ฌาน ๓ อย่าง
ฌาน (meditation; scrutiny; examination) คือ การเพ่ง
๑. อารัมมณูปนิชฌาน (object-scrutinizing Jhana) คือ การเพ่งอารมณ์ดูภายใน เกิดดับเป็นยังไง ฉุนเฉียว ดีใจ เสียใจ เรียกว่า ดูอาการเกิด
๒. ลักขณูปนิชฌาน (characteristic-examining Jhana) คือ การเพ่งลักษณะวิเคราะห์เหตุ คือ เหตุอย่างนี้ ไฟมันไหม้ มันร้อนจึงต้องถูกเผา ค้นหาเหตุ เป็นฌานอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลง การดับไป เพ่งเกี่ยวกับกับเหตุและผล
๓. กสิณ (meditational device; object of meditation) คือ เพ่งให้เกิดสมาธิ คือ เพ่งให้เกิดอยู่กับที่เดียวที่ใดที่หนึ่ง เป็นหนึ่งเดียวมั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เคลื่อนย้าย บางครั้งถึงขนาดที่ว่าดิ่งลงไปให้มันลึก ให้นิ่ง เรียกว่าเข้าฌานสมาบัติ ก็จะตามด้วยกสิณเข้าไป ให้เกิดสมาธิแน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว
การปฏิบัติทั้งข้อ ๑ ถึง ๓ ได้ฌานเหมือนกัน ข้อที่ ๑ กับ ๒ จะมีการเพ่งแบบการเคลื่อนไหว แต่เป็นการเคลื่อนไหวในความคิด แต่ข้อที่ ๓ จะไม่มีการเคลื่อนไหว คือ พยายามให้นิ่งมีความมั่นคงแล้วดิ่ง ดิ่งก็คือว่า ไม่เคลื่อนไหวง่ายๆ
คำว่า เอกัคคตา ไม่ได้หมายความว่า นิ่งอย่างเดียว แต่เราอยู่กับอารมณ์ ภาวะนั้นๆ แต่ภาวะนั้นๆ ก็เคลื่อนไหวอยู่แต่ในขอบเขตนั้นๆ
การที่อารมณ์นิ่งไม่รับรู้ความรู้สึกอย่างนี้ไม่ใช่ เอกัคคตา คือ นิ่ง แต่อยู่ในบริเวณลักษณะของลักษณะนี้ เป็นเอกัคคตาแล้วเป็นลักษณะนี้เป็นสมาธิ ถ้าหากว่านิ่งแล้วดิ่งเป็นการเข้าฌานแล้ว การเข้าฌานก็คือนิ่งแล้วไม่ไหว เหมือนกับบางคนนั่งเข้าฌาน ๕ ปีก็ได้ พระบางรูปนั่งจนกระทั่งว่านกมาทำรังบนหัว นี่แหละ การทำสมาธิชั้นสูง
ยกตัวอย่างเช่น พระโพธิธรรม ปรมาจารย์ตั๊กหม้อ (菩提達摩) พระภิกษุในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายาน นิกายเซน พระปรมาจารย์ตั๊กม๊อ ข้ามแม่น้ำแยงซีไปถึงวัดเส้าหลิน (少林寺) บนเทือกเขาซงซาน (松山) อำเภอลั่วหยาง (洛阳) มณฑลเหอหนาน (河南省) ประเทศจีน (中華人民共和國) ท่านได้ค้นหาพบถ้ำแห่งหนึ่งบนเขาหลังวัด แล้วนั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนังถ้ำ ท่านนั่งสมาธิเข้าฌานเป็นเวลา ๙ ปี นานวันเข้า เงาร่างของท่านที่กระทบทาบไปบนผนังศิลา ได้ฝังรอยติดอยู่ให้เห็นถึงปัจจุบันนี้ จึงได้ชื่อว่า "ผนังศิลาเงา"
การทำสมาธิชั้นสูงพระพุทธเจ้าตรัสว่า ออกมาจากฌานก็มีความทุกข์ เพราะออกมาต้องรับความจริง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าการทำสมาธิให้ได้ฌานเข้าฌานชั้นสูง ไม่ใช่วิธีการแก้ทุกข์ พ้นทุกข์ ที่แท้จริง พระพุทธเจ้าจึงไม่เอา พระพุทธเจ้าจึงไม่นั่งสมาธิแล้วดิ่ง พอนั่งสมาธิถึงจุดที่ ๓ พระพุทธเจ้าก็ถอยออกมาเอาสมาธิบวกกับปัญญาไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
พอเราเข้าวิปัสสนากรรมฐานถึงจะรู้ต้นตอแห่งเหตุ แก้เหตุได้ทุกข์ถึงเปลี่ยนได้ แล้วเราเอาตัวไหนมาแก้ทุกข์ ก็ต้องเอาเหตุมาแก้ทุกข์ พอเราเข้าวิปัสสนากรรมฐาน เอาปัญญามาวิเคราะห์ว่าฐานแห่งกรรมนั้นมีอะไร แล้วอะไรทำให้เกิดทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ เราก็แก้ไขเหตุทุกข์
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
ฌาน ๓ อย่าง
ฌาน (meditation; scrutiny; examination) คือ การเพ่ง
๑. อารัมมณูปนิชฌาน (object-scrutinizing Jhana) คือ การเพ่งอารมณ์ดูภายใน เกิดดับเป็นยังไง ฉุนเฉียว ดีใจ เสียใจ เรียกว่า ดูอาการเกิด
๒. ลักขณูปนิชฌาน (characteristic-examining Jhana) คือ การเพ่งลักษณะวิเคราะห์เหตุ คือ เหตุอย่างนี้ ไฟมันไหม้ มันร้อนจึงต้องถูกเผา ค้นหาเหตุ เป็นฌานอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลง การดับไป เพ่งเกี่ยวกับกับเหตุและผล
๓. กสิณ (meditational device; object of meditation) คือ เพ่งให้เกิดสมาธิ คือ เพ่งให้เกิดอยู่กับที่เดียวที่ใดที่หนึ่ง เป็นหนึ่งเดียวมั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เคลื่อนย้าย บางครั้งถึงขนาดที่ว่าดิ่งลงไปให้มันลึก ให้นิ่ง เรียกว่าเข้าฌานสมาบัติ ก็จะตามด้วยกสิณเข้าไป ให้เกิดสมาธิแน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว
การปฏิบัติทั้งข้อ ๑ ถึง ๓ ได้ฌานเหมือนกัน ข้อที่ ๑ กับ ๒ จะมีการเพ่งแบบการเคลื่อนไหว แต่เป็นการเคลื่อนไหวในความคิด แต่ข้อที่ ๓ จะไม่มีการเคลื่อนไหว คือ พยายามให้นิ่งมีความมั่นคงแล้วดิ่ง ดิ่งก็คือว่า ไม่เคลื่อนไหวง่ายๆ
คำว่า เอกัคคตา ไม่ได้หมายความว่า นิ่งอย่างเดียว แต่เราอยู่กับอารมณ์ ภาวะนั้นๆ แต่ภาวะนั้นๆ ก็เคลื่อนไหวอยู่แต่ในขอบเขตนั้นๆ
การที่อารมณ์นิ่งไม่รับรู้ความรู้สึกอย่างนี้ไม่ใช่ เอกัคคตา คือ นิ่ง แต่อยู่ในบริเวณลักษณะของลักษณะนี้ เป็นเอกัคคตาแล้วเป็นลักษณะนี้เป็นสมาธิ ถ้าหากว่านิ่งแล้วดิ่งเป็นการเข้าฌานแล้ว การเข้าฌานก็คือนิ่งแล้วไม่ไหว เหมือนกับบางคนนั่งเข้าฌาน ๕ ปีก็ได้ พระบางรูปนั่งจนกระทั่งว่านกมาทำรังบนหัว นี่แหละ การทำสมาธิชั้นสูง
ยกตัวอย่างเช่น พระโพธิธรรม ปรมาจารย์ตั๊กหม้อ (菩提達摩) พระภิกษุในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายาน นิกายเซน พระปรมาจารย์ตั๊กม๊อ ข้ามแม่น้ำแยงซีไปถึงวัดเส้าหลิน (少林寺) บนเทือกเขาซงซาน (松山) อำเภอลั่วหยาง (洛阳) มณฑลเหอหนาน (河南省) ประเทศจีน (中華人民共和國) ท่านได้ค้นหาพบถ้ำแห่งหนึ่งบนเขาหลังวัด แล้วนั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนังถ้ำ ท่านนั่งสมาธิเข้าฌานเป็นเวลา ๙ ปี นานวันเข้า เงาร่างของท่านที่กระทบทาบไปบนผนังศิลา ได้ฝังรอยติดอยู่ให้เห็นถึงปัจจุบันนี้ จึงได้ชื่อว่า "ผนังศิลาเงา"
การทำสมาธิชั้นสูงพระพุทธเจ้าตรัสว่า ออกมาจากฌานก็มีความทุกข์ เพราะออกมาต้องรับความจริง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าการทำสมาธิให้ได้ฌานเข้าฌานชั้นสูง ไม่ใช่วิธีการแก้ทุกข์ พ้นทุกข์ ที่แท้จริง พระพุทธเจ้าจึงไม่เอา พระพุทธเจ้าจึงไม่นั่งสมาธิแล้วดิ่ง พอนั่งสมาธิถึงจุดที่ ๓ พระพุทธเจ้าก็ถอยออกมาเอาสมาธิบวกกับปัญญาไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
พอเราเข้าวิปัสสนากรรมฐานถึงจะรู้ต้นตอแห่งเหตุ แก้เหตุได้ทุกข์ถึงเปลี่ยนได้ แล้วเราเอาตัวไหนมาแก้ทุกข์ ก็ต้องเอาเหตุมาแก้ทุกข์ พอเราเข้าวิปัสสนากรรมฐาน เอาปัญญามาวิเคราะห์ว่าฐานแห่งกรรมนั้นมีอะไร แล้วอะไรทำให้เกิดทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ เราก็แก้ไขเหตุทุกข์
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์