สัมผัสย้อนเวลา ......กรุงศรีอยุธยาก่อนวันดับสูญ
กลับมาที่พระนคร ในตอนนี้ ขออย่าให้ท่านทำตัวเป็น ”ประชาชน” อย่างเด็ดขาด เพราะยุคนั้น ยังไม่มีประชาธิปไตย ยังไม่มีทุนนิยม พวกแปลกหน้า(ดูดี)อย่างเราต้อง องค์ลงเป็นแม่หญิงดาวเรือง กับ ขุนไกร กันเจ้าคะ
พระนครอโยธยาเป็นเมืองป้อมปราการ มีแม่น้ำและกำแพงเมืองล้อมรอบเป็น “เกาะเมือง” พวกฝรั่งบ้างก็บอกเป็นรูปสำเภา บ้างก็บอกว่าเป็นรูป ”พระพุทธบาท” มีป้อมปืนขนาดใหญ่จำนวน 16 – 22 ป้อม มีประตูใหญ่บก 11 ประตูคลองน้ำ 12 ประตูช่องกุด (ประตูเล็ก ) 61 ประตู หากเดินทางเข้าเกาะเมืองจะต้องข้ามเรือที่ท่าเรือข้าม ซึ่งมีจำนวนกว่า 20 ท่า รอบเกาะเมือง ส่วนทางเข้าพระนครทางบกมีทางเดียวเรียกว่า “ทำนบหัวรอ” บริเวณคูขื่อหน้า
(ตลาดหัวรอในปัจจุบัน)
แต่วัวควายต่างแดนห้ามเข้านะครับ มีเจ้าพนักงานกรมพระนครบาล สังกัดออกญาจักรี รักษาการณ์ ตรวจตราผู้คนเข้าออกอยู่อย่างเข้มงวด ขบวนเกวียนสินค้าคาราวานและนายฮ้อยโบราณ จากหัวเมืองโคราชและพระตะบอง จะมาพักค้าขายกันอยู่ที่ “บ้านศาลาเกวียน” ด้านนอกพระนคร สินค้าที่เขาเอามานั้น
“......น้ำรัก ขี้ผึ้งปีกนก ผ้าตาราง ผ้าสายบัวสี่คืบหน้าเกบทอง แลผ้าตาบัวปอกตาเลดงา แลหนังเนื้อ เอนเนื้อ เนื้อแผ่น ครั่ง ไหม กำยาน ดีบุก หน่องาของป่าต่างๆ เกวียนเมืองพระตะบอง พวกเขมรบันทุกลูกเร่ว กระวาน ไหม กำยาน ครั่ง ดีบุก หน่อ งา แลผ้าปูม แพรญวนทองพรายพลอยแดง แลสินค้าต่างๆตามอย่างเมืองเขมร ....”
ภาพ บ้านเรือนแพ ขบวนเกวียนการค้าและการเดินทางทางน้ำ
แผนที่กำหนดจุดท่องเที่ยวในพระนคร 12 แห่ง เราไปเช็คอินกันเจ้าคะ
จุดที่ 1. พระบรมหาราชวัง ฝรั่งห้ามเข้าไปภายในกำแพงวัง จะเข้าได้ก็เฉพาะนางในและโขลนทวาร (หญิงตัวใหญ่แข็งแรง ทำงานในวัง) เจ้านายและเชื้อพระวงศ์ ส่วนขุนนางและชาวต่างประเทศ เมื่อจะเข้าเฝ้า ก็จะผ่านเข้าทางประตูโขลน ด้านนอกเป็นทหารหลวงชาย ด้านในเป็นจ่าโขลนหญิง อาวุธและของน่ากลัวที่นำมาด้วยจะถูกยึดไว้ คานหามและผู้ติดตามก็ให้รออยู่ด้านนอกกำแพงวัง
ในวังหลวงจะมีวัดพระศรีสรรเพชญเป็นวัดประจำพระวัง หรือ เป็นหอพระแก้วของพระนคร อันได้พระศรีสรรเพชญ พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ ฝรั่งแชรแวส ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาบอกว่าเป็นพระพุทธรูปนั่ง ต่างจาก ในประวัติศาสตร์ไทยของเราเขาไม่เห็น สืบจากคำบอกเล่าเขียนว่าเป็นพระพุทธรูปยืน ไม่รู้จะเชื่อใครดี ?
เจดีย์สีทององค์ใหญ่โดดเด่นของวัดพระแก้วที่กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ลอกแบบมาจากวัดพระศรีสรรเพชญโดยตรงนี้แหละครับ สื่อความหมายมหามงคลว่า ความเป็นกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกทำลายไปในสงครามปี 2310นั้น ได้กลับคืนมาแล้ว ที่กรุงเทพมหานคร นี่เอง
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงเช่นเดียวกับพระที่นั่งวิหารสมเด็จ เอาไว้สำหรับว่าราชการของพระมหากษัตริย์ ขุนนางระดับออกญาหรือเจ้าพระยา และเจ้าฟ้าทรงกรมทั้งหลาย จะเข้าเฝ้าภายในปราสาท ส่วนขุนนางระดับล่างลงมาจะหมอบกราบอยู่ภายนอก บริเวณหน้ามุขสีหบัญชร
หลังจากที่พระนารายณ์ นำปืนใหญ่และไพร่ทหารจากวังหน้ายิงถล่มวังหลวงและเข้าชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าอาพระศรีสุธรรมราชาแล้ว ได้มีการ Modify พระที่นั่ง ตำหนักต่าง ๆ รวมทั้งการวางระบบน้ำประปาและสร้างพระนั่งสุริยาศมรินทร์ ขึ้นใหม่ พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเอกทัศน์ พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงชอบออกว่าราชการที่พระนั่งนี้เป็นประจำ จึงได้ชื่อเรียก(อย่างสนิทสนม)ว่า “สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศมรินทร์” จากเหล่าพระญาติพระวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่
จุดที่ 2. ระบบประปาของพระราชวัง รากฐานการประปามีมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ ที่ได้รับเทคโนโลยีมาจากชาวฝรั่งเศสโดยตรง โดยใช้แรงงานไพร่-ทาส ระบบกังหัน ระหัดวิดน้ำและท่ออัดน้ำล้น ผันน้ำจากแม่น้ำลพบุรีริมพระราชวังเข้ามาสู่ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 จุด แล้วปล่อยน้ำลงในระบบท่อดินเผา ไปสู่ตำหนักต่าง ๆ (เชื่อว่ายังไม่มีการผสมคลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อโรค) ส่วนไพร่ฟ้าทั้งหลาย ก็ใช้น้ำจากคูคลองหนองบึงตามปกติ เรื่องโรคติดต่อไม่ต้องพูดถึง เป็นกันประจำ ตายเป็นเบือ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร อหิวาตกโรคหรือโรคห่า นี่แหละตัวดี
จุดที่ 3. อู่เรือหลวง อยู่ตรงข้ามพระราชวัง ตรงปากคลองคูไม้ร้อง แถววัดเชิงท่า เป็นที่ตั้งของตลาดน้ำขนาดใหญ่และเป็นอู่เรือพระที่นั่ง จากหลักฐานคำให้การ มีจำนวนเรือพระที่นั่งมากกว่า 50 ลำ มีชื่อต่าง ๆ มากมาย “...... ศีศะพระครุธพาหนะ อสุราวายุภักษ ศีศะหงษพาหนะ (สุพรรณหงส์) ครุธพาหนะ แก้วจักรมณี สุวรรณจักรรัตนพิมานไชย สุวรรณพิมานไชย สาลิกาล่องลม เอกไชย สินธุประเวศ รัตนพิมานอำมเรศ ฯลฯ ......” ในคราวเสียกรุงปี 2310 เรือพระที่นั่งถูกทำลายทั้งหมด
ภาพ หัวเรือพระที่นั่งรูปครุฑ ที่จมอยู่ในคลองหน้าวัดเชิงท่า
จุดที่ 4. วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยา ร่องรอยหลักฐานที่เหลืออยู่ แสดงให้เห็นว่า บริเวณวัดมหาธาตุ วัดพระรามและวัดราชบูรณะ น่าจะเคยเป็นที่ปราสาทแบบเขมรโบราณ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 และเป็นอโรคยศาลาในพุทธที่ 18 ก่อนการเปลี่ยนแปลงศาสนาและผู้ปกครองกลุ่มใหม่ ดัดแปลงให้ปราสาทกลายเป็นปรางค์ในคติ”พระมหาธาตุ” ในพุทธศตวรรษที่ 20 ร่องรอยของหินทรายสีเทา ที่เคยนำมาใช้เป็นโครงสร้างของปราสาท ได้ถูกรื้อเป็นก้อน ๆ และดัดแปลง สลักเป็นชิ้นส่วนของพระพุทธรูปขนาดเล็กใหญ่ กระจายตัวอยู่ในวัดและวัดใกล้เคียง
พระปรางค์วัดมหาธาตุ พังถล่มลงมาในช่วงปลายสมัยของรัชกาลที่ 6 หลังจากที่มีการลักลอบขุดกรุวัดราชบูรณะ จึงมีการขุดกรุวัดมหาธาตุเพื่อป้องกันการลักลอบขุดหาสมบัติ พบพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องทองชั้นสูงอันเป็นพุทธบูชาโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยแรกบรรจุ ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุอันสูงค่าสมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกนำมา “จัดแสดง” อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสามพระยา
จุดที่ 5 ป้อมประตูข้าวข้าวเปลือก เป็นป้อมประตูน้ำ (ไม่ใช่ประตูบก) ปากคลองข้าวเปลือก (ปัจจุบันหลงเหลือซากโบราณสถานอยู่ริมถนนรอบเกาะและในเขตวัดราชประดิษฐ์ ) ปากคลองข้าวเปลือกเป็นย่านการค้าชั้น “ไฮโซ” มีตลาดที่มีผู้คนขวักไขว่ เรือใหญ่น้อยพายแจวเบียดไปมาบรรทุกผลผลิตมาแลกเปลี่ยนและค้าขาย คลองนี้เป็นเส้นเลือดสำคัญเพราะเป็นเส้นทางบรรทุกเข้าของข้าวเปลือกเหลืองทองสุกอร่ามจากท้องทุ่งเจ้าพระยาทางทิศเหนือ ลัดเลาะตามคลองลงมาทางใต้ยังบ้านสีข้าว บ้านข้าวสาร ก่อนที่จะกลายเป็นแกลบข้าว บรรทุกเรือออกไปยังประตูแกลบ ไปออกยังคลองแกลบทางทิศตะวันตกของพระนคร
จุดที่ 6. กรุงศรีอยุธยาก็มีเสาชิงช้าเช่นเดียวกับเสาชิงช้าที่กรุงเทพฯ เป็นชุมชน ย่านผลิตและตลาดการค้าของผู้นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู มีชื่อต่าง ๆ เช่น “.....ตลาดศาลพระกาฬ ตลาดชีกุนตลาดบ้านพราหมณ์ บ้านช่างเงิน บ้านหล่อพระ ฯลฯ....”
จุดที่ 7. ถนนหลวงกลางพระนคร ชื่อ มหารัฐยา สร้างด้วยอิฐปูพื้นลายก้างปลา เป็นเส้นทางนำเข้าสินค้าหรูหราและอาวุธสมัยใหม่จากต่างประเทศเข้าสู่พระบรมหาราชวัง ใช้ในการต้อนรับราชทูตและพ่อค้าชาวต่างประเทศ ที่อนุญาตให้เข้าพระนครได้เฉพาะทางประตูไชย (อยู่ปลายถนนทางทิศใต้ของเกาะเมือง) เท่านั้น นอกจากนี้ใช้ในกระบวนแห่พยุหยาตราทางบก ขบวนกฐินหลวงพระราชทาน ขบวนแห่นาคหลวง ขบวนแห่พระบรมศพ
จุดที่ 8. ย่านชุมชนชาวจีน อยู่ทางตอนใต้ของเกาะเมือง แถวคลองสวนพลู ส่วนภายในพระพระนคร อยู่บริเวณประตูในไก่ ประตูคลองจีน ย่านนี้เป็นที่ครึกครื้นและวุ่นวายมากที่สุดในพระนคร เพราะเป็นท่าเรือใหญ่ เป็นที่จอดสำเภา (สำเภาสลุปกำปั่น) ของชาวตะวันตก จีน ที่เข้ามาทำการค้ากับอโยธยา
มีป้อมเพชรและป้อมเกาะแก้วเป็นป้อมปืนใหญ่ที่ทันสมัยที่สุด คอยดักไม่ให้เรือทะเลชาวต่างประเทศสามารถรุกล้ำเข้าไปคูเมือง ที่สามารถแล่นเรือไปถึงพระบรมหาราชวังได้
ภาพ ป้อมมหาไชย กรุงเทพ สร้างในแบบเดียวกับป้อมมหาไชยที่กรุงศรีอยุธยา
จุดที่ 9. แม่น้ำป่าสัก เป็นคูเมืองทิศตะวันออก ในยุคที่เรามาเยือนนี้ มีขนาดกว้างกว่าในปัจจุบันประมาณ 2.5 เท่า แม่น้ำป่าสักแต่เดิมเป็นคลองขุดขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นคูเมือง แต่กระแสน้ำป่าของแม่น้ำรุนแรงมากในหน้าน้ำหลาก ได้เปลี่ยนทิศของแม่น้ำป่าสักเดิม ให้ไหลมาทางคลองขุด ขยายเป็นแม่น้ำใหญ่
จุดที่ 10. ย่านชาวต่างประเทศ บริเวณทิศใต้ของเกาะเมือง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามตั้งแต่ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 มีหมู่บ้านชาวโปตุเกส ชาวฮอลันดา ชาวฝรั่งเศส ชาวญี่ปุ่น และสถานีการค้าของ VOC ( สถานีการค้านี้ภายหลังอังกฤษเข้ามาถือหุ้นใหญ่และพัฒนากลายเป็นบริษัท อีสต์อินเดีย)
จุดที่ 11. คลองตะเคียน เป็นที่ตั้งของอู่เรือรบทางทะเล แสงยานุภาพทางทะเลของกรุงศรีอยุธยาในยุคสมัยนี้ มีขึ้นเพื่อการคุ้มครองขบวนเรือสินค้าข้าวและสินค้าป่าจากสยามที่ไปขายยังมณฑลฟูเจี้ยนของราชวงศ์ชิง ซึ่งต้องผ่านน่านน้ำที่มีโจรสลัดอันนัมและตังเกี๋ยที่โหดร้าย คอยปล้นสดมภ์ การค้าข้าวทางทะเลนำมาซึ่งรายได้และผลประโยชน์มหาศาลในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา นี่แหละคือที่มาของความร่ำรวยและรุ่งโรจน์ของกรุงศรีอยุธยา จนพม่าอังวะอิจฉาต้องยกทัพมาปล้นชิง
จุดที่ 12. ปากคลองขุนละครไชย เป็นชุมชนชาวจีน ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ตามคำให้การฉบับหอหลวงกล่าวว่า “......มีหญิงละครโสเภณี ตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด “ รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ” ตลาดนี้เป็นตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ขายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด.......”
ที่มา เนื้อหากท.คัดลอกมาจากบล็อค
วรณัย พงศาชลากร
ขอบพระคุณ ไว้ ณ โอกาสนี้
สุดท้ายนี้ จขกท. ขอฝากติดตามละครชุดสายโลหิตด้วยนะเจ้าคะ
ร่วมรำลึกความยิ่งใหญ่ และความงดงามของกรุงเก่าในอดีต ตลอดจน วีรกรรมของบรรพบุรุษดุจสายโลหิตของเรา ได้
ออกอากาศวันแรกคืนนี้เริ่มตอนแรก เสาร์ที่ ๒๒ ก.ย. ๒๕๖๑ เวลา ๒๐.๑๕ น. #ห้ามพลาดดด ทางช่อง 7 ขอบพระคุณเจ้าคะ
กริ๊ดดดด (แบบแม่หญิงอโยธยาศรีรามเทพนคร) ก่อนสายโลหิตฉายคืนนี้ ย้อนเวลาสัมผัสความอลังของกรุงเก่าก่อนล่มสลายกัน
กลับมาที่พระนคร ในตอนนี้ ขออย่าให้ท่านทำตัวเป็น ”ประชาชน” อย่างเด็ดขาด เพราะยุคนั้น ยังไม่มีประชาธิปไตย ยังไม่มีทุนนิยม พวกแปลกหน้า(ดูดี)อย่างเราต้อง องค์ลงเป็นแม่หญิงดาวเรือง กับ ขุนไกร กันเจ้าคะ
พระนครอโยธยาเป็นเมืองป้อมปราการ มีแม่น้ำและกำแพงเมืองล้อมรอบเป็น “เกาะเมือง” พวกฝรั่งบ้างก็บอกเป็นรูปสำเภา บ้างก็บอกว่าเป็นรูป ”พระพุทธบาท” มีป้อมปืนขนาดใหญ่จำนวน 16 – 22 ป้อม มีประตูใหญ่บก 11 ประตูคลองน้ำ 12 ประตูช่องกุด (ประตูเล็ก ) 61 ประตู หากเดินทางเข้าเกาะเมืองจะต้องข้ามเรือที่ท่าเรือข้าม ซึ่งมีจำนวนกว่า 20 ท่า รอบเกาะเมือง ส่วนทางเข้าพระนครทางบกมีทางเดียวเรียกว่า “ทำนบหัวรอ” บริเวณคูขื่อหน้า
(ตลาดหัวรอในปัจจุบัน)
แต่วัวควายต่างแดนห้ามเข้านะครับ มีเจ้าพนักงานกรมพระนครบาล สังกัดออกญาจักรี รักษาการณ์ ตรวจตราผู้คนเข้าออกอยู่อย่างเข้มงวด ขบวนเกวียนสินค้าคาราวานและนายฮ้อยโบราณ จากหัวเมืองโคราชและพระตะบอง จะมาพักค้าขายกันอยู่ที่ “บ้านศาลาเกวียน” ด้านนอกพระนคร สินค้าที่เขาเอามานั้น
“......น้ำรัก ขี้ผึ้งปีกนก ผ้าตาราง ผ้าสายบัวสี่คืบหน้าเกบทอง แลผ้าตาบัวปอกตาเลดงา แลหนังเนื้อ เอนเนื้อ เนื้อแผ่น ครั่ง ไหม กำยาน ดีบุก หน่องาของป่าต่างๆ เกวียนเมืองพระตะบอง พวกเขมรบันทุกลูกเร่ว กระวาน ไหม กำยาน ครั่ง ดีบุก หน่อ งา แลผ้าปูม แพรญวนทองพรายพลอยแดง แลสินค้าต่างๆตามอย่างเมืองเขมร ....”
ภาพ บ้านเรือนแพ ขบวนเกวียนการค้าและการเดินทางทางน้ำ
แผนที่กำหนดจุดท่องเที่ยวในพระนคร 12 แห่ง เราไปเช็คอินกันเจ้าคะ
จุดที่ 1. พระบรมหาราชวัง ฝรั่งห้ามเข้าไปภายในกำแพงวัง จะเข้าได้ก็เฉพาะนางในและโขลนทวาร (หญิงตัวใหญ่แข็งแรง ทำงานในวัง) เจ้านายและเชื้อพระวงศ์ ส่วนขุนนางและชาวต่างประเทศ เมื่อจะเข้าเฝ้า ก็จะผ่านเข้าทางประตูโขลน ด้านนอกเป็นทหารหลวงชาย ด้านในเป็นจ่าโขลนหญิง อาวุธและของน่ากลัวที่นำมาด้วยจะถูกยึดไว้ คานหามและผู้ติดตามก็ให้รออยู่ด้านนอกกำแพงวัง
ในวังหลวงจะมีวัดพระศรีสรรเพชญเป็นวัดประจำพระวัง หรือ เป็นหอพระแก้วของพระนคร อันได้พระศรีสรรเพชญ พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ ฝรั่งแชรแวส ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาบอกว่าเป็นพระพุทธรูปนั่ง ต่างจาก ในประวัติศาสตร์ไทยของเราเขาไม่เห็น สืบจากคำบอกเล่าเขียนว่าเป็นพระพุทธรูปยืน ไม่รู้จะเชื่อใครดี ?
เจดีย์สีทององค์ใหญ่โดดเด่นของวัดพระแก้วที่กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ลอกแบบมาจากวัดพระศรีสรรเพชญโดยตรงนี้แหละครับ สื่อความหมายมหามงคลว่า ความเป็นกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกทำลายไปในสงครามปี 2310นั้น ได้กลับคืนมาแล้ว ที่กรุงเทพมหานคร นี่เอง
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงเช่นเดียวกับพระที่นั่งวิหารสมเด็จ เอาไว้สำหรับว่าราชการของพระมหากษัตริย์ ขุนนางระดับออกญาหรือเจ้าพระยา และเจ้าฟ้าทรงกรมทั้งหลาย จะเข้าเฝ้าภายในปราสาท ส่วนขุนนางระดับล่างลงมาจะหมอบกราบอยู่ภายนอก บริเวณหน้ามุขสีหบัญชร
หลังจากที่พระนารายณ์ นำปืนใหญ่และไพร่ทหารจากวังหน้ายิงถล่มวังหลวงและเข้าชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าอาพระศรีสุธรรมราชาแล้ว ได้มีการ Modify พระที่นั่ง ตำหนักต่าง ๆ รวมทั้งการวางระบบน้ำประปาและสร้างพระนั่งสุริยาศมรินทร์ ขึ้นใหม่ พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเอกทัศน์ พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงชอบออกว่าราชการที่พระนั่งนี้เป็นประจำ จึงได้ชื่อเรียก(อย่างสนิทสนม)ว่า “สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศมรินทร์” จากเหล่าพระญาติพระวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่
จุดที่ 2. ระบบประปาของพระราชวัง รากฐานการประปามีมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ ที่ได้รับเทคโนโลยีมาจากชาวฝรั่งเศสโดยตรง โดยใช้แรงงานไพร่-ทาส ระบบกังหัน ระหัดวิดน้ำและท่ออัดน้ำล้น ผันน้ำจากแม่น้ำลพบุรีริมพระราชวังเข้ามาสู่ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 จุด แล้วปล่อยน้ำลงในระบบท่อดินเผา ไปสู่ตำหนักต่าง ๆ (เชื่อว่ายังไม่มีการผสมคลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อโรค) ส่วนไพร่ฟ้าทั้งหลาย ก็ใช้น้ำจากคูคลองหนองบึงตามปกติ เรื่องโรคติดต่อไม่ต้องพูดถึง เป็นกันประจำ ตายเป็นเบือ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร อหิวาตกโรคหรือโรคห่า นี่แหละตัวดี
จุดที่ 3. อู่เรือหลวง อยู่ตรงข้ามพระราชวัง ตรงปากคลองคูไม้ร้อง แถววัดเชิงท่า เป็นที่ตั้งของตลาดน้ำขนาดใหญ่และเป็นอู่เรือพระที่นั่ง จากหลักฐานคำให้การ มีจำนวนเรือพระที่นั่งมากกว่า 50 ลำ มีชื่อต่าง ๆ มากมาย “...... ศีศะพระครุธพาหนะ อสุราวายุภักษ ศีศะหงษพาหนะ (สุพรรณหงส์) ครุธพาหนะ แก้วจักรมณี สุวรรณจักรรัตนพิมานไชย สุวรรณพิมานไชย สาลิกาล่องลม เอกไชย สินธุประเวศ รัตนพิมานอำมเรศ ฯลฯ ......” ในคราวเสียกรุงปี 2310 เรือพระที่นั่งถูกทำลายทั้งหมด
ภาพ หัวเรือพระที่นั่งรูปครุฑ ที่จมอยู่ในคลองหน้าวัดเชิงท่า
จุดที่ 4. วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยา ร่องรอยหลักฐานที่เหลืออยู่ แสดงให้เห็นว่า บริเวณวัดมหาธาตุ วัดพระรามและวัดราชบูรณะ น่าจะเคยเป็นที่ปราสาทแบบเขมรโบราณ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 และเป็นอโรคยศาลาในพุทธที่ 18 ก่อนการเปลี่ยนแปลงศาสนาและผู้ปกครองกลุ่มใหม่ ดัดแปลงให้ปราสาทกลายเป็นปรางค์ในคติ”พระมหาธาตุ” ในพุทธศตวรรษที่ 20 ร่องรอยของหินทรายสีเทา ที่เคยนำมาใช้เป็นโครงสร้างของปราสาท ได้ถูกรื้อเป็นก้อน ๆ และดัดแปลง สลักเป็นชิ้นส่วนของพระพุทธรูปขนาดเล็กใหญ่ กระจายตัวอยู่ในวัดและวัดใกล้เคียง
พระปรางค์วัดมหาธาตุ พังถล่มลงมาในช่วงปลายสมัยของรัชกาลที่ 6 หลังจากที่มีการลักลอบขุดกรุวัดราชบูรณะ จึงมีการขุดกรุวัดมหาธาตุเพื่อป้องกันการลักลอบขุดหาสมบัติ พบพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องทองชั้นสูงอันเป็นพุทธบูชาโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยแรกบรรจุ ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุอันสูงค่าสมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกนำมา “จัดแสดง” อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสามพระยา
จุดที่ 5 ป้อมประตูข้าวข้าวเปลือก เป็นป้อมประตูน้ำ (ไม่ใช่ประตูบก) ปากคลองข้าวเปลือก (ปัจจุบันหลงเหลือซากโบราณสถานอยู่ริมถนนรอบเกาะและในเขตวัดราชประดิษฐ์ ) ปากคลองข้าวเปลือกเป็นย่านการค้าชั้น “ไฮโซ” มีตลาดที่มีผู้คนขวักไขว่ เรือใหญ่น้อยพายแจวเบียดไปมาบรรทุกผลผลิตมาแลกเปลี่ยนและค้าขาย คลองนี้เป็นเส้นเลือดสำคัญเพราะเป็นเส้นทางบรรทุกเข้าของข้าวเปลือกเหลืองทองสุกอร่ามจากท้องทุ่งเจ้าพระยาทางทิศเหนือ ลัดเลาะตามคลองลงมาทางใต้ยังบ้านสีข้าว บ้านข้าวสาร ก่อนที่จะกลายเป็นแกลบข้าว บรรทุกเรือออกไปยังประตูแกลบ ไปออกยังคลองแกลบทางทิศตะวันตกของพระนคร
จุดที่ 6. กรุงศรีอยุธยาก็มีเสาชิงช้าเช่นเดียวกับเสาชิงช้าที่กรุงเทพฯ เป็นชุมชน ย่านผลิตและตลาดการค้าของผู้นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู มีชื่อต่าง ๆ เช่น “.....ตลาดศาลพระกาฬ ตลาดชีกุนตลาดบ้านพราหมณ์ บ้านช่างเงิน บ้านหล่อพระ ฯลฯ....”
จุดที่ 7. ถนนหลวงกลางพระนคร ชื่อ มหารัฐยา สร้างด้วยอิฐปูพื้นลายก้างปลา เป็นเส้นทางนำเข้าสินค้าหรูหราและอาวุธสมัยใหม่จากต่างประเทศเข้าสู่พระบรมหาราชวัง ใช้ในการต้อนรับราชทูตและพ่อค้าชาวต่างประเทศ ที่อนุญาตให้เข้าพระนครได้เฉพาะทางประตูไชย (อยู่ปลายถนนทางทิศใต้ของเกาะเมือง) เท่านั้น นอกจากนี้ใช้ในกระบวนแห่พยุหยาตราทางบก ขบวนกฐินหลวงพระราชทาน ขบวนแห่นาคหลวง ขบวนแห่พระบรมศพ
จุดที่ 8. ย่านชุมชนชาวจีน อยู่ทางตอนใต้ของเกาะเมือง แถวคลองสวนพลู ส่วนภายในพระพระนคร อยู่บริเวณประตูในไก่ ประตูคลองจีน ย่านนี้เป็นที่ครึกครื้นและวุ่นวายมากที่สุดในพระนคร เพราะเป็นท่าเรือใหญ่ เป็นที่จอดสำเภา (สำเภาสลุปกำปั่น) ของชาวตะวันตก จีน ที่เข้ามาทำการค้ากับอโยธยา
มีป้อมเพชรและป้อมเกาะแก้วเป็นป้อมปืนใหญ่ที่ทันสมัยที่สุด คอยดักไม่ให้เรือทะเลชาวต่างประเทศสามารถรุกล้ำเข้าไปคูเมือง ที่สามารถแล่นเรือไปถึงพระบรมหาราชวังได้
ภาพ ป้อมมหาไชย กรุงเทพ สร้างในแบบเดียวกับป้อมมหาไชยที่กรุงศรีอยุธยา
จุดที่ 9. แม่น้ำป่าสัก เป็นคูเมืองทิศตะวันออก ในยุคที่เรามาเยือนนี้ มีขนาดกว้างกว่าในปัจจุบันประมาณ 2.5 เท่า แม่น้ำป่าสักแต่เดิมเป็นคลองขุดขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นคูเมือง แต่กระแสน้ำป่าของแม่น้ำรุนแรงมากในหน้าน้ำหลาก ได้เปลี่ยนทิศของแม่น้ำป่าสักเดิม ให้ไหลมาทางคลองขุด ขยายเป็นแม่น้ำใหญ่
จุดที่ 10. ย่านชาวต่างประเทศ บริเวณทิศใต้ของเกาะเมือง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามตั้งแต่ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 มีหมู่บ้านชาวโปตุเกส ชาวฮอลันดา ชาวฝรั่งเศส ชาวญี่ปุ่น และสถานีการค้าของ VOC ( สถานีการค้านี้ภายหลังอังกฤษเข้ามาถือหุ้นใหญ่และพัฒนากลายเป็นบริษัท อีสต์อินเดีย)
จุดที่ 11. คลองตะเคียน เป็นที่ตั้งของอู่เรือรบทางทะเล แสงยานุภาพทางทะเลของกรุงศรีอยุธยาในยุคสมัยนี้ มีขึ้นเพื่อการคุ้มครองขบวนเรือสินค้าข้าวและสินค้าป่าจากสยามที่ไปขายยังมณฑลฟูเจี้ยนของราชวงศ์ชิง ซึ่งต้องผ่านน่านน้ำที่มีโจรสลัดอันนัมและตังเกี๋ยที่โหดร้าย คอยปล้นสดมภ์ การค้าข้าวทางทะเลนำมาซึ่งรายได้และผลประโยชน์มหาศาลในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา นี่แหละคือที่มาของความร่ำรวยและรุ่งโรจน์ของกรุงศรีอยุธยา จนพม่าอังวะอิจฉาต้องยกทัพมาปล้นชิง
จุดที่ 12. ปากคลองขุนละครไชย เป็นชุมชนชาวจีน ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ตามคำให้การฉบับหอหลวงกล่าวว่า “......มีหญิงละครโสเภณี ตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด “ รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ” ตลาดนี้เป็นตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ขายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด.......”
ที่มา เนื้อหากท.คัดลอกมาจากบล็อค วรณัย พงศาชลากร
ขอบพระคุณ ไว้ ณ โอกาสนี้
สุดท้ายนี้ จขกท. ขอฝากติดตามละครชุดสายโลหิตด้วยนะเจ้าคะ
ร่วมรำลึกความยิ่งใหญ่ และความงดงามของกรุงเก่าในอดีต ตลอดจน วีรกรรมของบรรพบุรุษดุจสายโลหิตของเรา ได้
ออกอากาศวันแรกคืนนี้เริ่มตอนแรก เสาร์ที่ ๒๒ ก.ย. ๒๕๖๑ เวลา ๒๐.๑๕ น. #ห้ามพลาดดด ทางช่อง 7 ขอบพระคุณเจ้าคะ