ปฐมสมโพธิกถา
๒๙ ปริจเฉท
ในพระปริวรรต
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส...
ตถาคตํ ชินํ พุทฺธํ.....สุทฺธวํสํ ชินุตฺตมํ
ปารคํ สพฺพธมฺมานํ...นตฺวา ปาปุปฆาตกํ ฯ
วกฺขามิ ตสฺส พุทฺธสฺส...ชนกานํ มโนหรํ
วํสํ วํสุตฺตมํ เธยฺยํ.........ปีติปาโมชฺชวฑฺฒนํ ฯ
ขอนอบน้อมพระตถาคตชินะพุทธเจ้า
ผุ้ทรงมีวงศ์อันบริสุทธิ์ ( คือพุทธวงศ์ )
ทรงเป็นผู้ชนะอย่างสูงสุด
ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงฆ่าบาปแล้ว ฯ
ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงเหล่ากอของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อันเป็นวงศ์ทำให้หมู่ชนรื่นรมย์ใจสูงสุดควรทรงจำไว้
เพราะทำปีติปราโมทย์ให้เจริญ ฯ
ปริจเฉทที่ ๑ วิวาหมงคลปริวรรต
จะได้รับพระราชทานอรรถาธิบาย
โดยพระบาลีในพระคัมภีร์ปฐมสมโพธิ
มีคาถาประณามพระรัตนตรัยอยู่เบื้องต้นแล้ว
แสดงเรื่องความตามลําดับไปว่า
ดังได้รู้มา ในต้นปฐมกัป
สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย
เกิดเป็นพระเจ้ามหาสมมติเทวราชปฐมกษัตริย์
เสวยราชสมบัติเป็นมหิสราธิปไตยในสกลชมพูทวีปนี้
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า โรชราช
พระเจ้าโรชราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า วรโรชราช
พระเจ้าวรโรชราชนั้น
มีพระราช โอรสทรงพระนามว่า กัลยาณราช
พระเจ้ากัลยาณราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่าวรกัลยาณราช
พระเจ้าวรกัลยาราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่ามันธาตุราช
พระเจ้ามันธาตุราชนั้น
มีพระราชโอรส ทรงพระนามว่า สกมันธาตุราช
พระเจ้าสกมันธาตุราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า อุโบสถ
พระเจ้าอุโบสถราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า วรราช
พระเจ้าวรราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า อุปวรราช
พระเจ้าอุปวรราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า มฆเทวราช
ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ เป็นลําดับ
มาถึง ๑๑ พระองค์ด้วยกัน
ลําดับแต่นั้นมา พระราชวงศานุวงศ์
ได้เสวยราชสมบัติสืบกษัตริย์มาถึง ๘๔,๐๐๐ พระองค์
จึงถึงโอกกากวงศ์ทั้ง ๓
และพระเจ้าปฐมโอกกากราช
ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์มาหลายชั่วกษัตริย์
จึงถึงพระ เจ้าทุติยโอกกากราช
พระเจ้าทุติยโอกกากราช
เป็นบรมกษัตริย์ สืบพระวงศ์ต่อๆ กันมา
จนถึงพระเจ้าตติยโอกกากราช
พระเจ้าตติยโอกกากราชมีพระมเหสี ๕ พระองค์
คือ พระนางหัฏฐา ๑ พระนางจิตตา ๑
พระนางชันตุ ๑ พระนางชาลินี ๑
พระนางวิสาขา ๑
พระมเหสีองค์หนึ่งๆ มีนางสนมเป็นบริวาร ๕๐๐ๆ
ก็แลพระนางหัฏฐาซึ่งเป็นพระเชษฐอัครมเหสีใหญ่นั้น
มีพระราชบุตร ๔ พระองค์ คือ โอกกากมุขราชกุมาร ๑
กรัณฑราชกุมาร ๑ หัตถินิเกสิราชกุมาร ๑
นิปุรราชกุมาร ๑
แลมีพระราชบุตรีอีก ๕ พระองค์ คือ นางปิยาราชกุมารี ๑
นางสุปิยาราชกุมารี ๑ นางอานันทาราชกุมารี ๑
นางวิชิตาราชกุมารี ๑ นางวิชิตาเสนาราชกุมารี ๑
รวมพระบุตรแลพระบุตรีเป็น ๙ พระองค์ด้วยกัน
ครั้นสืบมา ณ กาลภายหน้า
พระมเหสีผู้ใหญ่นั้นสิ้นพระชนม์ลง
สมเด็จบรมกษัตริย์จึงไปนํามา
ซึ่งนางราชธิดาองค์อื่นอันทรงอุดมรูป
ตั้งไว้ ณ ที่เป็นอัครมเหสีผู้ใหญ่
แลนางนั้นมีพระราชโอรสองค์หนึ่ง
ทรงนามชันตุราชกุมาร
ครั้นพระราชกุมารนั้นพระชนม์ได้ ๕ เดือน
พระมารดาจึงประดับด้วยเครื่องราชกุมารปิลันธนาภรณ์
นําขึ้นเฝ้าพระราชบิดา
พระราชบิดาได้ทอดพระเนตรพระราชโอรส
อันทรงสรีรรูปอันงาม ก็ทรงพระสิเนหปราโมทย์
จึงดํารัสพระราชทานพรแก่พระนางผู้เป็นมารดาว่า
เจ้าจะปรารถนาพรอันใดก็จะให้สําเร็จมโนรถ
แลนางนั้นได้โอกาสจึงคบคิดกับหมู่ญาติทั้งปวง
ทูลขอราชสมบัติให้แก่บุตรของตน
สมเด็จบรมกษัตริย์ตรัสคุกคามว่า
หญิงร้าย ไฉนเจ้ามากล่าวความพินาศฉอิบหาย
ปรารถนาจะกระทําอันตรายแก่โอรส
ผู้ใหญ่ของเราดังนี้
แลนางนั้นก็คอยท่วงที
เมื่อเสด็จเข้าสู่ที่สิริครรภไสยาสน์
กระทําประโลมด้วยอิตถีมายายังพระภัสดาให้ยินดี
ด้วยวิธีกามเสวนกิจแล้วพิดทูลวิงวอนว่า
พระองค์เป็นบรมกษัตริย์ ได้ออกพระโอษฐ์
พระราชทานพรอนุญาตแก่ข้าพระบาทแล้ว
ซึ่งจะมิได้โปรดพระราชทานให้สมซึ่งประสงค์
แห่งข้าพระองค์ นั้นมิสมควร
สมเด็จพระเจ้าโอกกากราชทรงคิดละอายพระทัย
ด้วยได้ลั่นพระโอษฐ์ออกแล้วเกรงจะเสียสัตย์
จึงดํารัสให้หาพระราชโอรสทั้ง ๔ มาเฝ้าแล้ว
ตรัสเล่าความตามนัยหนหลังแล้วตรัสสั่งว่า
เจ้าจะปรารถนาช้างม้าแลรถรี้พลสักเท่าใด
ก็จงนําไปเท่านั้น เหลือไว้แต่คชาชาติราชอัสสดุรงครถ
ซึ่งสําหรับพระนคร
จงพาจตุรงคนิกรทั้งปวงไปจากราชพารา
ช่วยรักษาสัตย์ของบิดาไว้
ต่อเมื่อบิดาสวรรคาลัยแล้ว
จึงกลับมาคืนเอาราชสมบัติแล้ว
ตรัสสั่งอมาตย์ ๘ นาย ให้ไปกับพระราชโอรส
ช่วยทํานุบํารุงรักษาอย่าให้มีภัยอันตรายได้
พระราชกุมารทั้ง ๔ รับพระราชปริหารแล้ว
กราบถวายบังคมลา ต่างองค์ทรงพระโสกาดูรพิลาป
ด้วยปิยวิปโยคทุกข์ ซึ่งจะจําจากกันแล้ว
ทูลขอขมาโทษพระราชบิดา
แลอําลาพระราชวงศานุวงศ์
กับทั้งหมู่อนงค์นางสนมทั้งปวงแล้ว
พาพระเชษฐภคินีแลพระกนิษฐภคินีทั้ง ๕ พระองค์
ออกจากพระนคร กับด้วยจตุรงคนิกร
และอมาตย์ทั้ง ๘ เป็นบริวาร
ส่วนประชาชนหญิงชายทั้งหลายได้แจ้งเหตุว่า
พระราชกุมารจะเสด็จคืนมาครอบครองราชสมบัติ
ในกาลเมื่อพระบรมกษัตริย์ราชบิดาทิวงคตแล้ว
ก็ชวนกันดําริว่า
เราจะติดตามไปอุปัฏฐากพระราชกุมาร
ก็พากันตามเสด็จไปจากพระนครเป็นอันมากแล้ว
เดินทางไปล่วง ๓ วันแล้ว สิ้นหนทางถึง ๓ โยชน์
ก็ยังไม่สิ้นรี้พลประชาชนอันตามเสด็จ
จึงพระราชกุมารทั้ง ๔
มีพระโอกกากมุขเชษฐาธิราชเป็นประธาน
ก็ตรัสปรึกษากันว่า พลนิกายของเรามากกว่ามาก
แม้จะยกไปย่ำยีตีพระยาสามนตราชเมืองหนึ่งเมืองใด
ชิงเอาบ้านเมืองแลชนบทแว่นแคว้น
ก็จะได้สมความปรารถนา
แลท้าวพระยาทั้งหลายเหล่านั้น
ก็จะสู้รบเราไม่ได้ คงจะปราชัยพ่ายแพ้
แต่ทว่าจะประโยชน์อันใดด้วยจะเบียดเบียน
เอาสมบัติบ้านเมืองของผู้อื่น
และแผ่นพื้นชมพูทวีปก็ใหญ่กว้าง
ควรจะไปสร้างนครในอรัญประเทศ
ให้พ้นเขตแดนท้าวพระยาสามนตราชทั้งปวง
ก็ดําเนินพลบ่ายหน้า เฉพาะป่าหิมพานต์
เที่ยวแสวงหาที่ภูมิสถานอันจะสร้างพระนครใหม่
ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์แห่งเรา
บังเกิดในสกุลพราหมณมหาศาลมีนามกบิลพราหมณ์
พิจารณาเห็นโทษในเบญจกามคุณจึงเสียสละสมบัติ
ออกบรรพชาเป็นดาบส
ไปสร้างบรรณศาลาสถิตอยู่ในสากพนสณฑ์
แทบใกล้ฝั่งสระโบกขรณี
อันมีอยู่ ณ ชายป่าหิมวันตประเทศ
แลพระผู้เป็นเจ้ารู้ในภูมิดลมงคลวิทยา
พิจารณาเห็นคุณแลโทษในโอกาสสูงขึ้นไปได้ ๘๐ ศอก
ในภายใต้ปฐพีลึกลงไปได้ ๘๐ ศอกดุจกัน
และในภูมิประเทศที่แห่งนั้นมีกอหญ้าแลกอลดาวัลย์
เวียนเป็นทักษิณาวรรตผันไปฝ่ายปราจีนทิศทั้งสิ้น
ฝูงสัตว์ทั้งหลายเป็นต้นว่า
สีหพยัคฆ์ไล่ซึ่งมฤคสุกรมา แลวิฬาร์ไล่ซึ่งหนู
งูไล่ซึ่งมณฑกชาติมาถึงที่นั่นแล้ว
ก็มิอาจติดตามต่อไปได้
สัตวที่แพ้นั้นกลับไล่คุกคามเอาสัตว์ที่มีอํานาจ
ให้ปลาตนาการกลับไป เป็นที่ชัยมงคลภูมิประเทศ
พระดาบสแจ้งเหตุฉะนี้จึงจัดแจงสร้างบรรณศาลา
อาศัยอยู่ในที่นั้น
ครั้นพระผู้เป็นเจ้าเห็นพระราชกุมารทั้งหลาย
ยาตราพลาพลนิกายมาเป็นอันมาก จึงได้ถาม
ทราบความว่าสืบแสวงหาที่จะสร้างพระนคร
ก็มีความกรุณาปรารถนาจะอนุเคราะห์
ให้เป็นประโยชน์แก่พระราชกุมารทั้งปวง
จึงบอกเหตุว่า
บพิตรจงสร้างพระนครลงในที่บริเวณบรรณศาลา
ของอาตมานี้เถิด แลเมืองอันนี้นานไปภายหน้า
จะเป็นอัครนครปรากฏในชมพูทวีป
ผิว บุรุษบังเกิดในพระนครนี้จะมีอานุภาพมาก
คนเดียวก็อาจสามารถจะข่มขี่ผจญเสียได้
ซึ่งบุรุษอื่นร้อยคนพันคนให้พ่ายแพ้อํานาจ
จงสร้างปราสาทราชคฤหสถานลงตรงที่บรรณศาลานี้
ผิว ผู้ใดสถิตในที่นี้ถึงแม้นมาตรว่าเป็นบุตรคนจัณฑาล
ก็จะมีพลานุภาพมากอาจข่มขี่เสียได้ซึ่งปัจจามิตร
ดุจพลานุภาพแห่งบรมจักรพรรดิเป็นแท้
พระราชกุมารจึงเผดียงถามว่า
พระผู้เป็นเจ้าจะไปอยู่ ณ ที่ใด
ดูก่อนบพิตร
อย่าได้ทรงพระปริวิตกเลยด้วยที่อยู่ของอาตมา
แลอาตมาก็จะไปสร้างบรรณศาลาอยู่
ณ ที่ข้างหนึ่งนอกพระนคร
บพิตรจงตั้งนามกรเมืองนี้
ชื่อกรุงกบิลพัสดุ์เถิด
แลพระราชกุมารทั้ง ๔
มีพระโอกกากมุขเชษฐาธิราชเป็นประธาน
ก็ให้ฐาปนาการพระนครแลปราสาทราชนิเวศนฐาน
ลงในที่นั้นๆ ตามคําพระดาบสเสร็จแล้ว
ก็ตั้งนามบัญญัติชื่อกรุงกบิลพัสดุ์ราชธานี
เหตุเป็นที่พระกบิลดาบสประสาทประสิทธิ์ให้
ก็เสด็จเข้าอาศัยสถิตสําเร็จนิวาสกิจกับด้วยหมู่อมาตย์
และราษฎรประชาจตุรงคโยธาทั้งหลายในพระนครนั้น
อันนี้เป็นเรื่องอุบัติแห่งกรุงกบิลพัสดุ์มหานคร
โดยนัยพรรณนามานี้
ลําดับนั้น อมาตย์ทั้ง ๘ จึงปรึกษากันว่า
พระราชกุมารทั้งหลายนี้ก็ทรงเจริญวัยวัฒนา
ถ้าอยู่ในสํานักพระราชบิดา
ก็จะกระทําอาวาหวิวาหมงคลการ
ก็กาลบัดนี้ เราทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่
ทรงพระกรุณาโปรดให้มาทํานุบํารุงบริรักษ์พระราชกุมาร
แลการอันนี้ก็เป็นภารธุระของเรา
ควรจะจัดแจงจึงจะชอบ
ก็ชวนกันเข้าไปกราบบังคมทูลปรึกษาว่า
ข้าพระพุทธเจ้าจะไปขอพระราชธิดา
แห่งกษัตริย์เมืองอื่นมาอภิเษกกับด้วยพระองค์
เมื่อพระราชกุมารทั้งหลายทรงสดับดังนั้นจึงตรัสตอบว่า
เรามิได้เห็นนางขัตติยราชธิดาแห่งกษัตริย์ทั้งหลายอื่น
ซึ่งจะเป็นบรมขัตติยาสัมภินชาติชาตรีอันประเสริฐ
เสมอเหมือนด้วยเรา
อนึ่งขัตตยิราชกุมารทั้งหลายอื่นนั้นเล่า
ก็มิได้อสัมภินพงศ์กษัตริย์ชาติชาตรี
เสมอเหมือนด้วยเชษฐกนิษฐภคินีโดยแท้
เบื้องว่าจะอภิเษกสังวาสกับด้วยขัตติยราชสกูลทั้งหลายอื่น
เกรงว่าราชบุตรธิดาของเราซึ่งจะบังเกิดนั้น
จะไม่เป็นขัตติยชาติอันบริสุทธิ์
ฝ่ายข้างบิดาบ้างฝ่ายข้างมารดาบ้าง
ก็จะถึงซึ่งชาติสัมเภทเสื่อมเสียขัตติยวงศ์ไป
เพราะเหตุนั้นเราทั้งหลายชอบใจจะอภิเษกสังวาส
กับด้วยพระกนิษฐราชภคินีแห่งเรา
ขัตติยวงศ์ของเราจึงจะบริสุทธิ์ขัตติยาสัมภินชาติโดยแท้
และพระราชกุมารทั้งหลายจึงตั้งไว้ซึ่งเชษฐภคินี
องค์เดียวนั้นในที่เป็นราชมารดาแล้วก็กระทําสกสกสังวาส
กับด้วยพระกนิษฐภคินีทั้ง ๔ นางนั้นเป็นคู่ๆ กัน
ด้วยกลัวชาติสัมเภท จนเจริญด้วยพระราชบุตร
พระราชธิดาเป็นอันมาก
เหตุดังนั้น กษัตริย์ทั้งหลายในกรุงกบิลพัสดุ์นั้น
จึงได้นามกรปรากฏว่าศักยราชตระกูล
เพราะทําสกสกสังวาสในราชวงศ์แห่งตนๆ
อันนี้เป็นเรื่องต้นอุบัติเหตุแห่งศักยราชตระกูล
จับเดิมแต่นั้นมา กษัตริย์ศักยราชทั้งหลายได้เสวยราชสมบัติ
สืบพระวงศ์ต่อๆ กันมาเป็นหลายชั่วกษัตริย์เป็นอันมาก
ตราบเท่าถึงพระเจ้าสีวิราช พระเจ้าสญชัยราช
แลพระเจ้าเวสสันตรราช
ครั้งนั้นเปลี่ยนนามพระนครชื่อกรุงเชตุดร
แลสมเด็จพระเวสสันตรราชได้เสวยราชสมบัติ
ดำารงในทศพิธราชธรรม ทรงบริจาคพระยาเศวตปัจจัยนาค
กับทั้งเครื่องคชาภรณ์อันมีราคาได้ ๒๔ แสนกหาปณะ
ดํารงพระชนม์ตราบเท่าทิวงคต จุติขึ้นไปบังเกิดในดุสิตเทวโลก
จึงพระชาลีราชโอรสได้ราชาภิเษกกับด้วย
นางกัณหาชินากนิษฐภคินี ได้เสวยราชสมบัติสืบกันมา
มีพระราชโอรสทรงพระนามพระสีวีวาหนราช
พระสีวีวาหนราชมีพระราชโอรส
ทรงพระนามพระสีหัสสรราช
พระสีหัสสรราชได้เสวยราชสมบัติ
สืบพระวงศ์เป็นลําดับมาเป็นอันมาก
นับเป็นกษัตริย์ ๑๖๑,๐๐๐ พระองค์
จึงถึงพระเจ้าไชยเสนราช
พระเจ้าไชยเสนราชมีพระราชบุตร
ทรงพระนามพระเจ้าสีหหนุราชได้เสวยราชสมบัติสืบกันมา
ครั้งนั้นนามพระนครกลับเรียกกรุงกบิลพัสดุ์ดุจนามเดิม
แลพระเจ้าสีหหนุราชนั้นมีพระราชโอรส ๓ พระองค์
ทรงพระนามพระสิริสุทโธทนราชกุมาร ๑
พระสุกโกทนราชกุมาร ๑ อมิตโตทนราชกุมาร ๑
มีพระราชธิดา ๒ พระองค์ ทรงพระนามนางอมิตา ๑
นางปมิตา ๑
ในกาลนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงสีหหนุราช
มีพระหฤทัยปรารถนาจะราชาภิเษก
พระสิริสุทโธทนเชษฐราชโอรสผู้ใหญ่
ซึ่งทรงพระวัยวัฒนาการประดิษฐานไว้
ในเศวตราชาฉัตรเสวยมไหศวริยสมบัติ
แทนพระองค์
ทรงพระดําริว่า ควรจะให้สืบแสวงหาซึ่งนางขัตติยราชธิดา
อันอุดมวงศ์ทรงซึ่งบวรรูปสิริโสภาคย์แลบริบูรณ์
แก้ไข >>> ปณามคาถาที่ ๑ บาทที่ ๓ อ่านว่า ปาระคุง สัพพธัมมานัง ครับเขาไม่ใหัเขียนแบบบาลีกระมัง
อ่านต่อ >
ปฐมสมโพธิกถา วิวาหมงคลปริวรรต ปริจเฉทที่ ๑
Download >
ปฐมสมโพธิกถา ๒๙ ปริจเฉท
ขอได้รับความขอบคุณ
สวัสดีครับ
ปฐมสมโพธิกถา วิวาหมงคลปริวรรต ปริจเฉทที่ ๑
๒๙ ปริจเฉท
ในพระปริวรรต
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส...
ตถาคตํ ชินํ พุทฺธํ.....สุทฺธวํสํ ชินุตฺตมํ
ปารคํ สพฺพธมฺมานํ...นตฺวา ปาปุปฆาตกํ ฯ
วกฺขามิ ตสฺส พุทฺธสฺส...ชนกานํ มโนหรํ
วํสํ วํสุตฺตมํ เธยฺยํ.........ปีติปาโมชฺชวฑฺฒนํ ฯ
ขอนอบน้อมพระตถาคตชินะพุทธเจ้า
ผุ้ทรงมีวงศ์อันบริสุทธิ์ ( คือพุทธวงศ์ )
ทรงเป็นผู้ชนะอย่างสูงสุด
ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงฆ่าบาปแล้ว ฯ
ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงเหล่ากอของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อันเป็นวงศ์ทำให้หมู่ชนรื่นรมย์ใจสูงสุดควรทรงจำไว้
เพราะทำปีติปราโมทย์ให้เจริญ ฯ
ปริจเฉทที่ ๑ วิวาหมงคลปริวรรต
จะได้รับพระราชทานอรรถาธิบาย
โดยพระบาลีในพระคัมภีร์ปฐมสมโพธิ
มีคาถาประณามพระรัตนตรัยอยู่เบื้องต้นแล้ว
แสดงเรื่องความตามลําดับไปว่า
ดังได้รู้มา ในต้นปฐมกัป
สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย
เกิดเป็นพระเจ้ามหาสมมติเทวราชปฐมกษัตริย์
เสวยราชสมบัติเป็นมหิสราธิปไตยในสกลชมพูทวีปนี้
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า โรชราช
พระเจ้าโรชราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า วรโรชราช
พระเจ้าวรโรชราชนั้น
มีพระราช โอรสทรงพระนามว่า กัลยาณราช
พระเจ้ากัลยาณราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่าวรกัลยาณราช
พระเจ้าวรกัลยาราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่ามันธาตุราช
พระเจ้ามันธาตุราชนั้น
มีพระราชโอรส ทรงพระนามว่า สกมันธาตุราช
พระเจ้าสกมันธาตุราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า อุโบสถ
พระเจ้าอุโบสถราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า วรราช
พระเจ้าวรราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า อุปวรราช
พระเจ้าอุปวรราชนั้น
มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า มฆเทวราช
ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ เป็นลําดับ
มาถึง ๑๑ พระองค์ด้วยกัน
ลําดับแต่นั้นมา พระราชวงศานุวงศ์
ได้เสวยราชสมบัติสืบกษัตริย์มาถึง ๘๔,๐๐๐ พระองค์
จึงถึงโอกกากวงศ์ทั้ง ๓
และพระเจ้าปฐมโอกกากราช
ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์มาหลายชั่วกษัตริย์
จึงถึงพระ เจ้าทุติยโอกกากราช
พระเจ้าทุติยโอกกากราช
เป็นบรมกษัตริย์ สืบพระวงศ์ต่อๆ กันมา
จนถึงพระเจ้าตติยโอกกากราช
พระเจ้าตติยโอกกากราชมีพระมเหสี ๕ พระองค์
คือ พระนางหัฏฐา ๑ พระนางจิตตา ๑
พระนางชันตุ ๑ พระนางชาลินี ๑
พระนางวิสาขา ๑
พระมเหสีองค์หนึ่งๆ มีนางสนมเป็นบริวาร ๕๐๐ๆ
ก็แลพระนางหัฏฐาซึ่งเป็นพระเชษฐอัครมเหสีใหญ่นั้น
มีพระราชบุตร ๔ พระองค์ คือ โอกกากมุขราชกุมาร ๑
กรัณฑราชกุมาร ๑ หัตถินิเกสิราชกุมาร ๑
นิปุรราชกุมาร ๑
แลมีพระราชบุตรีอีก ๕ พระองค์ คือ นางปิยาราชกุมารี ๑
นางสุปิยาราชกุมารี ๑ นางอานันทาราชกุมารี ๑
นางวิชิตาราชกุมารี ๑ นางวิชิตาเสนาราชกุมารี ๑
รวมพระบุตรแลพระบุตรีเป็น ๙ พระองค์ด้วยกัน
ครั้นสืบมา ณ กาลภายหน้า
พระมเหสีผู้ใหญ่นั้นสิ้นพระชนม์ลง
สมเด็จบรมกษัตริย์จึงไปนํามา
ซึ่งนางราชธิดาองค์อื่นอันทรงอุดมรูป
ตั้งไว้ ณ ที่เป็นอัครมเหสีผู้ใหญ่
แลนางนั้นมีพระราชโอรสองค์หนึ่ง
ทรงนามชันตุราชกุมาร
ครั้นพระราชกุมารนั้นพระชนม์ได้ ๕ เดือน
พระมารดาจึงประดับด้วยเครื่องราชกุมารปิลันธนาภรณ์
นําขึ้นเฝ้าพระราชบิดา
พระราชบิดาได้ทอดพระเนตรพระราชโอรส
อันทรงสรีรรูปอันงาม ก็ทรงพระสิเนหปราโมทย์
จึงดํารัสพระราชทานพรแก่พระนางผู้เป็นมารดาว่า
เจ้าจะปรารถนาพรอันใดก็จะให้สําเร็จมโนรถ
แลนางนั้นได้โอกาสจึงคบคิดกับหมู่ญาติทั้งปวง
ทูลขอราชสมบัติให้แก่บุตรของตน
สมเด็จบรมกษัตริย์ตรัสคุกคามว่า
หญิงร้าย ไฉนเจ้ามากล่าวความพินาศฉอิบหาย
ปรารถนาจะกระทําอันตรายแก่โอรส
ผู้ใหญ่ของเราดังนี้
แลนางนั้นก็คอยท่วงที
เมื่อเสด็จเข้าสู่ที่สิริครรภไสยาสน์
กระทําประโลมด้วยอิตถีมายายังพระภัสดาให้ยินดี
ด้วยวิธีกามเสวนกิจแล้วพิดทูลวิงวอนว่า
พระองค์เป็นบรมกษัตริย์ ได้ออกพระโอษฐ์
พระราชทานพรอนุญาตแก่ข้าพระบาทแล้ว
ซึ่งจะมิได้โปรดพระราชทานให้สมซึ่งประสงค์
แห่งข้าพระองค์ นั้นมิสมควร
สมเด็จพระเจ้าโอกกากราชทรงคิดละอายพระทัย
ด้วยได้ลั่นพระโอษฐ์ออกแล้วเกรงจะเสียสัตย์
จึงดํารัสให้หาพระราชโอรสทั้ง ๔ มาเฝ้าแล้ว
ตรัสเล่าความตามนัยหนหลังแล้วตรัสสั่งว่า
เจ้าจะปรารถนาช้างม้าแลรถรี้พลสักเท่าใด
ก็จงนําไปเท่านั้น เหลือไว้แต่คชาชาติราชอัสสดุรงครถ
ซึ่งสําหรับพระนคร
จงพาจตุรงคนิกรทั้งปวงไปจากราชพารา
ช่วยรักษาสัตย์ของบิดาไว้
ต่อเมื่อบิดาสวรรคาลัยแล้ว
จึงกลับมาคืนเอาราชสมบัติแล้ว
ตรัสสั่งอมาตย์ ๘ นาย ให้ไปกับพระราชโอรส
ช่วยทํานุบํารุงรักษาอย่าให้มีภัยอันตรายได้
พระราชกุมารทั้ง ๔ รับพระราชปริหารแล้ว
กราบถวายบังคมลา ต่างองค์ทรงพระโสกาดูรพิลาป
ด้วยปิยวิปโยคทุกข์ ซึ่งจะจําจากกันแล้ว
ทูลขอขมาโทษพระราชบิดา
แลอําลาพระราชวงศานุวงศ์
กับทั้งหมู่อนงค์นางสนมทั้งปวงแล้ว
พาพระเชษฐภคินีแลพระกนิษฐภคินีทั้ง ๕ พระองค์
ออกจากพระนคร กับด้วยจตุรงคนิกร
และอมาตย์ทั้ง ๘ เป็นบริวาร
ส่วนประชาชนหญิงชายทั้งหลายได้แจ้งเหตุว่า
พระราชกุมารจะเสด็จคืนมาครอบครองราชสมบัติ
ในกาลเมื่อพระบรมกษัตริย์ราชบิดาทิวงคตแล้ว
ก็ชวนกันดําริว่า
เราจะติดตามไปอุปัฏฐากพระราชกุมาร
ก็พากันตามเสด็จไปจากพระนครเป็นอันมากแล้ว
เดินทางไปล่วง ๓ วันแล้ว สิ้นหนทางถึง ๓ โยชน์
ก็ยังไม่สิ้นรี้พลประชาชนอันตามเสด็จ
จึงพระราชกุมารทั้ง ๔
มีพระโอกกากมุขเชษฐาธิราชเป็นประธาน
ก็ตรัสปรึกษากันว่า พลนิกายของเรามากกว่ามาก
แม้จะยกไปย่ำยีตีพระยาสามนตราชเมืองหนึ่งเมืองใด
ชิงเอาบ้านเมืองแลชนบทแว่นแคว้น
ก็จะได้สมความปรารถนา
แลท้าวพระยาทั้งหลายเหล่านั้น
ก็จะสู้รบเราไม่ได้ คงจะปราชัยพ่ายแพ้
แต่ทว่าจะประโยชน์อันใดด้วยจะเบียดเบียน
เอาสมบัติบ้านเมืองของผู้อื่น
และแผ่นพื้นชมพูทวีปก็ใหญ่กว้าง
ควรจะไปสร้างนครในอรัญประเทศ
ให้พ้นเขตแดนท้าวพระยาสามนตราชทั้งปวง
ก็ดําเนินพลบ่ายหน้า เฉพาะป่าหิมพานต์
เที่ยวแสวงหาที่ภูมิสถานอันจะสร้างพระนครใหม่
ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์แห่งเรา
บังเกิดในสกุลพราหมณมหาศาลมีนามกบิลพราหมณ์
พิจารณาเห็นโทษในเบญจกามคุณจึงเสียสละสมบัติ
ออกบรรพชาเป็นดาบส
ไปสร้างบรรณศาลาสถิตอยู่ในสากพนสณฑ์
แทบใกล้ฝั่งสระโบกขรณี
อันมีอยู่ ณ ชายป่าหิมวันตประเทศ
แลพระผู้เป็นเจ้ารู้ในภูมิดลมงคลวิทยา
พิจารณาเห็นคุณแลโทษในโอกาสสูงขึ้นไปได้ ๘๐ ศอก
ในภายใต้ปฐพีลึกลงไปได้ ๘๐ ศอกดุจกัน
และในภูมิประเทศที่แห่งนั้นมีกอหญ้าแลกอลดาวัลย์
เวียนเป็นทักษิณาวรรตผันไปฝ่ายปราจีนทิศทั้งสิ้น
ฝูงสัตว์ทั้งหลายเป็นต้นว่า
สีหพยัคฆ์ไล่ซึ่งมฤคสุกรมา แลวิฬาร์ไล่ซึ่งหนู
งูไล่ซึ่งมณฑกชาติมาถึงที่นั่นแล้ว
ก็มิอาจติดตามต่อไปได้
สัตวที่แพ้นั้นกลับไล่คุกคามเอาสัตว์ที่มีอํานาจ
ให้ปลาตนาการกลับไป เป็นที่ชัยมงคลภูมิประเทศ
พระดาบสแจ้งเหตุฉะนี้จึงจัดแจงสร้างบรรณศาลา
อาศัยอยู่ในที่นั้น
ครั้นพระผู้เป็นเจ้าเห็นพระราชกุมารทั้งหลาย
ยาตราพลาพลนิกายมาเป็นอันมาก จึงได้ถาม
ทราบความว่าสืบแสวงหาที่จะสร้างพระนคร
ก็มีความกรุณาปรารถนาจะอนุเคราะห์
ให้เป็นประโยชน์แก่พระราชกุมารทั้งปวง
จึงบอกเหตุว่า
บพิตรจงสร้างพระนครลงในที่บริเวณบรรณศาลา
ของอาตมานี้เถิด แลเมืองอันนี้นานไปภายหน้า
จะเป็นอัครนครปรากฏในชมพูทวีป
ผิว บุรุษบังเกิดในพระนครนี้จะมีอานุภาพมาก
คนเดียวก็อาจสามารถจะข่มขี่ผจญเสียได้
ซึ่งบุรุษอื่นร้อยคนพันคนให้พ่ายแพ้อํานาจ
จงสร้างปราสาทราชคฤหสถานลงตรงที่บรรณศาลานี้
ผิว ผู้ใดสถิตในที่นี้ถึงแม้นมาตรว่าเป็นบุตรคนจัณฑาล
ก็จะมีพลานุภาพมากอาจข่มขี่เสียได้ซึ่งปัจจามิตร
ดุจพลานุภาพแห่งบรมจักรพรรดิเป็นแท้
พระราชกุมารจึงเผดียงถามว่า
พระผู้เป็นเจ้าจะไปอยู่ ณ ที่ใด
ดูก่อนบพิตร
อย่าได้ทรงพระปริวิตกเลยด้วยที่อยู่ของอาตมา
แลอาตมาก็จะไปสร้างบรรณศาลาอยู่
ณ ที่ข้างหนึ่งนอกพระนคร
บพิตรจงตั้งนามกรเมืองนี้
ชื่อกรุงกบิลพัสดุ์เถิด
แลพระราชกุมารทั้ง ๔
มีพระโอกกากมุขเชษฐาธิราชเป็นประธาน
ก็ให้ฐาปนาการพระนครแลปราสาทราชนิเวศนฐาน
ลงในที่นั้นๆ ตามคําพระดาบสเสร็จแล้ว
ก็ตั้งนามบัญญัติชื่อกรุงกบิลพัสดุ์ราชธานี
เหตุเป็นที่พระกบิลดาบสประสาทประสิทธิ์ให้
ก็เสด็จเข้าอาศัยสถิตสําเร็จนิวาสกิจกับด้วยหมู่อมาตย์
และราษฎรประชาจตุรงคโยธาทั้งหลายในพระนครนั้น
อันนี้เป็นเรื่องอุบัติแห่งกรุงกบิลพัสดุ์มหานคร
โดยนัยพรรณนามานี้
ลําดับนั้น อมาตย์ทั้ง ๘ จึงปรึกษากันว่า
พระราชกุมารทั้งหลายนี้ก็ทรงเจริญวัยวัฒนา
ถ้าอยู่ในสํานักพระราชบิดา
ก็จะกระทําอาวาหวิวาหมงคลการ
ก็กาลบัดนี้ เราทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่
ทรงพระกรุณาโปรดให้มาทํานุบํารุงบริรักษ์พระราชกุมาร
แลการอันนี้ก็เป็นภารธุระของเรา
ควรจะจัดแจงจึงจะชอบ
ก็ชวนกันเข้าไปกราบบังคมทูลปรึกษาว่า
ข้าพระพุทธเจ้าจะไปขอพระราชธิดา
แห่งกษัตริย์เมืองอื่นมาอภิเษกกับด้วยพระองค์
เมื่อพระราชกุมารทั้งหลายทรงสดับดังนั้นจึงตรัสตอบว่า
เรามิได้เห็นนางขัตติยราชธิดาแห่งกษัตริย์ทั้งหลายอื่น
ซึ่งจะเป็นบรมขัตติยาสัมภินชาติชาตรีอันประเสริฐ
เสมอเหมือนด้วยเรา
อนึ่งขัตตยิราชกุมารทั้งหลายอื่นนั้นเล่า
ก็มิได้อสัมภินพงศ์กษัตริย์ชาติชาตรี
เสมอเหมือนด้วยเชษฐกนิษฐภคินีโดยแท้
เบื้องว่าจะอภิเษกสังวาสกับด้วยขัตติยราชสกูลทั้งหลายอื่น
เกรงว่าราชบุตรธิดาของเราซึ่งจะบังเกิดนั้น
จะไม่เป็นขัตติยชาติอันบริสุทธิ์
ฝ่ายข้างบิดาบ้างฝ่ายข้างมารดาบ้าง
ก็จะถึงซึ่งชาติสัมเภทเสื่อมเสียขัตติยวงศ์ไป
เพราะเหตุนั้นเราทั้งหลายชอบใจจะอภิเษกสังวาส
กับด้วยพระกนิษฐราชภคินีแห่งเรา
ขัตติยวงศ์ของเราจึงจะบริสุทธิ์ขัตติยาสัมภินชาติโดยแท้
และพระราชกุมารทั้งหลายจึงตั้งไว้ซึ่งเชษฐภคินี
องค์เดียวนั้นในที่เป็นราชมารดาแล้วก็กระทําสกสกสังวาส
กับด้วยพระกนิษฐภคินีทั้ง ๔ นางนั้นเป็นคู่ๆ กัน
ด้วยกลัวชาติสัมเภท จนเจริญด้วยพระราชบุตร
พระราชธิดาเป็นอันมาก
เหตุดังนั้น กษัตริย์ทั้งหลายในกรุงกบิลพัสดุ์นั้น
จึงได้นามกรปรากฏว่าศักยราชตระกูล
เพราะทําสกสกสังวาสในราชวงศ์แห่งตนๆ
อันนี้เป็นเรื่องต้นอุบัติเหตุแห่งศักยราชตระกูล
จับเดิมแต่นั้นมา กษัตริย์ศักยราชทั้งหลายได้เสวยราชสมบัติ
สืบพระวงศ์ต่อๆ กันมาเป็นหลายชั่วกษัตริย์เป็นอันมาก
ตราบเท่าถึงพระเจ้าสีวิราช พระเจ้าสญชัยราช
แลพระเจ้าเวสสันตรราช
ครั้งนั้นเปลี่ยนนามพระนครชื่อกรุงเชตุดร
แลสมเด็จพระเวสสันตรราชได้เสวยราชสมบัติ
ดำารงในทศพิธราชธรรม ทรงบริจาคพระยาเศวตปัจจัยนาค
กับทั้งเครื่องคชาภรณ์อันมีราคาได้ ๒๔ แสนกหาปณะ
ดํารงพระชนม์ตราบเท่าทิวงคต จุติขึ้นไปบังเกิดในดุสิตเทวโลก
จึงพระชาลีราชโอรสได้ราชาภิเษกกับด้วย
นางกัณหาชินากนิษฐภคินี ได้เสวยราชสมบัติสืบกันมา
มีพระราชโอรสทรงพระนามพระสีวีวาหนราช
พระสีวีวาหนราชมีพระราชโอรส
ทรงพระนามพระสีหัสสรราช
พระสีหัสสรราชได้เสวยราชสมบัติ
สืบพระวงศ์เป็นลําดับมาเป็นอันมาก
นับเป็นกษัตริย์ ๑๖๑,๐๐๐ พระองค์
จึงถึงพระเจ้าไชยเสนราช
พระเจ้าไชยเสนราชมีพระราชบุตร
ทรงพระนามพระเจ้าสีหหนุราชได้เสวยราชสมบัติสืบกันมา
ครั้งนั้นนามพระนครกลับเรียกกรุงกบิลพัสดุ์ดุจนามเดิม
แลพระเจ้าสีหหนุราชนั้นมีพระราชโอรส ๓ พระองค์
ทรงพระนามพระสิริสุทโธทนราชกุมาร ๑
พระสุกโกทนราชกุมาร ๑ อมิตโตทนราชกุมาร ๑
มีพระราชธิดา ๒ พระองค์ ทรงพระนามนางอมิตา ๑
นางปมิตา ๑
ในกาลนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงสีหหนุราช
มีพระหฤทัยปรารถนาจะราชาภิเษก
พระสิริสุทโธทนเชษฐราชโอรสผู้ใหญ่
ซึ่งทรงพระวัยวัฒนาการประดิษฐานไว้
ในเศวตราชาฉัตรเสวยมไหศวริยสมบัติ
แทนพระองค์
ทรงพระดําริว่า ควรจะให้สืบแสวงหาซึ่งนางขัตติยราชธิดา
อันอุดมวงศ์ทรงซึ่งบวรรูปสิริโสภาคย์แลบริบูรณ์
แก้ไข >>> ปณามคาถาที่ ๑ บาทที่ ๓ อ่านว่า ปาระคุง สัพพธัมมานัง ครับเขาไม่ใหัเขียนแบบบาลีกระมัง
อ่านต่อ > ปฐมสมโพธิกถา วิวาหมงคลปริวรรต ปริจเฉทที่ ๑
Download > ปฐมสมโพธิกถา ๒๙ ปริจเฉท
ขอได้รับความขอบคุณ
สวัสดีครับ