8 ขั้นตอนการเทรดด้วย Elliott Waves - the Trading Plan

กระทู้สนทนา
ไปเจอ "แผนการเทรด" โดยการใช้ อีเลียตเวฟ จากเว็บต่างประเทศครับ เห็นว่าน่าสนใจ เลยอยากแชร์
เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนหมู่มาก
ต้นฉบับคือ http://forex-indicators.net/cycle-indicators/elliott-waves/plan
แปลโดย fb.com/zyoit และ zyo71.com ครับ


#ขั้นตอนที่ 1
เมื่อเราเปิดกราฟดู หากมีความมั่นใจราคามันทำขาลงจนจบเวฟ 5 ของขา c แล้ว
ก็ให้รอดูการกลับตัวของเทรนด์ สิ่งที่จะยืนยันชัดก็คือการเด้งแรงครั้งแรกและทำ Higher High ได้ด้วย
หรือนี่อาจจะเป็นเวฟหนึ่ง(คาดเอาไว้ก่อน เพราะเราไม่รู้อนาคต)


#ขั้นตอนที่ 2
เมื่อเจอ Higher High แล้ว ก็เจอการถล่มขายอย่างแรง(เป็นเรื่องปกติมากๆ)ราคาก็เป็นแท่งแดงลงมา
ต่อไปก็เป็นเวลาแห่งการวางแผนเข้าซื้อก่อนที่มันจะเกิดแนวโน้มครั้งใหม่
ให้ใช้ Fibonacci retracement เพื่อหาระดับแนวรับที่มีนัยยะเมื่อราคาย่อลงมาทำเวฟสอง ระดับที่ต้องจับตาคือ 38.2%, 50% และ 61.8% ถ้าลงมาแตะแล้วไม่หลุด ก็เข้าซื้อได้


#ขั้นตอนที่ 3
เมื่อซื้อแล้ว ให้กำหนด stop loss ที่โลว์ของเวฟหนึ่ง (ที่ตั้งแบบนี้เพราะยึดตามกฎอีเลียตที่ว่ายอดเวฟสองต้องลงไปไม่ถึงจุดเริ่มต้นของเวฟหนึ่ง ดังนั้นถ้ามัน breakdown ลงไปได้ ก็แสดงว่าการลงไม่จบ ต้องขายหุ้นทิ้งทันที เพราะมันจะลงแรง) การกล้ายอมรับว่าตัวเองคิดผิดเป็นสิ่งที่ยากแต่ต้องทำให้ได้เพราะมันสำคัญมากๆต่อเงินต้นของเรา
หลังจากที่เปิดสถานะซื้อไปแล้ว (เราเห็นว่าราคาเด้งที่ระดับฟีโบที่ตั้งไว้ ก็ซื้อทันที) ถ้าราคาเด้งไปจากระระดับฟีโบที่เราเข้าซื้อ และขึ้นต่อไปได้อีก ก็ให้กำหนดราคาเป้าหมายที่ยอดไฮเดิม(คือยอดที่เราคิดว่าเป็นเวฟหนึ่ง) อันเป็นระดับราคาที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นแนวต้านสำคัญ แนะนำให้ขายออกครึ่งหนึ่งก่อน ทำไมต้อง take profit ตรงนี้ล่ะมันไวไปมั้ย คุณอาจอยากถาม คำตอบคือ -- ก็เพราะว่าตลาดยังไม่แน่ใจว่ามันเป็นขาขึ้นชัวร์หรือเปล่าไง มันแค่เด้งขึ้นมาทำ double top และ reverse ลงไปก็ได้ เราจึงควรเก็บกำไรบางส่วนเอาไว้บ้าง
เมื่อราคาถึงเป้าแล้ว ก็เลื่อน Stop order ขึ้นไปวางที่จุดต้นทุนของเรา


#ขั้นตอนที่ 4
พิจารณา 2 บริเวณจุดสำคัญ:
1. เมื่อความยาวของเวฟใหม่เท่าเวฟแรก (Length 1 = Length 2) ราคาขึ้นไปเจอแนวต้าน
2. เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปชนเส้นเทรนไลน์คู่ขนานด้านบน แสดงว่าเจออีกแนวต้าน
ถ้าราคาทะลุผ่านต้านทั้งสองได้ ก็ให้ซื้อเพิ่มเมื่อรู้ชัดว่ามันยืนได้ เพราะมันคือเวฟสาม ที่แข็งแกร่งสุด มันจึงเป็นโอกาสที่จะทำเงินต่อไปได้อีก


#ขั้นตอนที่ 5
ใช้ Fibonacci Expansion เพื่อหาราคาเป้าหมายที่ระดับราคา 161.8%
เมื่อราคาวิ่งถึงระดับราคานี้-ให้ขายหุ้นออกให้หมด
ทำไมล่ะ? เพราะเวฟสามนั้นราคาขึ้นแข็งแกร่งและให้กำไรดีที่สุดไง
เวฟสี่โดยส่วนใหญ่จะลงแรงและบางทีก็ยาวนานกว่าจะจบ
อีกอย่าง เวฟห้าบางทีมันอาจจะไม่ได้แรงพอที่จะไปทำนิวไฮได้ด้วยซ้ำ
เราจึงไม่ควรเสียเวลากับมัน


#ขั้นตอนที่ 6
ถ้าคุณอยากจะทำเงินจากเวฟสี่ ก็ให้ขายช็อร์ต แล้วไป take profit ที่ระดับฟีโบนาชี 38.2% - 50% หรือจะอยู่ในระดับของเส้นเทรนด์ไลน์ด้านล่าง(ดูรูป)


#ขั้นตอนที่ 7
เวฟห้าเป็นจุดสุดท้ายที่เราควรจะปิดโพสิชั่นที่เหลือทั้งหมด
ต้องหาจุดสำคัญเพื่อทำกำไร
- ลากเส้นเทรนด์ไลน์คู่ขนานโดยอ้างอิงจากเส้นล่าง (หากเวฟสามชันมากๆ ให้เส้นที่ลากขนานใหม่นั้นแตะยอดเวฟหนึ่งแต่ตัดผ่านแท่งเทียนของเวฟสามได้ แต่มันจะให้ราคาเป้าหมายที่ทรงคุณค่าของเวฟห้า
- take profit ออกครึ่งหนึ่งเมื่อราคาวิ่งไปถึงยอดของเวฟสาม(เพราะมันเป็นแนวต้าน และมีโอกาสทำ double top ซึ่งเป็นเวฟห้าที่ไม่ปกติ)
- ใช้ 61.8% Fibonacci Expansion เพื่อเป็นราคาเป้าหมายในการออกของให้หมด


#ขั้นตอนที่ 8
ปิดการสั่งซื้อทันทีเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าราคามีการกลับตัว (อาจต้องลงดูไปในกรอบเวลาที่มีขนาดเล็กลงเพื่อหาสัญญาณของการกลับตัว)
วาง stop order ให้ไกล้กับจุด entry มากที่สุด
โอกาสขายชอร์ตที่ดีอีกจุดคือเวฟ b (ราคาย่อลงมาที่ระดับฟีโบนาชี 32.8%-50%)
วัดความยาวของเวฟ a เพื่อระดับราคาเป้าหมายของเวฟ c ให้ take profit ที่เป้าหมายนั้น

ปล. ผมเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องเวฟครับ รู้แค่งูๆปลาๆ จึงแปลออกมาได้เท่าที่รู้จริงๆ
ถ้ามีสิ่งใดที่ขาดตกบกพร่อง รบกวนผู้รู้เสริมได้เลยนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่