จากเพจ โอตาคุบริโภคมาม่า
คุณแม่วัย38 มีสามีเป็นช่างภาพและลูกสาวคนหนึ่ง
เคยใช้ชีวิตอยู่อเมริกา
พอกลับมาเข้าประถม5ที่ญี่ปุ่น
ก็เกิดปัญหาลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้
จากเดิมทีใส่เสื้อสีฉูดฉาดแบบคนอเมริกัน
แต่พอมาอยู่ญี่ปุ่นแล้ว กลับเด่นเกินจนคนอื่นไม่ชอบ
ขอแม่ไปซื้อเสื้อผ้าใหม่หมด
คุณพ่อบอก ช่างหัวพวกเขาสิ!
เราใส่ของที่เราชอบก็ดีอยู่แล้ว จะไปแคร์เขาทำไม
แต่คุณแม่บอกไม่ได้ นี่ลูกเป็นทุกข์อยู่นะ
แล้วถ้าถูกแกล้งจะทำยังไง?
เลยมาถามความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
ที่เป็นทั้งอาจารย์และผู้จัดการแสดง
ว่าควรทำอย่างไรดี
//---------------------------
ผู้เชี่ยวชาญตอบ
ก่อนอื่น ที่คุณแม่ต้องเข้าใจก่อนก็คือ
[การร่วมใจกันทำอย่างเดียวกัน]
มันเป็น [โรคร้ายที่แฝงตัวมานาน] ของสังคมญี่ปุ่นครับ
ถ้าจะให้เจาะจงปัญหามันอยู่ที่
[การกดดันให้สามัคคี] นั้นเข้มแข็ง
และ [การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง] นั้นอ่อนแอ
ซึ่ง[ความเชื่อมั่น] นั้นคือ
การที่เราเชื่อว่าเราไม่ได่โง่ ไม่มากลุ้มว่าเราใช้ชีวิตอย่างนี้ดีหรือเปล่า
เราสามารถพูดได้ในสิ่งที่เรามีความเชื่อมั่น
และความคิดที่ว่า เราเป็นตัวของเราเองที่คนอื่นมาแทนไม่ได้
ซึ่งของทั้งสองอย่างนี้
คนญี่ปุ่นมีในระดับตกต่ำมากในมาตรฐานโลก
ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างเรื่องนี้ กับหนังสือที่เคยเขียนเรื่อง
[ทำไมทหารโทคโคที่ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาถึงไม่ตาย]
(特攻) (หมายถึงทหารอากาศเดนตายที่บินโจมตีศัตรูในระยะใกล้)
(บทความนี้เจาะจงหน่วยคามิคาเซ่ ที่พุ่งชนเครื่องบินเข้าใส่ศัตรู)
//------------------
วันที่2สิงหา1945 พลโททหารบกมาพบเจ้าฟ้าชายอากิฮิโตะ
เพื่อมาอธิบายว่า เพราะอะไรญี่ปุ่นต้องใช้ทหารโทคโค
เพราะมันเข้ากันกับอุปนิสัยของความเป็นชาวญี่ปุ่น
และมันได้ผลกับศัตรูที่มีทรัพยากรมากกว่าเรา
ซึ่งเราก็รู้ผลกันอยู่แล้วว่า ไอ้ครึ่งหลังนั้นมันไม่จริง
แต่ปัญหาอยู่ที่ครึ่งแรกว่า [มันเข้ากับความเป็นชาวญี่ปุ่น]
เพราะมันมีความหมายว่า
[การไม่ไว้ใจฝีมือนักบินที่สั่งสมมา][การต้องยอมตายตามคำสั่ง]
เป็นของที่เหมาะสมกับประชาชนชาวญี่ปุ่น
แล้วผลที่ได้ก็อย่างที่รู้กันว่า มีคนที่เสียสละเพื่ออุดมการณ์
เอาชีวิตไปทิ้งกันอย่างนั้นให้กลายเป็นหนังฮอลลีวู้ดกันจริงๆ
ทั้งๆที่ถ้าคุณไปดูการบัญชาการทหารสมัยใหม่จากทั่วโลก
มันไม่มีที่ไหนหรอกนะครับ ที่จะสั่งทหารว่าต้องไปตาย
จะมีก็มีแต่ญี่ปุ่นเท่านั้นแหละ
//---------------------
ซึ่ง [การกดดันให้สามัคคี]นั้นเข้มแข็ง
และ [การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง] นั้นอ่อนแอ
นี่แหละ เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโทคโคขึ้นมา
นักบินกลุ่มแรกๆที่ถูกเลือกให้มาเป็นโทคโคนั้น
ส่วนใหญ่มีแต่มือหนึงที่เดิมทีเขามีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงๆกันทั้งนั้น
แต่แทนที่พวกเขาจะได้รับคำสั่งให้[ดำใกล้แล้วทิ้งระเบิด]
กลับถูกสั่งให้[กระแทกตัวใส่ศัตรูแทน]
ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เหยียดหยามเกียรติและศักดิ์ศรีกันมากๆ
หัวหน้าหน่วยโทคโคหน่วยที่หนึ่ง
เขาเคยบอกนักข่าวไว้ตอนอยู่ด้วยกัน2คนว่า
[ญี่ปุ่นนั้นจบแล้ว เขาสั่งให้นักบินมือหนึ่งอย่างเราไปตาย]
แต่เขาก็ยอมจำนนต่อญี่ปุ่นที่[การกดดันให้สามัคคี]เข้มแข็ง
แล้วก็เสียชีวิตในหน้าที่จากการพุ่งชนไป
แต่มีนักบินหน่วยที่หนึ่งอยู่รายหนึ่ง
ออกปฏิบัติการ9ครั้ง แล้วก็รอดกลับมาทั้ง9ครั้ง
พอกลับมาแต่ละครั้ง เขาก็ถูกสั่งอย่างเดิมว่า
[แกต้องตายในครั้งต่อไป]
[ไม่ต้องเรือบรรทุกเครื่องบินหรือเรือประจัญบานก็ได้
จะเรืออะไรก็ได้ แกต้องไปชนมันซะ!]
แต่เพราะเขาไม่ฟังคำสั่ง เขาถึงรอดชีวิตมาได้
ขณะนั้นเขาอายุ21 แล้วก็อยู่มาถึงอายุ92
//-----------------------------
ทีนี้กลับมาที่คุณแม่และคุณลูก
สาเหตุที่ผมยกตัวอย่างพวกนั้นมา
เพราะผมอยากจะบอกคุณว่า
สิ่งที่กำลังทรมานลูกคุณอยู่
ไม่ใช่อะไรเลยนอกจาก [ความเป็นญี่ปุ่น] นั้นเอง
แต่แทนที่มันจะเป็นกองทัพ
โรงเรียนนะมันได้กลายเป็นสถานที่ๆ
[การกดดันให้สามัคคี]นั้นเข้มแข็งสุดแทน
ซึ่งถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไป70กว่าปีแล้ว
แต่ธาตุในของญี่ปุ่นมันไม่ได้เปลี่ยนไปจากตอนนั้นเลย
อย่างเหตุการณ์นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลมหาลัย
(เป็นเรื่องนักกีฬาใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุระหว่างแข่งขัน)
ฝ่ายโค้ชก็บอกว่า[นักศึกษาทำโดยพละการ]
แต่ฝ่ายนักศึกษาก็บอกว่า [เพราะโค้ชสั่ง]
เสร็จแล้วพูดไปพูดมา ก็มาอ้างว่า เป็นความผิดพลาดด้านการสื่อสาร
มันก็เหมือนกับโทคโค
ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างว่า [พวกเขาอาสาเอง]
กับอีกฝ่ายที่อ้างว่า [เพราะเป็นคำสั่ง]
มันไม่ได้ต่างกันเลย
//--------------------------
ซึ่งที่คุณสามีพูดว่า
[อย่าไปแคร์หรือยอมแพ้ให้กับสายตาชาวบ้าน แล้วใส่เสื้อที่ตัวเองชอบไป] นั้นนะ
ผมเข้าใจความรู้สึกนั้นดีมาก
เพราะอาชีพช่างภาพนั้นเป็นอาชีพที่รับ[การกดดันให้สามัคคี]ต่ำ
ไม่เหมือนอาชีพครูหรือพนักงานบริษัท
หลายปีก่อนมีเหตุการณ์พนักงานสาวบริษัทโฆษณาฆ่าตัวตาย
แล้วมีอาจารย์มหาวิทยาลัยมาบอกว่า
[ทำงานล่วงเวลาแค่นี้ก็ฆ่าตัวตายแล้ว ไม่ไหวเลย]
อาจารย์คนนั้นก็โดนสังคมด่าไป
เพราะเขาไม่ได้เข้าใจเลยว่า
แรงกดดันที่พนักงานคนนั้นกับตัวเองได้รับนั้นต่างกันมาก
ยกตัวอย่าง ต้องใส่เสื้อผ้ามีระเบียบ ต้องใช้เวลาร่วมกับคนอื่น
เวลาเลิกงานแล้วก็กลับไม่ได้ เพราะหัวหน้ายังไม่กลับ
แต่ถ้าเทียบกับอาจารย์มหาวิทยาลัยกับช่างภาพแล้ว
เรามีกำหนดเวลาและสิทธิในการเลือกเสื้อผ้ามากกว่า
ไม่ได้รับแรงกดดันเหมือนกัน
ถ้าคุณพ่อเขาเป็นพนักงานธนาคารหรือครูละก็
เขาคงจะเข้าใจเรื่องความน่ากลัวของแรงกดดันตรงนี้
แล้วก็บอกให้คุณลูกยอมๆไป
แต่ทั้งนี้ผมไม่ได้บอกว่าคุณจะต้องยอม
แต่คุณควรจะรู้ว่า [อะไรคือศัตรูของคุณ]
คุณถึงจะรู้วิธีที่จะใช้สู้กลับได้
แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า [การกดดันให้สามัคคี] นั้นจะเลวหมด
อย่างตอนเกิดภัยพิบัติ แล้วไม่มีการปล้นขโมย
ร้านค้าวางขายของได้ตามปกติ ก็เพราะมันเหมือนกัน
แต่ปัญหานั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวมันเอง
แต่มันอยุ่ที่ [การกดดันให้สามัคคี]ในญี่ปุ่นนั้นเข้มแข็งเกินไป
//--------------------------------
สิ่งที่ผมจะแนะให้คุณแม่ทำก็คือ
อธิบายให้ลูกสาวเข้าใจถึง [รูปลักษณ์ของประเทศนี้]
ว่าในอเมริกานั้นก็มี[การกดดันให้สามัคคี]เหมือนกัน
แต่มันไม่ได้แรงเท่าญี่ปุ่น
แล้วในอเมริกาเขาสอนให้ทุกคนมี[ความเชื่อมั่นในตัวเอง]สูง
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการต่อกรกับ[การกดดันให้สามัคคี]
แต่ของญี่ปุ่นนั้น
นอกจากจะไม่ได้สอนให้มี [ความเชื่อมั่นในตัวเอง] แล้ว
ยังสอนเรื่องคุณธรรมแล้วก็ใส่เรื่อง [การกดดันให้สามัคคี]
นี่เข้าไปซ้ำซากอยู่
นี่แหละ คือสิ่งที่คุณลูกสาวกำลังต่อสู้ด้วยอยู่
และคนที่ไม่ได้ถูกสอนให้มี [ความเชื่อมั่นในตัวเอง] นะ
เขาจะไม่เข้าใจ ว่า[ความเชื่อมั่นในตัวเอง] จริงๆแล้วมันคืออะไร
เขาถึงได้ไม่เข้าใจคนที่มี [ความเชื่อมั่นในตัวเอง] ด้วย
//------------------------
ตอนที่ผมไปเรียนที่อังกฤษ
มีเพื่อนที่บอกว่าชอบซูชิมากอยู่ แล้วก็พาไปกินกัน
แต่ร้านที่เขาพาไปกิน มันไม่ใช่ร้านคนญี่ปุ่น
ซึ่งถึงแม้ว่าเขาจะกินไปอย่างเอร็ดอร่อย
แต่สำหรับผมแล้วซูชิที่เขาทำมันเป็นซูชิเก๊
แต่เพราะเพื่อนคนนั้นเขาไม่ได้รู้ว่าซูชิของจริงเป็นยังไง
ผมก็เลยปล่อยให้เขากินไป
ถ้าตอนนั้นผมไปบ่นว่า [นี่มันไม่ใช่ซูชิ!]
เขาก็คงจะมาโกรธใส่ผม แล้วบอกว่า [จะบ้าเหรอ! นี่มันซูชิชัดๆ!!!]
ซึ่งกรณีคุณลูกสาวก็เหมือนกัน
คุณลูกสาวอาจจะชอบเสื้อผ้าสีฉูดฉาด แล้วเห็นว่ามันน่ารัก
[การใส่เสื้อผ้าที่ตัวเองอยากจะใส่] มันเป็นของธรรมดาสำหรับเขา
แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า
[การใส่เสื้อผ้าที่ตัวเองอยากจะใส่] มันเป็นยังไงนะ
เขาไม่เข้าใจหรอก
มันก็เหมือนกับกรณีซูชิ
เรารู้จักซูชิอร่อยของแท้
แต่ถ้าเราจะต้องไปพูดให้คนไม่รู้จักซูชิของจริงเข้าใจ
พูดไปให้ตายเขาก็ไม่เข้าใจ
//-------------------
และเมื่อคุณบอกลูกสาวเรื่อง [รูปลักษณ์ของประเทศนี้] ไปแล้ว
ก็มาช่วยกันคิดเถอะครับ
ศัตรูคือ [ญี่ปุ่น] ที่เป็นบอสใหญ่ในกลุ่มบอสอีกที
ถ้าคุณจะสู้ซึ่งๆหน้า คุณจะมีโอกาสแพ้สูงมาก
ผมแนะให้2วิธี
1 - เปลี่ยนสมรภูมิรบ
เช่น ย้ายไปโรงเรียนสายอเมริกัน ที่เขามีแรงกดดันน้อยกว่า
เด็กต่างชาติ กับที่เคยอยู่ต่างประเทศก็มีเยอะ
จะเข้ากันกับลูกคุณได้มากกว่า
แต่ถ้าคุณมีปัญหาด้านการเงิน หรือระยะการเดินทาง
ก็ขอให้สู้อย่างมีกลยุทธ์
ตอนไปโรงเรียน ก็ยอมๆเขาหน่อย ใส่เสื้อผ้าสีจืดๆไป
แต่ตอนที่ออกไปเที่ยวไหนกับเพื่อนที่สนิทจริงๆ
ก็ให้ใส่ชุดสีฉูดฉาดที่อยากใส่ไป
ถึงแม้ว่าคุณแทบจะไม่มีโอกาสชนะศัตรูที่เรียกว่า [ญี่ปุ่น]
แต่ถ้าเฉพาะกับเพื่อนที่สนิทกันละก็
เขาอาจจะยอมรับลูกคุณได้มากกว่า
แล้วถ้าจะชักชวนให้เขาอยากลองมาใส่เสื้อผ้าแบบลูกคุณได้
ก็จะยิ่งดีไปใหญ่เลย
หรือไม่ก็ใส่เสื้อผ้าจืดๆสำหรับโรงเรียน
แต่แต่งในแบบที่มีสไตล์ขึ้นมาระดับนึง
ก็เป็นการท้าทายบอสที่ดีเหมือนกัน
สิ่งสำคัญอยู่ที่
อย่าให้การใส่เสื้อจืดๆที่โรงเรียน มาทำให้เขารู้สึกว่าแพ้
เจ็บใจ หรืออัดอั้นว่าตัวเองไม่ได้อยากใส่อย่างนี้เลย
เพราะนี่เอง ก็เป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้ใช้ชีวิตเช่นกัน
//--------------------------
ขอย้ำอีกครั้งครับว่า
คนที่เขาไม่รู้จักซูชิของแท้นะ
เขาไม่เชื่อหรอกว่า ซูชิที่ตัวเองกินมันเป็นของเก๊
เขาจะรู้ก็ต่อเมื่อได้ลิ้มรสมันแล้วเท่านั้น
คุณลูกสาวเขาได้ลิ้มรสความยินดี
จาก[การใส่เสื้อผ้าที่ตัวเองอยากจะใส่]ไปแล้ว
แต่เพราะคนอื่นเขาไม่เคยได้ลิ้มรสมัน
หรือตัวเองทำไม่ได้
เขาก็เลยอิจฉา และยอมไม่ได้ขึ้นมา
มันก็เหมือนกับคนที่พึ่งจะเคยแต่เห็น
คุณกินซูชิของแท้อย่างเอร็ดอร่อยอยู่
คุณลูกสาวเอง ได้รับประสบการณ์ที่ดีไปแล้ว
มันไม่ใช่เรื่องที่คุณจะต้องมายอมลดระดับตัวเอง
ถ้านอกเวลาโรงเรียน
คุณลูกสาวจะแต่งตัวเลิศยังไง
เขาก็ทำได้ดั่งใจอยาก
แล้วเขาจะได้เติบโตมาเป็นเหมือนคุณพ่อ
ที่มีความกล้าที่จะสู้และพูดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อได้ด้วย
พาคุณลูกสาวไปกินซูชิอร่อยๆ
แล้วคอยดูผลการศึกเถอะครับ
ผมเชื่อว่า ศึกเล็กๆน้อยๆ
จะสามารถล้มบอสใหญ่ได้ได้ในวันนึง
//---------------------------
//---------------------------
//---------------------------
เราซึ่งโตมากับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเกือบเต็มรูปแบบ ชอบบทความนี้มาก คนที่มีแนวคิดฝั่งตะวันตกอาจยากที่จะเข้าใจเราได้
ไปอ่านบทความเจอมา เกี่ยวกับเรื่องของ "สังคม" และ "ค่านิยมที่ฝังในทุกๆช่วงเวลาของชีวิต"
คุณแม่วัย38 มีสามีเป็นช่างภาพและลูกสาวคนหนึ่ง
เคยใช้ชีวิตอยู่อเมริกา
พอกลับมาเข้าประถม5ที่ญี่ปุ่น
ก็เกิดปัญหาลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้
จากเดิมทีใส่เสื้อสีฉูดฉาดแบบคนอเมริกัน
แต่พอมาอยู่ญี่ปุ่นแล้ว กลับเด่นเกินจนคนอื่นไม่ชอบ
ขอแม่ไปซื้อเสื้อผ้าใหม่หมด
คุณพ่อบอก ช่างหัวพวกเขาสิ!
เราใส่ของที่เราชอบก็ดีอยู่แล้ว จะไปแคร์เขาทำไม
แต่คุณแม่บอกไม่ได้ นี่ลูกเป็นทุกข์อยู่นะ
แล้วถ้าถูกแกล้งจะทำยังไง?
เลยมาถามความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
ที่เป็นทั้งอาจารย์และผู้จัดการแสดง
ว่าควรทำอย่างไรดี
//---------------------------
ผู้เชี่ยวชาญตอบ
ก่อนอื่น ที่คุณแม่ต้องเข้าใจก่อนก็คือ
[การร่วมใจกันทำอย่างเดียวกัน]
มันเป็น [โรคร้ายที่แฝงตัวมานาน] ของสังคมญี่ปุ่นครับ
ถ้าจะให้เจาะจงปัญหามันอยู่ที่
[การกดดันให้สามัคคี] นั้นเข้มแข็ง
และ [การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง] นั้นอ่อนแอ
ซึ่ง[ความเชื่อมั่น] นั้นคือ
การที่เราเชื่อว่าเราไม่ได่โง่ ไม่มากลุ้มว่าเราใช้ชีวิตอย่างนี้ดีหรือเปล่า
เราสามารถพูดได้ในสิ่งที่เรามีความเชื่อมั่น
และความคิดที่ว่า เราเป็นตัวของเราเองที่คนอื่นมาแทนไม่ได้
ซึ่งของทั้งสองอย่างนี้
คนญี่ปุ่นมีในระดับตกต่ำมากในมาตรฐานโลก
ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างเรื่องนี้ กับหนังสือที่เคยเขียนเรื่อง
[ทำไมทหารโทคโคที่ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาถึงไม่ตาย]
(特攻) (หมายถึงทหารอากาศเดนตายที่บินโจมตีศัตรูในระยะใกล้)
(บทความนี้เจาะจงหน่วยคามิคาเซ่ ที่พุ่งชนเครื่องบินเข้าใส่ศัตรู)
//------------------
วันที่2สิงหา1945 พลโททหารบกมาพบเจ้าฟ้าชายอากิฮิโตะ
เพื่อมาอธิบายว่า เพราะอะไรญี่ปุ่นต้องใช้ทหารโทคโค
เพราะมันเข้ากันกับอุปนิสัยของความเป็นชาวญี่ปุ่น
และมันได้ผลกับศัตรูที่มีทรัพยากรมากกว่าเรา
ซึ่งเราก็รู้ผลกันอยู่แล้วว่า ไอ้ครึ่งหลังนั้นมันไม่จริง
แต่ปัญหาอยู่ที่ครึ่งแรกว่า [มันเข้ากับความเป็นชาวญี่ปุ่น]
เพราะมันมีความหมายว่า
[การไม่ไว้ใจฝีมือนักบินที่สั่งสมมา][การต้องยอมตายตามคำสั่ง]
เป็นของที่เหมาะสมกับประชาชนชาวญี่ปุ่น
แล้วผลที่ได้ก็อย่างที่รู้กันว่า มีคนที่เสียสละเพื่ออุดมการณ์
เอาชีวิตไปทิ้งกันอย่างนั้นให้กลายเป็นหนังฮอลลีวู้ดกันจริงๆ
ทั้งๆที่ถ้าคุณไปดูการบัญชาการทหารสมัยใหม่จากทั่วโลก
มันไม่มีที่ไหนหรอกนะครับ ที่จะสั่งทหารว่าต้องไปตาย
จะมีก็มีแต่ญี่ปุ่นเท่านั้นแหละ
//---------------------
ซึ่ง [การกดดันให้สามัคคี]นั้นเข้มแข็ง
และ [การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง] นั้นอ่อนแอ
นี่แหละ เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโทคโคขึ้นมา
นักบินกลุ่มแรกๆที่ถูกเลือกให้มาเป็นโทคโคนั้น
ส่วนใหญ่มีแต่มือหนึงที่เดิมทีเขามีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงๆกันทั้งนั้น
แต่แทนที่พวกเขาจะได้รับคำสั่งให้[ดำใกล้แล้วทิ้งระเบิด]
กลับถูกสั่งให้[กระแทกตัวใส่ศัตรูแทน]
ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เหยียดหยามเกียรติและศักดิ์ศรีกันมากๆ
หัวหน้าหน่วยโทคโคหน่วยที่หนึ่ง
เขาเคยบอกนักข่าวไว้ตอนอยู่ด้วยกัน2คนว่า
[ญี่ปุ่นนั้นจบแล้ว เขาสั่งให้นักบินมือหนึ่งอย่างเราไปตาย]
แต่เขาก็ยอมจำนนต่อญี่ปุ่นที่[การกดดันให้สามัคคี]เข้มแข็ง
แล้วก็เสียชีวิตในหน้าที่จากการพุ่งชนไป
แต่มีนักบินหน่วยที่หนึ่งอยู่รายหนึ่ง
ออกปฏิบัติการ9ครั้ง แล้วก็รอดกลับมาทั้ง9ครั้ง
พอกลับมาแต่ละครั้ง เขาก็ถูกสั่งอย่างเดิมว่า
[แกต้องตายในครั้งต่อไป]
[ไม่ต้องเรือบรรทุกเครื่องบินหรือเรือประจัญบานก็ได้
จะเรืออะไรก็ได้ แกต้องไปชนมันซะ!]
แต่เพราะเขาไม่ฟังคำสั่ง เขาถึงรอดชีวิตมาได้
ขณะนั้นเขาอายุ21 แล้วก็อยู่มาถึงอายุ92
//-----------------------------
ทีนี้กลับมาที่คุณแม่และคุณลูก
สาเหตุที่ผมยกตัวอย่างพวกนั้นมา
เพราะผมอยากจะบอกคุณว่า
สิ่งที่กำลังทรมานลูกคุณอยู่
ไม่ใช่อะไรเลยนอกจาก [ความเป็นญี่ปุ่น] นั้นเอง
แต่แทนที่มันจะเป็นกองทัพ
โรงเรียนนะมันได้กลายเป็นสถานที่ๆ
[การกดดันให้สามัคคี]นั้นเข้มแข็งสุดแทน
ซึ่งถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไป70กว่าปีแล้ว
แต่ธาตุในของญี่ปุ่นมันไม่ได้เปลี่ยนไปจากตอนนั้นเลย
อย่างเหตุการณ์นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลมหาลัย
(เป็นเรื่องนักกีฬาใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุระหว่างแข่งขัน)
ฝ่ายโค้ชก็บอกว่า[นักศึกษาทำโดยพละการ]
แต่ฝ่ายนักศึกษาก็บอกว่า [เพราะโค้ชสั่ง]
เสร็จแล้วพูดไปพูดมา ก็มาอ้างว่า เป็นความผิดพลาดด้านการสื่อสาร
มันก็เหมือนกับโทคโค
ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างว่า [พวกเขาอาสาเอง]
กับอีกฝ่ายที่อ้างว่า [เพราะเป็นคำสั่ง]
มันไม่ได้ต่างกันเลย
//--------------------------
ซึ่งที่คุณสามีพูดว่า
[อย่าไปแคร์หรือยอมแพ้ให้กับสายตาชาวบ้าน แล้วใส่เสื้อที่ตัวเองชอบไป] นั้นนะ
ผมเข้าใจความรู้สึกนั้นดีมาก
เพราะอาชีพช่างภาพนั้นเป็นอาชีพที่รับ[การกดดันให้สามัคคี]ต่ำ
ไม่เหมือนอาชีพครูหรือพนักงานบริษัท
หลายปีก่อนมีเหตุการณ์พนักงานสาวบริษัทโฆษณาฆ่าตัวตาย
แล้วมีอาจารย์มหาวิทยาลัยมาบอกว่า
[ทำงานล่วงเวลาแค่นี้ก็ฆ่าตัวตายแล้ว ไม่ไหวเลย]
อาจารย์คนนั้นก็โดนสังคมด่าไป
เพราะเขาไม่ได้เข้าใจเลยว่า
แรงกดดันที่พนักงานคนนั้นกับตัวเองได้รับนั้นต่างกันมาก
ยกตัวอย่าง ต้องใส่เสื้อผ้ามีระเบียบ ต้องใช้เวลาร่วมกับคนอื่น
เวลาเลิกงานแล้วก็กลับไม่ได้ เพราะหัวหน้ายังไม่กลับ
แต่ถ้าเทียบกับอาจารย์มหาวิทยาลัยกับช่างภาพแล้ว
เรามีกำหนดเวลาและสิทธิในการเลือกเสื้อผ้ามากกว่า
ไม่ได้รับแรงกดดันเหมือนกัน
ถ้าคุณพ่อเขาเป็นพนักงานธนาคารหรือครูละก็
เขาคงจะเข้าใจเรื่องความน่ากลัวของแรงกดดันตรงนี้
แล้วก็บอกให้คุณลูกยอมๆไป
แต่ทั้งนี้ผมไม่ได้บอกว่าคุณจะต้องยอม
แต่คุณควรจะรู้ว่า [อะไรคือศัตรูของคุณ]
คุณถึงจะรู้วิธีที่จะใช้สู้กลับได้
แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า [การกดดันให้สามัคคี] นั้นจะเลวหมด
อย่างตอนเกิดภัยพิบัติ แล้วไม่มีการปล้นขโมย
ร้านค้าวางขายของได้ตามปกติ ก็เพราะมันเหมือนกัน
แต่ปัญหานั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวมันเอง
แต่มันอยุ่ที่ [การกดดันให้สามัคคี]ในญี่ปุ่นนั้นเข้มแข็งเกินไป
//--------------------------------
สิ่งที่ผมจะแนะให้คุณแม่ทำก็คือ
อธิบายให้ลูกสาวเข้าใจถึง [รูปลักษณ์ของประเทศนี้]
ว่าในอเมริกานั้นก็มี[การกดดันให้สามัคคี]เหมือนกัน
แต่มันไม่ได้แรงเท่าญี่ปุ่น
แล้วในอเมริกาเขาสอนให้ทุกคนมี[ความเชื่อมั่นในตัวเอง]สูง
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการต่อกรกับ[การกดดันให้สามัคคี]
แต่ของญี่ปุ่นนั้น
นอกจากจะไม่ได้สอนให้มี [ความเชื่อมั่นในตัวเอง] แล้ว
ยังสอนเรื่องคุณธรรมแล้วก็ใส่เรื่อง [การกดดันให้สามัคคี]
นี่เข้าไปซ้ำซากอยู่
นี่แหละ คือสิ่งที่คุณลูกสาวกำลังต่อสู้ด้วยอยู่
และคนที่ไม่ได้ถูกสอนให้มี [ความเชื่อมั่นในตัวเอง] นะ
เขาจะไม่เข้าใจ ว่า[ความเชื่อมั่นในตัวเอง] จริงๆแล้วมันคืออะไร
เขาถึงได้ไม่เข้าใจคนที่มี [ความเชื่อมั่นในตัวเอง] ด้วย
//------------------------
ตอนที่ผมไปเรียนที่อังกฤษ
มีเพื่อนที่บอกว่าชอบซูชิมากอยู่ แล้วก็พาไปกินกัน
แต่ร้านที่เขาพาไปกิน มันไม่ใช่ร้านคนญี่ปุ่น
ซึ่งถึงแม้ว่าเขาจะกินไปอย่างเอร็ดอร่อย
แต่สำหรับผมแล้วซูชิที่เขาทำมันเป็นซูชิเก๊
แต่เพราะเพื่อนคนนั้นเขาไม่ได้รู้ว่าซูชิของจริงเป็นยังไง
ผมก็เลยปล่อยให้เขากินไป
ถ้าตอนนั้นผมไปบ่นว่า [นี่มันไม่ใช่ซูชิ!]
เขาก็คงจะมาโกรธใส่ผม แล้วบอกว่า [จะบ้าเหรอ! นี่มันซูชิชัดๆ!!!]
ซึ่งกรณีคุณลูกสาวก็เหมือนกัน
คุณลูกสาวอาจจะชอบเสื้อผ้าสีฉูดฉาด แล้วเห็นว่ามันน่ารัก
[การใส่เสื้อผ้าที่ตัวเองอยากจะใส่] มันเป็นของธรรมดาสำหรับเขา
แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า
[การใส่เสื้อผ้าที่ตัวเองอยากจะใส่] มันเป็นยังไงนะ
เขาไม่เข้าใจหรอก
มันก็เหมือนกับกรณีซูชิ
เรารู้จักซูชิอร่อยของแท้
แต่ถ้าเราจะต้องไปพูดให้คนไม่รู้จักซูชิของจริงเข้าใจ
พูดไปให้ตายเขาก็ไม่เข้าใจ
//-------------------
และเมื่อคุณบอกลูกสาวเรื่อง [รูปลักษณ์ของประเทศนี้] ไปแล้ว
ก็มาช่วยกันคิดเถอะครับ
ศัตรูคือ [ญี่ปุ่น] ที่เป็นบอสใหญ่ในกลุ่มบอสอีกที
ถ้าคุณจะสู้ซึ่งๆหน้า คุณจะมีโอกาสแพ้สูงมาก
ผมแนะให้2วิธี
1 - เปลี่ยนสมรภูมิรบ
เช่น ย้ายไปโรงเรียนสายอเมริกัน ที่เขามีแรงกดดันน้อยกว่า
เด็กต่างชาติ กับที่เคยอยู่ต่างประเทศก็มีเยอะ
จะเข้ากันกับลูกคุณได้มากกว่า
แต่ถ้าคุณมีปัญหาด้านการเงิน หรือระยะการเดินทาง
ก็ขอให้สู้อย่างมีกลยุทธ์
ตอนไปโรงเรียน ก็ยอมๆเขาหน่อย ใส่เสื้อผ้าสีจืดๆไป
แต่ตอนที่ออกไปเที่ยวไหนกับเพื่อนที่สนิทจริงๆ
ก็ให้ใส่ชุดสีฉูดฉาดที่อยากใส่ไป
ถึงแม้ว่าคุณแทบจะไม่มีโอกาสชนะศัตรูที่เรียกว่า [ญี่ปุ่น]
แต่ถ้าเฉพาะกับเพื่อนที่สนิทกันละก็
เขาอาจจะยอมรับลูกคุณได้มากกว่า
แล้วถ้าจะชักชวนให้เขาอยากลองมาใส่เสื้อผ้าแบบลูกคุณได้
ก็จะยิ่งดีไปใหญ่เลย
หรือไม่ก็ใส่เสื้อผ้าจืดๆสำหรับโรงเรียน
แต่แต่งในแบบที่มีสไตล์ขึ้นมาระดับนึง
ก็เป็นการท้าทายบอสที่ดีเหมือนกัน
สิ่งสำคัญอยู่ที่
อย่าให้การใส่เสื้อจืดๆที่โรงเรียน มาทำให้เขารู้สึกว่าแพ้
เจ็บใจ หรืออัดอั้นว่าตัวเองไม่ได้อยากใส่อย่างนี้เลย
เพราะนี่เอง ก็เป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้ใช้ชีวิตเช่นกัน
//--------------------------
ขอย้ำอีกครั้งครับว่า
คนที่เขาไม่รู้จักซูชิของแท้นะ
เขาไม่เชื่อหรอกว่า ซูชิที่ตัวเองกินมันเป็นของเก๊
เขาจะรู้ก็ต่อเมื่อได้ลิ้มรสมันแล้วเท่านั้น
คุณลูกสาวเขาได้ลิ้มรสความยินดี
จาก[การใส่เสื้อผ้าที่ตัวเองอยากจะใส่]ไปแล้ว
แต่เพราะคนอื่นเขาไม่เคยได้ลิ้มรสมัน
หรือตัวเองทำไม่ได้
เขาก็เลยอิจฉา และยอมไม่ได้ขึ้นมา
มันก็เหมือนกับคนที่พึ่งจะเคยแต่เห็น
คุณกินซูชิของแท้อย่างเอร็ดอร่อยอยู่
คุณลูกสาวเอง ได้รับประสบการณ์ที่ดีไปแล้ว
มันไม่ใช่เรื่องที่คุณจะต้องมายอมลดระดับตัวเอง
ถ้านอกเวลาโรงเรียน
คุณลูกสาวจะแต่งตัวเลิศยังไง
เขาก็ทำได้ดั่งใจอยาก
แล้วเขาจะได้เติบโตมาเป็นเหมือนคุณพ่อ
ที่มีความกล้าที่จะสู้และพูดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อได้ด้วย
พาคุณลูกสาวไปกินซูชิอร่อยๆ
แล้วคอยดูผลการศึกเถอะครับ
ผมเชื่อว่า ศึกเล็กๆน้อยๆ
จะสามารถล้มบอสใหญ่ได้ได้ในวันนึง
//---------------------------
//---------------------------
//---------------------------
เราซึ่งโตมากับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเกือบเต็มรูปแบบ ชอบบทความนี้มาก คนที่มีแนวคิดฝั่งตะวันตกอาจยากที่จะเข้าใจเราได้