สวนดุสิตโพล พบเม็ดเงินใช้จ่ายไม่เพิ่มขึ้นแม้จะมีมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยว
https://www.infoquest.co.th/2021/75546
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,265 คน สำรวจวันที่ 29 มี.ค. – 1 เม.ย. 2564 พบว่า ก่อนมีโควิด-19 ประชาชนท่องเที่ยวประมาณ 2-3 เดือนครั้ง เมื่อมีโควิด-19 ไม่เที่ยวเลย แต่เมื่อมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ประชาชนท่องเที่ยว 2-3 เดือนครั้ง
กรณีที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐก็ยังคงใช้จ่ายเท่าเดิม ร้อยละ 43.87 โดยมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่พึงพอใจมากที่สุด คือ การเพิ่มวันหยุดพิเศษ ร้อยละ 80.47 ปัจจัยที่ทำให้อยากไปท่องเที่ยว คือ ครอบครัว/เพื่อนและตนเองอยากไป ร้อยละ 63.40 รองลงมาคือ มีวันหยุดยาว ร้อยละ 48.93 และผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง ร้อยละ 47.89 ภาพรวมเห็นด้วยกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ร้อยละ 75.18
ถึงแม้จะมีมาตรการออกมากระตุ้นทำให้คนออกไปท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณเม็ดเงินที่ใช้จ่ายกลับไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น เพราะประชาชนยังมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจ ภาครัฐจึงควรเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการมีมาตรการที่ดีด้านสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ กล้าที่จะเดินทางและกล้าที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบที่แท้จริง
ผศ.ดร.
อังค์ริสา แสงจำนงค์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานบริการ (หลักสูตรนานาชาติ) โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่กินระยะเวลามากว่า 1 ปี คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักให้กับประเทศไทยโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ และที่มาของรายได้หลักของคนไทยส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยเมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวดิ่งไปถึงจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเลยตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ก็ทำให้ประชาชนคนไทยมากกว่าร้อยละ 70 ได้รับผลกระทบในทันที และยิ่งกินระยะเวลายาวนานยิ่งทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
การกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของภาครัฐจึงเป็นแนวทางที่ดีที่นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดให้คนไทยได้บ้างแล้ว ยังจะเป็นการเสริมสภาพคล่องเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาได้ทั้งระบบก็ตามแต่อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยมีรอยยิ้มขึ้นได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม คนไทยยังคงเฝ้ารอการเร่งคืนสภาพเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภาพรวมให้ได้โดยเร็ว โดยภาครัฐจะต้องใช้มาตรการเชิงรุกเร่งผลักดันประเทศไทยสู่ประเทศปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีใหม่เพื่อเป็นการต่อลมหายใจให้คนไทยทั้งประเทศ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 เม.ย. 64)
******
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19
https://ppantip.com/topic/40622180
เปิดผลสำรวจ "คนกรุง" อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯกทม.ครั้งที่ 2
https://www.thansettakij.com/content/politics/474578
"นิด้าโพล" เปิดผลสำรวจ "คนกรุง" อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่ 2 "ชัชชาติ" นำโด่ง 11.93% ตามด้วย "จักรทิพย์" 4.26% ขณะที่ ปชช. 32.67% ยังไม่ตัดสินใจเลือกใคร
4 เมษายน 2564 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 2” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-2 เมษายน 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,316 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็น ผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 2 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ นิด้าโพล สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0 โดย นิด้าโพล จะทำการเผยแพร่ผลสำรวจ เรื่อง “
อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.” ทุกสัปดาห์แรกของเดือน
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า 32.67 % ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ขณะที่ 24.77 % ระบุว่า เป็น ดร.
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประชาชนอีก 11.93 % ระบุว่า เป็น พล.ต.อ.
จักรทิพย์ ชัยจินดา อีก 4.26 % ระบุว่า เป็นผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล ขณะที่อีก 3.95 % ระบุว่า เป็นผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ประชาชน 2.89 % ระบุว่า เป็น น.ส.
รสนา โตสิตระกูล ขณะที่ 2.81 % ระบุว่า เป็น ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และอีก 2.20 % ระบุว่า เป็น ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2564 พบว่า ผลสำรวจระบุว่า เป็น พล.ต.อ.
จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย, น.ส.
รสนา โตสิตระกูล, ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และ ดร.
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ มีสัดส่วนลดลง ในขณะที่ผลสำรวจระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ , ดร.
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ , พล.ต.อ.
อัศวิน ขวัญเมือง , ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และไปลงคะแนนไม่เลือกใคร (Vote NO) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี เมื่อถามถึงปัญหาที่ประชาชนอยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ เร่งแก้ไขมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ 61.40 % ระบุว่า ปัญหาการจราจร รองลงมา 32.67 % ระบุว่า ปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ขณะที่ 28.50 % ระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง น้ำเสีย อีก 26.90 % ระบุว่า ปัญหาน้ำท่วม ตามด้วย 21.66 % ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ 20.29 % ระบุว่า ปัญหาถนน/ทางเท้า ชำรุด เป็นต้น
JJNY : ใช้จ่ายไม่เพิ่มแม้กระตุ้นท่องเที่ยว│คนกรุงอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ2│กระบี่ ผวาโควิด!│ดวงฤทธิ์ชี้อาคารกทม.ต้องทนไฟ2ชม
https://www.infoquest.co.th/2021/75546
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,265 คน สำรวจวันที่ 29 มี.ค. – 1 เม.ย. 2564 พบว่า ก่อนมีโควิด-19 ประชาชนท่องเที่ยวประมาณ 2-3 เดือนครั้ง เมื่อมีโควิด-19 ไม่เที่ยวเลย แต่เมื่อมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ประชาชนท่องเที่ยว 2-3 เดือนครั้ง
กรณีที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐก็ยังคงใช้จ่ายเท่าเดิม ร้อยละ 43.87 โดยมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่พึงพอใจมากที่สุด คือ การเพิ่มวันหยุดพิเศษ ร้อยละ 80.47 ปัจจัยที่ทำให้อยากไปท่องเที่ยว คือ ครอบครัว/เพื่อนและตนเองอยากไป ร้อยละ 63.40 รองลงมาคือ มีวันหยุดยาว ร้อยละ 48.93 และผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง ร้อยละ 47.89 ภาพรวมเห็นด้วยกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ร้อยละ 75.18
ถึงแม้จะมีมาตรการออกมากระตุ้นทำให้คนออกไปท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณเม็ดเงินที่ใช้จ่ายกลับไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น เพราะประชาชนยังมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจ ภาครัฐจึงควรเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการมีมาตรการที่ดีด้านสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ กล้าที่จะเดินทางและกล้าที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบที่แท้จริง
ผศ.ดร.อังค์ริสา แสงจำนงค์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานบริการ (หลักสูตรนานาชาติ) โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่กินระยะเวลามากว่า 1 ปี คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักให้กับประเทศไทยโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ และที่มาของรายได้หลักของคนไทยส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยเมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวดิ่งไปถึงจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเลยตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ก็ทำให้ประชาชนคนไทยมากกว่าร้อยละ 70 ได้รับผลกระทบในทันที และยิ่งกินระยะเวลายาวนานยิ่งทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
การกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของภาครัฐจึงเป็นแนวทางที่ดีที่นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดให้คนไทยได้บ้างแล้ว ยังจะเป็นการเสริมสภาพคล่องเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาได้ทั้งระบบก็ตามแต่อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยมีรอยยิ้มขึ้นได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม คนไทยยังคงเฝ้ารอการเร่งคืนสภาพเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภาพรวมให้ได้โดยเร็ว โดยภาครัฐจะต้องใช้มาตรการเชิงรุกเร่งผลักดันประเทศไทยสู่ประเทศปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีใหม่เพื่อเป็นการต่อลมหายใจให้คนไทยทั้งประเทศ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 เม.ย. 64)
******
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19
https://ppantip.com/topic/40622180
เปิดผลสำรวจ "คนกรุง" อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯกทม.ครั้งที่ 2
https://www.thansettakij.com/content/politics/474578
"นิด้าโพล" เปิดผลสำรวจ "คนกรุง" อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่ 2 "ชัชชาติ" นำโด่ง 11.93% ตามด้วย "จักรทิพย์" 4.26% ขณะที่ ปชช. 32.67% ยังไม่ตัดสินใจเลือกใคร
4 เมษายน 2564 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 2” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-2 เมษายน 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,316 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็น ผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 2 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ นิด้าโพล สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0 โดย นิด้าโพล จะทำการเผยแพร่ผลสำรวจ เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.” ทุกสัปดาห์แรกของเดือน
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า 32.67 % ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ขณะที่ 24.77 % ระบุว่า เป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประชาชนอีก 11.93 % ระบุว่า เป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อีก 4.26 % ระบุว่า เป็นผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล ขณะที่อีก 3.95 % ระบุว่า เป็นผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ประชาชน 2.89 % ระบุว่า เป็น น.ส.รสนา โตสิตระกูล ขณะที่ 2.81 % ระบุว่า เป็น ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และอีก 2.20 % ระบุว่า เป็น ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2564 พบว่า ผลสำรวจระบุว่า เป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย, น.ส.รสนา โตสิตระกูล, ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ มีสัดส่วนลดลง ในขณะที่ผลสำรวจระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ , ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ , พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง , ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และไปลงคะแนนไม่เลือกใคร (Vote NO) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี เมื่อถามถึงปัญหาที่ประชาชนอยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ เร่งแก้ไขมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ 61.40 % ระบุว่า ปัญหาการจราจร รองลงมา 32.67 % ระบุว่า ปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ขณะที่ 28.50 % ระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง น้ำเสีย อีก 26.90 % ระบุว่า ปัญหาน้ำท่วม ตามด้วย 21.66 % ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ 20.29 % ระบุว่า ปัญหาถนน/ทางเท้า ชำรุด เป็นต้น