วันนี้ผมจะมาแนะนำ สถานที่ท่องเที่ยวเมืองร้อยเอ็ด ที่ผมเคยได้ไปและยังไม่ได้ไป ตอนเรียนที่เมืองร้อยเอ็ดนะครับ

สถานที่ตั้ง : อำเภอธวัชบุรี
ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่ ตำบลมะอี ปรางค์กู่ คือ กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมอันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตู และสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา
นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18

กู่กาสิงห์
กู่กาสิงห์ (Ku Kasing)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเกษตรวิสัย
ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอสมควร ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหาร หรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย อยู่ทางด้านเหนือหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ

ปรางค์ประธาน หรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาวมีประตูทาง เข้า 3 ทางคือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้น เป็นแนว เช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือ ส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร) และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความ เชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาลซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลัก เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุ ที่พบแสดงให้ทราบว่า กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน" อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศ ถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ กู่พระโกนา
กู่พระโกนา (Ku Phra Ko na)
สถานที่ตั้ง : อำเภอสุวรรณภูมิ
ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ วัดกู่พระโกนา หมู่ 2 ตำบลสระคู การเดินทางจากจังหวัดร้อยเอ็ด เดินทางตามทางหลวงสาย 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสาย 214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากจังหวัด ปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีถนนเป็นทางแยกเข้าไปทางด้านซ้ายมือ ด้านหน้าเป็นสวนยาง กู่พระโกนา ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทราย เรียงจากเหนือไปใต้ ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมและซุ้มประตูเข้า-ออกทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยหินทรายเช่นกัน ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อปี พ.ศ. 2417
โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหารพระพุทธบาทประดับเศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักเรื่องรามายณะ และทับหลังสลักภาพ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ติดอยู่ที่เดิม คือเหนือประตูทางด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตก หล่นอยู่บนพื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล นอกจากนี้ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นอยู่ที่พื้น เป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโค และมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย

สันนิษฐานว่า กู่พระโกนาเดิมจะมีสะพานนาคและทางเดิประดับเสานางเรียงทอดต่อไปจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำ หรือบารายซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู ซึ่งเป็นศิลปะขอมที่มีอายุในราวปี พ.ศ. 1560-1630 (แบบบาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16

ศาสนสถาน (Religious Site)
วัดบูรพาภิราม
วัดบูรพาภิราม (Wat Buraphaphiram)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
วัดบูรพาภิราม ตั้งอยู่ที่ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ใครที่มาถึงตัวเมืองร้อยเอ็ดคงได้พบกับภาพที่น่าตื่นตาขององค์พระเจ้าใหญ่ หรือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี ซึ่งประทับยืนเด่นเป็นสง่ามองเห็นได้จากระยะไกล องค์พระเจ้าใหญ่นั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบูรพาภิรามในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อันเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวร้อยเอ็ด ซึ่งแสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอันแรงกล้าของชาวเมือง ที่ได้สร้างพระพุทธรูปปางประทานพรที่กล่าวกันว่าสูงที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้องค์พระเจ้าใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
วัดกลางมิ่งเมือง (Wat Klang Ming Muang)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
ตั้งอยู่บนเนินในเมือง เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ด ส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถ้ำน้ำพิพัฒน์สัตยา ปัจจุบันเป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรม และสถานที่สอบธรรมสถาน ชื่อโรงเรียนสุนทรธรรมปริยัติ บริเวณผนังรอบพระอุโบสถมีภาพวาดจิตรกรรม เกี่ยวกับพุทธประวัติ สวยงามและมีค่าทางศิลปะ
วัดสระทอง (Wat Sa Thong)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
วัดสระทองตั้งอยู่ในตัวเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพสักการะ สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ และเมื่อปี พ.ศ. 2325 พระยาขัตติยะวงษา(ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ได้พบพระองค์นี้เห็นว่ามีความเก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่วัดสระทองและยก ใ้ห้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ในอดีตข้าราชการทุกคนต้องมาสาบานตนต่อหน้าหลวงพ่อว่าจะซื่อสัตย์ต่อบ้าน เมืองเป็นประจำทุกปี
สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ (Sim Wat Traiphum Khanachan)
สถานที่ตั้ง : อำเภอสุวรรณภูมิ
สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านตากแดด ตำบลหัวโทน ลักษณะทางศิลปกรรม เป็นสิมแบบพื้นเมืองอีสาน ประเภทสิมทึบ มีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ล้อมรอบหน้าบันและรังผึ้งของสิมมีลายแกะสลักสวยงามภายในมีจิตรกรรมหรือ ฮูปแต้ม แสดงเรื่องในพุทธศาสนา สันนิษฐานว่ามีอายุในราวสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้านนอกสิมมีพระพุทธรูปแบบอีสานขนาดใหญ่ ซึ่งย้ายมาจากวัดใต้วิไลธรรม ซึ่งย้ายมาจากวัดใต้วิไลธรรม ในเขตอำเภอเดียวกัน (สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ.2541 และได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามประจำปี พ.ศ. 2541

การเดินทาง จากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 214 เข้าทางหลวงหมายเลข 215 ถึงอำเภอสุวรรณภูมิ เลี้ยวเข้าซอยข้างอำเภอแล้วตรงไปประมาณ 5 กิโลเมตร

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล (Phra Maha Chedi Chai Mongkhon)
สถานที่ตั้ง : อำเภอหนองพอก
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บนเขา บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม
อนุสาวรีย์ (Monument)
อนุสาวรีย์พระขัติยะวงษา (The Monument of Phra Khattiyawongsa - Thon)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
ตั้งอยู่กลางวงเวียนห้าแยกสายน้ำผึ้ง ใกล้วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด โดยประวัติของ พระขัติยะวงษา (ทน)นั้น เป็นบุตรท้าวจารย์แก้วได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรกเมื่อปี พ.ศ. 2318 ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นผู้นำในการสร้างบ้านแปงเมืองโดยอพยพผู้คนจากเมืองท่ง มาตั้งรกรากที่เมืองกุ่มร้าง หรือเมืองร้อยเอ็ด ถือได้ว่าท่านเป็นผู้มีความสามารถด้านการปกครอง ในการรวบรวม ผู้คนบูรณะฟื้นฟูและทะนุบำรุงเมืองร้อยเอ็ดจนเป็นปึกแผ่นเจริญรุ่งเรืองในที่สุด
ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ (Exhibition Centre)
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด (Mueang Roi Et Municipality Aquarium)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรเทพ (หน้าวัดบึงพระลานชัย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นอาคาร 2 อาคารเชื่อมต่อกัน อาคารแรกประกอบด้วยห้องโถง ห้องบรรยาย ห้องนิทรรศการ สำนักงาน ห้องจำหน่ายบัตรและของที่ระลึก ส่วนอาคารที่ 2 เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำประกอบด้วยตู้ปลาขนาดเล้กที่ฝังอยู่ในผนังรอบๆอาคาร จำนวน 24 ตู้ กลางอาคารเป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร มีอุโมงค์แก้ว ผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิด ชั้นบนของอาคารเป็นบ่อพักน้ำ ถังกรองน้ำ บ่อพักและสำรองพันธุ์สัตว์น้ำไว้สำหรับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ป่วยด้านนอกของตัวอาคาร จะมีการจัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมแก่ตัวอาคาร โดยจัดเป็นสวนหย่อมและปลูกไม้ดอกไม้ประดับโดยรอบของตัวอาคารพร้อมทั้งจัดให้มีลานจอดรถสำหรับผู้เข้าชมอีก 2 จุด สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดนี้เปิดทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม เด็ก 5 บาท ผู้ใหญ่ 10 บาท และชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4351 1286
พิพิธภัณฑ์ (Museum)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด (The Roi Et National Museum)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามโครงการ การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง เป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของจังหวัดแห่งนี้ เดิมทีเดียวนั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด จัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหมและผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปากรมีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง จึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้าน ทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณีโบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถกรรม
พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ที่ถนนเพลินจิต อำเภอเมือง เปิดทุกวันเวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่