คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
* เรียนทุกท่าน เพื่ออรรถรสการอ่านกระทู้นี้ ให้อ่านข้ามความคิดเห็นในหมวด "สุดยอดความคิดเห็น" ที่มีพื้นเป็นสีม่วงอมแดง ไปเริ่มอ่านความติดเห็นที่มีพื้นสีน้ำเงินตั้งแต่ความคิดเห็น 1 เรียงตามลำดับไปถึง 4 ดีๆ จะต่อเนื่องมากขึ้นนะครับ
::: ::: :::
ประเทศอาร์เซอร์ไบจาน เมืองหลวงชื่อบากู มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน มีพื้นที่ใหญ่ประมาณภาคกลางประเทศไทย เนื่องจากมีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์จึงเคยมีความร่ำรวยเทียบเท่านานาชาติน้ำมันอาหรับ แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ประสบปัญหาราคาน้ำมันผันผวน ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวประชากรต่ำกว่าไทยเล็กน้อย สินค้าส่งออกสำคัญนอกจากน้ำมันแล้วยังมีฝ้าย กับเครื่องจักร มีความเจริญสูงสุดในหมู่รัฐคอเคซัส
พื้นที่มุมซ้ายล่างคือเขตปกครองนัคชีวัน เมื่อก่อนเคยเป็นแดนอาร์มีเนีย ต่อมาถูกอิหร่านย้ายคนอาร์มีเนียออกแล้วเอาคนเติร์กไปถม ต่อมาโซเวียตดำเนินนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง ยกให้แก่อาร์เซอร์ไบจาน จนคนอาร์มีเนียย้ายหนีออกหมด ปัจจุบันนัคชีวันจึงเหลือแต่ชาวเติร์ก และเป็นอาณาเขตเดียวของอาร์เซอร์ไบจานที่เชื่อมกับตุรกีได้ทางบก
เราสามารถขอวีซ่าอาร์เซอร์ไบจานจากทางอินเตอร์เน็ตได้ง่าย แต่มีข้อควรระวังคือหากมีวีซ่าอาร์มีเนียติดอยู่นพาสปอร์ตจะทำให้การเข้าอาร์เซอร์ไบจานมีความยุ่งยาก เพราะทั้งสองประเทศยังอยู่ในภาวะสงคราม เมื่อปี 2016 พวกเขาเปิดศึกใหญ่กันมีคนตายไปพันกว่าคน (จะได้เล่าต่อไป) และจนปัจจุบันก็ยังกระทบกระทั่งเรื่อยๆ
ธงอาร์เซอร์ไบจาน
ความรู้สึกแรกที่ผมได้รับ เมื่อเครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยานเฮย์ดาร์ อาลิเยฟ คือ “สนามบินอลังการมาก... เฮ้ย นี่มันสนามบินในคอเคซัสเหรอเนี่ย...”
ความรู้สึกต่อมาคือ “รถแท็กซี่น่ารักมา ทำไม่ช่างกระจุ๋มกระจิ๋ม บ้องแบ๊ว...”
และยิ่งแท็กซี่ขับเข้าเมืองก็ยิ่งตื่นตาตื่นใจ เพราะเพราะบ้านเมืองบากูนั้นสวยงามรุ่งเรือง ลักษณะสถาปัตยกรรมไม่คล้ายอาหรับ แต่กลับกระเดียดไปทางยุโรป
ตามคติจีนนั้นสรรพสิ่งแบ่งเป็นสองขั้ว คือ “หยิน” หรือ ความเย็น, ความอ่อน, ความสงบนิ่ง กับ “หยาง” ซึ่งคือพลัง, ความร้อน, การสร้างสรรค์, การเปลี่ยนแปลง ทั้งสองสิ่งผสมผสานประกอบเป็นสรรพสิ่ง ในหยินมีหยาง ในหยางมีหยิน
...ในแง่ดังกล่าวผมมองว่าอาร์เซอร์ไบจานเป็นประเทศที่มี “หยาง” รุนแรงอย่างยิ่ง...
คำว่า “อาร์เซอร์ไบจาน” แปลว่า "ดินแดนแห่งไฟศักดิ์สิทธิ์" เนื่องจากในแผ่นดินมีแก๊ซธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก จนเกิดปรากฏการณ์บ่อไฟลุกขึ้นมาเองจากผืนดินหลายจุด และเนื่องจากในสมัยโบราณดินแดนนี้เคยนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่ใช้ไฟในการบูชาพระเจ้า จึงนับเป็นสถานที่สำคัญของศาสนาด้วย
เรื่องน่ารู้คือ ชาวอาร์เซอร์ไบจานนั้นเรียกตนเองว่า “อาร์เซอริ” ซึ่งแปลตรงตัวว่า “ชาวไฟ” เมื่อเทียบกับอาร์ตซัคซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่านากอร์โน-คาราบัค แปลว่า “ภูเขาคาราบัค” สงครามระหว่างอาร์เซอร์ไบจาน-อาร์ตซัคจึงอาจเรียกอย่างแฟนตาซีหน่อยว่าเป็น “สงครามระหว่างชาวไฟ กับชาวภูเขา” ก็ได้
ชาวอาร์เซอร์ไบจานใช้รายได้จากน้ำมันไปในการเนรมิตบ้านเมืองของเขา เมืองหลวงบากูนั้นเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างที่ทันสมัย อลังการ เรียกว่าสวยงามไม่แพ้เมืองหลวงยุโรปใดๆ ที่ผมเคยไปมาเลย
อันนี้ศูนย์วัฒนธรรม
“ตึกไฟ” ซึ่งแสดงสัญลักษณ์ของชนชาติ ตอนกลางคืนมีการเปิดกราฟฟิครูปไฟลุกบนตึก
อาร์เซอร์ไบจานปกครองด้วยระบอบท่านผู้นำสืบต่อแบบราชวงศ์พ่อสู่ลูกเหมือนเกาหลีเหนือ ท่านผู้นำคนปัจจุบันชื่ออิลฮัม อาลิเยฟ เป็นบุตรของท่านผู้นำคนก่อนคือเฮย์ดาร์ อาลิเยฟ ซึ่งมีการเอาชื่อไปตั้งสนามบิน อนึ่งครอบครัวนี้ปกครองประเทศมาเกือบสามสิบปีแล้ว
อิลฮัม อาลิเยฟ
แม้เป็นประเทศอิสลาม แต่อาร์เซอร์ไบจานไม่เคร่งเลย ไม่เคร่งขนาดไหนดูจากหุ่นเมียท่านผู้นำตามภาพแนบได้
เมียท่านผู้นำ
เมืองบากูท่านอาจพบผู้หญิงแต่งโป๊ และผู้หญิงคลุมดำเดินสลับกันขวักไขว่ มีตั้งแต่โป๊ถึงขั้นอีกนิดก็ชุดว่ายน้ำ และเคร่งถึงขั้นสวมดำทั้งตัวแล้วยังต้องมีกรงปิดหน้า และมีผู้ชายคล้ายเกย์เดินควงแขนกันให้เห็นบ้าง ก็ดูเสรีดี ใครอยากทำอะไรก็ทำ
นี่มาเป็นแก๊งชุดดำทีเดียว (ไม่ต้องหาผู้หญิงแต่งโป๊นะครับ ผมไม่ได้ไปไล่ถ่ายเขา)
ย่านเมืองเก่า
บรรยากาศในบาคู
นี่เล่นหมากรุกกัน
อาหาร ขนมและชาคล้ายอิหร่าน
เห็นแบบนี้อาร์เซอร์ไบจานมีวัฒนธรรมที่เก่าแก่เป็นเอกลักษณ์ ผมได้อ่านเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของเขา ว่าพวกเขามีโรงเรียนสอนศิลปะที่ผสมผสานระหว่างแนวทางจีน (ซึ่งสืบมาในวัฒนธรรมเติร์ก) และแนวทางเปอร์เซียอย่างลงตัว
ศิลปะเปอร์เซียปนจีน รู้สึกดีใจที่พิพิธภัณฑ์เขาให้ถ่ายภาพด้วย
ดินแดนนี้เคยเป็นที่อยู่ของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อารมณ์ประมาณอิลลูมินาติเมืองแขก ที่ศึกษาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เภสัชศาสตร์ไปปนๆ กับปรัชญาอิสลาม และได้สร้างสรรค์วิทยาการให้แก่โลกเป็นอันมาก
เครื่องมือของนักวิทยาศาสตร์โบราณ
นอกจากนั้นอาร์เซอร์ไบจานยังรุ่งเรืองในด้านวรรณคดี มีกวีเก่งๆ จำนวนมาก และยังมีศิลปะการต่อสู้แบบมวยปล้ำที่มีประวัติเก่าแก่อีกด้วย
ภาพนักมวยปล้ำ แท่งๆ นี้คือกระบอง
ผมเดินออกจากพิพิธภัณฑ์เล็กน้อย ก็มาถึงหอคอย Maiden Tower ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองบากู
ตามตำนานที่แห่งนี้เคยเป็นวิหารไฟของศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่ซึ่งมีไฟศักดิ์สิทธิ์ลุกโชนตลอดเวลา วันหนึ่งมีข้าศึกบุกเมือง ประชาชนก็หลบเข้าไปอยู่ในหอคอย แล้วสวดอ้อนวอนให้พระเจ้าช่วย ทันใดนั้นไฟศักดิ์สิทธิ์ได้แลบเปลวออกมาแถบหนึ่ง กลายเป็นสตรีผมแดงเหมือนไฟ รูปโฉมงดงามกว่าหญิงใดๆ
สตรีผมแดงบอกว่าตนจะปกป้องชาวเมืองเอง จึงสวมเกราะปิดหน้าไปท้าแม่ทัพข้าศึกสู้ตัวต่อตัว แม่ทัพข้าศึกรับคำท้า ทั้งสองจึงสู้กันอย่างดุเดือด จนในที่สุดสตรีผมแดงเป็นฝ่ายชนะ
แม่ทัพข้าศึกยอมแพ้จะสั่งถอยทัพ แต่ขอดูหน้าฝ่ายตรงข้ามหน่อย และพอพบว่านางเป็นสตรีหน้าตาสวยงามก็หลงรักในทันที จึงขอแต่งงาน สตรีผมแดงหลงรักแม่ทัพข้าศึกเช่นกันก็ยอมตกลง (อาจจะเพราะสู้เก่งหรืออะไรก็ตาม) ทั้งหมดจึงลงเอยกันอย่างแฮปปี้ๆ
อีกตำนานบอกว่าหอคอยนี้ชื่อ Maiden Tower เพราะยืนยงมานานไม่เคยถูกทำลายเปรียบเสมือนสตรีบริสุทธิ์ไม่เคยต้องมือชาย
ภายในหอคอยมีเจ็ดชั้น จนถึงชั้นสามมีปล่องให้ทะลุไปบ่อน้ำให้ตักกินได้กรณีถูกล้อม และมีท่อประปาทำจากเซรามิกลำเลียงตลอดทุกชั้น
หากมองจากด้านบนหอคอยนี้จะเป็นทรง "บูตะ" ที่แปลว่า "ไฟ" ในภาษาอินโดยูโรเปียน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโซโรอัสเตอร์ที่สืบมาในศิลปะอิสลาม
หอคอย Maiden Tower มองจากด้านบน
ลายบูตะ คนไทยเรียกลาย อะมีบา
นอกจากโบราณสถานแล้ว บาคูยังมีพิพิธภัณฑ์แปลกๆ มากมาย เช่นด้านล่างนี้คือพิพิธภัณฑ์หนังสือจิ๋ว
เมื่อปีที่แล้วพระเทพมาเยี่ยม และบริจาคหนังสือจิ๋วไทยเล็กไว้ด้วย
ผมท่องเที่ยวในบากูอยู่วันครึ่ง ในตอนต่อไปจะเป็นบทที่ผมขับรถออกนอกบากูไปตาม “ไฟศักดิ์สิทธิ์” ของอาร์เซอร์ไบจานบ้าง...
::: ::: :::
ประเทศอาร์เซอร์ไบจาน เมืองหลวงชื่อบากู มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน มีพื้นที่ใหญ่ประมาณภาคกลางประเทศไทย เนื่องจากมีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์จึงเคยมีความร่ำรวยเทียบเท่านานาชาติน้ำมันอาหรับ แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ประสบปัญหาราคาน้ำมันผันผวน ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวประชากรต่ำกว่าไทยเล็กน้อย สินค้าส่งออกสำคัญนอกจากน้ำมันแล้วยังมีฝ้าย กับเครื่องจักร มีความเจริญสูงสุดในหมู่รัฐคอเคซัส
พื้นที่มุมซ้ายล่างคือเขตปกครองนัคชีวัน เมื่อก่อนเคยเป็นแดนอาร์มีเนีย ต่อมาถูกอิหร่านย้ายคนอาร์มีเนียออกแล้วเอาคนเติร์กไปถม ต่อมาโซเวียตดำเนินนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง ยกให้แก่อาร์เซอร์ไบจาน จนคนอาร์มีเนียย้ายหนีออกหมด ปัจจุบันนัคชีวันจึงเหลือแต่ชาวเติร์ก และเป็นอาณาเขตเดียวของอาร์เซอร์ไบจานที่เชื่อมกับตุรกีได้ทางบก
เราสามารถขอวีซ่าอาร์เซอร์ไบจานจากทางอินเตอร์เน็ตได้ง่าย แต่มีข้อควรระวังคือหากมีวีซ่าอาร์มีเนียติดอยู่นพาสปอร์ตจะทำให้การเข้าอาร์เซอร์ไบจานมีความยุ่งยาก เพราะทั้งสองประเทศยังอยู่ในภาวะสงคราม เมื่อปี 2016 พวกเขาเปิดศึกใหญ่กันมีคนตายไปพันกว่าคน (จะได้เล่าต่อไป) และจนปัจจุบันก็ยังกระทบกระทั่งเรื่อยๆ
ธงอาร์เซอร์ไบจาน
ความรู้สึกแรกที่ผมได้รับ เมื่อเครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยานเฮย์ดาร์ อาลิเยฟ คือ “สนามบินอลังการมาก... เฮ้ย นี่มันสนามบินในคอเคซัสเหรอเนี่ย...”
ความรู้สึกต่อมาคือ “รถแท็กซี่น่ารักมา ทำไม่ช่างกระจุ๋มกระจิ๋ม บ้องแบ๊ว...”
และยิ่งแท็กซี่ขับเข้าเมืองก็ยิ่งตื่นตาตื่นใจ เพราะเพราะบ้านเมืองบากูนั้นสวยงามรุ่งเรือง ลักษณะสถาปัตยกรรมไม่คล้ายอาหรับ แต่กลับกระเดียดไปทางยุโรป
ตามคติจีนนั้นสรรพสิ่งแบ่งเป็นสองขั้ว คือ “หยิน” หรือ ความเย็น, ความอ่อน, ความสงบนิ่ง กับ “หยาง” ซึ่งคือพลัง, ความร้อน, การสร้างสรรค์, การเปลี่ยนแปลง ทั้งสองสิ่งผสมผสานประกอบเป็นสรรพสิ่ง ในหยินมีหยาง ในหยางมีหยิน
...ในแง่ดังกล่าวผมมองว่าอาร์เซอร์ไบจานเป็นประเทศที่มี “หยาง” รุนแรงอย่างยิ่ง...
คำว่า “อาร์เซอร์ไบจาน” แปลว่า "ดินแดนแห่งไฟศักดิ์สิทธิ์" เนื่องจากในแผ่นดินมีแก๊ซธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก จนเกิดปรากฏการณ์บ่อไฟลุกขึ้นมาเองจากผืนดินหลายจุด และเนื่องจากในสมัยโบราณดินแดนนี้เคยนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่ใช้ไฟในการบูชาพระเจ้า จึงนับเป็นสถานที่สำคัญของศาสนาด้วย
เรื่องน่ารู้คือ ชาวอาร์เซอร์ไบจานนั้นเรียกตนเองว่า “อาร์เซอริ” ซึ่งแปลตรงตัวว่า “ชาวไฟ” เมื่อเทียบกับอาร์ตซัคซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่านากอร์โน-คาราบัค แปลว่า “ภูเขาคาราบัค” สงครามระหว่างอาร์เซอร์ไบจาน-อาร์ตซัคจึงอาจเรียกอย่างแฟนตาซีหน่อยว่าเป็น “สงครามระหว่างชาวไฟ กับชาวภูเขา” ก็ได้
ชาวอาร์เซอร์ไบจานใช้รายได้จากน้ำมันไปในการเนรมิตบ้านเมืองของเขา เมืองหลวงบากูนั้นเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างที่ทันสมัย อลังการ เรียกว่าสวยงามไม่แพ้เมืองหลวงยุโรปใดๆ ที่ผมเคยไปมาเลย
อันนี้ศูนย์วัฒนธรรม
“ตึกไฟ” ซึ่งแสดงสัญลักษณ์ของชนชาติ ตอนกลางคืนมีการเปิดกราฟฟิครูปไฟลุกบนตึก
อาร์เซอร์ไบจานปกครองด้วยระบอบท่านผู้นำสืบต่อแบบราชวงศ์พ่อสู่ลูกเหมือนเกาหลีเหนือ ท่านผู้นำคนปัจจุบันชื่ออิลฮัม อาลิเยฟ เป็นบุตรของท่านผู้นำคนก่อนคือเฮย์ดาร์ อาลิเยฟ ซึ่งมีการเอาชื่อไปตั้งสนามบิน อนึ่งครอบครัวนี้ปกครองประเทศมาเกือบสามสิบปีแล้ว
อิลฮัม อาลิเยฟ
แม้เป็นประเทศอิสลาม แต่อาร์เซอร์ไบจานไม่เคร่งเลย ไม่เคร่งขนาดไหนดูจากหุ่นเมียท่านผู้นำตามภาพแนบได้
เมียท่านผู้นำ
เมืองบากูท่านอาจพบผู้หญิงแต่งโป๊ และผู้หญิงคลุมดำเดินสลับกันขวักไขว่ มีตั้งแต่โป๊ถึงขั้นอีกนิดก็ชุดว่ายน้ำ และเคร่งถึงขั้นสวมดำทั้งตัวแล้วยังต้องมีกรงปิดหน้า และมีผู้ชายคล้ายเกย์เดินควงแขนกันให้เห็นบ้าง ก็ดูเสรีดี ใครอยากทำอะไรก็ทำ
นี่มาเป็นแก๊งชุดดำทีเดียว (ไม่ต้องหาผู้หญิงแต่งโป๊นะครับ ผมไม่ได้ไปไล่ถ่ายเขา)
ย่านเมืองเก่า
บรรยากาศในบาคู
นี่เล่นหมากรุกกัน
อาหาร ขนมและชาคล้ายอิหร่าน
เห็นแบบนี้อาร์เซอร์ไบจานมีวัฒนธรรมที่เก่าแก่เป็นเอกลักษณ์ ผมได้อ่านเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของเขา ว่าพวกเขามีโรงเรียนสอนศิลปะที่ผสมผสานระหว่างแนวทางจีน (ซึ่งสืบมาในวัฒนธรรมเติร์ก) และแนวทางเปอร์เซียอย่างลงตัว
ศิลปะเปอร์เซียปนจีน รู้สึกดีใจที่พิพิธภัณฑ์เขาให้ถ่ายภาพด้วย
ดินแดนนี้เคยเป็นที่อยู่ของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อารมณ์ประมาณอิลลูมินาติเมืองแขก ที่ศึกษาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เภสัชศาสตร์ไปปนๆ กับปรัชญาอิสลาม และได้สร้างสรรค์วิทยาการให้แก่โลกเป็นอันมาก
เครื่องมือของนักวิทยาศาสตร์โบราณ
นอกจากนั้นอาร์เซอร์ไบจานยังรุ่งเรืองในด้านวรรณคดี มีกวีเก่งๆ จำนวนมาก และยังมีศิลปะการต่อสู้แบบมวยปล้ำที่มีประวัติเก่าแก่อีกด้วย
ภาพนักมวยปล้ำ แท่งๆ นี้คือกระบอง
ผมเดินออกจากพิพิธภัณฑ์เล็กน้อย ก็มาถึงหอคอย Maiden Tower ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองบากู
ตามตำนานที่แห่งนี้เคยเป็นวิหารไฟของศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่ซึ่งมีไฟศักดิ์สิทธิ์ลุกโชนตลอดเวลา วันหนึ่งมีข้าศึกบุกเมือง ประชาชนก็หลบเข้าไปอยู่ในหอคอย แล้วสวดอ้อนวอนให้พระเจ้าช่วย ทันใดนั้นไฟศักดิ์สิทธิ์ได้แลบเปลวออกมาแถบหนึ่ง กลายเป็นสตรีผมแดงเหมือนไฟ รูปโฉมงดงามกว่าหญิงใดๆ
สตรีผมแดงบอกว่าตนจะปกป้องชาวเมืองเอง จึงสวมเกราะปิดหน้าไปท้าแม่ทัพข้าศึกสู้ตัวต่อตัว แม่ทัพข้าศึกรับคำท้า ทั้งสองจึงสู้กันอย่างดุเดือด จนในที่สุดสตรีผมแดงเป็นฝ่ายชนะ
แม่ทัพข้าศึกยอมแพ้จะสั่งถอยทัพ แต่ขอดูหน้าฝ่ายตรงข้ามหน่อย และพอพบว่านางเป็นสตรีหน้าตาสวยงามก็หลงรักในทันที จึงขอแต่งงาน สตรีผมแดงหลงรักแม่ทัพข้าศึกเช่นกันก็ยอมตกลง (อาจจะเพราะสู้เก่งหรืออะไรก็ตาม) ทั้งหมดจึงลงเอยกันอย่างแฮปปี้ๆ
อีกตำนานบอกว่าหอคอยนี้ชื่อ Maiden Tower เพราะยืนยงมานานไม่เคยถูกทำลายเปรียบเสมือนสตรีบริสุทธิ์ไม่เคยต้องมือชาย
ภายในหอคอยมีเจ็ดชั้น จนถึงชั้นสามมีปล่องให้ทะลุไปบ่อน้ำให้ตักกินได้กรณีถูกล้อม และมีท่อประปาทำจากเซรามิกลำเลียงตลอดทุกชั้น
หากมองจากด้านบนหอคอยนี้จะเป็นทรง "บูตะ" ที่แปลว่า "ไฟ" ในภาษาอินโดยูโรเปียน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโซโรอัสเตอร์ที่สืบมาในศิลปะอิสลาม
หอคอย Maiden Tower มองจากด้านบน
ลายบูตะ คนไทยเรียกลาย อะมีบา
นอกจากโบราณสถานแล้ว บาคูยังมีพิพิธภัณฑ์แปลกๆ มากมาย เช่นด้านล่างนี้คือพิพิธภัณฑ์หนังสือจิ๋ว
เมื่อปีที่แล้วพระเทพมาเยี่ยม และบริจาคหนังสือจิ๋วไทยเล็กไว้ด้วย
ผมท่องเที่ยวในบากูอยู่วันครึ่ง ในตอนต่อไปจะเป็นบทที่ผมขับรถออกนอกบากูไปตาม “ไฟศักดิ์สิทธิ์” ของอาร์เซอร์ไบจานบ้าง...
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ปัจจุบันสงครามระหว่างอาร์มีเนีย และอาร์เซอร์ไบจานยังดำเนินอยู่ทุกรูปแบบ
ในการแข่งขันยูโรวิชั่น (Eurovision) ซึ่งเป็นรายการประกวดดนตรีใหญ่ของยุโรปนั้น ทั้งอาร์มีเนีย และอาร์เซอร์ไบจานต่างเปลี่ยนมันเป็นเวทีการเมือง ทำการโฆษณาโจมตีกันอยู่เสมอ
ปี 2009 อาร์มีเนียเอาภาพรูปปั้นตา-ยาย We are our Mountains ไปสอดแทรกในการแสดง พออาร์เซอร์ไบจานประท้วง พวกเขาก็เอารูปออกจากการแสดง แต่แกล้งใส่ในฉากหลังงานโหวต และใบประกาศผล
รัฐบาลอาร์เซอร์ไบจานเกรี้ยวกราดมากก็เรียกประชาชนของตนที่โหวตให้อาร์มีเนียไปสอบสวน จนตัวแทนอาร์เซอร์ไบจานถูกรายการยูโรวิชันเรียกปรับ...
ปี 2011 นักร้องอาร์เซอร์ไบจานได้รับชัยชนะในงานยูโรวิชัน รัฐบาลอาร์เซอร์ไบจานดีใจก็รับเป็นเจ้าภาพจัดงานยูโรวิชั่นปี 2012 พวกเขาถึงแก่แก้กฎอนุญาตให้ชาวอาร์มีเนียเข้าประเทศได้ชั่วคราว เพื่อมาร่วมในงานแสดง (ปกติชาวอาร์มีเนียถูกห้ามเข้าอาร์เซอร์ไบจานเด็ดขาด)
แต่ปรากฏว่านักร้องอาร์มีเนียต่างพากันบอยคอต ไม่ยอมเข้าร่วมงานประกวดเพราะเกลียดอาร์เซอร์ไบจาน
อาร์เซอร์ไบจานตำหนิการกระทำนั้นอย่างแรง บอกว่าอาร์มีเนียไม่แสวงหาสันติภาพ ทำให้ทุกอย่างแย่ลง…
สัญลักษณ์งานปี 2012
ปี 2015 นักร้องอาร์มีเนียเอาเพลงต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาร้องใส่อาร์เซอร์ไบจานอีก แม้ผู้จัดยูโรวิชั่นจะย้ำนักย้ำหนาว่าอย่าเอาการเมืองมาปนกับดนตรี ก็ไม่เป็นผล
นักร้องอาร์มีเนียปี 2015 ร้องเพลงเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ปี 2016 ตัวแทนอาร์มีเนียเอาธงอาร์ตซัคมาชูระหว่างสัมภาษณ์ในรอบเซมิไฟนอล แล้วบอกว่ารักชาติเหลือเกิน อาร์เซอร์ไบจานประท้วงจนไม่รู้จะประท้วงยังไง แต่ผมว่าถึงขั้นนี้เขาน่าจะเริ่มเบื่อแล้ว...
ปี 2016 เช่นกัน เกิดการปะทะใหญ่ระหว่างอาร์เซอร์ไบจาน และอาร์มีเนีย ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามเริ่มก่อน
สงครามนี้เรียกว่า “สงครามสี่วัน” มีการใช้ทั้งเฮลิคอปเตอร์รบ และรถถังในศึกดังกล่าว มีคนตายกว่าพันคน มีประชาชนถูกลูกหลงเป็นจำนวนมาก ผลสรุปคืออาร์เซอร์ไบจานชนะเล็กน้อย สามารถยึดพื้นที่อาร์ตซัคมาได้ 8-20 ตารางกิโลเมตร
จนทุกวันนี้ สงครามดังกล่าวก็ยังดำเนินอยู่...
แม้อาร์เซอร์ไบจานจะถูกจับให้ตกอยู่ในปัญหาที่พวกเขาไม่ได้ก่อ แต่ท่ามกลางความขัดแย้งยาวนาน “ความแค้น” นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ทำให้มันกลายเป็นปัญหาของเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ชาวไฟมีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มาก ทั้งยังได้รับน้ำมันอันเปรียบเหมือนของขวัญจากพระเจ้า
ขณะเดียวกันพวกเขาก็ได้รับคำสาปซึ่งยากหลุดพ้น จากความขัดแย้ง และการไม่สามารถ identify ตัวเองกับใคร
พร และคำสาป เชื้อชาติ และวัฒนธรรมอันหลากหลาย หลอมรวมเข้าด้วยกันในเบ้าแห่งกองไฟอันศักดิ์สิทธิ์...
...และนี่เองคือ "กรรม" อันพิเศษพิสดารของอาร์เซอร์ไบจาน
ในการแข่งขันยูโรวิชั่น (Eurovision) ซึ่งเป็นรายการประกวดดนตรีใหญ่ของยุโรปนั้น ทั้งอาร์มีเนีย และอาร์เซอร์ไบจานต่างเปลี่ยนมันเป็นเวทีการเมือง ทำการโฆษณาโจมตีกันอยู่เสมอ
ปี 2009 อาร์มีเนียเอาภาพรูปปั้นตา-ยาย We are our Mountains ไปสอดแทรกในการแสดง พออาร์เซอร์ไบจานประท้วง พวกเขาก็เอารูปออกจากการแสดง แต่แกล้งใส่ในฉากหลังงานโหวต และใบประกาศผล
รัฐบาลอาร์เซอร์ไบจานเกรี้ยวกราดมากก็เรียกประชาชนของตนที่โหวตให้อาร์มีเนียไปสอบสวน จนตัวแทนอาร์เซอร์ไบจานถูกรายการยูโรวิชันเรียกปรับ...
ปี 2011 นักร้องอาร์เซอร์ไบจานได้รับชัยชนะในงานยูโรวิชัน รัฐบาลอาร์เซอร์ไบจานดีใจก็รับเป็นเจ้าภาพจัดงานยูโรวิชั่นปี 2012 พวกเขาถึงแก่แก้กฎอนุญาตให้ชาวอาร์มีเนียเข้าประเทศได้ชั่วคราว เพื่อมาร่วมในงานแสดง (ปกติชาวอาร์มีเนียถูกห้ามเข้าอาร์เซอร์ไบจานเด็ดขาด)
แต่ปรากฏว่านักร้องอาร์มีเนียต่างพากันบอยคอต ไม่ยอมเข้าร่วมงานประกวดเพราะเกลียดอาร์เซอร์ไบจาน
อาร์เซอร์ไบจานตำหนิการกระทำนั้นอย่างแรง บอกว่าอาร์มีเนียไม่แสวงหาสันติภาพ ทำให้ทุกอย่างแย่ลง…
สัญลักษณ์งานปี 2012
ปี 2015 นักร้องอาร์มีเนียเอาเพลงต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาร้องใส่อาร์เซอร์ไบจานอีก แม้ผู้จัดยูโรวิชั่นจะย้ำนักย้ำหนาว่าอย่าเอาการเมืองมาปนกับดนตรี ก็ไม่เป็นผล
นักร้องอาร์มีเนียปี 2015 ร้องเพลงเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ปี 2016 ตัวแทนอาร์มีเนียเอาธงอาร์ตซัคมาชูระหว่างสัมภาษณ์ในรอบเซมิไฟนอล แล้วบอกว่ารักชาติเหลือเกิน อาร์เซอร์ไบจานประท้วงจนไม่รู้จะประท้วงยังไง แต่ผมว่าถึงขั้นนี้เขาน่าจะเริ่มเบื่อแล้ว...
ปี 2016 เช่นกัน เกิดการปะทะใหญ่ระหว่างอาร์เซอร์ไบจาน และอาร์มีเนีย ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามเริ่มก่อน
สงครามนี้เรียกว่า “สงครามสี่วัน” มีการใช้ทั้งเฮลิคอปเตอร์รบ และรถถังในศึกดังกล่าว มีคนตายกว่าพันคน มีประชาชนถูกลูกหลงเป็นจำนวนมาก ผลสรุปคืออาร์เซอร์ไบจานชนะเล็กน้อย สามารถยึดพื้นที่อาร์ตซัคมาได้ 8-20 ตารางกิโลเมตร
จนทุกวันนี้ สงครามดังกล่าวก็ยังดำเนินอยู่...
แม้อาร์เซอร์ไบจานจะถูกจับให้ตกอยู่ในปัญหาที่พวกเขาไม่ได้ก่อ แต่ท่ามกลางความขัดแย้งยาวนาน “ความแค้น” นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ทำให้มันกลายเป็นปัญหาของเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ชาวไฟมีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มาก ทั้งยังได้รับน้ำมันอันเปรียบเหมือนของขวัญจากพระเจ้า
ขณะเดียวกันพวกเขาก็ได้รับคำสาปซึ่งยากหลุดพ้น จากความขัดแย้ง และการไม่สามารถ identify ตัวเองกับใคร
พร และคำสาป เชื้อชาติ และวัฒนธรรมอันหลากหลาย หลอมรวมเข้าด้วยกันในเบ้าแห่งกองไฟอันศักดิ์สิทธิ์...
...และนี่เองคือ "กรรม" อันพิเศษพิสดารของอาร์เซอร์ไบจาน
ความคิดเห็นที่ 2
ผมเป็นคนชอบขับรถเที่ยว ไปที่ไหน ก็มักหาโอกาสขับรถเที่ยวเสมอ สำหรับท่านที่อยากตามรอยผมในการขับรถเที่ยวอาร์เซอร์ไบจาน ผมก็ขอสนับสนุน เพราะถนนที่นี่โล่งกว้าง ราดยางดี วิวชนบทอาร์เซอร์ไบจานสวยงามมาก น้ำมันเบนซินลิตรละไม่ถึง 20 บาท ปั้มมีเด็กปั้มบริการ ที่จอดรถหาไม่ยาก
ถนนอาร์เซอร์ไบจานกว้างขวาง สภาพดี ซึ่งแตกต่างจากรัฐคอเคซัสอื่นๆ อย่างชัดเจน ถนนในจอร์เจียนั้นมีสองเลนก็บุญแล้ว
อย่างไรก็ตามมีเรื่องที่ท่านต้องระวังอยู่สามข้อ ได้แก่:
1. Google map ใช้กับประเทศนี้ไม่ได้ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่มันไม่ navigate ให้ มีแต่ preview ว่าปัจจุบันอยู่จุดไหน ต้องใช้คลำๆ ทาง แต่สรุปแล้วผมขับได้ไม่มีปัญหา
2. อ่านรีวิวว่าตำรวจที่นี่เป็นมาเฟีย ชอบไถรถนักท่องเที่ยว และทะเบียนรถเช่านั้นเป็นสีเหลือง ต่างจากรถปกติที่ทะเบียนสีขาวเห็นชัดเจน ตัวผมขับรถสองวันไม่เจอตำรวจไถ แต่รีวิวในเน็ตโดนกันหลายคน มีคนแนะนำว่าถ้าเจอจริงๆ แล้วมั่นใจว่าตนเองไม่ผิด ก็แค่ไม่ยอมจ่าย มันทำอะไรเราไม่ได้ก็ปล่อยมาเอง (นั่นคืออย่ายอมให้มันยึดพาสปอร์ตนะ)
ทะเบียนรถเช่าเป็นสีเหลือง
3. เนื่องจากผมอ่านรีวิวแล้วกลัวตำรวจไถ เลยพยายามขับอย่างระวังเป็นพิเศษ ปรากฏว่าชาวอาร์เซอริไม่ระวังกับเรา ขับแซงทั้งซายและขวา ปาดโน่นปาดนี่ บีบแตร ยูเทินจุดห้ามยู ไม่รู้พวกพี่จะใจร้อนไปไหน สรุปคือคนขับรถอาเซอร์ไบจาน, รัฐคอเคซัสทุกประเทศ ตลอดไปจนถึงอิหร่านที่ผมเคยไปเที่ยวมาปีก่อนนั้น มีเลเวลความใจหมาสูงกว่ากรุงเทพฯ นัก ถ้าอยากเที่ยวสบายๆ ก็อย่าเสี่ยงขับเองเลยครับ
แม้เมืองหลวงบากูจะเจริญทัดเทียมนานามหานครยุโรป แต่ออกนอกเมืองมาเพียงยี่สิบกิโลเมตรก็จะพบกับที่ราบว่างเปล่าสุดลูกหูลูกตา
ในจุดนี้ร้านอาหารข้างทางหายากมาก ร้านที่ผมพบขายอาหารแค่อย่างเดียวคือไก่ผัดมันฝรั่ง รสชาติเฉยๆ สภาพร้านก็อย่างที่เห็น สภาพห้องน้ำทุเรศทุรังจนไม่สามารถถ่ายมาได้
แต่พนักงานนิสัยดีครับ คุยกับผมไม่รู้เรื่องเลย แต่พอผมแนะนำให้รู้จัก Google Translate ก็ดีใจมาก ทำท่าขอบคุณโดยเอามือแตะอกแล้วค้อมหัว ดูเรียบร้อยน่ารักตามมารยาทแขก
จากนั้นพอผมขับขึ้นเขาก็เริ่มมีต้นไม้สีเขียวบ้าง ผมได้พบร้านขายน้ำผึ้ง และผลไม้กวนอัดแผ่นซึ่งมีการจัดวางที่น่าสนใจ
ซื้อมาทานพร้อมชุดน้ำชา มีแยมที่มีผลไม้เป็นลูกๆ ให้กินพร้อมกับแผ่นผลไม้กวน
ผมได้เดินทางไปถึงหลุมศพของดิริบาบา ผู้วิเศษของอิสลามที่มีอิทธิฤทธิ์มากอารมณ์น่าจะประมาณหลวงพ่อโต
เรายังได้ขับไปดูศิลปะหินโกบัสตาน
ภาพสลักจากคนโบราณ
อันนี้ไม่เกี่ยวกัน แต่ขับรถไปเจอคนทิ้งโซฟาไว้ข้างทาง สวยดีเลยถ่ายมาด้วย
ต่อจากนั้นเราได้ไปเยี่ยมวิหารไฟ อเทสกาห์ (Ateshgah) ซึ่งเป็นของเก่าของพวกโซโรอัสเตอร์ หลังจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ในดินแดนนี้ล่มสลาย ก็ยังมีพ่อค้าอินเดียที่เดินทางผ่านมาตามเส้นทางสายไหมใช้วิหารนี้เป็นที่บูชาพระอัคนีตามคติฮินดู ปรากฏว่ามีชื่อเสียงมากจนมีชาวฮินดูเดินทางมาจาริกแสวงบุญที่นี่มากมาย
ไฟในวิหาร
และแล้วหลังจากออกจากอเทสกาห์ในที่สุดผมก็ได้พบกับไฟศักดิ์สิทธิ์!
นี่คือยาร์นา- (Yanar Dag) หรือไฟจากบ่อแก๊ซธรรมชาติที่ลุกโชติช่วงไม่เคยดับมาไม่ทราบกี่พันปีแล้ว เป็นสิ่งที่ทำให้อาร์เซอร์ไบจานได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งไฟศักดิ์สิทธิ์" ท่านอาจจะเห็นรูปของมันที่ถูกถ่ายอย่างสวยงามในเว็บท่องเที่ยว แต่ของจริงเล็กๆ น่ารัก
อารมณ์ประมาณเผาหญ้าข้างบ้าน (ผิดหวังจนขำ)
สรุปรู้สึกตลกที่ไฟมันเล็กแค่นี้ แต่เห็นแบบนี้ฝนตก ลมพายุพัดมันก็ไม่เคยดับนะครับ คนโบราณคงรู้สึกอัศจรรย์จึงพากันกราบไหว้
ถนนอาร์เซอร์ไบจานกว้างขวาง สภาพดี ซึ่งแตกต่างจากรัฐคอเคซัสอื่นๆ อย่างชัดเจน ถนนในจอร์เจียนั้นมีสองเลนก็บุญแล้ว
อย่างไรก็ตามมีเรื่องที่ท่านต้องระวังอยู่สามข้อ ได้แก่:
1. Google map ใช้กับประเทศนี้ไม่ได้ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่มันไม่ navigate ให้ มีแต่ preview ว่าปัจจุบันอยู่จุดไหน ต้องใช้คลำๆ ทาง แต่สรุปแล้วผมขับได้ไม่มีปัญหา
2. อ่านรีวิวว่าตำรวจที่นี่เป็นมาเฟีย ชอบไถรถนักท่องเที่ยว และทะเบียนรถเช่านั้นเป็นสีเหลือง ต่างจากรถปกติที่ทะเบียนสีขาวเห็นชัดเจน ตัวผมขับรถสองวันไม่เจอตำรวจไถ แต่รีวิวในเน็ตโดนกันหลายคน มีคนแนะนำว่าถ้าเจอจริงๆ แล้วมั่นใจว่าตนเองไม่ผิด ก็แค่ไม่ยอมจ่าย มันทำอะไรเราไม่ได้ก็ปล่อยมาเอง (นั่นคืออย่ายอมให้มันยึดพาสปอร์ตนะ)
ทะเบียนรถเช่าเป็นสีเหลือง
3. เนื่องจากผมอ่านรีวิวแล้วกลัวตำรวจไถ เลยพยายามขับอย่างระวังเป็นพิเศษ ปรากฏว่าชาวอาร์เซอริไม่ระวังกับเรา ขับแซงทั้งซายและขวา ปาดโน่นปาดนี่ บีบแตร ยูเทินจุดห้ามยู ไม่รู้พวกพี่จะใจร้อนไปไหน สรุปคือคนขับรถอาเซอร์ไบจาน, รัฐคอเคซัสทุกประเทศ ตลอดไปจนถึงอิหร่านที่ผมเคยไปเที่ยวมาปีก่อนนั้น มีเลเวลความใจหมาสูงกว่ากรุงเทพฯ นัก ถ้าอยากเที่ยวสบายๆ ก็อย่าเสี่ยงขับเองเลยครับ
แม้เมืองหลวงบากูจะเจริญทัดเทียมนานามหานครยุโรป แต่ออกนอกเมืองมาเพียงยี่สิบกิโลเมตรก็จะพบกับที่ราบว่างเปล่าสุดลูกหูลูกตา
ในจุดนี้ร้านอาหารข้างทางหายากมาก ร้านที่ผมพบขายอาหารแค่อย่างเดียวคือไก่ผัดมันฝรั่ง รสชาติเฉยๆ สภาพร้านก็อย่างที่เห็น สภาพห้องน้ำทุเรศทุรังจนไม่สามารถถ่ายมาได้
แต่พนักงานนิสัยดีครับ คุยกับผมไม่รู้เรื่องเลย แต่พอผมแนะนำให้รู้จัก Google Translate ก็ดีใจมาก ทำท่าขอบคุณโดยเอามือแตะอกแล้วค้อมหัว ดูเรียบร้อยน่ารักตามมารยาทแขก
จากนั้นพอผมขับขึ้นเขาก็เริ่มมีต้นไม้สีเขียวบ้าง ผมได้พบร้านขายน้ำผึ้ง และผลไม้กวนอัดแผ่นซึ่งมีการจัดวางที่น่าสนใจ
ซื้อมาทานพร้อมชุดน้ำชา มีแยมที่มีผลไม้เป็นลูกๆ ให้กินพร้อมกับแผ่นผลไม้กวน
ผมได้เดินทางไปถึงหลุมศพของดิริบาบา ผู้วิเศษของอิสลามที่มีอิทธิฤทธิ์มากอารมณ์น่าจะประมาณหลวงพ่อโต
เรายังได้ขับไปดูศิลปะหินโกบัสตาน
ภาพสลักจากคนโบราณ
อันนี้ไม่เกี่ยวกัน แต่ขับรถไปเจอคนทิ้งโซฟาไว้ข้างทาง สวยดีเลยถ่ายมาด้วย
ต่อจากนั้นเราได้ไปเยี่ยมวิหารไฟ อเทสกาห์ (Ateshgah) ซึ่งเป็นของเก่าของพวกโซโรอัสเตอร์ หลังจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ในดินแดนนี้ล่มสลาย ก็ยังมีพ่อค้าอินเดียที่เดินทางผ่านมาตามเส้นทางสายไหมใช้วิหารนี้เป็นที่บูชาพระอัคนีตามคติฮินดู ปรากฏว่ามีชื่อเสียงมากจนมีชาวฮินดูเดินทางมาจาริกแสวงบุญที่นี่มากมาย
ไฟในวิหาร
และแล้วหลังจากออกจากอเทสกาห์ในที่สุดผมก็ได้พบกับไฟศักดิ์สิทธิ์!
นี่คือยาร์นา- (Yanar Dag) หรือไฟจากบ่อแก๊ซธรรมชาติที่ลุกโชติช่วงไม่เคยดับมาไม่ทราบกี่พันปีแล้ว เป็นสิ่งที่ทำให้อาร์เซอร์ไบจานได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งไฟศักดิ์สิทธิ์" ท่านอาจจะเห็นรูปของมันที่ถูกถ่ายอย่างสวยงามในเว็บท่องเที่ยว แต่ของจริงเล็กๆ น่ารัก
อารมณ์ประมาณเผาหญ้าข้างบ้าน (ผิดหวังจนขำ)
สรุปรู้สึกตลกที่ไฟมันเล็กแค่นี้ แต่เห็นแบบนี้ฝนตก ลมพายุพัดมันก็ไม่เคยดับนะครับ คนโบราณคงรู้สึกอัศจรรย์จึงพากันกราบไหว้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมเดินทางท่องเที่ยวในอาร์เซอร์ไบจานสามวัน ตามโปรแกรมการท่องเที่ยวคอเคซัสสี่ประเทศ (มีจอร์เจีย อาร์มีเนีย อาร์ตซัค อาร์เซอร์ไบจาน)
ความรู้สึกที่มีต่อประเทศนี้คือ ร้อน แห้ง กว้าง ยิ่งใหญ่ ปะปน สร้างสรรค์ มีการทำสิ่งต่างๆ เพื่อไขว่คว้าหาพื้นที่ของตนอยู่เสมอ...
คนอาร์เซอร์ไบจานนอนดึก แม้เลยเที่ยงคืนก็ออกมาเดินถนนชอปปิ้งกันขวักไขว่ ขณะเดียวกันก็ตื่นสายด้วย
ร้านน้ำชาข้างถนน
อันนี้ร้านพรม
มัสยิดทรงยุโรป
ตามที่เกริ่นข้างต้นบางท่านอาจสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับอาร์เซอร์ไบจาน หลังจากที่พวกเขาต้องพบว่าตนเองแปลกแยกจากทุกคนในภูมิภาค?
ถูกทั้งอิหร่านและรัสเซียทอดทิ้ง...
ชาติตะวันตกตำหนิว่าเป็นแขก...
ชาติคอเคซัสตำหนิว่าเป็นผู้รุกราน...
ชาติมุสลิมตำหนิว่าไม่เคร่ง...
ฉะนี้แล้วเขาไปอยู่กับใคร?
คำตอบนั้น... ให้เวลาทาย 5 วินาทีครับ...
5
4
3
2
1
เดาออกไหม?
...คำตอบคือเขาไปสวามิภักดิ์คนนี้ครับ...
ยิว!!!
...ก็ประมาณนั้นแหละครับ...
อาร์เซอร์ไบจานมีความสัมพันธ์อันดี และเป็นลูกค้าอาวุธรายใหญ่ของอิสราเอล
นอกจากนั้นพวกเขายังอ้าแขนรับพันธมิตรจากตุรกีที่แม้ไม่มีอะไรเหมือนกันนัก อย่างน้อยยังมีภาษา และรากเหง้าเดียวกัน
นั่นยิ่งทำให้อาร์มีเนียมองอาร์เซอร์ไบจานเป็นปีศาจเลวทรามมากกว่าเดิม แม้พวกเขาจะไม่เคยร่วมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อาร์มีเนียกับเติร์กตุรกีก็ตาม
ก็เลยจะดูเป็นเด็กมีปัญหาหน่อยๆ...
ความรู้สึกที่มีต่อประเทศนี้คือ ร้อน แห้ง กว้าง ยิ่งใหญ่ ปะปน สร้างสรรค์ มีการทำสิ่งต่างๆ เพื่อไขว่คว้าหาพื้นที่ของตนอยู่เสมอ...
คนอาร์เซอร์ไบจานนอนดึก แม้เลยเที่ยงคืนก็ออกมาเดินถนนชอปปิ้งกันขวักไขว่ ขณะเดียวกันก็ตื่นสายด้วย
ร้านน้ำชาข้างถนน
อันนี้ร้านพรม
มัสยิดทรงยุโรป
ตามที่เกริ่นข้างต้นบางท่านอาจสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับอาร์เซอร์ไบจาน หลังจากที่พวกเขาต้องพบว่าตนเองแปลกแยกจากทุกคนในภูมิภาค?
ถูกทั้งอิหร่านและรัสเซียทอดทิ้ง...
ชาติตะวันตกตำหนิว่าเป็นแขก...
ชาติคอเคซัสตำหนิว่าเป็นผู้รุกราน...
ชาติมุสลิมตำหนิว่าไม่เคร่ง...
ฉะนี้แล้วเขาไปอยู่กับใคร?
คำตอบนั้น... ให้เวลาทาย 5 วินาทีครับ...
5
4
3
2
1
เดาออกไหม?
...คำตอบคือเขาไปสวามิภักดิ์คนนี้ครับ...
ยิว!!!
...ก็ประมาณนั้นแหละครับ...
อาร์เซอร์ไบจานมีความสัมพันธ์อันดี และเป็นลูกค้าอาวุธรายใหญ่ของอิสราเอล
นอกจากนั้นพวกเขายังอ้าแขนรับพันธมิตรจากตุรกีที่แม้ไม่มีอะไรเหมือนกันนัก อย่างน้อยยังมีภาษา และรากเหง้าเดียวกัน
นั่นยิ่งทำให้อาร์มีเนียมองอาร์เซอร์ไบจานเป็นปีศาจเลวทรามมากกว่าเดิม แม้พวกเขาจะไม่เคยร่วมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อาร์มีเนียกับเติร์กตุรกีก็ตาม
ก็เลยจะดูเป็นเด็กมีปัญหาหน่อยๆ...
แสดงความคิดเห็น
*** Azerbaijan เด็กกำพร้ากลางกองเพลิง ***
ในโลกนี้มีอยู่สถานที่หนึ่ง...
ชาวพื้นเมืองเป็นคนอัธยาศัยดี เขาต้อนรับคุณเข้าไปในบ้านทันทีที่พบ
เขาเลี้ยงดูด้วยชา ใช้ทั้ง แก้ว ถ้วย และชนิดใบชาเหมือนอิหร่าน แถมยังใส่น้ำตาลเยอะๆ เหมือนกัน
...และเมื่อคุณกำลังฟินกับการดื่มชา เขาก็เริ่มยกวอดก้ามาแกล้ม!
เขาทักทายคุณด้วยคำว่า “ซาลาม…” (สวัสดี ในภาษาอาหรับ)
แต่เมื่อยกวอดก้าซด เขาก็ร้องว่า “นัสดโรเวีย!” (เพื่อสุขภาพ ในภาษารัสเซีย)
...คนในบ้านเขา มีทั้งหน้าเหมือนแขก หน้าเหมือนฝรั่ง และบางคนก็หน้าตาคล้ายๆ คุณ
...ภาพมัสยิดบนฝาผนัง ทำให้คุณทราบว่าเขานับถือมุสลิม
...แต่เมื่อลูกสาวคนเล็กของเขาเดินออกมาจากหลังบ้าน คุณต้องพบว่าเธอแต่งตัวแซ่บมาก
แล้วทุกคนก็มาร่วมดื่มวอดก้า แล้วเริ่มเต้นระบำคอเคซัสฉลองกัน! (จริงๆ มันแปลกตั้งแต่มีวอดก้าแล้วสินะ)
...ท่ามกลางความ “เอิ่ม...” นับไม่ถ้วนที่อาจเกิดขึ้น ผมอยากให้ตระหนักว่า หากท่านพบส่วนผสมอันแปลกประหลาดเหล่านี้ที่ใด...
ก็จงทราบได้เลยว่าท่านมาถึงอาร์เซอร์ไบจานแล้ว...
...นั่งต่ออีกนิดเถิดครับ
จิบชา และวอดก้าให้สบาย
...ผมจะเล่าเรื่องราวของประเทศนี้ให้ฟังโดยพิสดาร...
::: ::: :::
เรื่องราวของอาร์เซอร์ไบจาน เริ่มจากสองอย่าง...
หนึ่งคือเทือกเขาอัลไต...
(ไม่ได้ล้อเล่นนะ!)
...สองคือซีรีย์จีน เรื่อง “ลำนำทะเลทราย” (นำแสดงโดยหลิวซือซือ กับเอ็ดดี้เผิง)
(นี่ก็ไม่ได้ล้อเล่น!)
...ประเด็นคือ พระเอกเรื่องนี้ เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ชื่อขุนพลฮั่วชี้ปิ้ง
ในเรื่องแผ่นดินจีนเดือดร้อนลุกเป็นไฟ จากการรุกรานของชนเผ่าป่าเถื่อน ชื่อพวก “ซงหนู” ที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต (ปัจจุบันน่าจะทราบกันแล้วว่าคนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไตนะครับ หลักฐานล่าสุดบ่งชี้ว่าคนไทยน่าจะเคยเป็นอะไรที่เจ๋งกว่านั้น เช่น “แคว้นเยว่” ...but that’s another story)
พวกซงหนู ไม่ชอบเพาะปลูก ชอบแต่ล่าสัตว์ เด็กซงหนูอายุสามขวบใช้ธนูได้ อายุห้าขวบขี่ม้าได้ วัฒนธรรมของพวกสอนให้ผู้ชายทุกคนฝึกปรือฝีมือขี่ม้ายิงธนูจนกลายเป็นนักรบชั้นเยี่ยม พอมีกำลังมากขึ้นก็ออกปล้นฆ่าราษฎรชาวฮั่นที่รู้จักแต่ทำนาค้าขาย กวาดต้อนทรัพยากรมาสร้างอาณาจักรขึ้นด้วยความอำมหิต
ฉินสื่อหวงตี้สร้างกำแพงเมืองจีนขึ้นก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชาวซงหนู
พอถึงราชวงศ์ฮั่น ชาวจีนไม่อาจทนการรุกรานอีกต่อไป จึงทำสงครามตอบโต้ ปรากฏยอดขุนพลหนุ่มชื่อฮั่วชี้ปิ้ง นำทัพกำราบพวกคนเถื่อนอย่างกล้าหาญ ปราบปรามจนอาณาจักรซงหนูล่มสลาย
ผลงานของฮั่วชี้ปิ้งทำให้ซงหนูอ่อนแอลงมาก แตกแยกเป็นหลายส่วน พวกซงหนูใต้ค่อยๆ เรียนรู้วัฒนธรรมฮั่น และมีส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์จีนต่อไป ส่วนซงหนูเหนือถูกชาวฮั่นยุคต่อมาบุกปราบอีก จนสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน ต้องพากันอพยพหลบหนีไปทางตะวันตก
ตอนนั้นคนจีนนึกว่าไล่ซงหนูไปก็จบเรื่องราวแล้ว...
ประเด็นคือที่ตะวันตกโพ้นนั้นยังมีบ้านเมืองที่ไม่ทนทานต่อวิธีการรบแบบขี่ม้ายิงธนูของชาวป่าเถื่อนซงหนูอยู่อีกมาก...
ซงหนูไปถึงอิหร่าน อิหร่านก็บึ้ม
ซงหนูไปถึงอาหรับ อาหรับก็บึ้ม
ซงหนูไปถึงไบแซนไทน์ ไบแซนไทน์ก็บึ้ม
...เขียนถึงตรงนี้ท่านอาจพอเดาได้แล้ว
...ทฤษฎีประวัติศาสตร์ที่นับถือกันแพร่หลายระบุว่าชาวซงหนูนั้นพอมาถึงตะวันออกกลางก็รับศาสนาอิสลาม รับอารยธรรมอาหรับ-เปอร์เซีย จนหน้าตาท่าทางเปลี่ยนไปจากญาติที่ยังอยู่แถบเทือกเขาอัลไตอย่างมาก มีชื่อใหม่เรียกว่า “พวกเติร์ก”
ชาวอาร์เซอร์ไบจานคือเติร์กกลุ่มหนึ่งที่บุกมาถึงเทือกเขาคอเคซัส...
ก่อนหน้านี้คอเคซัสใต้มีฝรั่งอาศัยอยู่สามพวก คือจอร์เจีย อาร์มีเนีย และอัลบาเนีย พวกอัลบาเนียถูกอาหรับกวาดล้างหลายรอบจนสูญพันธุ์ ต่อมาเติร์กอาร์เซอร์ไบจานมาตีอาหรับต่อ และยึดดินแดนแถบที่เคยเป็นของอัลบาเนียได้
เติร์กปกครองทั้งแขกและฝรั่งด้วยความป่าเถื่อนอุงกะๆ อยู่สักพัก ก็ถูกมองโกลยกมากวาดล้าง (มองโกลกับเติร์กนี่วัฒนธรรมคล้ายกัน แต่คนละเผ่านะครับ พูดภาษาคนละตระกูล)
พอมองโกลไปเติร์กก็เฟื่องฟูขึ้นมาใหม่ เติร์กออตโตมานยึดอาณาจักรไบแซนไทน์ ทำลายล้างฝรั่งในแดนอนาโตเลียอย่างถาวร พวกนี้พัฒนาไปเป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน
...แต่เติร์กอาร์เซอร์ไบจานไม่ได้รุ่งด้วย...
เนื่องจากตอนนั้นเกิดอาณาจักรเปอร์เซีย (อิหร่านในปัจจุบัน) กล้าแข็งขึ้นคู่กับออตโตมาน เติร์กอาร์เซอร์ไบจานจำต้องยอมสยบอยู่ใต้การปกครองอิหร่าน รับเอาวัฒนธรรมเปอร์เซียมาสู่พวกตนอีกสามร้อยปี จนมีความคล้ายคลึงอิหร่านทุกอย่าง รวมถึงเปลี่ยนนิกายจากสุหนี่เป็นชีอะห์
ต่อมาอิหร่านรบแพ้รัสเซียเสียอาร์เซอร์ไบจาน อาร์เซอร์ไบจานจึงถูกปกครองโดยรัสเซียอีกร้อยปี รับเอาวอดก้า... เอ้ย! วัฒนธรรมรัสเซียมาผสมอีกเป็นอันมาก
ปี 1918 ราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียล่มสลาย ชาวอาร์เซอร์ไบจานถือโอกาสประกาศเอกราช ตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาร์เซอร์ไบจานที่ 1 ขึ้น
แต่เอกราชนั้นมากับปัญหา ...คือในยุคสี่ร้อยปีที่ตกเป็นเมืองขึ้นอิหร่าน – รัสเซียนั้น ทั้งอิหร่านและรัสเซียมักบังคับโยกย้ายชาวอาร์เซอร์ไบจานให้เข้าๆ ออกๆ แดนอาร์มีเนียใต้ เช่นยุคอิหร่านมีการย้ายชาวอาร์มีเนียออก เอาอาร์เซอร์ไบจานมาอยู่แทนเพราะไว้ใจมุสลิมมากกว่า แต่พอรัสเซียครองก็สนับสนุนให้อาร์มีเนียอพยพกลับเข้ามาเพราะไว้ใจชาวคริสต์มากกว่า
เรื่องนี้แม้ผู้ปกครองไม่ตั้งใจ แต่การจับชาวอาร์มีเนีย กับอาร์เซอร์ไบจานมาอยู่ปนกัน ให้แย่งทรัพยากรกันในดินแดนที่อาร์มีเนียถือว่าเป็นแดนบรรพบุรุษ มีบทสรุปคือทั้งสองเผ่านี้เกลียดชังกันมาก
...ยิ่งช่วงนั้นเติร์กตุรกีกำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียตะวันตก (อ่านได้จากกระทู้อาร์ตซัคซึ่งมี Link ข้างล่างนะครับ) ทำให้ชาวอาร์มีเนียตะวันออกที่เหลืออยู่พลอยเพิ่มเหตุให้เกลียดเติร์กอาร์เซอร์ไบจานไปอีก แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวก็ตาม
...ความเกลียดซ้อนเกลียด พัดพาให้พออาร์เซอร์ไบจานประกาศเอกราช พวกเขากับอาร์มีเนียก็ทำสงครามฆ่ากันแทบจะทันที...
ปี 1920 อาร์เซอร์ไบจานรบอาร์มีเนียไม่ทันแพ้ชนะ ต่างก็ถูกทัพบอลเชวิกบุกตี ทำให้ต้องกลับไปอยู่ใต้การปกครองของรัสเซียที่ตอนนั้นใช้ชื่อสหภาพโซเวียต
โซเวียตดำเนินนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง ยกดินแดนอาร์ตซัคของอาร์มีเนียให้อาร์เซอร์ไบจาน สุมไฟสร้างความร้าวฉานแก่ทั้งสองเผ่า แต่ยังทำอะไรกันมากไม่ได้ เพราะต่างเป็นเมืองขึ้น
ในโชคร้ายกลับมีโชคดี เนื่องจากมีการค้นพบน้ำมันจำนวนมากที่อาร์เซอร์ไบจานตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1870 ทำให้อาร์เซอร์ไบจานกลายเป็นขุมเงินขุมทองของโซเวียต
และพอสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ชาวอาร์เซอร์ไบจานก็พบว่านอกจากพวกเขาจะได้รับเอกราชแล้ว ยังได้รับความร่ำรวยอันมหาศาล!
...แต่ช้าก่อน! พอไร้คนคุมแล้ว ปัญหาอาร์ตซัคได้กลับมาหลอกหลอนแทบจะทันที
เกิดเหตุชาวอาร์มีเนีย และอาร์เซอร์ไบจานจับอาวุธไล่ทำลายกัน ใช้กำลังทหารผลัดกันแย่งเขตต่างๆ เข่นฆ่าขับไล่ประชาชนของฝ่ายตรงข้าม มีคนบาดเจ็บล้มตายหลายหมื่นคน ต้องย้ายที่อยู่อาศัยนับล้าน
บทสรุปคือ อาร์เซอร์ไบจานพ่ายแพ้...
สงครามยกแรกจบลงโดยการที่พวกเขาต้องเสียอาร์ตซัค และเมืองอักดัม...
ชาวบ้านอาร์เซอร์ไบจานลี้ภัยสงคราม
แม้ภายหลังอาร์เซอร์ไบจานฟื้นตัว แต่ไม่อาจยึดดินแดนคืนมาได้ เพราะอาร์มีเนียสวามิภักดิ์ต่อรัสเซียและอิหร่าน
ที่สองมหาอำนาจรับการสวามิภักดิ์นี้ตำหนิเพียงอาร์เซอร์ไบจานร่ำรวยน้ำมันเกินไป หากปล่อยไว้จะกล้าแข็ง จำต้องเลี้ยงความขัดแย้งอาร์ตซัคไว้ให้สถานการณ์ไม่มั่นคง แทรกแซงได้ง่าย
...
...
...ชาวอาร์เซอร์ไบจานสืบเชื้อสายจากชนนอกด่านจีนที่หลงมาอยู่ตะวันออกกลาง จนหน้าตาท่าทางผิดแผกจากบรรพบุรุษ
...พวกเขาเป็นเติร์กที่ไม่เหมือนเติร์ก แม้มีบางด้านคล้ายคอเคซัสอื่นๆ แต่ชาวคอเคซัสอื่นๆ ก็รังเกียจที่เขาสืบเชื้อสายจากผู้รุกราน
...พวกเขาได้รับวัฒนธรรมอิหร่าน-รัสเซีย จนเหมือนว่าอิหร่านนั้นเป็นพ่อ ส่วนรัสเซียเป็นแม่ แต่พอเกิดสงครามอาร์ตซัค ทั้งอิหร่านและรัสเซียต่างเลือกก็เข้าข้างอาร์มีเนีย
...ชาวมุสลิมตำหนิที่พวกเขารับอิทธิพลตะวันตกมากเกินไป
...ชาวตะวันตกตำหนิที่พวกเขาเป็นมุสลิม
...อาร์เซอร์ไบจานเป็นผลรวมของการผสมผสานจำนวนมาก แต่ไม่สามารถผูกพันกับผู้ให้กำเนิดคนใดได้จริงจัง
...พวกเขาเหมือนเด็กกำพร้า
...เป็นคนแปลกหน้าในดินแดนของตนเอง
...ตกอยู่ในความเกลียดชังที่ตนไม่ได้เป็นต้นเหตุ
...แต่เรื่องราวของพวกเขายังไม่จบ…
...เรื่องราวที่ผมจะเล่าต่อไป คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น .
..คือเรื่องราวการต่อสู้ ความขัดแย้ง และการผจญภัยของชาวอาร์เซอร์ไบจาน ซึ่งยังคงเพื่อแสวงหาพื้นที่ของตนบนโลกอยู่เสมอ...
::: ::: :::
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของสารคดีชุด The Wild Chronicles: Caucasus Elements
อ่านตอนแรกได้ที่
*** Artsakh ประเทศที่ไม่มีอยู่จริง ***
https://ppantip.com/topic/37953892
และ ติดตามสารคดีอื่นๆ ได้ที่
https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/