คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ ได้ให้จำกัดความของคำว่า " ความผิดมูลฐาน " ที่จะต้องถูกตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมหรือไม่ การฟอกเงิน คือ การนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาเปลี่ยนสภาพให้เป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาอย่างถูกต้อง หรือที่เรียกว่า กระบวนการทำ " เงินสกปรก " ให้เปลี่ยนสภาพเป็น " เงินสะอาด " แต่ในกรณีตามกระทู้นั้น แม้ผูเซื้อจะเป็นคนร้ายนำเงินมาเปลี่ยนสภาพแต่ จขกท ซึ่งเป็นผู้ขายมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยกับการกระทำความผิดจึงไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย แต่ จขกท ต้องดำเนินกระบวนการทางกฎหมายให้ถูกต้อง กล่าวคือว่า จขกท ต้องทำหนังสือชึ้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินและที่ดินตลอดจนการประกอบอาชีพของ จขกท ว่ามีความเป็นมาอย่างไรพร้อมเอกสารประกอบให้ชัดเจนเมื่อเจ้าพนักงานสอบสวนแล้วเห็นว่ามีเหตุผลรับฟังได้ว่าเป็นไปโดยสุจริค ก็จะยกเลิกเพิกถอนการอายัดทรัพย์ แต่ถ้าหากเจ้าพนักงานเห็นว่าพยานหลักฐานของ จขกท รับฟังไม่ได้ก็จะถูกดำเนินคดีเพื่อยึดทรัพย์ต่อไป และความผิดฐานฟอกเงินมีโทษทางอาญาจำคุก ๑ - ๑๐ ปี ในกรณีเช่นว่านี้ จขกท สามารถร้องคัดค้านต่อศาลได้ อนึ่ง จขกท ควรปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์ทางด้านคดียาเสพติดจะเป็นประโยชน์มากกว่า
แสดงความคิดเห็น
ขายที่ได้แล้วจะมีปัญหาตามมา ทำไงดี?
1.ตามกฎหมายและข้อปฏิบัติปกติของกระบวนการยุติธรรมของไทยในปัจจุบัน ผู้ขายสามารถถูกดึงไปเกี่ยวข้องด้วยแบบนั้นได้จริงๆหรือ และจะมีวิธีใดให้เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเพื่อจะให้หลุดจากการจะถูกอายัดจากเรื่องที่เราไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยจริงๆ
2.ถ้าไม่ต้องการให้เกิดกรณีดัวกล่าว ผู้ขายมีวิธีอย่างไรหรือไม่ตามกฎหมายระหว่างที่จะขายที่ ทำสัญญา วางมัดจำ จนถึงการโอนขายกันจริง มีกระบวนการอย่างไรที่ผู้ขายจะปกป้องตัวเองได้ หรือมีทางที่ผู้ขายจะตรวจสอบกับหน่วยงานของรัฐที่ไหนก่อนให้ว่า ถ้าต่อไปมีใครจะมาสอบสวนเราสามารถอ้างได้เลยว่า เราทำอย่างนี้ๆ เราตรวจสอบกับหน่วยนี้แล้วฯลฯ เพื่อที่เขาจะได้ไม่อายัดทรัพย์โดยอ้างว่าเราเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินได้อีก
ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทุกๆคำตอบครับ