** เพื่อเป็นการปกป้องนักลงทุนและผู้บริโภคในการรับข้อมูลข่าวสารที่อาจทำให้เข้าใจผิดได้จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานกำกับอย่าง ก.ล.ต. และวงการกองทุนรวมทำการแก้ไขตัวเลขผลตอบแทนเปรียบเทียบของ SET TRI ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญให้ถูกต้อง **
1. ความนำเพื่อความเข้าใจเบื้องต้น
กองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในหุ้นไทยจะต้องมีดัชนีชี้วัด (benchmark) เพื่อทำการเปรียบเทียบฝีมือและผลตอบแทนที่กองทุนรวมทำได้ เพื่อให้นักลงทุนได้ทำการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมโดยอาศัยข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนในอดีตของกองทุนว่า กองทุนทำผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนีหรือไม่
โดยในอดีตกองทุนรวมจะใช้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทย หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในส่วนเฉพาะผลตอบแทนของราคาหรือที่เรียกว่า SET Price Return Index (SET PR) ซึ่งมิได้ใช้ผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นที่ได้คำนวณรวมเงินปันผล ที่เรียกว่า SET Total Return Index (SET TR/SET TRI) ทำให้ในอดีตนั้น นักลงทุน ผู้บริโภค และคนทั่วไปอาจเข้าใจได้ว่า กองทุนจำนวนมากทำผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนีชี้วัด ทั้ง ๆ ที่กองทุนเลือกเทียบกับ SET PR ไม่เทียบกับ SET TR ที่รวมเงินปันผล ในขณะที่กองทุนรวมหุ้นย่อมจะต้องได้รับเงินปันผลมาเป็นผลตอบแทนส่วนเพิ่ม อันนำไปสู่ความเข้าใจผิดแก่นักลงทุนจำนวนมาก ว่ากองทุนหุ้นส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนได้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือเข้าใจว่าผลตอบแทนของกองทุนที่เห็นสูงกว่าผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นแล้ว ซึ่งแม้กระทั่งกองทุนดัชนีของบางบลจ.ก็ใช้ตัวเลข SET PR ในการเปรียบเทียบ ทำให้ดูเหมือนว่าขนาดกองทุนดัชนียังมีผลตอบแทนเหนือกว่าตลาดหุ้นเลย (ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะกองทุนต้องหักค่าใช้จ่าย)
อย่างไรก็ดี ไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลักเกณฑ์ใหม่ทำให้กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทยและใช้ดัชนีชี้วัดเป็นผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องใช้ผลตอบแทนรวมเงินปันผลหรือ SET TR / SET TRI มาเป็นตัวเปรียบเทียบ
2. ปัญหาที่พบ
เมื่อข้าพเจ้าได้สอบทานตัวเลขในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet) ของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทยจำนวนหนึ่ง กลับพบว่า ตัวเลขผลตอบแทนในส่วนของดัชนีชี้วัดที่แสดงในเอกสารดังกล่าวสามารถสร้างความเข้าใจผิดให้กับนักลงทุน ผู้บริโภค บุคคลทั่วไป เพราะเหตุดังต่อจะได้อธิบายข้างล่างนี้
หนังสือชี้ชวนในส่วนของหน้าที่แสดงผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนจะกำกับไว้ว่า ผลตอบแทนของดัชนีชี้วัดคือ SET TRI หากแต่ตัวเลขที่ปรากฏในเอกสารของหลายกองทุน โดยเฉพาะปี 2559 ย้อนหลังไป ยังคงใช้ตัวเลขผลตอบแทนแบบ SET PR อยู่ ซึ่งวิญญูชนผู้เชื่อมั่นในข้อมูลบนหนังสือชี้ชวนดังกล่าวย่อมจะเกิดความเข้าใจผิดได้ว่าในอดีตนั้น กองทุนรวมทำผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนีชี้วัดหรือ benchmark ที่เป็น SET TRI ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลข SET PR
และที่ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบมาจะเห็นได้ว่า ในหนังสือชี้ชวนไม่มีข้อมูลระบุกำกับไว้ว่ามีตัวเลขจำนวนหนึ่งเป็นตัวเลข SET PR แต่อย่างใด ทำให้เมื่อนักลงทุนอ่านแล้วอาจเข้าใจได้ว่าตัวเลขทั้งหมดคือ SET TRI
3. ข้อเรียกร้อง
เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นเพจทางการเงินและมีปณิธานในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนโดยเฉพาะกองทุนรวมแก่ประชาชนทั่วไป ขอเรียกร้องให้ทางหน่วยงานกำกับทำการตรวจสอบและขอให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมทำการแก้ไขตัวเลขให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในอนาคต
อุตสาหกรรมกองทุนรวมเป็นหนึ่งในสถาบันทางการเงินตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชน ดังนั้น การทำข้อมูลให้ชัดเจนถูกต้องจะยังประโยชน์ต่อประชาชนและนักลงทุน ผู้บริโภคต่อไป
อนึ่ง ข้าพเจ้าเสนอให้ทำการแก้ไขให้ใช้ตัวเลข SET TR ทั้งหมด มากกว่าที่จะทำการใส่หมายเหตุว่าข้อมูลในปีก่อนหน้าเป็น SET PR เพื่อสร้างความโปร่งใสและง่ายต่อการทำความเข้าใจต่อเอกสารหนังสือชี้ชวน เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดสืบไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบต่อทั้งหน่วยงานกำกับอย่างสำนักงาน กลต. และวงการกองทุนรวม
เพจ BEAR INVESTOR
พร้อมกันนี้ได้แนบตัวอย่างของหน้าหนังสือชี้ชวนที่ได้กล่าวถึงเป็นตัวอย่างไว้ด้วย
สำหรับผู้อ่านทั่วไปที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง SET TR กับ PR และผลตอบแทนย้อนหลังสามารถอ่านบทความเหล่านี้ได้ครับ
1) ความต่างระหว่าง SET TR กับ PR
https://bear-investor.com/2017/01/17/set-total-return-pr-tr
2) ผลตอบแทนตลาดหุ้นระยะยาว
https://bear-investor.com/2018/07/29/stocks-returns-long-term-performance
3) ผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนรวม
https://bear-investor.com/2018/07/24/past-performance-myth
รูปภาพประกอบการชี้แจง
รูปที่ 1 ตัวเลขนี้คือตัวเลขผลตอบแทนย้อนหลังแบบรวมเงินปันผล (SET TRI) ขอให้ผู้อ่านจำตัวเลขไว้
รูปที่ 2 ตัวอย่างของบลจ.ที่ใช้ตัวเลข SET TRI ทั้งหมดในการแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง
รูปที่ 3-7
ตัวอย่างของบลจ.และเอกสารกองทุนที่ไม่ใช้ตัวเลขผลตอบแทนแบบ SET TRI ทั้งหมด แต่แทรกผลตอบแทนแบบ SET PR ในข้อมูล ซึ่งมักจะแสดงในปี 2559 ลงมา โดยที่เอกสารกำกับว่าตัวเลขผลตอบแทนเปรียบเทียบเป็น SET TRI ซึ่งไม่มีข้อมูลใดระบุกำกับว่ามีการใส่ตัวเลขแบบ SET PR ลงไป
กระทู้ใน Facebook ที่ได้ทำการเรียกร้องอีกทางหนึ่ง
https://www.facebook.com/1506324086262439/posts/2251636701731170/
เรียกร้องให้กองทุนรวมใช้ตัวเลข SET TRI ทั้งหมดเพื่อไม่สร้างความเข้าใจผิด
1. ความนำเพื่อความเข้าใจเบื้องต้น
กองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในหุ้นไทยจะต้องมีดัชนีชี้วัด (benchmark) เพื่อทำการเปรียบเทียบฝีมือและผลตอบแทนที่กองทุนรวมทำได้ เพื่อให้นักลงทุนได้ทำการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมโดยอาศัยข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนในอดีตของกองทุนว่า กองทุนทำผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนีหรือไม่
โดยในอดีตกองทุนรวมจะใช้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทย หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในส่วนเฉพาะผลตอบแทนของราคาหรือที่เรียกว่า SET Price Return Index (SET PR) ซึ่งมิได้ใช้ผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นที่ได้คำนวณรวมเงินปันผล ที่เรียกว่า SET Total Return Index (SET TR/SET TRI) ทำให้ในอดีตนั้น นักลงทุน ผู้บริโภค และคนทั่วไปอาจเข้าใจได้ว่า กองทุนจำนวนมากทำผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนีชี้วัด ทั้ง ๆ ที่กองทุนเลือกเทียบกับ SET PR ไม่เทียบกับ SET TR ที่รวมเงินปันผล ในขณะที่กองทุนรวมหุ้นย่อมจะต้องได้รับเงินปันผลมาเป็นผลตอบแทนส่วนเพิ่ม อันนำไปสู่ความเข้าใจผิดแก่นักลงทุนจำนวนมาก ว่ากองทุนหุ้นส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนได้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือเข้าใจว่าผลตอบแทนของกองทุนที่เห็นสูงกว่าผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นแล้ว ซึ่งแม้กระทั่งกองทุนดัชนีของบางบลจ.ก็ใช้ตัวเลข SET PR ในการเปรียบเทียบ ทำให้ดูเหมือนว่าขนาดกองทุนดัชนียังมีผลตอบแทนเหนือกว่าตลาดหุ้นเลย (ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะกองทุนต้องหักค่าใช้จ่าย)
อย่างไรก็ดี ไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลักเกณฑ์ใหม่ทำให้กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทยและใช้ดัชนีชี้วัดเป็นผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องใช้ผลตอบแทนรวมเงินปันผลหรือ SET TR / SET TRI มาเป็นตัวเปรียบเทียบ
2. ปัญหาที่พบ
เมื่อข้าพเจ้าได้สอบทานตัวเลขในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet) ของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทยจำนวนหนึ่ง กลับพบว่า ตัวเลขผลตอบแทนในส่วนของดัชนีชี้วัดที่แสดงในเอกสารดังกล่าวสามารถสร้างความเข้าใจผิดให้กับนักลงทุน ผู้บริโภค บุคคลทั่วไป เพราะเหตุดังต่อจะได้อธิบายข้างล่างนี้
หนังสือชี้ชวนในส่วนของหน้าที่แสดงผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนจะกำกับไว้ว่า ผลตอบแทนของดัชนีชี้วัดคือ SET TRI หากแต่ตัวเลขที่ปรากฏในเอกสารของหลายกองทุน โดยเฉพาะปี 2559 ย้อนหลังไป ยังคงใช้ตัวเลขผลตอบแทนแบบ SET PR อยู่ ซึ่งวิญญูชนผู้เชื่อมั่นในข้อมูลบนหนังสือชี้ชวนดังกล่าวย่อมจะเกิดความเข้าใจผิดได้ว่าในอดีตนั้น กองทุนรวมทำผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนีชี้วัดหรือ benchmark ที่เป็น SET TRI ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลข SET PR
และที่ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบมาจะเห็นได้ว่า ในหนังสือชี้ชวนไม่มีข้อมูลระบุกำกับไว้ว่ามีตัวเลขจำนวนหนึ่งเป็นตัวเลข SET PR แต่อย่างใด ทำให้เมื่อนักลงทุนอ่านแล้วอาจเข้าใจได้ว่าตัวเลขทั้งหมดคือ SET TRI
3. ข้อเรียกร้อง
เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นเพจทางการเงินและมีปณิธานในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนโดยเฉพาะกองทุนรวมแก่ประชาชนทั่วไป ขอเรียกร้องให้ทางหน่วยงานกำกับทำการตรวจสอบและขอให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมทำการแก้ไขตัวเลขให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในอนาคต
อุตสาหกรรมกองทุนรวมเป็นหนึ่งในสถาบันทางการเงินตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชน ดังนั้น การทำข้อมูลให้ชัดเจนถูกต้องจะยังประโยชน์ต่อประชาชนและนักลงทุน ผู้บริโภคต่อไป
อนึ่ง ข้าพเจ้าเสนอให้ทำการแก้ไขให้ใช้ตัวเลข SET TR ทั้งหมด มากกว่าที่จะทำการใส่หมายเหตุว่าข้อมูลในปีก่อนหน้าเป็น SET PR เพื่อสร้างความโปร่งใสและง่ายต่อการทำความเข้าใจต่อเอกสารหนังสือชี้ชวน เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดสืบไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบต่อทั้งหน่วยงานกำกับอย่างสำนักงาน กลต. และวงการกองทุนรวม
เพจ BEAR INVESTOR
พร้อมกันนี้ได้แนบตัวอย่างของหน้าหนังสือชี้ชวนที่ได้กล่าวถึงเป็นตัวอย่างไว้ด้วย
สำหรับผู้อ่านทั่วไปที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง SET TR กับ PR และผลตอบแทนย้อนหลังสามารถอ่านบทความเหล่านี้ได้ครับ
1) ความต่างระหว่าง SET TR กับ PR
https://bear-investor.com/2017/01/17/set-total-return-pr-tr
2) ผลตอบแทนตลาดหุ้นระยะยาว
https://bear-investor.com/2018/07/29/stocks-returns-long-term-performance
3) ผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนรวม
https://bear-investor.com/2018/07/24/past-performance-myth
รูปภาพประกอบการชี้แจง
รูปที่ 1 ตัวเลขนี้คือตัวเลขผลตอบแทนย้อนหลังแบบรวมเงินปันผล (SET TRI) ขอให้ผู้อ่านจำตัวเลขไว้
รูปที่ 2 ตัวอย่างของบลจ.ที่ใช้ตัวเลข SET TRI ทั้งหมดในการแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง
รูปที่ 3-7 ตัวอย่างของบลจ.และเอกสารกองทุนที่ไม่ใช้ตัวเลขผลตอบแทนแบบ SET TRI ทั้งหมด แต่แทรกผลตอบแทนแบบ SET PR ในข้อมูล ซึ่งมักจะแสดงในปี 2559 ลงมา โดยที่เอกสารกำกับว่าตัวเลขผลตอบแทนเปรียบเทียบเป็น SET TRI ซึ่งไม่มีข้อมูลใดระบุกำกับว่ามีการใส่ตัวเลขแบบ SET PR ลงไป
กระทู้ใน Facebook ที่ได้ทำการเรียกร้องอีกทางหนึ่ง
https://www.facebook.com/1506324086262439/posts/2251636701731170/