ทำยังไงให้ลูกน้องอยู่กับเรานานๆ
๑. เราจะต้องทำให้เขามีความรู้สึกเขามีคุณค่า เราต้องพูดให้เขาว่าเขามีคุณค่า มีความหวังให้เขา เราต้องรู้คุณค่าของเขา ให้พนักงานเขารู้ว่าตนเองมีคุณค่า ไม่ใช่ไร้ค่า
๒. มีเป้าหมาย ให้ความหวังกับพนักงาน
๓. อย่าเอาลูกน้องมาเป็นกระโถน ส่วนใหญ่ผู้บริหารมักผิดพลาดตรงนี้ชอบเอาลูกน้อง พนักงาน มาเป็นกระโถนรองรับอารมณ์ของนายจ้าง
๔. ตัวเองต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง รู้จักพิจารณากรรม ๕ พิจารณาวิบาก ๗ เช่น เวลานี้ไม่ควรพูดเราก็ไปพูดหักหน้าเขา ฉีกหน้าเขา พอฉีกหน้าเขาแล้วเล็กไม่ลง ก็ต้องลาออกจากงานไป เช่น คนงานบางคนเขาไม่ได้ตั้งใจจะลาออกจากงาน แต่เพราะโดนฉีกหน้า แล้วเจ้าตัวเล็กไม่ลง เพราะเขาไม่ได้ฝึกมาดีพอเขารับไม่ได้
๕. เวลาดี ต้องดีอย่างมีเหตุผล เวลาดีกับลูกน้องดีอย่างมีเหตุผล เวลาไม่ดี คือ จะลงโทษเขาก็ต้องมีเหตุผล (ดีก็ต้องมีเหตุผล ไม่ดีก็ต้องมีเหตุผล) บางครั้งดีไม่มีเหตุผล เขาก็จะเหลือง บางครั้งตัวเขาทำผิดแล้วเราไม่ได้ลงโทษ เราไม่มีเหตุผล เขาก็ไม่รู้ว่าเขาโดนอะไร
ข้อที่ ๓-๔-๕ ถ้าไม่มี จะทำให้อกเขาอกเราลดลง
๖. มีกัลยาณมิตร คือ มีเพื่อนกัลยาณมิตรค่อยตักเตือนถ้าเห็นว่าสิ่งไหนที่เราผิดพลาดหรือบกพร่อง เช่น มีลูกน้องเก่าแก่ ต้องให้มาเป็นกัลยาณมิตรค่อยช่วยเตือนเรา บางครั้งเรื่องมักเกิดซ้ำๆ เพราะว่าเราไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตรมาค่อยเตือนเรา เราถึงจะรู้ตัวว่าผิดถูก
๗. หมั่นสัญญากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ เราสัญญากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ตรงนี้เราจะทำอย่างนี้ ตรงนี้ไม่ทำ
๘. อยากได้ภักดีจากเขา เราต้องมีอกเขาอกเรา นายจ้างอย่าเข้าใจผิดว่า ให้แต่เงินเขา "น้ำใจ" เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ให้แต่เงินอย่างเดียว ต้องมีน้ำใจ เช่น เราไม่คำนึงถึงว่าเขาเป็นมนุษย์แล้วเราก็ไปฉีกหน้าเขาอย่างจัง เขาก็รับไม่ได้ เวลาทำดีก็ไม่ได้ยกย่อง ชมเชยเขา เอาแต่ใจตัวเอง แล้วอย่างนี้จะมีน้ำใจมั้ยต่อลูกน้อง
สิ่งที่ต้องระวัง "ระวังเขาจะตีหัวเอา อย่าปากไม่ดีมาก" และ "ปากไม่ดีแล้วหัวแตก" ปัญหาเดี๋ยวนี้ตามตื้ออยู่แล้ว มีปัญหารุมเร้า
ทำยังไงให้ลูกน้องอยู่กับเรานานๆ
๑. เราจะต้องทำให้เขามีความรู้สึกเขามีคุณค่า เราต้องพูดให้เขาว่าเขามีคุณค่า มีความหวังให้เขา เราต้องรู้คุณค่าของเขา ให้พนักงานเขารู้ว่าตนเองมีคุณค่า ไม่ใช่ไร้ค่า
๒. มีเป้าหมาย ให้ความหวังกับพนักงาน
๓. อย่าเอาลูกน้องมาเป็นกระโถน ส่วนใหญ่ผู้บริหารมักผิดพลาดตรงนี้ชอบเอาลูกน้อง พนักงาน มาเป็นกระโถนรองรับอารมณ์ของนายจ้าง
๔. ตัวเองต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง รู้จักพิจารณากรรม ๕ พิจารณาวิบาก ๗ เช่น เวลานี้ไม่ควรพูดเราก็ไปพูดหักหน้าเขา ฉีกหน้าเขา พอฉีกหน้าเขาแล้วเล็กไม่ลง ก็ต้องลาออกจากงานไป เช่น คนงานบางคนเขาไม่ได้ตั้งใจจะลาออกจากงาน แต่เพราะโดนฉีกหน้า แล้วเจ้าตัวเล็กไม่ลง เพราะเขาไม่ได้ฝึกมาดีพอเขารับไม่ได้
๕. เวลาดี ต้องดีอย่างมีเหตุผล เวลาดีกับลูกน้องดีอย่างมีเหตุผล เวลาไม่ดี คือ จะลงโทษเขาก็ต้องมีเหตุผล (ดีก็ต้องมีเหตุผล ไม่ดีก็ต้องมีเหตุผล) บางครั้งดีไม่มีเหตุผล เขาก็จะเหลือง บางครั้งตัวเขาทำผิดแล้วเราไม่ได้ลงโทษ เราไม่มีเหตุผล เขาก็ไม่รู้ว่าเขาโดนอะไร
ข้อที่ ๓-๔-๕ ถ้าไม่มี จะทำให้อกเขาอกเราลดลง
๖. มีกัลยาณมิตร คือ มีเพื่อนกัลยาณมิตรค่อยตักเตือนถ้าเห็นว่าสิ่งไหนที่เราผิดพลาดหรือบกพร่อง เช่น มีลูกน้องเก่าแก่ ต้องให้มาเป็นกัลยาณมิตรค่อยช่วยเตือนเรา บางครั้งเรื่องมักเกิดซ้ำๆ เพราะว่าเราไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตรมาค่อยเตือนเรา เราถึงจะรู้ตัวว่าผิดถูก
๗. หมั่นสัญญากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ เราสัญญากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ตรงนี้เราจะทำอย่างนี้ ตรงนี้ไม่ทำ
๘. อยากได้ภักดีจากเขา เราต้องมีอกเขาอกเรา นายจ้างอย่าเข้าใจผิดว่า ให้แต่เงินเขา "น้ำใจ" เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ให้แต่เงินอย่างเดียว ต้องมีน้ำใจ เช่น เราไม่คำนึงถึงว่าเขาเป็นมนุษย์แล้วเราก็ไปฉีกหน้าเขาอย่างจัง เขาก็รับไม่ได้ เวลาทำดีก็ไม่ได้ยกย่อง ชมเชยเขา เอาแต่ใจตัวเอง แล้วอย่างนี้จะมีน้ำใจมั้ยต่อลูกน้อง
สิ่งที่ต้องระวัง "ระวังเขาจะตีหัวเอา อย่าปากไม่ดีมาก" และ "ปากไม่ดีแล้วหัวแตก" ปัญหาเดี๋ยวนี้ตามตื้ออยู่แล้ว มีปัญหารุมเร้า