อรูปฌาน ๔
อรูปฌาน (absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states) คือ การพิจารณาที่เป็นอรูป ก็คือไม่มีรูป เป็นลักษณะนาม ใช้นามที่ปรากฏเป็นภาวะของอารมณ์โดยใช้พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ รู้แจ้งประจักษ์ซึ้งในธรรมนั้นๆ ดังนี้
๑. อากาสานัญจายตนะ (sphere of infinity of space) คือ กำหนดอากาศ ความว่าง ใช้อากาศเป็นตัวนำให้เกิดความรู้สึกว่า "ว่าง" แล้วสุญญตากับอากาสานัญจายตนะแตกต่างกันตรงไหน แตกต่างกันตรงนี้ฌานนี้นำเข้าสู่สุญญตา คือ ว่างจากรูปแล้วก็ไปว่างที่นาม พอว่างที่นามก็ไปว่างที่ข้างใน
๒. วิญญาณัญจายตนะ (sphere of infinity of consciousness)คือ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ วิธีทำก็คือ หารูป รูปมันต้องเปลี่ยนไปเรื่อย เรามองคนปั๊บเดี๋ยวคนก็เน่า เราเอาเนื้อมาหนึ่งก้อนไม่ทันไรเดี๋ยวก็เน่า เดี๋ยวก็เปื่อย เดี๋ยวก็สีไม่สวยแล้ว เปลี่ยนไปเรื่อย เจริญพระไตรลักษณ์ ตัวอนิจจัง
กำหนดวิญญาณหาที่สุดไม่ได้ก็คือ วิญญาณ คือ ตัวรับรู้ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนหาที่สุดไม่ได้ เช่น เราเอาเนื้อมาหนึ่งก้อนทีแรกก็สวย พอกาลเวลาผ่านไป เดี๋ยวสีก็เริ่มหมอง เน่า เปื่อย หมดเป็นธุลี ธุลีแล้วก็กลับมาเป็นก้อน
เรามองผู้ชายที่หล่อ เดี๋ยวความหล่อก็เปลี่ยน พิจารณาไปเรื่อยๆ
ตอนนี้ทำให้คิดได้แล้วว่า เส้นทางธรรมะก็มีแค่นี้ เรียนแค่พระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ทำไมวิถีทางมันมีหลากหลายจังเลย ทำไมต้องมาเรียนหลากหลาย เราไปเรียนตัวพ่อ ตัวแม่ก็รู้แล้ว
เราก็ต้องไปเรียนตามเส้นทางเขาวงกรต วกวน กว่าจะเข้ามาเจอ แต่เพราะเราถูกตีกรอบไว้ เหมือนกับเราไม่เคยไปอเมริกา ก็คิดว่าอเมริกาเท่ห์ เป็นเมืองเจริญทันสมัยมาก แต่พอไปแล้วมันไม่ใช่ตามในกรอบที่เราเคยคิดไว้ เราก็หายเท่ห์ตามที่คิดไว้ นี่แหละเส้นทางประสบการณ์ชีวิตของแต่ละบุคคล นี่แหละเป็นวิถีชะตา
ตอนสมัยที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ต้องการเผยแผ่พระธรรม พระองค์ท่านทรงระลึกถึงพระอาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน ท่านได้อรูปฌาน ๘ นี้แล้ว เพียงแค่ฟังธรรมก็จะบรรลุ คือ อาฬารดาบส กาลามโคตร กับอุททกดาบส รามบุตร แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย พระอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านนี้ได้เสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้เอง
แต่ทำไมพระอาจารย์ทั้งสองท่านนี้เมื่อได้อรูปฌาน แล้วทำไมถึงไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็เพราะท่านท่านทั้งสองนี้ไม่ได้ทำให้ครบถ้วน แต่พระพุทธเจ้าทำครบถ้วนกว่า เพราะพระพุทธเจ้าได้ฌานแล้วไปพิจารณาพระไตรลักษณ์ แต่ว่าฤาษีไม่ได้นำการได้อรูปฌานนี้ไปพิจารณาเป็นพระไตรลักษณ์ ท่านจะเข้าฌานแล้วดิ่งอย่างเดียว
๓. อากิญจัญญายตนะ (sphere of nothingness) คือ กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หมายถึง ไม่จับอารมณ์ตัวใดตัวหนึ่งให้ยึดมั่นถือมั่น แต่ไม่ใช่สุญญตา เป็นเพียงแต่เริ่มพิจารณา เพื่อนำไปสู่สุญญตา ทุกอย่างจะยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ จนในที่สุดจิตยอมรับข้อเท็จจริงในนี้ว่ายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ก็จะเข้าสู่ภาวะอนัตตา และสุญญตา
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการพิจารณาพระไตรลักษณ์ เพียงแต่พิจารณาข้อไหน ขั้นตอนไหน แล้วแต่จะไปเลือก จะเริ่มจากอนิจจัง หรือจะเริ่มจากทุกขัง หรือจะเริ่มจากอนัตตาก็แล้วแต่จริตของใครของมัน แต่องค์ธรรม ๓ อย่างนี้เชื่อมกันหมด
ทำไมได้อากิญจัญญายตนะนี้แล้วถึงไม่เข้าสู่ภาวะนิพพาน หรือเข้าใจนิพพาน เพราะเป็นเส้นทางเข้าสู่สุญญตานี่ ขอตอบว่า เปรียบเสมือนกับการกินข้าว พอเรากินข้าวไปแล้วเราก็ต้องไปย่อยไหม? หรือว่ากินข้าวแล้วกระเพาะไม่ต้องไปย่อยอาหาร ฉันใด ก็เช่นเดียวกัน
เมื่อเราได้อากิญจัญญายตนะ เราต้องไปทำต่อ ไปปฏิบัติต่อ นี่แหละรู้เส้นทาง แต่ยังไม่ได้เดินทาง พอรู้เส้นทางก็ต้องเดินทาง มีมรรค และถึงจะเกิดผล
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (sphere of neither perception nor non-perception) คือ การเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หมายถึง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เกี่ยวกับเรื่องสัญญา สัญญาณ คือสิ่งที่เจ้าตัวเคยได้สัญญาไว้ ผูกพันไว้ เคยทำอะไรไว้ พอปฏิบัติถึงขั้นนี้ก็จะไม่ถือแล้ว เพราะการผูกพันก็เสื่อมถอยได้ ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
ไม่ว่าจะมีหัวข้อธรรมอะไรมาทั้งหมด จะยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ที่พูดมาทั้งหมดเลย เพียงแต่ให้รู้ซึ้งถึงพระไตรลักษณ์ หลักธรรมอะไรก็แล้วแต่ ธรรมอะไรก็แล้วแต่ ก็จะเข้าสู่การพิจารณาเข้าใจ ประจักษ์ซึ้งในหลักธรรมพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น
ในการพิจารณาของอรูปฌาน ๔ ก็คือ การพิจารณาจากรูป ไปสู่อรูป คือ พิจารณาความคิด แล้วจากความคิดนั้นมีวิญญาณ ในวิญญาณก็จะมีสัญญา ก็แค่นี้ ก็จบแล้ว
พอรู้ว่าข้างในสัญญาถูกถอดสมการออกหมด สุดท้ายก็ไปแค่พระไตรลักษณ์ เราก็ไม่ไปหลงทั้งหมด
ทั้ง ๔ ข้อนี้ทำให้ได้ เมื่อได้แล้วก็ให้ละทั้งหมด
พิจารณายังไงให้เป็นสัญญา เช่น เรามีวิบาก เช่น เราเคยสัญญาว่า ต้องมารักกัน แต่สุดท้ายเหตุแปรเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน นี่แหละ เป็นการพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ทำไมถึงง่ายจัง ก็เพราะอันนี้เป็นศัพท์ ภาษาบาลีที่ใช้เรียกกัน แต่ถ้าแปลเป็นไทยก็แค่นี้เอง คนเรากลัวไม่ขลังก็เลยเอาโน้นนี่มาเติม เติมแล้วดูให้มันขลัง ธรรมะนี้มันง่ายๆ พอภาษาไม่ขลังคนแปลไม่เท่ห์ เหมือนกับแต่งตัวซะนาน ออกมาแล้วคนยกมือไหว้แค่นี้เอง ฉะนั้น จะยกมือไหว้ก็ต้องมีลีลาหน่อย เหมือนกับเราขึ้นรถแท็กซี่แป๊ะเดียวเลี้ยวไปข้างหน้าก็ถึงแล้ว โชเฟอร์ (Chauffeur) ก็ต้องพาไปอ้อมที่อื่น แล้วก็ออกมาถึงจะสมควรราคาหน่อยที่เสียเงินไป
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
อรูปฌาน ๔
อรูปฌาน (absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states) คือ การพิจารณาที่เป็นอรูป ก็คือไม่มีรูป เป็นลักษณะนาม ใช้นามที่ปรากฏเป็นภาวะของอารมณ์โดยใช้พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ รู้แจ้งประจักษ์ซึ้งในธรรมนั้นๆ ดังนี้
๑. อากาสานัญจายตนะ (sphere of infinity of space) คือ กำหนดอากาศ ความว่าง ใช้อากาศเป็นตัวนำให้เกิดความรู้สึกว่า "ว่าง" แล้วสุญญตากับอากาสานัญจายตนะแตกต่างกันตรงไหน แตกต่างกันตรงนี้ฌานนี้นำเข้าสู่สุญญตา คือ ว่างจากรูปแล้วก็ไปว่างที่นาม พอว่างที่นามก็ไปว่างที่ข้างใน
๒. วิญญาณัญจายตนะ (sphere of infinity of consciousness)คือ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ วิธีทำก็คือ หารูป รูปมันต้องเปลี่ยนไปเรื่อย เรามองคนปั๊บเดี๋ยวคนก็เน่า เราเอาเนื้อมาหนึ่งก้อนไม่ทันไรเดี๋ยวก็เน่า เดี๋ยวก็เปื่อย เดี๋ยวก็สีไม่สวยแล้ว เปลี่ยนไปเรื่อย เจริญพระไตรลักษณ์ ตัวอนิจจัง
กำหนดวิญญาณหาที่สุดไม่ได้ก็คือ วิญญาณ คือ ตัวรับรู้ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนหาที่สุดไม่ได้ เช่น เราเอาเนื้อมาหนึ่งก้อนทีแรกก็สวย พอกาลเวลาผ่านไป เดี๋ยวสีก็เริ่มหมอง เน่า เปื่อย หมดเป็นธุลี ธุลีแล้วก็กลับมาเป็นก้อน
เรามองผู้ชายที่หล่อ เดี๋ยวความหล่อก็เปลี่ยน พิจารณาไปเรื่อยๆ
ตอนนี้ทำให้คิดได้แล้วว่า เส้นทางธรรมะก็มีแค่นี้ เรียนแค่พระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ทำไมวิถีทางมันมีหลากหลายจังเลย ทำไมต้องมาเรียนหลากหลาย เราไปเรียนตัวพ่อ ตัวแม่ก็รู้แล้ว
เราก็ต้องไปเรียนตามเส้นทางเขาวงกรต วกวน กว่าจะเข้ามาเจอ แต่เพราะเราถูกตีกรอบไว้ เหมือนกับเราไม่เคยไปอเมริกา ก็คิดว่าอเมริกาเท่ห์ เป็นเมืองเจริญทันสมัยมาก แต่พอไปแล้วมันไม่ใช่ตามในกรอบที่เราเคยคิดไว้ เราก็หายเท่ห์ตามที่คิดไว้ นี่แหละเส้นทางประสบการณ์ชีวิตของแต่ละบุคคล นี่แหละเป็นวิถีชะตา
ตอนสมัยที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ต้องการเผยแผ่พระธรรม พระองค์ท่านทรงระลึกถึงพระอาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน ท่านได้อรูปฌาน ๘ นี้แล้ว เพียงแค่ฟังธรรมก็จะบรรลุ คือ อาฬารดาบส กาลามโคตร กับอุททกดาบส รามบุตร แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย พระอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านนี้ได้เสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้เอง
แต่ทำไมพระอาจารย์ทั้งสองท่านนี้เมื่อได้อรูปฌาน แล้วทำไมถึงไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็เพราะท่านท่านทั้งสองนี้ไม่ได้ทำให้ครบถ้วน แต่พระพุทธเจ้าทำครบถ้วนกว่า เพราะพระพุทธเจ้าได้ฌานแล้วไปพิจารณาพระไตรลักษณ์ แต่ว่าฤาษีไม่ได้นำการได้อรูปฌานนี้ไปพิจารณาเป็นพระไตรลักษณ์ ท่านจะเข้าฌานแล้วดิ่งอย่างเดียว
๓. อากิญจัญญายตนะ (sphere of nothingness) คือ กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หมายถึง ไม่จับอารมณ์ตัวใดตัวหนึ่งให้ยึดมั่นถือมั่น แต่ไม่ใช่สุญญตา เป็นเพียงแต่เริ่มพิจารณา เพื่อนำไปสู่สุญญตา ทุกอย่างจะยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ จนในที่สุดจิตยอมรับข้อเท็จจริงในนี้ว่ายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ก็จะเข้าสู่ภาวะอนัตตา และสุญญตา
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการพิจารณาพระไตรลักษณ์ เพียงแต่พิจารณาข้อไหน ขั้นตอนไหน แล้วแต่จะไปเลือก จะเริ่มจากอนิจจัง หรือจะเริ่มจากทุกขัง หรือจะเริ่มจากอนัตตาก็แล้วแต่จริตของใครของมัน แต่องค์ธรรม ๓ อย่างนี้เชื่อมกันหมด
ทำไมได้อากิญจัญญายตนะนี้แล้วถึงไม่เข้าสู่ภาวะนิพพาน หรือเข้าใจนิพพาน เพราะเป็นเส้นทางเข้าสู่สุญญตานี่ ขอตอบว่า เปรียบเสมือนกับการกินข้าว พอเรากินข้าวไปแล้วเราก็ต้องไปย่อยไหม? หรือว่ากินข้าวแล้วกระเพาะไม่ต้องไปย่อยอาหาร ฉันใด ก็เช่นเดียวกัน
เมื่อเราได้อากิญจัญญายตนะ เราต้องไปทำต่อ ไปปฏิบัติต่อ นี่แหละรู้เส้นทาง แต่ยังไม่ได้เดินทาง พอรู้เส้นทางก็ต้องเดินทาง มีมรรค และถึงจะเกิดผล
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (sphere of neither perception nor non-perception) คือ การเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หมายถึง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เกี่ยวกับเรื่องสัญญา สัญญาณ คือสิ่งที่เจ้าตัวเคยได้สัญญาไว้ ผูกพันไว้ เคยทำอะไรไว้ พอปฏิบัติถึงขั้นนี้ก็จะไม่ถือแล้ว เพราะการผูกพันก็เสื่อมถอยได้ ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
ไม่ว่าจะมีหัวข้อธรรมอะไรมาทั้งหมด จะยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ที่พูดมาทั้งหมดเลย เพียงแต่ให้รู้ซึ้งถึงพระไตรลักษณ์ หลักธรรมอะไรก็แล้วแต่ ธรรมอะไรก็แล้วแต่ ก็จะเข้าสู่การพิจารณาเข้าใจ ประจักษ์ซึ้งในหลักธรรมพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น
ในการพิจารณาของอรูปฌาน ๔ ก็คือ การพิจารณาจากรูป ไปสู่อรูป คือ พิจารณาความคิด แล้วจากความคิดนั้นมีวิญญาณ ในวิญญาณก็จะมีสัญญา ก็แค่นี้ ก็จบแล้ว
พอรู้ว่าข้างในสัญญาถูกถอดสมการออกหมด สุดท้ายก็ไปแค่พระไตรลักษณ์ เราก็ไม่ไปหลงทั้งหมด
ทั้ง ๔ ข้อนี้ทำให้ได้ เมื่อได้แล้วก็ให้ละทั้งหมด
พิจารณายังไงให้เป็นสัญญา เช่น เรามีวิบาก เช่น เราเคยสัญญาว่า ต้องมารักกัน แต่สุดท้ายเหตุแปรเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน นี่แหละ เป็นการพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ทำไมถึงง่ายจัง ก็เพราะอันนี้เป็นศัพท์ ภาษาบาลีที่ใช้เรียกกัน แต่ถ้าแปลเป็นไทยก็แค่นี้เอง คนเรากลัวไม่ขลังก็เลยเอาโน้นนี่มาเติม เติมแล้วดูให้มันขลัง ธรรมะนี้มันง่ายๆ พอภาษาไม่ขลังคนแปลไม่เท่ห์ เหมือนกับแต่งตัวซะนาน ออกมาแล้วคนยกมือไหว้แค่นี้เอง ฉะนั้น จะยกมือไหว้ก็ต้องมีลีลาหน่อย เหมือนกับเราขึ้นรถแท็กซี่แป๊ะเดียวเลี้ยวไปข้างหน้าก็ถึงแล้ว โชเฟอร์ (Chauffeur) ก็ต้องพาไปอ้อมที่อื่น แล้วก็ออกมาถึงจะสมควรราคาหน่อยที่เสียเงินไป
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์