🚜ข่าวประชาสัมพันธ์กรมทางหลวง วันที่ 17 สิงหาคม 2561🚜
รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ช่วงที่ 1 (กลางดง - ปางอโศก) คืบหน้า 28% คาดว่าแล้วเสร็จตุลาคม 2561 ส่วนงานชั้นรองพื้นทางแล้วเสร็จเกือบหมด
นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงที่ 1 (ช่วงกลางดง – ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างให้ ซึ่งประกอบด้วยงานหลักๆ 7 งาน ได้แก่ งานโครงการชั้นทางรถไฟความเร็วสูง งาน Service Road และ Access Road งานย้ายรางรถไฟเดิม รวมระยะทาง 900 เมตร งานระบายน้ำ (Drainage) งาน Culvert งาน Bridge และงาน Miscellaneous นั้น ปัจจุบันโครงการมีความคืบหน้า 28% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2561 นี้
อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวต่อไปอีกว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงได้เร่งทำงานวันละกว่า 15 ชั่วโมง (07.00 - 22.00 น.) ขณะนี้งานชั้นรองพื้นทาง (Bottom Layer of Subgrade Bed) แล้วเสร็จเกือบทั้งหมดแล้ว ทำให้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ข้างหน้าจะทำให้งานก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การดำเนินงานรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่1 (กลางดง - ปางอโศก) นั้นจะเป็นต้นแบบในการดำเนินงานในช่วงต่อไปของโครงการรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ - หนองคาย ซึ่งการดำเนินการมีการตรวจสอบและทดสอบ คุณสมบัติต่างๆของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดการดำเนินงานจากที่ปรึกษาของจีนอย่างละเอียด อย่างเช่น รางระบายน้ำซึ่งมีการใช้เหล็กและวัสดุในการดำเนินงานในมาตรฐานระดับสูง ซึ่งทางที่ปรึกษาจีนได้บอกว่าวัสดุที่ใช้มีความแข็งแรงอายุการใช้งานกว่า 100 ปี โดยวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีเพียง 2% ที่นำเข้ามาจากประเทศจีนได้แก่ วัสดุป้องกันความชื้น (Geosynthetics) สายดิน (Earthing and Bonding) ซึ่งเป็นวัสดุประกอบเพิ่มเติมที่ใช้ในรองพื้นทาง ในส่วนการดำเนินการต่างๆ เช่น การตรวจสอบวัสดุ การควบคุมงาน การสร้างในขั้นตอนต่างๆ กรมทางหลวงจะได้จัดทำเป็นคู่มือเพื่อเป็นองค์ความรู้ในการดำเนินงานในลักษณะงานที่คล้ายคลึงกันต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ จะช่วยเสริมสร้างโครงข่ายการคมนาคมของประเทศรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการคมนาคมขนส่งถึงประเทศจีน อีกทั้ง ยังสามารถเชื่อมโยงกับการขนส่งทางถนน ซึ่งกรมทางหลวงได้ก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 บางปะอิน – นครราชสีมา ควบคู่ไปด้วย ก็จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอีกด้วย
Cr. เพจกรมทางหลวง
มาดูความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ช่วงกลางดง ปางอโศกครับ
รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ช่วงที่ 1 (กลางดง - ปางอโศก) คืบหน้า 28% คาดว่าแล้วเสร็จตุลาคม 2561 ส่วนงานชั้นรองพื้นทางแล้วเสร็จเกือบหมด
นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงที่ 1 (ช่วงกลางดง – ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างให้ ซึ่งประกอบด้วยงานหลักๆ 7 งาน ได้แก่ งานโครงการชั้นทางรถไฟความเร็วสูง งาน Service Road และ Access Road งานย้ายรางรถไฟเดิม รวมระยะทาง 900 เมตร งานระบายน้ำ (Drainage) งาน Culvert งาน Bridge และงาน Miscellaneous นั้น ปัจจุบันโครงการมีความคืบหน้า 28% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2561 นี้
อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวต่อไปอีกว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงได้เร่งทำงานวันละกว่า 15 ชั่วโมง (07.00 - 22.00 น.) ขณะนี้งานชั้นรองพื้นทาง (Bottom Layer of Subgrade Bed) แล้วเสร็จเกือบทั้งหมดแล้ว ทำให้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ข้างหน้าจะทำให้งานก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การดำเนินงานรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่1 (กลางดง - ปางอโศก) นั้นจะเป็นต้นแบบในการดำเนินงานในช่วงต่อไปของโครงการรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ - หนองคาย ซึ่งการดำเนินการมีการตรวจสอบและทดสอบ คุณสมบัติต่างๆของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดการดำเนินงานจากที่ปรึกษาของจีนอย่างละเอียด อย่างเช่น รางระบายน้ำซึ่งมีการใช้เหล็กและวัสดุในการดำเนินงานในมาตรฐานระดับสูง ซึ่งทางที่ปรึกษาจีนได้บอกว่าวัสดุที่ใช้มีความแข็งแรงอายุการใช้งานกว่า 100 ปี โดยวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีเพียง 2% ที่นำเข้ามาจากประเทศจีนได้แก่ วัสดุป้องกันความชื้น (Geosynthetics) สายดิน (Earthing and Bonding) ซึ่งเป็นวัสดุประกอบเพิ่มเติมที่ใช้ในรองพื้นทาง ในส่วนการดำเนินการต่างๆ เช่น การตรวจสอบวัสดุ การควบคุมงาน การสร้างในขั้นตอนต่างๆ กรมทางหลวงจะได้จัดทำเป็นคู่มือเพื่อเป็นองค์ความรู้ในการดำเนินงานในลักษณะงานที่คล้ายคลึงกันต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ จะช่วยเสริมสร้างโครงข่ายการคมนาคมของประเทศรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการคมนาคมขนส่งถึงประเทศจีน อีกทั้ง ยังสามารถเชื่อมโยงกับการขนส่งทางถนน ซึ่งกรมทางหลวงได้ก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 บางปะอิน – นครราชสีมา ควบคู่ไปด้วย ก็จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอีกด้วย
Cr. เพจกรมทางหลวง