หลังจากที่ผมดู GDC วันแรกรอบแรก ผมออกจากโรงมาด้วยความรู้สึก”ไม่สนุกอย่างที่หวัง” กลับมาเสิร์ชกระทู้ pantip บางคนก็ว่าหนังไม่สนุก
บางคนก็บอกว่าเป็นหนังที่คนนอกดูจะสนุกกว่าเพราะโอตะจะรู้เรื่องราวทั้งหมดหมดแล้ว อันหลังนี่ทำให้เรานั่งคิดว่ามันจะจริงเปล่าหว่า(แต่เราก็ไม่ทราบเพราะเราอยู่ฝั่งโอตะไง) แต่ยังไงก็คิดว่ารายได้หนังไม่น่ารอดเพราะขนาดเราเป็นโอตะวงโอชิพี่เต๋อ ยังรู้สึกว่าใครที่ไปดูรอบสองได้นี่ก็เหลือเชื่อแร๊ะ....
-------------------------------------------------------------------------------------
ตัดภาพมา หลังจากดูรอบ 2 จบ ความรู้สึกที่ผมมีต่อหนังเรื่องนี้ก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เลยรู้สึกอยากชวนเพื่อนๆ คุยเกี่ยวกับหนังกันครับ
โดยทั้งหมดทั้งมวลเป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะครับ(****มีสปอยด์เน้อ****)
1.ความยากของหนังเรื่องนี้
เนื่องจากวงมีวัฒนธรรมเฉพาะตัวสูงและผ่านเรื่องราวมาพอสมควร(เทียบเป็น 3 ซิงเกิ้ล) ในขณะที่คนนอกยังไม่รู้วัฒนธรรมและเหตุการณ์ที่ผ่านมาของวง เช่น BNKเกี่ยวอะไรกับAKB เซมบัตสึคืออะไร ใครเป็นใครในการประกาศเซมแต่ละเพลง แต่เหล่าโอตะไม่ใช่แค่รู้แต่ฟังเรื่องพวกนี้และดูการประกาศเซมแต่ละเพลงซ้ำแล้วซ้ำอีกมาแล้วไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง
ด้วยช่องว่างของการรู้จักวงที่มีความห่างกันมากนี้เอง ทีมภาพยนตร์จะเลือกทำหนังเอาใจฝั่งไหน ถ้าแนะนำวงกันใหม่ตั้งแต่ต้น จะทำยังไงให้โอตะไม่เบื่อ? หรือตัดอารัมภบทต่างๆ เอาใจฮาร์ดคอร์โอตะกันไปเลย แล้วคนอื่นใครจะดูรู้เรื่อง? ซึ่งผมมองว่าสุดท้ายแล้วหนังเลือกเดินทางสายกลาง
2.เส้นเรื่อง
ด้วยเหตุที่หนังเลือกเดินทางสายกลาง หนังได้เรื่องแบ่งเป็น 2 เส้นเรื่องหลักๆ เดินควบคู่กันไป
2.1 แนะนำวง(เหตุการณ์ตั้งแต่ออดิชั่น – โชนิจิ) หนังไล่เรียงมาตั้งแต่การสมัครออดิชั่น ไปจนถึงช่วงโชนิจิ โดยแนะนำหน้าใหม่ให้ทราบว่า BNK มาจากไหน เซ็มฯคืออะไร การเลือกเซ็มวัดจากอะไรเป็นต้น
2.2 มุมมองของเมมเบอร์ต่อเหตุการณ์ต่างๆ แสดงออกผ่านบทสนทนาของพี่เต๋อกับเมมเบอร์
(2.3 นอกจากนั้น ยังมีภาพที่แทนมุมมองของคนนอก(ทีมงานภาพยนต์)สอดแทรกเข้ามาในส่วนของเส้นเรื่องอารมณ์ของเมมเบอร์บ้างเป็นช่วงๆ)
ซึ่งข้อ 2.2 และ 2.3 นี่สิ คือสิ่งที่เหล่าโอตะอยากเห็น
3.ดูหนังรอบ 1 และรอบ 2
3.1 รอบแรก
เนื่องจากคาดหวังว่าจะได้เห็นสิ่งอะไรใหม่ๆ นอกจากสิ่งที่เรารับรู้มาจากการตามวงมาตลอด ปรากฏว่าสิ่งได้เห็นส่วนมากของหนัง
คือ เส้นเรื่องการแนะนำวง = เรื่องราวของการแนะนำรายละเอียดของวงตั้งแต่เริ่มออดิชั่นโดยผ่านภาพที่เคยเห็นจนคุ้นชินในเซนไป
/ มุมมองของเมมเบอร์ = บทสัมภาษณ์ของเมมเบอร์ต่างๆ ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่เราพอรู้มาแล้วทั้งสิ้น โดยมากผ่านทาง Voov เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ความรู้สึกของมิวสิคที่มีต่อเฌอ หรือ ความพยายามลองถูกผิดในการสร้างตัวตนของตัวเองปูเป้
/ สิ่งที่ผมคาดหวังจะได้เห็น เช่น ภาพเบื้องหลังพิเศษๆ ที่ไม่เคยเห็น หรือ รายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่เคยรับรู้ มันมีและรับรู้ได้นะ แต่รู้สึกว่ามันน้อยจนไม่สามารถมากลบความรู้สึกหลักที่รู้สึกว่าเรื่องราวต่างๆ ในหนังไม่มีอะไรใหม่ได้ การดูหนังรอบแรกผลจึงออกมาอย่างที่บอก รู้สึกไม่สนุกเบยย T^T
3.2 รอบสอง
การเข้าไปดูรอบสองโดยรู้ทุกสิ่งทุกอย่างของหนังคร่าวๆ แล้ว จึงเป็นรอบที่ปล่อยตัวไปตามอารมณ์ของหนังไม่ได้มีความหวังที่ได้เห็นโน่นนั่นนี่เหมือนในรอบแรก และรอบนี้เองมันทำให้ผมรู้สึกว่า...
แม้หนังจะนำเสนอเส้นเรื่องไปตามเหตุการณ์ของวงที่เรารู้อยู่แล้ว แต่การคั่นด้วยบทสัมภาษณ์ของเมมเบอร์นั้น พอได้มาดูอีกรอบก็เห็นชัดว่าผู้กำกับหยิบบทสัมภาษณ์ของเมมเบอร์แต่ละคนมามาร้อยเรียงกันได้อย่างมีชั้นเชิงมาก (อันนี้จำเป๊ะๆ ไม่ได้ เลยถือเป็นการยกตัวอย่างสมมติ) เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลังการเปิดตัว(เส้นเรื่องเหตุการณ์) เมมเบอร์แต่ละคนเรียกความนิยมกันยัง โดยจะใช้วิธีเลือกไดอะล็อกของเมมเบอร์คนที่ 1 มาเปิดประเด็น บทของเมมเบอร์คนที่ 2 ,3 ,4 มาแสดงมุมมองของตัวเอง และในแต่ละประเด็นจะมีบทสนทนาของเมมเบอร์ที่ถูกยกขึ้นมาเป็นบทสรุปของแต่ละประเด็นเสมอ โดยบทสนทนาของเมมเบอร์ที่ถูกเลือกในแต่ละประเด็น นอกจากพูดถึงในประเด็นที่ตั้งขึ้นมานั้นๆ โดยตรงแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งในตัวเอง เช่น สิ่งนี้ก็ไม่ได้อยากทำแต่ก็ทำเพื่อความนิยม นอกจากเป็นการพูดมุมมองของตนเองแล้ว ผู้กำกับยังทำให้บทสนทนาของเมมเบอร์ที่ถูกเลือกมาใช้ในประเด็นนั้นๆ เป็นการพูดในฐานะตัวแทนของกลุ่มชนชั้นในวงด้วย (กลุ่มท๊อป กลุ่มกลาง กลุ่มอันเดอร์)
และในบทสนทนาแต่ละประเด็นจะมีการเอ่ยถึงประเด็นที่จะมีการพูดต่อไปอยู่เสมอ เช่น ประเด็นแรกพูดถึงการสร้างความนิยม ก็จะมีไดอะล็อกที่เมมเบอร์พูดต่อไปถึงการเป็นเซ็มบัตสึ แล้วก็จะโยงไปพูดถึงประเด็นเซ็มบัตสึต่อไป เป็นเช่นนี้ร้อยเรียงกันไปตลอดทั้งเรื่อง ส่วนตัวคิดว่า โอ้ว มันช่างงดงามราวกับบทกวี (555 ขนาดนั้นเลย)
ในเรื่องของเหตุการณ์ความรู้สึกของเมมเบอร์แต่ละคน แม้จะรู้มาแทบจะหมดแล้วตามที่บอกไปข้างต้น แต่ในหนังก็มีมีความลงไปลึกกว่า แบบเจาะเกราะลงไปอีกขั้น เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เรารู้อยู่แล้วว่าเฌอปรางทำงานอย่างมืออาชีพ เรารู้อยู่แล้วว่าปูเป้เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นสูงแต่ฉาบตัวเองไว้ด้วยภาพของคนเรื่อยๆ เอื่อยๆ รวมไปถึงความกดดันและมุมมองของอันเดอร์เมื่อต้องยืนอยู่ร่วมกลุ่มกับตัวท๊อป และในทางกลับกันแรงกดดันและสิ่งที่ต้องแลกมาของของตัวท๊อป (หรืออย่างกรณีที่หนังไม่ได้บอกเราตรงๆ เช่น ปันที่เรารู้อยู่แล้วว่าเป็นคนที่เป็นคนที่เชื่อมโยงทุกคนเข้าด้วยกัน เราก็จะเห็นซีนที่ตอนครูแก้วอยู่หลังเวทีก็มีปันคอยอยู่ข้างๆ(ที่พี่เต๋อบอกครูแก้วเปิดเบอร์ 500 ไม่ยู๊ว์ไปทำอะไรมา) หรือตอนเฌอร้องไห้ก็จะเห็นปันเป็นคนแรกที่เข้ามาปลอบ)
สิ่งเหล่านี้แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่หนังเรื่องนี้พาเราลงลึกลงไปอีก เป็นการย้ำให้เราเห็นสิ่งเหล่านี้ชัดเจนขึ้นมากๆ ผู้กำกับยังใช้การตัดต่อลำดับภาพบทสนทนาเหล่านี้ เป็นการเร่งเร้าอารมณ์ร่วมของผู้ชมได้อย่างเหลือเชื่อ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เริ่มจากการปูแนะนำเรื่องสลับกับบทสนทนามาเรื่อยๆ ในสัดส่วนพอๆ กัน(แทรกด้วยความฮาเล็กๆ น้อยของ PD ปูเป้) จนถึงช่วงหลังคุกกี้ซึ่งในความเป็นจริงวงบูมขึ้นมาและวงเริ่มมีความสุกงอมเด่นชัดในเรื่องของชนชั้นภายในวง ผู้กำกับก็พาเราดำดิ่งลงสู้บทสนทนาในประเด็นเรื่องนี้อย่างยาวนานและเผ็ดร้อน (ซึ่งน่าจะเป็นไคลแม๊กซ์ของเรื่อง) ส่วนนี้จะดุเดือดมาก ก่อนจะคลี่คลายเบาลงในประเด็นต่อไป
อันนี้รู้สึกชื่นชมผู้กำกับมากๆ (เนื่องจากงานนี้ตัดต่อเองด้วย)การที่มานั่งดูฟุตเทตเพื่อร้อยเรื่องราวอธิบายแต่ละประเด็นแล้วยังใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอารมณ์ของหนังแถมยังสอดคล้องกับการนำเสนอ time-line ของวงอีก มันต้องเป็นการทำงานที่โหดมั่กๆ แน่ๆ
กลับมาที่สิ่งที่ผมคาดหวังจะได้เห็น คือ ภาพเบื้องหลังหรือซีนสวยๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ต้องยอมรับว่าแม้จะมีน้อย แต่มันสวยงามและทรงพลังเหลือเกิน เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ซีนเมมเบอร์ใส่ชุดคุกกี้เดินขึ้นเวทีแล้วโดนแสงสปอตไลท์เปล่งประกายวาบๆ (สอดคล้องกับบทสนทนาที่ว่า ที่นี่(BNK)น่าจะเป็นที่ที่เราสามารถเปล่งประกายได้) หรือซีนที่มีอันเดอร์คนเดียวที่ซ้อมอยู่เคียงข้างเซ็มบัตสึ(อ่าห์ ช่างทรงพลัง) โดยเฉพาะซีนสุดท้ายของหนังซึ่งน่าจะเป็นหลังเวที(?)ที่แสงสปอร์ตไลท์กับความมืดสลับกันสาดใส่เหล่าเมมเบอร์ มันเป็นการสรุปและบอกเรื่องราวของหนังเรื่องนี้ได้ดีมาก
นอกจากความงามและสื่อสารได้ในซีนของตัวมันเองแล้ว ซีนใหม่ๆ ที่ทีมภาพยนตร์ถ่ายมา(แทนมุมมองของคนนอก) ยังสามารถร้อยเรียงกันเองได้อย่างมีความหมาย เช่น ซีนเซมคุกกี้เปล่งประกาย โยงกับซีนจิ๊บหลังซ้อมและเดินกลับเข้าหลังเวทีไปท่ามกลางความมืด ความมืดและความสว่างที่หมุนเวียนกันเข้าหาเมมเบอร์ตลอดเวลา เป็นต้น
การไปดูรอบสองโดยไม่ได้คาดหวังว่าหนังจะต้องมีอะไรใหม่ กลับทำให้ได้เห็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เรียงร้อยกันอยู่ภายในหนังเรื่องนี้ ความรู้สึกในการดูหนังรอบสองนี้ ความรู้สึกในการดู GDC รอบสองจึงต่างไปจากการดูรอบแรกอย่างสิ้นเชิง จากรอบแรกที่รู้สึกว่าไม่สนุกเลย กลายมาเป็น
หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ดีเลยนะ (สนุกหรือเปล่านี่บอกไม่ถูกเหมือนกันนะเพราะมันเป็นหนังสารคดี) แต่ส่วนตัวจัดว่าเป็นหนังที่ดีที่เดียว คุ้มค่าตั๋วนะผมว่า
เพื่อนๆ ดูแล้วรู้สึกยังไงกันบ้างครับ
สิ่งละอันพันละน้อยคือความงดงามของ Girls don’t Cry (สปอยด์)
บางคนก็บอกว่าเป็นหนังที่คนนอกดูจะสนุกกว่าเพราะโอตะจะรู้เรื่องราวทั้งหมดหมดแล้ว อันหลังนี่ทำให้เรานั่งคิดว่ามันจะจริงเปล่าหว่า(แต่เราก็ไม่ทราบเพราะเราอยู่ฝั่งโอตะไง) แต่ยังไงก็คิดว่ารายได้หนังไม่น่ารอดเพราะขนาดเราเป็นโอตะวงโอชิพี่เต๋อ ยังรู้สึกว่าใครที่ไปดูรอบสองได้นี่ก็เหลือเชื่อแร๊ะ....
-------------------------------------------------------------------------------------
ตัดภาพมา หลังจากดูรอบ 2 จบ ความรู้สึกที่ผมมีต่อหนังเรื่องนี้ก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เลยรู้สึกอยากชวนเพื่อนๆ คุยเกี่ยวกับหนังกันครับ
โดยทั้งหมดทั้งมวลเป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะครับ(****มีสปอยด์เน้อ****)
1.ความยากของหนังเรื่องนี้
เนื่องจากวงมีวัฒนธรรมเฉพาะตัวสูงและผ่านเรื่องราวมาพอสมควร(เทียบเป็น 3 ซิงเกิ้ล) ในขณะที่คนนอกยังไม่รู้วัฒนธรรมและเหตุการณ์ที่ผ่านมาของวง เช่น BNKเกี่ยวอะไรกับAKB เซมบัตสึคืออะไร ใครเป็นใครในการประกาศเซมแต่ละเพลง แต่เหล่าโอตะไม่ใช่แค่รู้แต่ฟังเรื่องพวกนี้และดูการประกาศเซมแต่ละเพลงซ้ำแล้วซ้ำอีกมาแล้วไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง
ด้วยช่องว่างของการรู้จักวงที่มีความห่างกันมากนี้เอง ทีมภาพยนตร์จะเลือกทำหนังเอาใจฝั่งไหน ถ้าแนะนำวงกันใหม่ตั้งแต่ต้น จะทำยังไงให้โอตะไม่เบื่อ? หรือตัดอารัมภบทต่างๆ เอาใจฮาร์ดคอร์โอตะกันไปเลย แล้วคนอื่นใครจะดูรู้เรื่อง? ซึ่งผมมองว่าสุดท้ายแล้วหนังเลือกเดินทางสายกลาง
2.เส้นเรื่อง
ด้วยเหตุที่หนังเลือกเดินทางสายกลาง หนังได้เรื่องแบ่งเป็น 2 เส้นเรื่องหลักๆ เดินควบคู่กันไป
2.1 แนะนำวง(เหตุการณ์ตั้งแต่ออดิชั่น – โชนิจิ) หนังไล่เรียงมาตั้งแต่การสมัครออดิชั่น ไปจนถึงช่วงโชนิจิ โดยแนะนำหน้าใหม่ให้ทราบว่า BNK มาจากไหน เซ็มฯคืออะไร การเลือกเซ็มวัดจากอะไรเป็นต้น
2.2 มุมมองของเมมเบอร์ต่อเหตุการณ์ต่างๆ แสดงออกผ่านบทสนทนาของพี่เต๋อกับเมมเบอร์
(2.3 นอกจากนั้น ยังมีภาพที่แทนมุมมองของคนนอก(ทีมงานภาพยนต์)สอดแทรกเข้ามาในส่วนของเส้นเรื่องอารมณ์ของเมมเบอร์บ้างเป็นช่วงๆ)
ซึ่งข้อ 2.2 และ 2.3 นี่สิ คือสิ่งที่เหล่าโอตะอยากเห็น
3.ดูหนังรอบ 1 และรอบ 2
3.1 รอบแรก
เนื่องจากคาดหวังว่าจะได้เห็นสิ่งอะไรใหม่ๆ นอกจากสิ่งที่เรารับรู้มาจากการตามวงมาตลอด ปรากฏว่าสิ่งได้เห็นส่วนมากของหนัง
คือ เส้นเรื่องการแนะนำวง = เรื่องราวของการแนะนำรายละเอียดของวงตั้งแต่เริ่มออดิชั่นโดยผ่านภาพที่เคยเห็นจนคุ้นชินในเซนไป
/ มุมมองของเมมเบอร์ = บทสัมภาษณ์ของเมมเบอร์ต่างๆ ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่เราพอรู้มาแล้วทั้งสิ้น โดยมากผ่านทาง Voov เช่น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
/ สิ่งที่ผมคาดหวังจะได้เห็น เช่น ภาพเบื้องหลังพิเศษๆ ที่ไม่เคยเห็น หรือ รายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่เคยรับรู้ มันมีและรับรู้ได้นะ แต่รู้สึกว่ามันน้อยจนไม่สามารถมากลบความรู้สึกหลักที่รู้สึกว่าเรื่องราวต่างๆ ในหนังไม่มีอะไรใหม่ได้ การดูหนังรอบแรกผลจึงออกมาอย่างที่บอก รู้สึกไม่สนุกเบยย T^T
3.2 รอบสอง
การเข้าไปดูรอบสองโดยรู้ทุกสิ่งทุกอย่างของหนังคร่าวๆ แล้ว จึงเป็นรอบที่ปล่อยตัวไปตามอารมณ์ของหนังไม่ได้มีความหวังที่ได้เห็นโน่นนั่นนี่เหมือนในรอบแรก และรอบนี้เองมันทำให้ผมรู้สึกว่า...
แม้หนังจะนำเสนอเส้นเรื่องไปตามเหตุการณ์ของวงที่เรารู้อยู่แล้ว แต่การคั่นด้วยบทสัมภาษณ์ของเมมเบอร์นั้น พอได้มาดูอีกรอบก็เห็นชัดว่าผู้กำกับหยิบบทสัมภาษณ์ของเมมเบอร์แต่ละคนมามาร้อยเรียงกันได้อย่างมีชั้นเชิงมาก (อันนี้จำเป๊ะๆ ไม่ได้ เลยถือเป็นการยกตัวอย่างสมมติ) เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในเรื่องของเหตุการณ์ความรู้สึกของเมมเบอร์แต่ละคน แม้จะรู้มาแทบจะหมดแล้วตามที่บอกไปข้างต้น แต่ในหนังก็มีมีความลงไปลึกกว่า แบบเจาะเกราะลงไปอีกขั้น เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สิ่งเหล่านี้แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่หนังเรื่องนี้พาเราลงลึกลงไปอีก เป็นการย้ำให้เราเห็นสิ่งเหล่านี้ชัดเจนขึ้นมากๆ ผู้กำกับยังใช้การตัดต่อลำดับภาพบทสนทนาเหล่านี้ เป็นการเร่งเร้าอารมณ์ร่วมของผู้ชมได้อย่างเหลือเชื่อ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันนี้รู้สึกชื่นชมผู้กำกับมากๆ (เนื่องจากงานนี้ตัดต่อเองด้วย)การที่มานั่งดูฟุตเทตเพื่อร้อยเรื่องราวอธิบายแต่ละประเด็นแล้วยังใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอารมณ์ของหนังแถมยังสอดคล้องกับการนำเสนอ time-line ของวงอีก มันต้องเป็นการทำงานที่โหดมั่กๆ แน่ๆ
กลับมาที่สิ่งที่ผมคาดหวังจะได้เห็น คือ ภาพเบื้องหลังหรือซีนสวยๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ต้องยอมรับว่าแม้จะมีน้อย แต่มันสวยงามและทรงพลังเหลือเกิน เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การไปดูรอบสองโดยไม่ได้คาดหวังว่าหนังจะต้องมีอะไรใหม่ กลับทำให้ได้เห็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เรียงร้อยกันอยู่ภายในหนังเรื่องนี้ ความรู้สึกในการดูหนังรอบสองนี้ ความรู้สึกในการดู GDC รอบสองจึงต่างไปจากการดูรอบแรกอย่างสิ้นเชิง จากรอบแรกที่รู้สึกว่าไม่สนุกเลย กลายมาเป็น
หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ดีเลยนะ (สนุกหรือเปล่านี่บอกไม่ถูกเหมือนกันนะเพราะมันเป็นหนังสารคดี) แต่ส่วนตัวจัดว่าเป็นหนังที่ดีที่เดียว คุ้มค่าตั๋วนะผมว่า
เพื่อนๆ ดูแล้วรู้สึกยังไงกันบ้างครับ