หนังเก่าเล่าใหม่ 085: The Killing Fields (Roland Joffé, 1984)
"สุดแสนสะเทือนใจกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของกัมพูชา" ภาพยนตร์ดราม่าที่ไม่ว่าจะหยิบมาดูอีกกี่ครั้งก็ยังคงสะเทือนใจในความเป็นมนุษย์ผู้โดนฆ่าเหมือนเป็นสิ่งไม่มีหัวใจ หนังสร้างจากเรื่องจริงในประเทศกัมพูชา เริ่มต้นปี 1972 นักข่าวจากนิวยอร์คไทมส์ 'ซิดนีย์ แซมเบิร์ก' เดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อทำข่าวสงครามระหว่างเขมรแดงและฝ่ายรัฐบาล และมีผู้ช่วยชาวเขมร 'ดิธ ปราม' คนสนิทจนเหมือนเป็นพี่น้องนอกสายเลือด ขณะที่สถานการณ์ของกัมพูชาใกล้จะระเบิด+วุ่นวายเต็มที ในที่สุดเขมรแดงก็เป็นฝ่ายชนะและสามารถยึดกรุงพนมเปญได้สำเร็จในปี 1975 ทั่วทั้งประเทศถูกน้ำเลือดสีแดงจากผู้บริสุทธิ์ปกคลุมไปทั่วพื้นที่ ผู้คนบริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อจากเขมรแดงในการต้องทำงานและโดนฆ่าทิ้งอย่างไร้เหตุผล ทั้งหมดคือฝันร้ายของผู้ประสบภัยและชาวเขมรผู้บริสุทธิ์อย่างที่ไม่มีใครลืมลงไปชั่วชีวิต
สำหรับการนั่งดูภาพยนตร์เรื่องนี้ คือแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์อันโหดร้ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริบทของ 'The Killing Fields' ทำได้สมจริงและสะเทือนใจตลอดเวลาที่รับชม ฉากหลังสามารถส่งอารมณ์และถ่ายภาพได้สะท้อนความทารุณ+สะเทือนใจอย่างมาก โดยเฉพาะฉากทุ่งสังหาร ที่มีแต่ซากกองกระดูกเต็มไปหมดโดยไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆเล่าถึงความโหดร้ายไปกว่านี้อีกแล้ว นอกจากนี้ วิธีสร้างความกดดันที่ตัวละครแบกรับและสภาวการณ์ตึงเครียดที่ตัวหนังสร้างออกมานั้นยังสามารถสะท้อนความรู้สึกของตัวละครในเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างแจ่มชัด การพาเราไปสัมผัสกับชีวิตความทุกข์ของชาวเขมรในเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง คือภาพสะท้อนความโหดเหี้ยมที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน และทุกๆครั้งที่เราได้นั่งชมเหตุการณ์แบบนี้ เรามักจะมีความคิดว่า ถ้าเราต้องประสบเหตุการณ์แบบที่ตัวละครพบเจอเราจะอยู่รอดจากเหตุการณ์เหล่านั้นได้หรือเปล่า แน่นอนว่า คงไม่มีใครอยากเป็นเหมือนตัวละครในเรื่องนี้อย่างแน่นอน และไม่อยากให้ประเทศเราหรือประเทศไหนต้องประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ด้วยเช่นกัน
ตัวภาพยนตร์หยิบประเด็นของตัวละครที่มีอยู่จริงทั้ง 'ซิดนีย์' และ 'ดิธ ปราม' เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งจุดนี้คือสิ่งที่ทำให้เราที่เป็นคนดูเสมือนการนั่งดูภาพยนตร์สารคดีหนึ่งเรื่อง ที่แม้ว่าวิธีการถ่ายทอดเรื่องราวจะดูเชยตามยุคสมัยทั้งการลำดับภาพ ตัดต่อภาพ แต่องค์รวมทั้งหมดของภาพยนตร์เรื่องนี้กลับทำได้เข้ากันและถ่ายทอดบอกเล่าเรื่องราวได้สมจริง เหนือสิ่งอื่นใด การที่ตัวละครทั้งสองต่างเชื้อชาติกัน ตัวหนังเองจึงสะท้อนความเป็นประเทศเข้าไปด้วย เพราะ 'ซิดนีย์' เป็นเหมือนตัวแทนจากฝั่งอเมริกาที่เข้ามาหวังผลประโยชน์จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งการทำข่าวก็ดี หรือการพยายามแทรกแซงรัฐบาลเขมร และโยนรัฐบาลเขมรทิ้งเมื่อทุกอย่างกำลังหมดประโยชน์ลง พร้อมทั้งโบกมืออำลาอย่างไม่ใยดี ในทางกลับกันตัว 'ซิดนีย์' ที่เป็นคนหนุ่มอเมริกันก็ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่รัฐบาลได้ก่อไว้ จนทนอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ และทนที่จะมองเห็นเพื่อนตัวเอง 'ดิธ ปราม' ชาวเขมรต้องทนทุกข์กับเรื่องราวแบบนี้ไม่ได้เช่นกัน เรื่องราวทั้งสองคนจึงเป็นเหมือนการไถ่บาปให้กับสิ่งที่เกิดขึ้น
ท้ายสุด 'The Killing Fields' คงจะเป็นเหมือนบันทึกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์โลกในเหตุการณ์ฆ่าล้างประชากรผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อร้ายของความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน แง่มุมความสะเทือนใจที่หนังถ่ายทอดออกมาคือพลังงานที่ส่งมอบจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ให้เราได้มองเห็นอดีตที่ผ่านมาและเรียนรู้ผลกระทบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้มีเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นอีกในมุมใดมุมหนึ่งบนโลกใบนี้ ฉะนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงควรค่าแก่การรับชมและไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย แม้ว่าภาพจะเก่ามีวิธีการเล่าที่เชย แต่เนื้อแท้ของงานนี้ยังคงเจนจัดไปด้วยอารมณ์และมิตรภาพระหว่างเพื่อนมนุษย์รวมไปถึงความโหดร้ายระหว่างเพื่อนมนุษย์ ที่บอกเล่าให้เราตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ควรได้รับอิสรภาพจากการมีชีวิตและใช้ชีวิตเท่าๆกัน...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ฝากกด like Page ด้วยนะครับ
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
หนังเก่าเล่าใหม่ 085: The Killing Fields (Roland Joffé, 1984) รีวิวโดย Form Corleone
"สุดแสนสะเทือนใจกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของกัมพูชา" ภาพยนตร์ดราม่าที่ไม่ว่าจะหยิบมาดูอีกกี่ครั้งก็ยังคงสะเทือนใจในความเป็นมนุษย์ผู้โดนฆ่าเหมือนเป็นสิ่งไม่มีหัวใจ หนังสร้างจากเรื่องจริงในประเทศกัมพูชา เริ่มต้นปี 1972 นักข่าวจากนิวยอร์คไทมส์ 'ซิดนีย์ แซมเบิร์ก' เดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อทำข่าวสงครามระหว่างเขมรแดงและฝ่ายรัฐบาล และมีผู้ช่วยชาวเขมร 'ดิธ ปราม' คนสนิทจนเหมือนเป็นพี่น้องนอกสายเลือด ขณะที่สถานการณ์ของกัมพูชาใกล้จะระเบิด+วุ่นวายเต็มที ในที่สุดเขมรแดงก็เป็นฝ่ายชนะและสามารถยึดกรุงพนมเปญได้สำเร็จในปี 1975 ทั่วทั้งประเทศถูกน้ำเลือดสีแดงจากผู้บริสุทธิ์ปกคลุมไปทั่วพื้นที่ ผู้คนบริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อจากเขมรแดงในการต้องทำงานและโดนฆ่าทิ้งอย่างไร้เหตุผล ทั้งหมดคือฝันร้ายของผู้ประสบภัยและชาวเขมรผู้บริสุทธิ์อย่างที่ไม่มีใครลืมลงไปชั่วชีวิต
สำหรับการนั่งดูภาพยนตร์เรื่องนี้ คือแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์อันโหดร้ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริบทของ 'The Killing Fields' ทำได้สมจริงและสะเทือนใจตลอดเวลาที่รับชม ฉากหลังสามารถส่งอารมณ์และถ่ายภาพได้สะท้อนความทารุณ+สะเทือนใจอย่างมาก โดยเฉพาะฉากทุ่งสังหาร ที่มีแต่ซากกองกระดูกเต็มไปหมดโดยไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆเล่าถึงความโหดร้ายไปกว่านี้อีกแล้ว นอกจากนี้ วิธีสร้างความกดดันที่ตัวละครแบกรับและสภาวการณ์ตึงเครียดที่ตัวหนังสร้างออกมานั้นยังสามารถสะท้อนความรู้สึกของตัวละครในเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างแจ่มชัด การพาเราไปสัมผัสกับชีวิตความทุกข์ของชาวเขมรในเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง คือภาพสะท้อนความโหดเหี้ยมที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน และทุกๆครั้งที่เราได้นั่งชมเหตุการณ์แบบนี้ เรามักจะมีความคิดว่า ถ้าเราต้องประสบเหตุการณ์แบบที่ตัวละครพบเจอเราจะอยู่รอดจากเหตุการณ์เหล่านั้นได้หรือเปล่า แน่นอนว่า คงไม่มีใครอยากเป็นเหมือนตัวละครในเรื่องนี้อย่างแน่นอน และไม่อยากให้ประเทศเราหรือประเทศไหนต้องประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ด้วยเช่นกัน
ตัวภาพยนตร์หยิบประเด็นของตัวละครที่มีอยู่จริงทั้ง 'ซิดนีย์' และ 'ดิธ ปราม' เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งจุดนี้คือสิ่งที่ทำให้เราที่เป็นคนดูเสมือนการนั่งดูภาพยนตร์สารคดีหนึ่งเรื่อง ที่แม้ว่าวิธีการถ่ายทอดเรื่องราวจะดูเชยตามยุคสมัยทั้งการลำดับภาพ ตัดต่อภาพ แต่องค์รวมทั้งหมดของภาพยนตร์เรื่องนี้กลับทำได้เข้ากันและถ่ายทอดบอกเล่าเรื่องราวได้สมจริง เหนือสิ่งอื่นใด การที่ตัวละครทั้งสองต่างเชื้อชาติกัน ตัวหนังเองจึงสะท้อนความเป็นประเทศเข้าไปด้วย เพราะ 'ซิดนีย์' เป็นเหมือนตัวแทนจากฝั่งอเมริกาที่เข้ามาหวังผลประโยชน์จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งการทำข่าวก็ดี หรือการพยายามแทรกแซงรัฐบาลเขมร และโยนรัฐบาลเขมรทิ้งเมื่อทุกอย่างกำลังหมดประโยชน์ลง พร้อมทั้งโบกมืออำลาอย่างไม่ใยดี ในทางกลับกันตัว 'ซิดนีย์' ที่เป็นคนหนุ่มอเมริกันก็ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่รัฐบาลได้ก่อไว้ จนทนอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ และทนที่จะมองเห็นเพื่อนตัวเอง 'ดิธ ปราม' ชาวเขมรต้องทนทุกข์กับเรื่องราวแบบนี้ไม่ได้เช่นกัน เรื่องราวทั้งสองคนจึงเป็นเหมือนการไถ่บาปให้กับสิ่งที่เกิดขึ้น
ท้ายสุด 'The Killing Fields' คงจะเป็นเหมือนบันทึกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์โลกในเหตุการณ์ฆ่าล้างประชากรผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อร้ายของความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน แง่มุมความสะเทือนใจที่หนังถ่ายทอดออกมาคือพลังงานที่ส่งมอบจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ให้เราได้มองเห็นอดีตที่ผ่านมาและเรียนรู้ผลกระทบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้มีเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นอีกในมุมใดมุมหนึ่งบนโลกใบนี้ ฉะนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงควรค่าแก่การรับชมและไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย แม้ว่าภาพจะเก่ามีวิธีการเล่าที่เชย แต่เนื้อแท้ของงานนี้ยังคงเจนจัดไปด้วยอารมณ์และมิตรภาพระหว่างเพื่อนมนุษย์รวมไปถึงความโหดร้ายระหว่างเพื่อนมนุษย์ ที่บอกเล่าให้เราตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ควรได้รับอิสรภาพจากการมีชีวิตและใช้ชีวิตเท่าๆกัน...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ฝากกด like Page ด้วยนะครับ
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/