แจ้งเกิด TFF เปิดประตูรายย่อยลงทุน
โจทย์สำคัญของรัฐบาลนอกจากรัฐบาลจะเร่งเดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นตามแผน อีกหนึ่งนโยบายเร่งด่วนคือการผลักดัน “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย” (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) หรือ TFF ให้เกิดขึ้น เพราะนี่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมทุนของภาครัฐ โดยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และหลังจากมีอันต้องเลื่อนมาหลายครั้งหลายครา ล่าสุด “ประภาศ คงเอียด” ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คนใหม่ที่เข้ามารับไม้ต่อ ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภารกิจเร่งด่วนนี้ รวมถึงภารกิจกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในภาพรวม โดยเฉพาะการแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจที่ต้องฟื้นฟูกิจการ ความคืบหน้ากองทุน TFF ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวว่า ล่าสุด เรายื่นไฟลิ่ง TFF ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา นั่นคือสิ่งที่รอกันมาตลอด เพราะการไฟลิ่งก็เป็นการเริ่มต้นแล้ว ซึ่งผมได้ไปพูดเรื่องนี้ในงาน Thailand Focus 2018 นักลงทุนก็สนใจอย่างมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่จะมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของรัฐออกมา โดยรัฐบาลเน้นให้รายย่อยมากที่สุด ซึ่งที่ปรึกษาด้านการเงิน (FA) ก็เสนอให้ขายแบบ small lot first คือให้คนที่จองน้อยที่สุดได้ก่อน ซึ่งนักลงทุนที่เป็นรายย่อยจริง ๆ มีจำนวนไม่มาก โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีการซื้อขายกันอยู่มีประมาณ […]
โจทย์สำคัญของรัฐบาลนอกจากรัฐบาลจะเร่งเดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นตามแผน อีกหนึ่งนโยบายเร่งด่วนคือการผลักดัน “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย” (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) หรือ TFF ให้เกิดขึ้น เพราะนี่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมทุนของภาครัฐ โดยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และหลังจากมีอันต้องเลื่อนมาหลายครั้งหลายครา ล่าสุด “ประภาศ คงเอียด” ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คนใหม่ที่เข้ามารับไม้ต่อ ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภารกิจเร่งด่วนนี้ รวมถึงภารกิจกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในภาพรวม โดยเฉพาะการแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจที่ต้องฟื้นฟูกิจการ
ความคืบหน้ากองทุน TFF
ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวว่า ล่าสุด เรายื่นไฟลิ่ง TFF ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา นั่นคือสิ่งที่รอกันมาตลอด เพราะการไฟลิ่งก็เป็นการเริ่มต้นแล้ว ซึ่งผมได้ไปพูดเรื่องนี้ในงาน Thailand Focus 2018 นักลงทุนก็สนใจอย่างมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่จะมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของรัฐออกมา
โดยรัฐบาลเน้นให้รายย่อยมากที่สุด ซึ่งที่ปรึกษาด้านการเงิน (FA) ก็เสนอให้ขายแบบ small lot first คือให้คนที่จองน้อยที่สุดได้ก่อน ซึ่งนักลงทุนที่เป็นรายย่อยจริง ๆ มีจำนวนไม่มาก โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีการซื้อขายกันอยู่มีประมาณ 5-6 หมื่นราย เราจึงขยายคำว่ารายย่อยให้กว้างขึ้น ให้ครอบคลุมไปถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนประกันสังคม รวมถึงกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นรายย่อยทางอ้อมจะให้รายย่อยได้สิทธิจองก่อน แล้วค่อยให้สถาบันซื้อ ซึ่งในส่วนนักลงทุนสถาบัน ก็มีทางกองทุนรวมวายุภักษ์พร้อมเข้าซื้อ บริษัทประกันก็สนใจ รวมทั้งกลุ่มสหกรณ์ที่ติดต่อเข้ามามาก ส่วนรัฐวิสาหกิจจะไม่ครอบคลุมถึง เพราะเรามองว่ารัฐวิสาหกิจน่าจะนำสภาพคล่องตัวเองไปลงทุนในส่วนอื่นมากกว่า ยกเว้นเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
โรดโชว์เชียงใหม่-ขอนแก่น
สำหรับแผนการขายหน่วยลงทุน จากการประชุมที่มี รมว.คลังเป็นประธาน เมื่อ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา เห็นว่าความต้องการในประเทศเหลือเฟือ เพราะสภาพคล่องในประเทศมีมาก ดังนั้นช่วงเดือน ก.ย.นี้ จะเน้นโรดโชว์ในจังหวัดหลัก ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ และนครราชสีมา แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และให้นักลงทุนต่างประเทศเห็นทิศทางของเราที่จะเดินหน้าต่อไป ซึ่งในช่วงปลายเดือน ก.ย.-ต้น ต.ค.ก็จะมีไปโรดโชว์ต่างประเทศ แต่จะลดจำนวนประเทศลง จากเดิมดูไว้ว่าอาจจะเป็นสิงคโปร์ ฮ่องกง อังกฤษ และอเมริกา แต่ตอนนี้คิดว่าคงไปแค่สิงคโปร์หรือฮ่องกงก่อน
ส่วนการเทรดในตลาดหุ้นเดิม รมว.คลังต้องการให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ แต่จากสถานการณ์ทาง FA คาดว่าจะเริ่มได้วันที่ 1 พ.ย. อย่างไรก็ดี จากการประชุมร่วมกับ รมว.คลังอีกครั้ง ก็ได้รับนโยบายมาว่าให้เริ่มเทรดอย่างช้าไม่เกินช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ต.ค.
ผลตอบแทนหน่วยลงทุน 3-4%
นายประภาศอธิบายถึงการกำหนดราคาหน่วยลงทุน ว่า รมว.คลังกำชับให้ FA กำหนดออกมาให้ประชาชนรายย่อยสามารถถือหน่วยลงทุนให้ได้มากที่สุด เพราะต้องการให้ประชาชนได้ประโยชน์ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของ และมีส่วนในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทำให้มีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และที่สำคัญ ประชาชนจะมีความรู้เรื่องการลงทุนมากขึ้น และที่สำคัญ TFF ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดีที่สุด เพราะเรามีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ และหนี้สาธารณะก็มีเพดานอยู่
“ส่วนผลตอบแทน ก็มีคนถามว่า 3-4% ได้ไหม ผมก็เลยบอกไปว่าได้อยู่แล้ว น่าจะเกินจากนั้น แต่ตอนนี้ยังพูดตัวเลขชัดเจนไม่ได้ แต่เชื่อมั่นว่าเมื่อเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ที่ออกมาได้ว่าผลตอบแทนดีแน่นอน”
ระดมทุนลอตแรก 4 หมื่นล้าน
สำหรับขนาดกองทุนในลอตแรกที่จะเปิดขายจะอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท โดยจะนำ 45% ของรายได้ค่าผ่านทาง ทางด่วน 2 เส้น คือ บูรพาวิถีกับฉลองรัช มาแบ็กอัพเป็นเวลา 30 ปี ซึ่งเราคำนวณแล้วว่า 45% ดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้ ทั้งคำนวณปริมาณจราจรที่จะเพิ่มขึ้น กระแสเงินที่จะเข้ามา รวมถึงปัจจัยเรื่องการขึ้นค่าผ่านทางตามที่สัญญากำหนด
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมกับผู้บริหาร และประธานบอร์ดการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีการชี้แจงกับพนักงานและสหภาพแรงงาน ทำความเข้าใจกันแล้วว่า การนำรายได้ไปแบ็กอัพจัดตั้ง TFF ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้องค์กรหายไป และไม่ได้มีผลต่อโบนัส ซึ่งผมได้รับรองเขาไปว่า ถ้าเกิดผลกระทบต่อกระแสเงินขององค์กรหรือกระทบในจุดใดก็แล้วแต่ ในฐานะ ผอ.สคร. จะเข้ามาแก้ปัญหาคุยกันด้วยเหตุด้วยผล แต่คิดว่าคงไม่เกิดปัญหาตามแผนหลังจากนี้จะมีการระดมทุนเพิ่มทุกปี ต่อจากนี้ก็จะมีมอเตอร์เวย์ 7 และสาย 9 ของกรมทางหลวง ที่อยู่ระหว่างแก้ไขกฎหมาย เพื่อรองรับการนำค่าธรรมเนียมค่าผ่านทางจากกองทุนของกรมทางหลวงมาเข้า TFF โดยผมคิดว่าน่าจะแก้กฎหมายได้ภายในรัฐบาลชุดนี้
https://www.prachachat.net/finance/news-215971
กองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ แจ้งเกืด
โจทย์สำคัญของรัฐบาลนอกจากรัฐบาลจะเร่งเดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นตามแผน อีกหนึ่งนโยบายเร่งด่วนคือการผลักดัน “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย” (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) หรือ TFF ให้เกิดขึ้น เพราะนี่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมทุนของภาครัฐ โดยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และหลังจากมีอันต้องเลื่อนมาหลายครั้งหลายครา ล่าสุด “ประภาศ คงเอียด” ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คนใหม่ที่เข้ามารับไม้ต่อ ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภารกิจเร่งด่วนนี้ รวมถึงภารกิจกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในภาพรวม โดยเฉพาะการแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจที่ต้องฟื้นฟูกิจการ ความคืบหน้ากองทุน TFF ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวว่า ล่าสุด เรายื่นไฟลิ่ง TFF ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา นั่นคือสิ่งที่รอกันมาตลอด เพราะการไฟลิ่งก็เป็นการเริ่มต้นแล้ว ซึ่งผมได้ไปพูดเรื่องนี้ในงาน Thailand Focus 2018 นักลงทุนก็สนใจอย่างมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่จะมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของรัฐออกมา โดยรัฐบาลเน้นให้รายย่อยมากที่สุด ซึ่งที่ปรึกษาด้านการเงิน (FA) ก็เสนอให้ขายแบบ small lot first คือให้คนที่จองน้อยที่สุดได้ก่อน ซึ่งนักลงทุนที่เป็นรายย่อยจริง ๆ มีจำนวนไม่มาก โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีการซื้อขายกันอยู่มีประมาณ […]
โจทย์สำคัญของรัฐบาลนอกจากรัฐบาลจะเร่งเดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นตามแผน อีกหนึ่งนโยบายเร่งด่วนคือการผลักดัน “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย” (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) หรือ TFF ให้เกิดขึ้น เพราะนี่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมทุนของภาครัฐ โดยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และหลังจากมีอันต้องเลื่อนมาหลายครั้งหลายครา ล่าสุด “ประภาศ คงเอียด” ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คนใหม่ที่เข้ามารับไม้ต่อ ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภารกิจเร่งด่วนนี้ รวมถึงภารกิจกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในภาพรวม โดยเฉพาะการแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจที่ต้องฟื้นฟูกิจการ
ความคืบหน้ากองทุน TFF
ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวว่า ล่าสุด เรายื่นไฟลิ่ง TFF ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา นั่นคือสิ่งที่รอกันมาตลอด เพราะการไฟลิ่งก็เป็นการเริ่มต้นแล้ว ซึ่งผมได้ไปพูดเรื่องนี้ในงาน Thailand Focus 2018 นักลงทุนก็สนใจอย่างมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่จะมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของรัฐออกมา
โดยรัฐบาลเน้นให้รายย่อยมากที่สุด ซึ่งที่ปรึกษาด้านการเงิน (FA) ก็เสนอให้ขายแบบ small lot first คือให้คนที่จองน้อยที่สุดได้ก่อน ซึ่งนักลงทุนที่เป็นรายย่อยจริง ๆ มีจำนวนไม่มาก โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีการซื้อขายกันอยู่มีประมาณ 5-6 หมื่นราย เราจึงขยายคำว่ารายย่อยให้กว้างขึ้น ให้ครอบคลุมไปถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนประกันสังคม รวมถึงกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นรายย่อยทางอ้อมจะให้รายย่อยได้สิทธิจองก่อน แล้วค่อยให้สถาบันซื้อ ซึ่งในส่วนนักลงทุนสถาบัน ก็มีทางกองทุนรวมวายุภักษ์พร้อมเข้าซื้อ บริษัทประกันก็สนใจ รวมทั้งกลุ่มสหกรณ์ที่ติดต่อเข้ามามาก ส่วนรัฐวิสาหกิจจะไม่ครอบคลุมถึง เพราะเรามองว่ารัฐวิสาหกิจน่าจะนำสภาพคล่องตัวเองไปลงทุนในส่วนอื่นมากกว่า ยกเว้นเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
โรดโชว์เชียงใหม่-ขอนแก่น
สำหรับแผนการขายหน่วยลงทุน จากการประชุมที่มี รมว.คลังเป็นประธาน เมื่อ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา เห็นว่าความต้องการในประเทศเหลือเฟือ เพราะสภาพคล่องในประเทศมีมาก ดังนั้นช่วงเดือน ก.ย.นี้ จะเน้นโรดโชว์ในจังหวัดหลัก ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ และนครราชสีมา แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และให้นักลงทุนต่างประเทศเห็นทิศทางของเราที่จะเดินหน้าต่อไป ซึ่งในช่วงปลายเดือน ก.ย.-ต้น ต.ค.ก็จะมีไปโรดโชว์ต่างประเทศ แต่จะลดจำนวนประเทศลง จากเดิมดูไว้ว่าอาจจะเป็นสิงคโปร์ ฮ่องกง อังกฤษ และอเมริกา แต่ตอนนี้คิดว่าคงไปแค่สิงคโปร์หรือฮ่องกงก่อน
ส่วนการเทรดในตลาดหุ้นเดิม รมว.คลังต้องการให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ แต่จากสถานการณ์ทาง FA คาดว่าจะเริ่มได้วันที่ 1 พ.ย. อย่างไรก็ดี จากการประชุมร่วมกับ รมว.คลังอีกครั้ง ก็ได้รับนโยบายมาว่าให้เริ่มเทรดอย่างช้าไม่เกินช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ต.ค.
ผลตอบแทนหน่วยลงทุน 3-4%
นายประภาศอธิบายถึงการกำหนดราคาหน่วยลงทุน ว่า รมว.คลังกำชับให้ FA กำหนดออกมาให้ประชาชนรายย่อยสามารถถือหน่วยลงทุนให้ได้มากที่สุด เพราะต้องการให้ประชาชนได้ประโยชน์ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของ และมีส่วนในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทำให้มีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และที่สำคัญ ประชาชนจะมีความรู้เรื่องการลงทุนมากขึ้น และที่สำคัญ TFF ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดีที่สุด เพราะเรามีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ และหนี้สาธารณะก็มีเพดานอยู่
“ส่วนผลตอบแทน ก็มีคนถามว่า 3-4% ได้ไหม ผมก็เลยบอกไปว่าได้อยู่แล้ว น่าจะเกินจากนั้น แต่ตอนนี้ยังพูดตัวเลขชัดเจนไม่ได้ แต่เชื่อมั่นว่าเมื่อเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ที่ออกมาได้ว่าผลตอบแทนดีแน่นอน”
ระดมทุนลอตแรก 4 หมื่นล้าน
สำหรับขนาดกองทุนในลอตแรกที่จะเปิดขายจะอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท โดยจะนำ 45% ของรายได้ค่าผ่านทาง ทางด่วน 2 เส้น คือ บูรพาวิถีกับฉลองรัช มาแบ็กอัพเป็นเวลา 30 ปี ซึ่งเราคำนวณแล้วว่า 45% ดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้ ทั้งคำนวณปริมาณจราจรที่จะเพิ่มขึ้น กระแสเงินที่จะเข้ามา รวมถึงปัจจัยเรื่องการขึ้นค่าผ่านทางตามที่สัญญากำหนด
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมกับผู้บริหาร และประธานบอร์ดการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีการชี้แจงกับพนักงานและสหภาพแรงงาน ทำความเข้าใจกันแล้วว่า การนำรายได้ไปแบ็กอัพจัดตั้ง TFF ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้องค์กรหายไป และไม่ได้มีผลต่อโบนัส ซึ่งผมได้รับรองเขาไปว่า ถ้าเกิดผลกระทบต่อกระแสเงินขององค์กรหรือกระทบในจุดใดก็แล้วแต่ ในฐานะ ผอ.สคร. จะเข้ามาแก้ปัญหาคุยกันด้วยเหตุด้วยผล แต่คิดว่าคงไม่เกิดปัญหาตามแผนหลังจากนี้จะมีการระดมทุนเพิ่มทุกปี ต่อจากนี้ก็จะมีมอเตอร์เวย์ 7 และสาย 9 ของกรมทางหลวง ที่อยู่ระหว่างแก้ไขกฎหมาย เพื่อรองรับการนำค่าธรรมเนียมค่าผ่านทางจากกองทุนของกรมทางหลวงมาเข้า TFF โดยผมคิดว่าน่าจะแก้กฎหมายได้ภายในรัฐบาลชุดนี้
https://www.prachachat.net/finance/news-215971