กรรมทำแท้งลูก
ลำดับขั้นหนักเบาของการทำแท้ง มีทั้งหมด ๕ ขั้น ดังนี้
๑. ทำแท้ง คือ ฐานจิตเจตนาในการทำลายชีวิตของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หรือ รีดลูก
๑.๑ ฐานจิตเจตนาเจ้าตัวผู้ก่อเหตุ หนักเบาเป็นไปตามเหตุ เจตนามากก็ได้รับแรงวิบากกรรมมาก เจตนาน้อยก็ย่อมได้รับผลแห่งวิบากกรรมน้อย ตามลำดับ
๑.๒ แล้วแต่ข้ออ้างในการทำแท้ง
๒. แท้งแต่มีเหตุจำเป็น
๒.๑ รูปกายไม่ไหว อินทรีย์ไม่ไหว เช่น ร่างกายอ่อนแอ ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-induced Hypertension) เกิดจากอาการบวม ความดันโลหิตสูง และโปรตีนในปัสสาวะ
๒.๒ ยากจนมาก
๒.๓ ตัวเด็กไม่พร้อม จำเป็นต้องเอาออก
๓. หลุด คือ ให้พิจารณาตามเหตุ จงใจหรือเปล่า
๓.๑ หลุดตามธรรมชาติ มีหลายสาเหตุ เช่น
๑) สาเหตุด้านพันธุกรรม
๒) สาเหตุจากความผิดปกติของมดลูก เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก ภาวะมดลูกมีแผ่นกั้น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ติ่งเนื้องอกโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก ภาวะปากมดลูกบางไม่แข็งแรง
๓) สาเหตุจากโรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความบกพร่องของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน(luteal phase defect) โรคเบาหวาน ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) โรคต่อมไทรอยด์ ภาวะฮอร์โมนโปรแลคตินในเลือดสูง
๔) ปัจจัยจากภูมิคุ้มกัน
๕) การแข็งตัวของเลือด
๓.๒ เราทำงานหนักไม่ระวัง ขาดการดูแล รักษาไม่ดี
๓.๓ เกิดอุบัติเหตุ
๔. แนะนำเขาไปทำแท้ง
๔.๑ เราไปกับเขา คือ เราไปส่งเขาทำแท้ง
๔.๒ มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นไปตามเหตุ เช่น เราให้เขายืมเงินหรือมอบเงินไปทำแท้ง บอกสถานที่ทำแท้ง
๕. บังคับเขาทำแท้ง
เช่น เมียหลวงบังคับเมียน้อย เมียน้อยบังคับเมียหลวง พ่อแม่บังคับให้ทำ สามีบังคับให้ทำแท้ง
ผลวิบากของกรรมแท้งลูก
๑. วิบากกรรม ตกที่ตนเอง ทางร่างกาย มีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย เป็นต้น
๒. วิบากกรรมตกที่ลูก คือ ลูกมักจะเชื่อฟัง หรือเจ็บป่วยบ่อยๆ
๓. วิบากกรรมตกที่ธุรกิจ การงาน การงานจะดีเจริญขึ้น กับต้องพบพานกับอุปสรรคตลอด เศรษฐกิจการเงินของตน ลุ่มๆ ดอนๆ ขึ้นๆ ลงๆ มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินติดขัด
๕ ขั้นตอน แก้กรรมแท้งลูก
๑. ยอมรับว่าผิด คือ สิ่งที่ตนเองทำแท้ง หลุด บังคับ ทำทางอ้อม นั้นเป็นความผิดจริง ยอมรับว่าตนได้ทำผิด ถ้าเราไม่ยอมรับว่าผิด เราก็ไม่รู้ว่าจะแก้กรรมอะไร
๒. สำนึกผิด คือ รู้สึกตระหนักในความคิดที่ได้ทำไป และตั้งใจอย่างแน่วแน่ จริงจัง จริงใจ เด็ดขาดไปเลยว่า จะไม่ทำกรรมแท้งลูกนี้อีก
๓. ขอขมาและรับการขมากรรม คือ เราต้องขอขมา ๒ บุคคลนี้คือ
๓.๑ พระแม่ธรณี คือ พระแม่ธรณีท่านมีพระมหาปณิธานต้องการให้สรรพสิ่งได้ก่อเกิด อุ้มชูให้เจริญเติบโต
๓.๒ เด็กที่แท้ง คือ เด็กที่แท้งเข้าสู่กระบวนการทางธรรม
คำกล่าวขอขมาพระแม่ธรณี แก้กรรมแท้งลูก
ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชา พระแม่ธรณีด้วยจิตศรัทธา และลูกขอบูชาน้อมถวายผลไม้ และพวงมาลัยนี้แด่พระแม่ธรณี
บัดนี้ลูกได้ทำผิด และขอสำนึกผิดในกรรมแท้งลูก และขอขมาต่อพระแม่ ขอพระแม่โปรดอโหสิกรรม และโปรดอนุญาตประกอบพิธีแก้กรรมนี้ด้วย
ในการณ์นี้ ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ขอสัญญาว่าลูกจะไม่ทำกรรมแท้งลูกเช่นนี้อีกต่อไป และขอปฏิบัติบูชา จะยึดมั่นปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ และเจริญพรหมวิหาร ๔ ของพ่อพรหมธาดา เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ด้วยจิตอกเขาอกเรา เอื้อ-เกื้อ-กัน ให้อภัยไม่ถือสา ด้วยจิตหัวใจ ๕ กตัญญู ศรัทธา เชื่อมั่น หนักแน่น มั่นคง อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ
ด้วยบุญกุศล อานิสงส์นี้ ขอเจ้ากรรมนายเวรโปรดอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ด้วยบารมีของพระแม่ธรณี จงสุขสันติ สันติสุขทั่วกันเทอญ สาธุ สาธุ สาธุฯ๛
๔. ประกอบพิธีแก้ไขกรรม เจรจากับเจ้ากรรม คือ กรรมแท้งลูก กรรมทำลาย กรรมไม่อุ้มชู ดูแล กรรมไม่ให้ก่อเกิด
๕. ทำบุญกุศลส่งให้
๕.๑ ทำบุญตักบาตร จำนวนพระ........ รูป จำนวนเดือน.........เดือน
คำให้บอกกล่าวก่อนทำบุญ
"ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชาพระแม่ธรณี ด้วยจิตศรัทธา บัดนี้ลูกจะทำบุญตักบาตร ขอพระแม่ธรณีโปรดเป็นพยาน และส่งบุญกุศลไปให้แก่สัมภเวสี ผีเด็กเร่ร่อน ที่ถูกทอดทิ้ง หิวโหยกระหาย ด้วยบุญกุศลนี้ ขอให้ไปแก้ไขวิบากกรรม กรรมแท้งลูก ด้วยเทอญ สาธุ สาธุ โอม"
๕.๒ เลี้ยงหาอาหารแก่เด็กกำพร้า จำนวน..............................ครั้ง
คำกล่าวตั้งฐานจิตช่วยเหลือเด็กกำพร้า เลี้ยงอาหารแก่เด็กกำพร้า ด้อยโอกาส
ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชา ท่านพ่อท้าวมหาพรหมธาดาด้วยจิตศรัทธา และด้วยการเจริญพรหมวิหาร ๔ ๑. ตั้งฐานจิตเมตตา รักและสงสารเด็ก เพราะเขาได้รับเคราะห์วิบากกรรม จึงประสบผลแห่งเคราะห์กรรมเช่นนี้ ๒. ตั้งจิตฐานจิตกรุณา ด้วยการช่วยเหลือหาสิ่งของมาให้ ๓. ตั้งฐานจิตมุฑิตา ปรารถนาดีต่อเด็ก ให้เด็กทุกข์น้อยลง ให้เด็กได้มีโอกาส ให้เด็กได้เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยดี ไปสู่สิ่งที่ดีๆ
ปลดทุกข์ บำรุงสันติสุข และแก้ทุกข์ให้ท่าน สุขนั้นถึงตัว สาธุ
๕.๓ ทำบุญให้แก่เด็กอ่อนที่ถูกทอดทิ้ง จำนวน.....................ครั้ง
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
กรรมทำแท้งลูก
ลำดับขั้นหนักเบาของการทำแท้ง มีทั้งหมด ๕ ขั้น ดังนี้
๑. ทำแท้ง คือ ฐานจิตเจตนาในการทำลายชีวิตของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หรือ รีดลูก
๑.๑ ฐานจิตเจตนาเจ้าตัวผู้ก่อเหตุ หนักเบาเป็นไปตามเหตุ เจตนามากก็ได้รับแรงวิบากกรรมมาก เจตนาน้อยก็ย่อมได้รับผลแห่งวิบากกรรมน้อย ตามลำดับ
๑.๒ แล้วแต่ข้ออ้างในการทำแท้ง
๒. แท้งแต่มีเหตุจำเป็น
๒.๑ รูปกายไม่ไหว อินทรีย์ไม่ไหว เช่น ร่างกายอ่อนแอ ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-induced Hypertension) เกิดจากอาการบวม ความดันโลหิตสูง และโปรตีนในปัสสาวะ
๒.๒ ยากจนมาก
๒.๓ ตัวเด็กไม่พร้อม จำเป็นต้องเอาออก
๓. หลุด คือ ให้พิจารณาตามเหตุ จงใจหรือเปล่า
๓.๑ หลุดตามธรรมชาติ มีหลายสาเหตุ เช่น
๑) สาเหตุด้านพันธุกรรม
๒) สาเหตุจากความผิดปกติของมดลูก เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก ภาวะมดลูกมีแผ่นกั้น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ติ่งเนื้องอกโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก ภาวะปากมดลูกบางไม่แข็งแรง
๓) สาเหตุจากโรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความบกพร่องของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน(luteal phase defect) โรคเบาหวาน ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) โรคต่อมไทรอยด์ ภาวะฮอร์โมนโปรแลคตินในเลือดสูง
๔) ปัจจัยจากภูมิคุ้มกัน
๕) การแข็งตัวของเลือด
๓.๒ เราทำงานหนักไม่ระวัง ขาดการดูแล รักษาไม่ดี
๓.๓ เกิดอุบัติเหตุ
๔. แนะนำเขาไปทำแท้ง
๔.๑ เราไปกับเขา คือ เราไปส่งเขาทำแท้ง
๔.๒ มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นไปตามเหตุ เช่น เราให้เขายืมเงินหรือมอบเงินไปทำแท้ง บอกสถานที่ทำแท้ง
๕. บังคับเขาทำแท้ง
เช่น เมียหลวงบังคับเมียน้อย เมียน้อยบังคับเมียหลวง พ่อแม่บังคับให้ทำ สามีบังคับให้ทำแท้ง
ผลวิบากของกรรมแท้งลูก
๑. วิบากกรรม ตกที่ตนเอง ทางร่างกาย มีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย เป็นต้น
๒. วิบากกรรมตกที่ลูก คือ ลูกมักจะเชื่อฟัง หรือเจ็บป่วยบ่อยๆ
๓. วิบากกรรมตกที่ธุรกิจ การงาน การงานจะดีเจริญขึ้น กับต้องพบพานกับอุปสรรคตลอด เศรษฐกิจการเงินของตน ลุ่มๆ ดอนๆ ขึ้นๆ ลงๆ มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินติดขัด
๕ ขั้นตอน แก้กรรมแท้งลูก
๑. ยอมรับว่าผิด คือ สิ่งที่ตนเองทำแท้ง หลุด บังคับ ทำทางอ้อม นั้นเป็นความผิดจริง ยอมรับว่าตนได้ทำผิด ถ้าเราไม่ยอมรับว่าผิด เราก็ไม่รู้ว่าจะแก้กรรมอะไร
๒. สำนึกผิด คือ รู้สึกตระหนักในความคิดที่ได้ทำไป และตั้งใจอย่างแน่วแน่ จริงจัง จริงใจ เด็ดขาดไปเลยว่า จะไม่ทำกรรมแท้งลูกนี้อีก
๓. ขอขมาและรับการขมากรรม คือ เราต้องขอขมา ๒ บุคคลนี้คือ
๓.๑ พระแม่ธรณี คือ พระแม่ธรณีท่านมีพระมหาปณิธานต้องการให้สรรพสิ่งได้ก่อเกิด อุ้มชูให้เจริญเติบโต
๓.๒ เด็กที่แท้ง คือ เด็กที่แท้งเข้าสู่กระบวนการทางธรรม
คำกล่าวขอขมาพระแม่ธรณี แก้กรรมแท้งลูก
ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชา พระแม่ธรณีด้วยจิตศรัทธา และลูกขอบูชาน้อมถวายผลไม้ และพวงมาลัยนี้แด่พระแม่ธรณี
บัดนี้ลูกได้ทำผิด และขอสำนึกผิดในกรรมแท้งลูก และขอขมาต่อพระแม่ ขอพระแม่โปรดอโหสิกรรม และโปรดอนุญาตประกอบพิธีแก้กรรมนี้ด้วย
ในการณ์นี้ ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ขอสัญญาว่าลูกจะไม่ทำกรรมแท้งลูกเช่นนี้อีกต่อไป และขอปฏิบัติบูชา จะยึดมั่นปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ และเจริญพรหมวิหาร ๔ ของพ่อพรหมธาดา เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ด้วยจิตอกเขาอกเรา เอื้อ-เกื้อ-กัน ให้อภัยไม่ถือสา ด้วยจิตหัวใจ ๕ กตัญญู ศรัทธา เชื่อมั่น หนักแน่น มั่นคง อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ
ด้วยบุญกุศล อานิสงส์นี้ ขอเจ้ากรรมนายเวรโปรดอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ด้วยบารมีของพระแม่ธรณี จงสุขสันติ สันติสุขทั่วกันเทอญ สาธุ สาธุ สาธุฯ๛
๔. ประกอบพิธีแก้ไขกรรม เจรจากับเจ้ากรรม คือ กรรมแท้งลูก กรรมทำลาย กรรมไม่อุ้มชู ดูแล กรรมไม่ให้ก่อเกิด
๕. ทำบุญกุศลส่งให้
๕.๑ ทำบุญตักบาตร จำนวนพระ........ รูป จำนวนเดือน.........เดือน
คำให้บอกกล่าวก่อนทำบุญ
"ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชาพระแม่ธรณี ด้วยจิตศรัทธา บัดนี้ลูกจะทำบุญตักบาตร ขอพระแม่ธรณีโปรดเป็นพยาน และส่งบุญกุศลไปให้แก่สัมภเวสี ผีเด็กเร่ร่อน ที่ถูกทอดทิ้ง หิวโหยกระหาย ด้วยบุญกุศลนี้ ขอให้ไปแก้ไขวิบากกรรม กรรมแท้งลูก ด้วยเทอญ สาธุ สาธุ โอม"
๕.๒ เลี้ยงหาอาหารแก่เด็กกำพร้า จำนวน..............................ครั้ง
คำกล่าวตั้งฐานจิตช่วยเหลือเด็กกำพร้า เลี้ยงอาหารแก่เด็กกำพร้า ด้อยโอกาส
ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชา ท่านพ่อท้าวมหาพรหมธาดาด้วยจิตศรัทธา และด้วยการเจริญพรหมวิหาร ๔ ๑. ตั้งฐานจิตเมตตา รักและสงสารเด็ก เพราะเขาได้รับเคราะห์วิบากกรรม จึงประสบผลแห่งเคราะห์กรรมเช่นนี้ ๒. ตั้งจิตฐานจิตกรุณา ด้วยการช่วยเหลือหาสิ่งของมาให้ ๓. ตั้งฐานจิตมุฑิตา ปรารถนาดีต่อเด็ก ให้เด็กทุกข์น้อยลง ให้เด็กได้มีโอกาส ให้เด็กได้เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยดี ไปสู่สิ่งที่ดีๆ
ปลดทุกข์ บำรุงสันติสุข และแก้ทุกข์ให้ท่าน สุขนั้นถึงตัว สาธุ
๕.๓ ทำบุญให้แก่เด็กอ่อนที่ถูกทอดทิ้ง จำนวน.....................ครั้ง
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์