[CR] Vespa On Tour Nakhon Nayok


VESPA ON TOUR KHUN DAN PRAKANCHON DAM

🚩K H U N D A N P R A K A N C H O N D A M

เ ขื่ อ น ข อ ง พ่ อ

" ค ว า ม ง า ม ข อ ง รู ป ถ่ า ย ไ ม่ ส า ม า ร ถ
บ่ ง บ อ ก เ รื่ อ ง ร า วไ ด้ ทั้ ง ห ม ด
จ น ก ว่ า คุ ณ จ ะ อ อ ก เ ดิ น ท า ง "

🚩K H U N D A N P R A K A N C H O N D A M

เ ขื่ อ น ข อ ง พ่ อ


🚩K H U N D A N P R A K A N C H O N D A M

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทานพิจารณาวางโครงการเพื่อก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่านฯ บริเวณ บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำนครนายกที่เกิดเป็นประจำ ด้วยระบบ ชลประทาน ที่จะช่วยควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ และยังสามารถช่วยราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภค ตลอดจน แก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น และเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่านฯ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นสิริมงคลสูงสุดแก่พสกนิกรชาวจังหวัดนครนายก

[ข้อมูล : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]
🚩K H U N D A N P R A K A N C H O N D A M

ความเป็นมาของโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล
ลุ่มน้ำนครนายกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ทำให้เกิดฝนชุกโดยเฉลี่ย ประมาณ 1,500 ถึง 2,000 มม. ต่อปี หรือร้อยละ 87 และระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมยังเป็นช่วงที่มีน้ำท่าสูงสุดถึงร้อยละ 93 ของปริมาณ น้ำท่าเฉลี่ยทั้งปี น้ำฝนที่ตกลงมาจะไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นาและพื้นที่ทำการเกษตรโดยรอบ บางแห่งน้ำท่วมแช่อยู่นานจนไร่นา และพื้นที่ทำการเกษตรเสียหาย อ่างเก็บน้ำที่มีอยู่ก็ไม่สามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินนี้ไว้ในฤดูแล้งได้ แม้ว่าบริเวณลุ่มแม่น้ำจะมีระบบชลประทานขนาดเล็ก และขนาดกลางโดยมีฝาย เช่น ฝายท่าด่าน หรือเขื่อนทดน้ำตามลำน้ำเป็นระยะ เพื่อใช้ตัวลำน้ำเองเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝน และยังใช้อ่างเก็บน้ำ ตามลำน้ำสาขาทางต้นน้ำนครนายกช่วยเก็บกักด้วยก็ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยป้องกันน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และไม่เพียงพอที่จะเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ทำให้เกิด การสูญเสียอย่างมาก พื้นที่บางส่วนจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน แต่พอถึงฤดูแล้งน้ำกลับแห้งผาก จากสภาวะน้ำท่วมแช่อยู่เป็นเวลานานสลับกับความแล้งซ้ำซาก ทำให้ดิน กลายสภาพเป็นกรดที่เรียกว่า ”ดินเปรี้ยว” ในแต่ละปีดินเปรี้ยวสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัดนครนายกด้วยเหตุผลดังกล่าว โครงการเขื่อนคลองท่าด่านฯ จึงเกิดขึ้นโดยมีความมุ่งมั่นที่จะขจัดปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งและดินเปรี้ยว ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่ สามารถเก็บกักน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบให้พอเพียงกับความต้องการของกิจกรรมทุกประเภท ภายในลุ่มน้ำนครนายกและพื้นที่ใกล้เคียง

[ข้อมูล : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]🚩K H U N D A N P R A K A N C H O N D A M

ลักษณะเขื่อนขุนด่านปราการชล
ที่ตั้ง ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
ชนิดเขื่อน เขื่อนคอนกรีตบดอัด
ความสูงเขื่อน 93 เมตร
ความยาว 2,594 เมตร
ระดับสันเขื่อน +112 เมตร (รทก.)
ระดับเก็บกักน้ำ +110 เมตร (รทก.)
ความจุอ่างที่ระดับเก็บกัก 224 ล้าน ลบ.ม.

[ข้อมูล : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]ข้ า ง ห น้ า ท า ง ชั น
อ า ก า ศ ดี สู ด อ า ก า ศ ใ ห้ เ ต็ ม ป อ ด
🚩K H U N D A N P R A K A N C H O N H Y D R O P O W E R P L A N T

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชลเป็นโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับ กรมชลประทาน ในการใช้ประโยชน์จากน้ำในเขื่อนของกรมชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของรัฐบาล ประกาศในเดือน กันยายน พ.ศ.2546 ที่กำหนดให้มุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพื่อลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

ในเดือนธันวาคม 2546 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศนโยบายส่งเสริมให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กบริเวณท้ายเขื่อนของกรมชลประทานเพื่อผลิตไฟฟ้า จากการปล่อยน้ำตามปกติของกรมชลประทานอยู่แล้ว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบโดยให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้สนับสนุนด้าน เทคนิคการวางแผนและการพัฒนาเรื่องดังกล่าว ในการนี้ กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งได้รับมอบหมายจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงานตามลำดับ ได้ร่วมกันพิจารณาดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดย กฟผ. แสดงเจตจำนง จะพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทานรวม 6 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกัน 78.7 เมกะวัตต์ กฟผ. ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนขุนด่านปราการชลเป็นหนึ่งใน 6 โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ด้วย

[ข้อมูล : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]
🚩K H U N D A N P R A K A N C H O N H Y D R O P O W E R P L A N T

ลักษณะโรงไฟฟ้า
ประกอบด้วยอาคารโรงไฟฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของเขื่อนขุนด่านปราการชล ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 18 เมตร และท่อส่งน้ำเข้าโรงไฟฟ้า ชนิดท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ยาว 60.5 เมตรซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมของตัวเขื่อน โดยน้ำที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าเมื่อน้ำไหลผ่านเครื่องผลิตไฟฟ้า แล้วจะปล่อยให้ไหลกลับลงสู่ลำน้ำเดิมเพื่อใช้ในระบบของชลประทานต่อไป โรงไฟฟ้าติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าแบบ Horizontal-Shaft Francis Turbine มีกำลังการผลิตติดตั้ง 10.7 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ซึ่งใช้ปริมาณน้ำในการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ย 17.66 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่ความสูงหัวน้ำ 66.65 เมตร ไฟฟ้าที่ผลิตได้ จะส่งต่อให้กับระบบสายส่งขนาด 22 กิโลโวลท์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต่อไปเพื่อใช้ในพื้นที่ จ.นครนายกและพื้นที่ใกล้เคียง โรงไฟฟ้าจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 27.99 ล้านหน่วยกิโลวัตต์-ชั่วโมง

[ข้อมูล : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]
🚩K H U N D A N P R A K A N C H O N H Y D R O P O W E R P L A N T

เครื่องผลิตไฟฟ้าแบบ Horizontal-Shaft Francis Turbine มีกำลังการผลิตติดตั้ง 10.7 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง

🏭ประโยชน์⚡

1. ลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. ผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาดได้เฉลี่ย 27.99 ล้านหน่วย/ปี
3. ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
4. ส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
5. ทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในระบบผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศ
6. เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น ระหว่างการก่อสร้าง
7. สร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้า

[ข้อมูล : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]ธ ร ร ม ช า ติ ส อ ง ฝั่ ง ข้ า ง ท า ง
วิ ว ส ว ย ข อ D A B ห น่ อ ย

ชื่อสินค้า:   Vespa Sprint 150
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง โดยได้รับส่วนลดหรือสิทธิพิเศษจากเจ้าของสินค้าเพื่อแลกกับการรีวิว
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่