ล้านคน (ไม่รวมกรุงเทพฯ) นำมาวิเคราะห์ความยากจนใน 5 มิติ ก่อนประมวลผลยืนยันร่วมกับข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐทั้ง 11 ล้านราย จากกระทรวงการคลัง ซึ่งเบื้องต้นพบว่า มีผู้เข้าข่ายยากจนจริงประมาณ 1.03 ล้านราย โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนในทุกมิติมากที่สุด 5 ลำดับแรก คือแม่ฮ่องสอน น่าน ตาก เชียงรายและเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก คือ หนองบัวลำภู ภูเก็ต นครปฐม สมุทรสงคราม และระยอง
นอกจากนี้หากวิเคราะห์ในแต่ละมิติ พบว่า ในเรื่องของรายได้ จังหวัดที่มีปัญหามากสุดคือ น่าน ด้านการศึกษาคือ แม่ฮ่องสอน ด้านสุขภาพคือ น่าน ด้านความเป็นอยู่คือ แม่ฮ่องสอน ส่วนเลย เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนที่ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการรัฐมากที่สุด
ดร.สุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบปี 2561 กับปี 2560 พบว่า สัดส่วนคนยากจนดีขึ้นโดยเฉพาะด้านสุขภาพ รายได้และความเป็นอยู่ ส่วนที่ยังคงมีปัญหาอยู่ ก็คือด้านการเข้าถึงบริการรัฐ และ การเข้าถึงการศึกษา ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่นผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาหรือการเดินทางที่ไม่สะดวก ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีการนำเสนอระบบดังกล่าว เพื่อฝึกการใช้งาน ใน จ.ลำพูน มุกดาหารและนครพนม และเปิดให้ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลเบื้องต้นได้ ที่ www.tpmap.in.th ส่วนอนาคตจะมีการนำข้อมูลย้อนหลัง5 ปี มาวิเคราะห์รวมถึงนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลอื่นๆ มากขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ดีเนคเทคจะมีการนำเสนอผลงานดังกล่าว และเปิดให้แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค ประจำปี 2561 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25กันยายนนี้ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
https://www.dailynews.co.th/it/667352
น่าสนใจผลสำรวจนี้นะคะ ที่พบสัดส่วนคนจนในประเทศไทยดีขึ้นเกือบทุกมิติ
⚃~มาลาริน~เนคเทคทำบิ๊กดาต้าสำรวจปริมาณคนจนใน 5 มิติ พบคนจนลดเหลือ 1 ล้านคน แม่ฮ่องสอนหนาแน่นมากที่สุด-น้อยสุดอยู่อัมพวา
คนจนลดเหลือ 1 ล้านคน แม่ฮ่องสอนหนาแน่น-น้อยสุดอยู่อัมพวา
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำ บิ๊กดาต้าสำรวจปริมาณคนจนแบบครบวงจรทั่วประเทศครั้งแรกของประเทศไทยพบมีทั้งหมด 1.03 ล้านคน จ.เชียงใหม่ มีมากสุด 1.8 หมื่นคน น้อยสุดที่ จ.สมุทรสงคราม 903 คน
ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เนคเทค กล่าวว่า จากสถานการณ์ความยากจนของประเทศไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า ปัจจุบันประเทศไทยใช้เส้นความยากจนที่เป็นทางการคือ ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 2,667 บาท/คน/ เดือน ซึ่งหากมองย้อนไปในช่วง 30 ปี พบว่าปัญหาความยากจนในภาพรวมของประเทศไทยลดลงอย่างมาก โดยจำนวนคนจนลดลงประมาณ 28 ล้านคนใน ช่วงเวลาดังกล่าว จากจำนวนคนจน 34.1 ล้านคน ในปี 2531 เหลือเพียง 5.8 ล้านคน ในปี 2559 สัดส่วนคนจนลดลงจาก 65.2% เป็นเพียง 8.6% ในปี 2559
อย่างไรก็ตาม การประเมินสถานการณ์ความยากจนของประเทศไทยสามารถสะท้อนถึงสถานการณ์ที่แท้จริงได้ จำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดจากหลายด้านมาประกอบกัน นอกจากคิดจากรูปแบบตัวเงินแล้วยังพิจารณาในมิติอื่นๆ ด้วย
การสำรวจครั้งนี้ได้จัดทำขึ้นตามที่คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ มีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาการพัฒนาระบบบิ๊กดาต้าของภาครัฐและมอบให้ สศช.ร่วมกับเนคเทค พัฒนาระบบ TPMAP ซึ่งเป็นระบบบิ๊กดาต้าของภาครัฐในประเด็นการแก้ปัญหาความยากจนที่สามารถระบุความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ทำให้เกิดการแก้ปัญหาความยากจนได้ตรงจุดมากขึ้น
ทั้งนี้ เนคเทคพร้อมทีมนักวิจัยลงพื้นที่จริงสำรวจข้อมูลเชิงสัมภาษณ์ และความจำเป็นพื้นฐาน พบว่ามีคนจนทั่วประเทศ 36.6 ล้านคน และจากการลงทะเบียนคนจน กระทรวงการคลังอีก 11 ล้านคน โดยนำทั้งหมดมาหาค่าผู้ที่ยากจนจากการวัดผลใน 5 มิติ คือ รายได้ การศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ และการเข้าถึงบริการทางภาครัฐ พบว่ามีคนจนใน 5 มิติ ทั่วประเทศ 1.03 ล้านคน ลดลงจากปี 2560 ที่พบ 1.3 ล้านคน
https://www.posttoday.com/social/general/565123
เนคเทคพัฒนาระบบ TPMAP ชี้เป้าคนจนใน 5 มิติ
เนคเทคจับมือ สศช.พัฒนาแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้า TPMAP ชี้เป้าคนจนจริงใน 5 มิติ เผยมีเข้าข่ายคนยากจน 1.03 ล้านราย โดยแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนมากสุดในประเทศ
วันนี้(21 กันยายน 2561) ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า จากการที่คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบิ๊กดาต้าของภาครัฐ ได้มอบหมายให้เนคเทคและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ขึ้น โดยเบื้องต้นระบบแล้วเสร็จ สามารถระบุความยากจนถึงระดับรายบุคคล และใช้ดัชนีชี้วัด ถึง 5 มิติ ซึ่งนอกจากจะดูที่รายได้หรือการเงินแล้ว ยังพิจารณาในมิติของการศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่และการเข้าถึงบริการรัฐด้วย
ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจะมีการนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในเร็ว ๆ นี้ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการข้อมูล ทำให้เห็นภาพรวมและช่วยตอบโจทย์ได้ว่า คนจนอยู่ที่ไหน คนจนมีปัญหาอะไร และจะพ้นความยากจนได้อย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่การวางนโยบายแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้านดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ นักวิจัยหน่วยวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลและการคำนวณ เนคเทค เปิดเผยว่า ระบบดังกล่าวใช้ฐานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)จากกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งสำรวจประชากรในชนบทประมาณ 36 ล้านคน (ไม่รวมกรุงเทพฯ) นำมาวิเคราะห์ความยากจนใน 5 มิติ ก่อนประมวลผลยืนยันร่วมกับข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐทั้ง 11 ล้านราย จากกระทรวงการคลัง ซึ่งเบื้องต้นพบว่า มีผู้เข้าข่ายยากจนจริงประมาณ 1.03 ล้านราย โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนในทุกมิติมากที่สุด 5 ลำดับแรก คือแม่ฮ่องสอน น่าน ตาก เชียงรายและเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก คือ หนองบัวลำภู ภูเก็ต นครปฐม สมุทรสงคราม และระยอง
นอกจากนี้หากวิเคราะห์ในแต่ละมิติ พบว่า ในเรื่องของรายได้ จังหวัดที่มีปัญหามากสุดคือ น่าน ด้านการศึกษาคือ แม่ฮ่องสอน ด้านสุขภาพคือ น่าน ด้านความเป็นอยู่คือ แม่ฮ่องสอน ส่วนเลย เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนที่ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการรัฐมากที่สุด
ดร.สุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบปี 2561 กับปี 2560 พบว่า สัดส่วนคนยากจนดีขึ้นโดยเฉพาะด้านสุขภาพ รายได้และความเป็นอยู่ ส่วนที่ยังคงมีปัญหาอยู่ ก็คือด้านการเข้าถึงบริการรัฐ และ การเข้าถึงการศึกษา ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่นผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาหรือการเดินทางที่ไม่สะดวก ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีการนำเสนอระบบดังกล่าว เพื่อฝึกการใช้งาน ใน จ.ลำพูน มุกดาหารและนครพนม และเปิดให้ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลเบื้องต้นได้ ที่ www.tpmap.in.th ส่วนอนาคตจะมีการนำข้อมูลย้อนหลัง5 ปี มาวิเคราะห์รวมถึงนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลอื่นๆ มากขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ดีเนคเทคจะมีการนำเสนอผลงานดังกล่าว และเปิดให้แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค ประจำปี 2561 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25กันยายนนี้ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
https://www.dailynews.co.th/it/667352
น่าสนใจผลสำรวจนี้นะคะ ที่พบสัดส่วนคนจนในประเทศไทยดีขึ้นเกือบทุกมิติ