ลูกลอยแก้วจากญี่ปุ่นและนอร์เวย์ล่องลอยไปทั่วทุกมุมโลก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Finders Keepers 30 sec English

1.



ในทุก ๆ ปี Oregon’s Lincoln City ชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
จะมีมหกรรมค้นหาสมบัติบนชายหาดสาธารณะโดยชาวบ้านทุกเพศทุกวัย
ซึ่งสมบัติที่วางให้ค้นหาในปีนี้คือ ลูกลอยแก้วกลมจำนวนมากกว่า 3,000 ลูก
ลูกลอยแก้วเป็นงานฝีมือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ด้วยงานฝีมือของคน
โดยมีขนาดตั้งแต่ใหญ่เท่าลูกบาสเกตบอลจนเล็กขนาดลูกเบสบอล
ด้านในกลวงมีโพรงอากาศและมีสีสันตกแต่ง/ลายต่าง ๆ/ตัวอักษรเขียนไว้
มหกรรมนี้น่าจะกระตุ้นการท่องเที่ยวในเขตชายหาดนี้
ทำให้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนลูกลอยแก้วระหว่างกัน
มีผลทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนและการเงินเดินสะพัด
แบบงานเทศกาลตามสถานที่ต่าง ๆ ที่จัดขึ้นประจำปี

ลูกลอยแก้ว  ในพื้นที่บางแห่งจะเรียกว่า  ทุ่นลอยแก้ว


มหกรรมล่าสมบัติ Finders Keepers เป็นงานประจำปีในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
เริ่มต้นตั้งแต่มีศิลปินรายหนึ่งเดินบนชายหาด
แล้วพบลูกลอยแก้วถูกคลื่นซัดขึ้นมาเกยฝั่งบนชายหาด
ทำให้ต่อมา  มีคนจำนวนมากสนใจที่จะเดินหาลูกลอยแก้วบนชายหาด
แต่ลูกลอยแก้วที่พัดพามาจากท้องทะเลแทบไม่มีแล้ว
จึงมีการผลิตของใหม่ขึ้นมาทดแทนแล้ววางบนชายหาดระยะทาง 7 ไมล์
เพื่อให้ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยได้เล่นสนุกค้นหาลูกลอยแก้วกัน




ในอดีตลูกลอยแก้วเหล่านี้ส่วนมากมักจะล่องลอยมาจากทะเล
ซึ่งจะมีมากกว่าปกติหลังจากพายุพัดโหมกระหน่ำท้องทะเลในฤดูหนาว
ลูกลอยแก้วยังเป็นของที่ชื่นชอบและของที่ระลึก
ในหมู่นักสะสม ที่เรียกว่า Glass Fishing Floats
เพราะลูกลอยแก้วเหล่านี้เคยถูกใช้โดยชาวประมง
ในท้องทะเลหลายแห่งของโลก


แต่ลูกลอยแก้วที่รู้จักและนิยมกันมากที่สุดคือ
สินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นและในประเทศนอร์เวย์
โดยนำมาใช้ในงานประมง ในการจับปลาเชิงพาณิชย์/อุตสาหกรรม
ด้วยการนำลูกลอยแก้วถักกับเชือกผูกกับแหอวน
แล้ววางเป็นระยะทางสั้น ๆ จนถึงระะทางยาวหลายไมล์
ลูกลอยแก้วจะช่วยพยุงแหอวนให้ลอยตัวอยู่ได้ในท้องทะเล
โดยลูกลอยแก้ว
ข้างในจะกลวงมีอากาศบรรจุอยู่ภายใน


แต่ทุกวันนี้ ลูกลอยมักจะทำมาจากพลาสติกหรืออลูมิเนียม  
เพื่อทดแทนของเดิมที่เคยทำมาจากแก้ว
เพราะต้นทุนการผลิตถูกกว่าและผลิตได้ทีละจำนวนมาก ๆ


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ПРОМЫСЕЛ"ТУНЦА"#))) МОРСКАЯ РЫБАЛКА "Big catch"!!!




ลูกลอยแก้วมีการผลิตครั้งแรกใน 1842
โดยผู้ผลิตกระจกของนอร์เวย์ Hadeland Glassverk
ซึ่งมาจากแนวคิดจุดประกายของ Christopher Faye
พ่อค้าชาวนอร์เวย์ที่ทำการค้าอยู่ที่ Bergen

โดยก่อนหน้านี้ลูกลอยใช้งานประมงในทะเลต่าง ๆ
มักจะทำขึ้นมาจากไม้และไม้ก๊อก
ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายจากการตัดไม้ทำลายป่า
รวมทั้งเนื้อไม้มักจะได้รับความเสียหายจาก
การกระแทก/ฉีกขาดจากการเฉี่ยวชนของเรือ/แหอวน
รวมทั้งเนื้อไม้มักจะถูกพวกเพรียงทะเลกัดกิน



แต่ลูกลอยที่ทำจากแก้วที่เป่าด้วยคนจะมีคุณภาพที่ดีกว่ามาก
เพราะทั้งทน ทั้งถึก  แบบใช้ทน ใช้นาน ใช้จนรำคาญ
และมีอายุการใช้งานยาวนานแทบจะชั่วนิรันดร์ในท้องทะเล
ทั้งยังสามารถนำลูกเก่ามาหลอมเพื่อใช้งานใหม่ได้อีกด้วย


ลูกลอยแก้วจึงกลายเป็นสินค้ายอดนิยม
และใช้กันทั่วไปในการประมงของยุโรป
แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกเกือบหนึ่งศตวรรษ
กว่าที่ลูกลอยแก้วมาใช้ทดแทนพวกไม้และไม้ก๊อก
ที่ใช้พยุงแหอวนให้ล่องลอยอยู่ในท้องทะเล

ประเทศญี่ปุ่นเริ่มผลิตลูกลอยแก้วในปี 1910
และมีการใช้อย่างกว้างขวางมากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จนลูกลอยแก้วเพิ่งจะถูกแทนที่ด้วย
ลูกลอยพลาสติกและลูกลอยอลูมิเนียม ในปี 1970


แต่ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา
ชาวประมงญี่ปุ่นต่างใช้ลูกลอยแก้วจำนวนมหาศาลในท้องทะเล
แต่ลูกลอยแก้วเหล่านี้มักจะขาดลอยออกจาก
แหอวน
แล้วล่องลอยหายไปในท้องทะเล
เพราะการประมงในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่
มักจะทำประมงในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก
ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเวียนวนไปออกทางขั้วโลกเหนือได้ในฤดูร้อน
หรือกระแสน้ำพัดพาลงมาทางทิศใต้ที่เชื่อมต่อกับมหาสมุทรอื่น ๆ
ทำให้ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นล่องลอยไปยังน่านน้ำเขตทะเลอื่น ๆ ได้ไกลแสนไกล
และในทุกวันนี้ยังสามารถตรวจสอบแหล่งที่มา
ของลูกลอยแก้วญี่ปุ่นได้
จากสัญญลักษณ์/เนื้อแก้วที่ผลิตได้

.
3.

Cr : Jgrimmer / Wikimedia



ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นมักจะล่องลอยอยู่ในกระแสน้ำวน
ภายในท้องน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก

แต่บางครั้งลูกลอยแก้วก็ถูกคลื่นพัดขึ้นมา
บนชายฝั่ง
ด้านตะวันตกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
บางครั้งเดินทางกินเวลา 7-10 ปีกว่าจะถึงชายฝั่งอลาสก้า
บางครั้งก็ล่องลอยไปไกลถึงชายหาดไต้หวัน

ชายหาดในไมโครนีเซียและเฟรนช์โปลินีเซีย
บางครั้งก็ยังพบว่าอยู่บนชายหาดและแนวปะการังบนหมู่เกาะแปซิฟิก
และ/หรือบนเกาะเล็ก ๆ แถวมหาสมุทรแอตแลนติก

หรือบนเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไกลในหมู่เกาะแคริบเบียน
หรือแม้กระทั่งผืนแผ่นดินในทวีปยุโรป


ลูกลอยแก้วส่วนใหญ่มักจะมีสีเขียว
เพราะทำจากขวดเก่านำมารีไซเคิล
ที่พบน้อยมากคือ มีส่วนผสมแร่ Amethyst  
ซึ่งจะมีสีสดใสเห็นได้ชัดเจนมากกว่าลูกลอยแก้วที่ทำจากขวดเก่า
แต่ลูกลอยแก้วบางลูกจะมีส่วนผสม  Manganese
ลูกลอยแก้วก็จะสะท้อนสี  Amethyst
จากการสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต
นอกจากนั้น ลูกลอยแก้วยังสีสันสดใส
เช่น สีแดง สีเขียวนีออน สีน้ำเงินโคบอลต์ และสีเหลืองอ่อน

ทำให้ลูกลอยแก้วสีสันต่าง ๆ เป็นที่ต้องการกันมาก
ในการใช้งานตกแต่งร้านค้า
และมอบให้เป็นของที่ระลึกกัน


ลูกลอยแก้วจะมีฟองอากาศอยู่ภายใน
และบางลูกอาจจะมีสิ่งสกปรกฝังอยู่ภายในแก้ว


ลูกลอยแก้วบางลูกจะมีสภาพสึกหรอ
/สึกกร่อน/รอยขีดข่วน
บริเวณพื้นผิวด้านนอกของลูกลอยแก้ว

เพราะถูกกระทบกระแทกด้วยกันเองหรือจากเรือประมง
หรือถูกครูดไปมาจากสายรัด/แหอวน
ลูกลอยแก้วส่วนมากมักจะมีเครื่องหมายการค้า
หรือตราสัญลักษณ์เป็นลายนูนเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น
เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของลูกลอยแก้วจากเจ้าของเรือประมง


ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นมีการผลิดในขนาดที่แตกต่างกัน
เพื่อความเหมาะสมในการใช้งานประมงกับใช้ในแหอวน
ซึ่งทำการประมงในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของท้องทะเล


ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นจึงมีขนาดที่หลากหลายมาก
ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้วถึง 20 นิ้ว และมีรูปร่างที่แตกต่างกัน
แต่ทั้งนี้  ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่ค่อนข้างหายาก


เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2QkCME2
http://bit.ly/2NzTmkQ




4.

ลูกลอยแก้วที่เคยล่องลอยในท้องทะเล
แขวนฝาบ้านชาวประมง
ในเมือง Boathouse ในประเทศนอร์เวย์  Credit : Ingrid Maasik /Shutterstock.com


5.

ลูกลอยแก้วพร้อมกับแหอวนของเรือประมง
ที่กู้ขึ้นมาได้ในนอร์เวย์
Cr: glassfloats.blogspot.com


6.

ลูกลอยแก้วที่พบบนชายฝั่งตะวันตก
ของเกาะแวนคูเวอร์  Cr : WhatiMom / Flickr


7.

ลูกลอยแก้วของญี่ปุ่น


8.

ลูกลอยแก้วญี่ปุ่น ผลิตโดย
Asahi Glass Company


9.

ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นบนชายหาดแห่งหนึ่ง


10.

ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นบนชายหาด Hokkaidō


11.



12.



13.



14.



15.




หมายเหตุ



ลูกลอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือ
ลูกลอยในถังเก็บน้ำสำรอง/ถังพักน้ำ
และลูกลอยในห้องน้ำบางรุ่น
ลุกลอยในถังเก็บน้ำมักจะมีปัญหา
ชิ้นส่วนยาง ที่ปิดเปิดน้ำตามลูกศรชี้ (ภาพที่ 17)
ชิ้นส่วนยางนี้มักจะเสื่อม/ชำรุดทำให้น้ำไหลล้น
แต่ถ้าใช้พวก PE(HDPE) (High Density Polyethylene)  มากลึงใช้งานแทน
ซึ่งมีแหล่งผลิตหลายเจ้าและหลายราคา
จะใช้ทนใช้นานใช้จนรำคาญ เรียกว่า ลืมไปเลย

ส่วนตัวลูกลอยบางรุ่นพอใช้ไปสักพัก
มักจะมีรูรั่วหรือตามดทำให้น้ำเข้า
ก็ต้องเปลี่ยนไปก่อนชิ้นส่วนยางที่กลึงมาทดแทน

16.

Cr : http://bit.ly/2NyHTCd


17.

Cr  :  Dayong


18.

Cr : http://bit.ly/2CLprlu





ราคาลูกลอยแก้ว มีแหล่งขายต่างประเทศ
ของเมืองไทย  ราคาแล้วแต่ชอบใจ  
ไม่มีราคามาตรฐาน  ต้องเสาะหาตามร้านของเก่า
หรือสั่งตามแพปลา ชาวประมง ตามท้องถิ่น


https://amzn.to/2oXuN3x

19.



https://ebay.to/2Nx5sLM

20.




21.

ตามหาลูกแก้ว 7 ใบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับลูกลอยแก้ว  
แต่เป็นภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ  Cr : http://bit.ly/2QmIJR6
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่