อ่านบทความนี้แล้วก็ชอบค่ะ เลยนำมาแบ่งปันให้อ่านกันนะคะ..
ราชดำเนินวันนี้
ถนนราชดำเนินสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ระหว่างปี พศ. 2442 ถึงปี พศ. 2446 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวัง กับ พระราชวังดุสิต
ถนนแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ ราชดำเนินนอก ราชดำเนินกลาง และราชดำเนินใน โดยการสร้างถนนสายนี้ นอกจากจะโปรดฯ ให้สร้างถนนขนาดกว้างแล้ว ยังโปรดฯ ให้สร้างสถานที่ราชการสำคัญๆ ขึ้นมาทั้ง 2 ฟากถนน
แนวพระราชดำริในการสร้างถนนสายนี้บ้างว่าทรงได้มาจากถนน “ชอง เอลิเซ่” ในกรุงปารีส บ้างว่าทรงได้มาจากการสร้าง Queen’s Walk ในย่าน Green Park ของกรุงลอนดอน จากนั้นจึงทรงพระราชทานนามว่า “ถนนราชดำเนิน” ตามชื่อ Queen’s Walk ซึ่งหมายถึง “ทางที่กษัตริย์เดิน” นั่นเอง
กว่าหนึ่งร้อยปีของถนนราชดำเนิน โดยเฉพาะช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถนนสายนี้เป็นทางเดินของประชาชนมากกว่าของกษัตริย์
ถนนได้บันทึกเหตุการณ์ เรื่องราว และความเปลี่ยนแปลง, บันทึกความขัดแย้ง การต่อสู้ ชัยชนะ และความพ่ายแพ้, บันทึกการสูญเสียของชีวิต เลือดเนื้อ และหยาดน้ำตา, บันทึกการเกิดขึ้น ดับไปของวีรชน และทรราช ไม่เว้นแม้ชีวิตคนนิรนาม นักเดินทางผู้รอนแรม โสเภณี และคนไร้บ้าน
หนึ่งรอบปีนักษัตรที่ผ่านมา ถนนราชดำเนินได้เผชิญเหตุการณ์สำคัญซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมืองถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรก ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ภายหลังการชุมนุมเดินขบวนต่อต้านการทุจริตโกงกินของรัฐบาลทักษิณที่นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินก็ได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งจากที่เคยรับรู้เหตุการณ์ทำนองนี้มาแล้วหลายต่อหลายครั้งในอดีต
บนถนนราชดำเนินวันนั้น หลายคนโห่ร้องต้อนรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรื่นเริงและยินดี มีการมอบช่อดอกไม้และเต้นโคโยตี้ หลายคนผิดหวังและเคียดแค้น หลายคนได้สัมผัสกับความยินดีที่ขมขื่น ยินดีที่รัฐบาลโกงกินถูกโค่นลง แต่ขมขื่นที่ระบอบประชาธิปไตยหนีไม่พ้นวังวนของการก่อรัฐประหาร หนีไม่พ้นรองเท้าบูท และอำมาตยาธิปไตย
แต่กระนั้น ประชาชนก็ได้เรียนรู้!
ครั้งที่ 2 ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ภายหลังการชุมนุมเดินขบวนที่นำโดยกลุ่ม กปปส. เพื่อต่อต้านการทุจริตโกงกินและการออกพระราชบัญญัติเพื่อหวังนิรโทษกรรมให้ทักษิณของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
บนถนนราชดำเนินวันนั้น ก็เช่นเดียวกับวันก่อนๆ ที่ประชาชนคิดว่าตนเป็นฝ่ายชนะ หลายคนโห่ร้องต้อนรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรื่นเริงและยินดี หลายคนผิดหวังและเคียดแค้น หลายคนได้สัมผัสกับความยินดีที่ขมขื่น ยินดีที่รัฐบาลโกงกินถูกโค่นลง แต่ขมขื่นที่ระบอบประชาธิปไตยหนีไม่พ้นวังวนของการก่อรัฐประหาร หนีไม่พ้นรองเท้าบูท และอำมาตยาธิปไตยอีกเช่นเคย
แต่กระนั้น ประชาชนก็ได้เรียนรู้อีกเช่นกัน!
ถนนราชดำเนินสอนให้ประชาชนเรียนรู้ว่า การก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญและการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะช่วยกู้สถานการณ์เลวร้ายอันเกิดจากการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลที่ถูกโค่นลงได้ในบางครั้ง แต่ไม่เคยมีครั้งไหนเลยที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยในบ้านเมืองพัฒนาขึ้น คณะรัฐประหารทุกชุดไม่เคยที่จะลงจากอำนาจอย่างขาวสะอาด ไม่เป็นเพราะเกรงว่าจะถูกฝ่ายตรงข้ามกลับมาล้างแค้น ก็เป็นเพราะยอมพ่ายแพ้ต่อความเย้ายวนของการมีอำนาจบารมี นี่ยังไม่พูดถึงความโปร่งใสหรือไม่โปร่งใสในระหว่างที่ครองอำนาจด้วยรถถัง กระบอกปืน และมาตราต่างๆ ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกับตน พฤติกรรมของการวางขุมกำลังและการสืบทอดอำนาจจึงมักปรากฏให้เห็นโดยเฉพาะในระยะที่กำลังจะหมดวาระการยึดอำนาจอย่างเปิดเผย และสุดท้ายจากภาวะที่ประชาชนจำนวนมากเคยสนับสนุนหรือเป็นกลางก็จะกลายเป็นถูกประชาชนต่อต้านคัดค้านจนอยู่ไม่ได้
สัญญาต่างๆ ที่เคยให้ไว้กับประชาชนและทำไม่ได้ มักถูกลบเลือนด้วยความหวังใหม่จากการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น
ความหวังที่ฝากไว้กับการเลือกตั้ง ที่หวังจะได้นักการเมืองดี พรรคการเมืองดี มาบริหารประทศ
ความหวังที่มักสิ้นสุดลง ด้วยความหวังใหม่อีกอันหนึ่งที่มาพร้อมรองเท้าบูท และกระบอกปืน วนเวียนกันอยู่อย่างนี้
แต่ถนนราชดำเนิน ก็ยังคงทอดตัวรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะถาโถมเข้ามาบนตัวมันอย่างสงบนิ่ง และมั่นคง
มันไม่เคยหวัง และไม่เคยฝากความหวังไว้กับใครทั้งสิ้น นอกจากความแข็งแกร่งและมั่นคงของตัวมันเอง ที่รองรับทั้งรองเท้าธรรมดาและรองเท้าบูทนับแสนนับล้านคู่ รถถังและรถสายพานลำเลียงพลนับร้อยนับพันคัน ระเบิดและกระสุนปืนนับหมื่นนับแสนลูก
ประวัติศาสตร์กว่าร้อยปีที่ผ่านมา สอนให้ถนนราชดำเนินเป็นเช่นนี้
ประวัติศาสตร์กว่าร้อยปีที่ผ่านมา ไม่เคยสอนให้ถนนราชดำเนินฝากความหวังลมๆ แล้งๆ ไว้กับใคร
เขียนมาถึงตอนนี้ ทำให้นึกถึงกวีบทหนึ่งในหนังสือ “นิราศนรินทร์” ของนายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) มหาดเล็กในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ที่แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จกรมพระราชวังบวรฯ ไปรับทัพพม่าที่ยกมาตีเมืองถลางและชุมพรเมื่อ พ.ศ. 2352 หรือราวต้นสมัยรัชกาลที่ 2 ความตอนหนึ่งว่า
๏ โฉมควรจักฝากฟ้า ฤๅดิน ดีฤๅ
เกรงเทพไท้ธรณินทร์ ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน บนเล่า นะแม่
ลมจะชายชักช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
ฝากอุมาสมรแม่แล้ ลักษมี เล่านา
ทราบสยมภูวจักรี เกลือกใกล้
เรียมคิดจบจนตรี โลกล่วง แล้วแม่
โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง
ที่นำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง เพราะฤดูกาลฝากความหวังกำลังมาเยือนอีกครั้งหนึ่ง!
มาเยือนเหมือนเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ที่ประชาชนจำนวนมากเคยฝากความหวังไว้กับพรรคไทยรักไทยและนายทักษิณ!
มาเยือนเหมือนเมื่อ 12 ปีที่แล้วที่ประชาชนจำนวนมากเคยฝากความหวังไว้กับกลุ่มรัฐประหาร คมช. ของบิ๊กบัง พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน!
มาเยือนเหมือนเมื่อ 4 ปีที่แล้วที่ประชาชนจำนวนมากเคยฝากความหวังไว้กับกลุ่มรัฐประหาร คสช. ของลุงตู่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา!
และมาเยือนในวันเวลานี้ ที่ทั้ง “นักการเมืองที่เคยเป็นทหาร” และ “นักการเมืองที่เป็นนักเลือกตั้ง” กำลังบอกให้ประชาชนฝากความหวังไว้กับการเลือกตั้ง ไว้กับพวกเขาและผู้นำที่พวกเขาหามา!
โฉมควรจักฝากฟ้า ฤๅดิน ดีฤๅ??
ถ้าเชื่อ นายนรินทร์ธิเบศร์ เชื่อคำสอนของคนโบราณที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานักต่อนัก ก็ต้องบอกว่า
โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง!
http://www.naewna.com/columnonline/37000
แล้วห้องราชดำเนินนี่เล่าคะ มีความหวังอะไรกันบ้าง....?
ผ่านกันมากี่ปีแล้วที่เข้ามาเล่นในห้องนี้
สำหรับมาลาริน...หวังว่าการนำเสนอข้อเท็จจริงของข่าวและผลงานรัฐบาลจะมีคนเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง
ก็แบบเฌอปราง มีทั้งคนว่ารับใช้เผด็จการ และคนให้กำลังใจ
แต่มาลารินคิดว่ารับใช้ผู้คนที่เข้ามาอ่าน ให้ได้ข้อมูลของรัฐบาลไปบ้างก็เป็นการทำเพื่อบ้านเมือง
ฝากความหวังไว้กับลุงตู่ มีแต่พบสิ่งดีๆเพิ่มขึ้น
มีความมั่นใจในตัวเองมาตลอดว่าลุงตู่คือคนที่ดีต่อบ้านเมือง
และก็ไม่ผิดหวังค่ะ
🏅~มาลาริน~🎈ราชดำเนินวันนี้🎈
อ่านบทความนี้แล้วก็ชอบค่ะ เลยนำมาแบ่งปันให้อ่านกันนะคะ..
ราชดำเนินวันนี้
ถนนราชดำเนินสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ระหว่างปี พศ. 2442 ถึงปี พศ. 2446 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวัง กับ พระราชวังดุสิต
ถนนแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ ราชดำเนินนอก ราชดำเนินกลาง และราชดำเนินใน โดยการสร้างถนนสายนี้ นอกจากจะโปรดฯ ให้สร้างถนนขนาดกว้างแล้ว ยังโปรดฯ ให้สร้างสถานที่ราชการสำคัญๆ ขึ้นมาทั้ง 2 ฟากถนน
แนวพระราชดำริในการสร้างถนนสายนี้บ้างว่าทรงได้มาจากถนน “ชอง เอลิเซ่” ในกรุงปารีส บ้างว่าทรงได้มาจากการสร้าง Queen’s Walk ในย่าน Green Park ของกรุงลอนดอน จากนั้นจึงทรงพระราชทานนามว่า “ถนนราชดำเนิน” ตามชื่อ Queen’s Walk ซึ่งหมายถึง “ทางที่กษัตริย์เดิน” นั่นเอง
กว่าหนึ่งร้อยปีของถนนราชดำเนิน โดยเฉพาะช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถนนสายนี้เป็นทางเดินของประชาชนมากกว่าของกษัตริย์
ถนนได้บันทึกเหตุการณ์ เรื่องราว และความเปลี่ยนแปลง, บันทึกความขัดแย้ง การต่อสู้ ชัยชนะ และความพ่ายแพ้, บันทึกการสูญเสียของชีวิต เลือดเนื้อ และหยาดน้ำตา, บันทึกการเกิดขึ้น ดับไปของวีรชน และทรราช ไม่เว้นแม้ชีวิตคนนิรนาม นักเดินทางผู้รอนแรม โสเภณี และคนไร้บ้าน
หนึ่งรอบปีนักษัตรที่ผ่านมา ถนนราชดำเนินได้เผชิญเหตุการณ์สำคัญซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมืองถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรก ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ภายหลังการชุมนุมเดินขบวนต่อต้านการทุจริตโกงกินของรัฐบาลทักษิณที่นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินก็ได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งจากที่เคยรับรู้เหตุการณ์ทำนองนี้มาแล้วหลายต่อหลายครั้งในอดีต
บนถนนราชดำเนินวันนั้น หลายคนโห่ร้องต้อนรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรื่นเริงและยินดี มีการมอบช่อดอกไม้และเต้นโคโยตี้ หลายคนผิดหวังและเคียดแค้น หลายคนได้สัมผัสกับความยินดีที่ขมขื่น ยินดีที่รัฐบาลโกงกินถูกโค่นลง แต่ขมขื่นที่ระบอบประชาธิปไตยหนีไม่พ้นวังวนของการก่อรัฐประหาร หนีไม่พ้นรองเท้าบูท และอำมาตยาธิปไตย
แต่กระนั้น ประชาชนก็ได้เรียนรู้!
ครั้งที่ 2 ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ภายหลังการชุมนุมเดินขบวนที่นำโดยกลุ่ม กปปส. เพื่อต่อต้านการทุจริตโกงกินและการออกพระราชบัญญัติเพื่อหวังนิรโทษกรรมให้ทักษิณของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
บนถนนราชดำเนินวันนั้น ก็เช่นเดียวกับวันก่อนๆ ที่ประชาชนคิดว่าตนเป็นฝ่ายชนะ หลายคนโห่ร้องต้อนรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรื่นเริงและยินดี หลายคนผิดหวังและเคียดแค้น หลายคนได้สัมผัสกับความยินดีที่ขมขื่น ยินดีที่รัฐบาลโกงกินถูกโค่นลง แต่ขมขื่นที่ระบอบประชาธิปไตยหนีไม่พ้นวังวนของการก่อรัฐประหาร หนีไม่พ้นรองเท้าบูท และอำมาตยาธิปไตยอีกเช่นเคย
แต่กระนั้น ประชาชนก็ได้เรียนรู้อีกเช่นกัน!
ถนนราชดำเนินสอนให้ประชาชนเรียนรู้ว่า การก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญและการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะช่วยกู้สถานการณ์เลวร้ายอันเกิดจากการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลที่ถูกโค่นลงได้ในบางครั้ง แต่ไม่เคยมีครั้งไหนเลยที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยในบ้านเมืองพัฒนาขึ้น คณะรัฐประหารทุกชุดไม่เคยที่จะลงจากอำนาจอย่างขาวสะอาด ไม่เป็นเพราะเกรงว่าจะถูกฝ่ายตรงข้ามกลับมาล้างแค้น ก็เป็นเพราะยอมพ่ายแพ้ต่อความเย้ายวนของการมีอำนาจบารมี นี่ยังไม่พูดถึงความโปร่งใสหรือไม่โปร่งใสในระหว่างที่ครองอำนาจด้วยรถถัง กระบอกปืน และมาตราต่างๆ ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกับตน พฤติกรรมของการวางขุมกำลังและการสืบทอดอำนาจจึงมักปรากฏให้เห็นโดยเฉพาะในระยะที่กำลังจะหมดวาระการยึดอำนาจอย่างเปิดเผย และสุดท้ายจากภาวะที่ประชาชนจำนวนมากเคยสนับสนุนหรือเป็นกลางก็จะกลายเป็นถูกประชาชนต่อต้านคัดค้านจนอยู่ไม่ได้
สัญญาต่างๆ ที่เคยให้ไว้กับประชาชนและทำไม่ได้ มักถูกลบเลือนด้วยความหวังใหม่จากการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น
ความหวังที่ฝากไว้กับการเลือกตั้ง ที่หวังจะได้นักการเมืองดี พรรคการเมืองดี มาบริหารประทศ
ความหวังที่มักสิ้นสุดลง ด้วยความหวังใหม่อีกอันหนึ่งที่มาพร้อมรองเท้าบูท และกระบอกปืน วนเวียนกันอยู่อย่างนี้
แต่ถนนราชดำเนิน ก็ยังคงทอดตัวรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะถาโถมเข้ามาบนตัวมันอย่างสงบนิ่ง และมั่นคง
มันไม่เคยหวัง และไม่เคยฝากความหวังไว้กับใครทั้งสิ้น นอกจากความแข็งแกร่งและมั่นคงของตัวมันเอง ที่รองรับทั้งรองเท้าธรรมดาและรองเท้าบูทนับแสนนับล้านคู่ รถถังและรถสายพานลำเลียงพลนับร้อยนับพันคัน ระเบิดและกระสุนปืนนับหมื่นนับแสนลูก
ประวัติศาสตร์กว่าร้อยปีที่ผ่านมา สอนให้ถนนราชดำเนินเป็นเช่นนี้
ประวัติศาสตร์กว่าร้อยปีที่ผ่านมา ไม่เคยสอนให้ถนนราชดำเนินฝากความหวังลมๆ แล้งๆ ไว้กับใคร
เขียนมาถึงตอนนี้ ทำให้นึกถึงกวีบทหนึ่งในหนังสือ “นิราศนรินทร์” ของนายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) มหาดเล็กในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ที่แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จกรมพระราชวังบวรฯ ไปรับทัพพม่าที่ยกมาตีเมืองถลางและชุมพรเมื่อ พ.ศ. 2352 หรือราวต้นสมัยรัชกาลที่ 2 ความตอนหนึ่งว่า
๏ โฉมควรจักฝากฟ้า ฤๅดิน ดีฤๅ
เกรงเทพไท้ธรณินทร์ ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน บนเล่า นะแม่
ลมจะชายชักช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
ฝากอุมาสมรแม่แล้ ลักษมี เล่านา
ทราบสยมภูวจักรี เกลือกใกล้
เรียมคิดจบจนตรี โลกล่วง แล้วแม่
โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง
ที่นำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง เพราะฤดูกาลฝากความหวังกำลังมาเยือนอีกครั้งหนึ่ง!
มาเยือนเหมือนเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ที่ประชาชนจำนวนมากเคยฝากความหวังไว้กับพรรคไทยรักไทยและนายทักษิณ!
มาเยือนเหมือนเมื่อ 12 ปีที่แล้วที่ประชาชนจำนวนมากเคยฝากความหวังไว้กับกลุ่มรัฐประหาร คมช. ของบิ๊กบัง พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน!
มาเยือนเหมือนเมื่อ 4 ปีที่แล้วที่ประชาชนจำนวนมากเคยฝากความหวังไว้กับกลุ่มรัฐประหาร คสช. ของลุงตู่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา!
และมาเยือนในวันเวลานี้ ที่ทั้ง “นักการเมืองที่เคยเป็นทหาร” และ “นักการเมืองที่เป็นนักเลือกตั้ง” กำลังบอกให้ประชาชนฝากความหวังไว้กับการเลือกตั้ง ไว้กับพวกเขาและผู้นำที่พวกเขาหามา!
โฉมควรจักฝากฟ้า ฤๅดิน ดีฤๅ??
ถ้าเชื่อ นายนรินทร์ธิเบศร์ เชื่อคำสอนของคนโบราณที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานักต่อนัก ก็ต้องบอกว่า
โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง!
http://www.naewna.com/columnonline/37000
แล้วห้องราชดำเนินนี่เล่าคะ มีความหวังอะไรกันบ้าง....?
ผ่านกันมากี่ปีแล้วที่เข้ามาเล่นในห้องนี้
สำหรับมาลาริน...หวังว่าการนำเสนอข้อเท็จจริงของข่าวและผลงานรัฐบาลจะมีคนเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง
ก็แบบเฌอปราง มีทั้งคนว่ารับใช้เผด็จการ และคนให้กำลังใจ
แต่มาลารินคิดว่ารับใช้ผู้คนที่เข้ามาอ่าน ให้ได้ข้อมูลของรัฐบาลไปบ้างก็เป็นการทำเพื่อบ้านเมือง
ฝากความหวังไว้กับลุงตู่ มีแต่พบสิ่งดีๆเพิ่มขึ้น
มีความมั่นใจในตัวเองมาตลอดว่าลุงตู่คือคนที่ดีต่อบ้านเมือง
และก็ไม่ผิดหวังค่ะ