คนชี้บัตรคนจนไม่ต่างประชานิยม หนุนเพิ่มเงิน นำมาใช้จับจ่าย
https://www.thairath.co.th/content/1377175
คนส่วนใหญ่หนุน เพิ่มเงินบัตรคนจน มองไม่สามารถลดเหลื่อมล้ำได้ เพราะแก้ปลายเหตุ ชี้ไม่ต่างกับนโยบายประชานิยม ชงเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล...
เมื่อวันที่ 16 ก.ย.61 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น
“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย? โดยเมื่อถามถึงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสิทธิจาก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ของรัฐบาล พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.60 ระบุว่า ไม่ได้ลงทะเบียน
และร้อยละ 34.40 ระบุว่า ลงทะเบียน
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือ
“บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” โดยสามารถเบิกเป็นเงินสด เพื่อนำไปชำระค่าบริการอื่นๆ ได้ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะประชาชนผู้มีรายได้น้อยจะได้นำเงินมาใช้จ่ายในส่วนอื่นที่ไม่สามารถใช้บัตรสวัสดิการซื้อได้ และยังมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
รองลงมา ร้อยละ 17.80 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด สามารถแก้ได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น
และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ในระดับใด พบว่า
ประชาชน ร้อยละ 12.53 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้มาก
ร้อยละ 32.08 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างมาก
ร้อยละ 25.30 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างน้อย
ร้อยละ 14.92 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้น้อย
ร้อยละ 13.73 ระบุว่า ไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้เลย
และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับ
“บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ ระหว่างคนรวย/คนจน ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลได้หรือไม่ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.08 ระบุว่า ไม่สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ช่วยเหลือได้เพียงเฉพาะหน้าเท่านั้น ไม่มีแนวทางใดที่จะสามารถมาช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจลงได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ผู้ลงทะเบียนบางส่วนไม่ใช่คนจนจริงๆ รองลงมา
ร้อยละ 28.89 ระบุว่า สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เพราะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่คนจนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และทำให้ปัญหาความยากจนลดลง
และร้อยละ 3.03 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงว่าอยากเสนอให้รัฐบาลเพิ่มสวัสดิการในด้านใดบ้าง พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.73 ระบุว่า ค่ารักษาพยาบาล
รองลงมา ร้อยละ 38.71 ระบุว่า การช่วยเหลืออาชีพด้านเกษตรกรรม
ร้อยละ 36.31 ระบุว่า เงินส่งเสริมผู้สูงอายุ/ผู้เกษียณอายุ
ร้อยละ 25.94 ระบุว่า ช่วยเหลือการสร้างอาชีพ
ร้อยละ 23.78 ระบุว่า ค่าการศึกษา/ค่าเล่าเรียน/ทุนการศึกษาบุตร
ร้อยละ 20.35 ระบุว่า ค่าสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ระบบขนส่งมวลชน
ร้อยละ 10.77 ระบุว่า สวัสดิการสำหรับผู้พิการ
ร้อยละ 9.02 ระบุว่า สวัสดิการสำหรับลูกจ้างรายวัน/ ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 4.71 ระบุว่า จ่ายคืนหนี้ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นต้น
ร้อยละ 0.64 ระบุอื่นๆ ได้แก่ จัดสรรที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากจน
ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีข้อเสนอให้รัฐบาลเพิ่มสวัสดิการ และร้อยละ 2.71 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง
“บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” แตกต่างจาก
“นโยบายประชานิยม” หรือไม่ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.00 ระบุว่า ไม่แตกต่าง เพราะมีแนวทางในการแก้ไข ช่วยเหลือปัญหาความยากจนเหมือนกัน แค่ใช้ชื่อเรียกที่ต่างกัน รองลงมา
ร้อยละ 24.02 ระบุว่า แตกต่าง เพราะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยเพียงอย่างเดียว
และร้อยละ 9.98 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ.
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ความชัดเจนการเลือกตั้ง จะส่งผลบวกต่อภาคการลงทุนและเศรษฐกิจ
https://prachatai.com/journal/2018/09/78728
คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ระบุความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งส่งผลบวกต่อภาคการลงทุนและเศรษฐกิจ หากมีการเลือกตั้งภายในเดือน ก.พ. 2562 ค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งและกิจกรรมทางการเมืองจะทำให้เงินสะพัดตั้งแต่ไตรมาส 4/2561 ไม่ต่ำกว่า 50,000-65,000 ล้านบาท แต่การไม่เปิดเสรีภาพ (ไม่ปลดล็อคทำเพียงแค่คลายล็อค) ให้พรรคการเมืองและประชาชนจะลดทอนผลบวกและทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าจะมีระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่
16 ก.ย. 2561 ผศ.ดร.
อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แสดงความเห็นต่อผลกระทบของการเลือกตั้งต่อเศรษฐกิจว่าความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งส่งผลบวกต่อภาคการลงทุนและเศรษฐกิจ หากมีการเลือกตั้งภายในเดือน ก.พ. 2562 ค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งและกิจกรรมทางการเมืองกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทำให้เงินสะพัดตั้งแต่ไตรมาส 4/2561 ต่อเนื่องไปยังต้นปีหน้าไม่ต่ำกว่า 50,000-65,000 ล้านบาท มีการกระจายตัวของกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ ในขอบเขตทั่วประเทศ เม็ดเงินจะกระจายตัวมากกว่าการใช้จ่ายงบประมาณตามปรกติ การกระจายเชิงพื้นที่จะลดการกระจุกตัวของการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันหากการเลือกตั้งเลื่อนออกไปมากเท่าไหร่จากเดือน ก.พ. 2562 ไปเดือน พ.ค. 2562 ย่อมทำให้ข้าราชการจำนวนหนึ่งเกียร์ว่างและรอดูความชัดเจนว่าพรรคการเมืองใดจะชนะการเลือกตั้ง ใครจะมาเป็นรัฐบาลและบริหารกระทรวงใดบ้าง อาจทำให้งบลงทุนมีการเบิกจ่ายลดลง
แต่การไม่เปิดเสรีภาพ (ไม่ปลดล็อคทำเพียงแค่คลายล็อค) ให้พรรคการเมืองและประชาชนในการทำกิจกรรมทางการเมืองจะลดทอนผลบวกของการเลือกตั้งต่อเศรษฐกิจและหักล้างผลดีที่เกิดขึ้นกับตลาดการเงินรวมทั้งกระแสเงินทุนไหลเข้าของนักลงทุนต่างชาติ และทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าจะมีระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่ การเลือกตั้งที่เป็นเพียงพิธีกรรมย่อมไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ภาคการลงทุนในระยะยาว การทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยตามเจตนารมณ์ของประชาชน มีเสรีภาพในการทำกิจกรรมทางการเมือง ย่อมทำให้คุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเลือกตั้งดีขึ้น ระบบนิติรัฐและความน่าเชื่อถือของรัฐบาลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการลงทุนและการตัดสินใจ ยิ่งเลือกตั้งเร็วเท่าไหร่ และสามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างโปร่งใส เป็นธรรมและน่าเชื่อถือมากเท่าไหร่ จะยิ่งลดความเสี่ยงในการจะเกิดวิกฤตการณ์การเมืองรอบใหม่มากเท่านั้น และเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
การเลือกตั้งที่โปร่งใสเป็นธรรมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำมาสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยหลังการเลือกตั้งต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและปรับเปลี่ยนระบบและกลไกบางอย่างเพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามจากระบอบกึ่งประชาธิปไตย สู่ระบอบประชาธิปไตยโดยฉันทามติของประชาชน เมื่อมีประชาธิปไตยที่ความมั่นคงแล้ว
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของกลุ่มทุนไทย (Outward Direct Investment) เพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยการเมืองในประเทศจะลดลง และจะไหลย้อนกลับมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่วนนักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อขยายฐานการผลิต สร้างเครือข่ายการค้า ขยายฐานลูกค้า และแสวงหาทรัพยากร วัตถุดิบและเทคโนโลยีจะยังคงเติบโตต่อไป การเติบโตส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการผ่อนคลายและการเปิดเสรีการออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วย อัตราการเติบโตของ
Thailand’s outward direct investment ในหลายปีที่ผ่านมายังคงสูงกว่าการลงทุนภาคเอกชนในประเทศ การลงทุนในต่างประเทศของกลุ่มทุนไทยอยู่ที่ 2.921 ล้านล้านบาท เทียบการลงทุนเอกชนในประเทศอยู่ที่ 2.555 ล้านล้านบาท การลงทุนในประเทศจึงค่อนข้างซบเซาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพิ่งจะกระเตื้องขึ้นบ้างในปีนี้
ผศ.ดร.
อนุสรณ์ กล่าวว่าการคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะทำให้เกิดการกระจายอำนาจมากขึ้น การกระจายอำนาจจะเป็นปัจจัยจำเป็นต่อการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การกระจายตัวของรายได้และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ระบบการเมืองที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีเสรีภาพจะช่วยลดการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจลง สามารถใช้เสรีภาพโดยไม่ถูกปิดกั้นในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศจะเป็นสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้ดีกว่า เมื่อพิจารณาผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจมหภาค พบว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งที่ไม่เสรีไม่เป็นธรรมหรือการสืบทอดอำนาจโดยไม่ยึดหลักการประชาธิปไตย (นายกฯคนนอก) ส่งผลในเชิงลบต่อ เศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน และต่อศักยภาพการเจริญเติบโตระยะยาว ความไม่แน่นอนทางการเมืองมีหลายลักษณะและมีนัยสำคัญทางสถิติและขนาดของผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของปัจจัยทางการเมืองต่อพลวัตของเศรษฐกิจไทย เราหวังว่าจะเกิดความแน่นอนทางการเมืองด้วยการจัดการเลือกตั้งให้เสรีและเป็นธรรมรวมทั้งเคารพต่อเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริงด้วยการสนับสนุนให้พรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ จัดตั้งรัฐบาลและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. งดออกเสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรี
JJNY : 5in1 คนชี้บัตรคนจนไม่ต่างประชานิยม/ชี้ความชัดเจนลต.ผลบวกศก./เกษตรกรกว่าพันบุกกรุง/ฝึกคนจนไม่แตะเป้า/เตือน17-19
https://www.thairath.co.th/content/1377175
คนส่วนใหญ่หนุน เพิ่มเงินบัตรคนจน มองไม่สามารถลดเหลื่อมล้ำได้ เพราะแก้ปลายเหตุ ชี้ไม่ต่างกับนโยบายประชานิยม ชงเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล...
เมื่อวันที่ 16 ก.ย.61 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย? โดยเมื่อถามถึงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสิทธิจาก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ของรัฐบาล พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.60 ระบุว่า ไม่ได้ลงทะเบียน
และร้อยละ 34.40 ระบุว่า ลงทะเบียน
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” โดยสามารถเบิกเป็นเงินสด เพื่อนำไปชำระค่าบริการอื่นๆ ได้ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะประชาชนผู้มีรายได้น้อยจะได้นำเงินมาใช้จ่ายในส่วนอื่นที่ไม่สามารถใช้บัตรสวัสดิการซื้อได้ และยังมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
รองลงมา ร้อยละ 17.80 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด สามารถแก้ได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น
และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ในระดับใด พบว่า
ประชาชน ร้อยละ 12.53 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้มาก
ร้อยละ 32.08 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างมาก
ร้อยละ 25.30 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างน้อย
ร้อยละ 14.92 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้น้อย
ร้อยละ 13.73 ระบุว่า ไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้เลย
และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ ระหว่างคนรวย/คนจน ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลได้หรือไม่ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.08 ระบุว่า ไม่สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ช่วยเหลือได้เพียงเฉพาะหน้าเท่านั้น ไม่มีแนวทางใดที่จะสามารถมาช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจลงได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ผู้ลงทะเบียนบางส่วนไม่ใช่คนจนจริงๆ รองลงมา
ร้อยละ 28.89 ระบุว่า สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เพราะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่คนจนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และทำให้ปัญหาความยากจนลดลง
และร้อยละ 3.03 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงว่าอยากเสนอให้รัฐบาลเพิ่มสวัสดิการในด้านใดบ้าง พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.73 ระบุว่า ค่ารักษาพยาบาล
รองลงมา ร้อยละ 38.71 ระบุว่า การช่วยเหลืออาชีพด้านเกษตรกรรม
ร้อยละ 36.31 ระบุว่า เงินส่งเสริมผู้สูงอายุ/ผู้เกษียณอายุ
ร้อยละ 25.94 ระบุว่า ช่วยเหลือการสร้างอาชีพ
ร้อยละ 23.78 ระบุว่า ค่าการศึกษา/ค่าเล่าเรียน/ทุนการศึกษาบุตร
ร้อยละ 20.35 ระบุว่า ค่าสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ระบบขนส่งมวลชน
ร้อยละ 10.77 ระบุว่า สวัสดิการสำหรับผู้พิการ
ร้อยละ 9.02 ระบุว่า สวัสดิการสำหรับลูกจ้างรายวัน/ ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 4.71 ระบุว่า จ่ายคืนหนี้ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นต้น
ร้อยละ 0.64 ระบุอื่นๆ ได้แก่ จัดสรรที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากจน
ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีข้อเสนอให้รัฐบาลเพิ่มสวัสดิการ และร้อยละ 2.71 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” แตกต่างจาก “นโยบายประชานิยม” หรือไม่ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.00 ระบุว่า ไม่แตกต่าง เพราะมีแนวทางในการแก้ไข ช่วยเหลือปัญหาความยากจนเหมือนกัน แค่ใช้ชื่อเรียกที่ต่างกัน รองลงมา
ร้อยละ 24.02 ระบุว่า แตกต่าง เพราะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยเพียงอย่างเดียว
และร้อยละ 9.98 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ.
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ความชัดเจนการเลือกตั้ง จะส่งผลบวกต่อภาคการลงทุนและเศรษฐกิจ
https://prachatai.com/journal/2018/09/78728
คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ระบุความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งส่งผลบวกต่อภาคการลงทุนและเศรษฐกิจ หากมีการเลือกตั้งภายในเดือน ก.พ. 2562 ค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งและกิจกรรมทางการเมืองจะทำให้เงินสะพัดตั้งแต่ไตรมาส 4/2561 ไม่ต่ำกว่า 50,000-65,000 ล้านบาท แต่การไม่เปิดเสรีภาพ (ไม่ปลดล็อคทำเพียงแค่คลายล็อค) ให้พรรคการเมืองและประชาชนจะลดทอนผลบวกและทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าจะมีระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่
16 ก.ย. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แสดงความเห็นต่อผลกระทบของการเลือกตั้งต่อเศรษฐกิจว่าความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งส่งผลบวกต่อภาคการลงทุนและเศรษฐกิจ หากมีการเลือกตั้งภายในเดือน ก.พ. 2562 ค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งและกิจกรรมทางการเมืองกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทำให้เงินสะพัดตั้งแต่ไตรมาส 4/2561 ต่อเนื่องไปยังต้นปีหน้าไม่ต่ำกว่า 50,000-65,000 ล้านบาท มีการกระจายตัวของกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ ในขอบเขตทั่วประเทศ เม็ดเงินจะกระจายตัวมากกว่าการใช้จ่ายงบประมาณตามปรกติ การกระจายเชิงพื้นที่จะลดการกระจุกตัวของการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันหากการเลือกตั้งเลื่อนออกไปมากเท่าไหร่จากเดือน ก.พ. 2562 ไปเดือน พ.ค. 2562 ย่อมทำให้ข้าราชการจำนวนหนึ่งเกียร์ว่างและรอดูความชัดเจนว่าพรรคการเมืองใดจะชนะการเลือกตั้ง ใครจะมาเป็นรัฐบาลและบริหารกระทรวงใดบ้าง อาจทำให้งบลงทุนมีการเบิกจ่ายลดลง
แต่การไม่เปิดเสรีภาพ (ไม่ปลดล็อคทำเพียงแค่คลายล็อค) ให้พรรคการเมืองและประชาชนในการทำกิจกรรมทางการเมืองจะลดทอนผลบวกของการเลือกตั้งต่อเศรษฐกิจและหักล้างผลดีที่เกิดขึ้นกับตลาดการเงินรวมทั้งกระแสเงินทุนไหลเข้าของนักลงทุนต่างชาติ และทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าจะมีระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่ การเลือกตั้งที่เป็นเพียงพิธีกรรมย่อมไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ภาคการลงทุนในระยะยาว การทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยตามเจตนารมณ์ของประชาชน มีเสรีภาพในการทำกิจกรรมทางการเมือง ย่อมทำให้คุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเลือกตั้งดีขึ้น ระบบนิติรัฐและความน่าเชื่อถือของรัฐบาลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการลงทุนและการตัดสินใจ ยิ่งเลือกตั้งเร็วเท่าไหร่ และสามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างโปร่งใส เป็นธรรมและน่าเชื่อถือมากเท่าไหร่ จะยิ่งลดความเสี่ยงในการจะเกิดวิกฤตการณ์การเมืองรอบใหม่มากเท่านั้น และเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
การเลือกตั้งที่โปร่งใสเป็นธรรมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำมาสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยหลังการเลือกตั้งต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและปรับเปลี่ยนระบบและกลไกบางอย่างเพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามจากระบอบกึ่งประชาธิปไตย สู่ระบอบประชาธิปไตยโดยฉันทามติของประชาชน เมื่อมีประชาธิปไตยที่ความมั่นคงแล้ว การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของกลุ่มทุนไทย (Outward Direct Investment) เพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยการเมืองในประเทศจะลดลง และจะไหลย้อนกลับมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่วนนักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อขยายฐานการผลิต สร้างเครือข่ายการค้า ขยายฐานลูกค้า และแสวงหาทรัพยากร วัตถุดิบและเทคโนโลยีจะยังคงเติบโตต่อไป การเติบโตส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการผ่อนคลายและการเปิดเสรีการออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วย อัตราการเติบโตของ Thailand’s outward direct investment ในหลายปีที่ผ่านมายังคงสูงกว่าการลงทุนภาคเอกชนในประเทศ การลงทุนในต่างประเทศของกลุ่มทุนไทยอยู่ที่ 2.921 ล้านล้านบาท เทียบการลงทุนเอกชนในประเทศอยู่ที่ 2.555 ล้านล้านบาท การลงทุนในประเทศจึงค่อนข้างซบเซาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพิ่งจะกระเตื้องขึ้นบ้างในปีนี้
ผศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่าการคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะทำให้เกิดการกระจายอำนาจมากขึ้น การกระจายอำนาจจะเป็นปัจจัยจำเป็นต่อการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การกระจายตัวของรายได้และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ระบบการเมืองที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีเสรีภาพจะช่วยลดการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจลง สามารถใช้เสรีภาพโดยไม่ถูกปิดกั้นในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศจะเป็นสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้ดีกว่า เมื่อพิจารณาผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจมหภาค พบว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งที่ไม่เสรีไม่เป็นธรรมหรือการสืบทอดอำนาจโดยไม่ยึดหลักการประชาธิปไตย (นายกฯคนนอก) ส่งผลในเชิงลบต่อ เศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน และต่อศักยภาพการเจริญเติบโตระยะยาว ความไม่แน่นอนทางการเมืองมีหลายลักษณะและมีนัยสำคัญทางสถิติและขนาดของผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของปัจจัยทางการเมืองต่อพลวัตของเศรษฐกิจไทย เราหวังว่าจะเกิดความแน่นอนทางการเมืองด้วยการจัดการเลือกตั้งให้เสรีและเป็นธรรมรวมทั้งเคารพต่อเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริงด้วยการสนับสนุนให้พรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ จัดตั้งรัฐบาลและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. งดออกเสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรี