ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 8
ถ้าถามผม ขุนช้างขุนแผน ก็เป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่อาจจะมีเค้าโครงมาจากเรื่องจริงหรือตำนานก็ได้ โดยคงมีการบอกเล่าสืบต่อกันมาอย่าง "มุขปาฐะ" และแต่งเสริมต่อกันมาเป็นทอดๆ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาสืบเนื่องมาจนถึงรัตนโกสินทร์ จนเนื้อเรื่องอาจจะไม่เกือบไม่เหลือเค้าโครงดั้งเดิมของเหตุการณ์ที่เกิดเลยก็ได้
ในเอกสาร "คำให้การชาวกรุงเก่า" หรือ โยดะยายาซะวิง (Yodaya Yazawin - ราชวงศ์อยุทธยา) ซึ่งเรียบเรียงมาจากคำให้การของเชลยชาวอยุทธยาที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าหลังสงครามเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้กล่าวถึง "ขุนแผน" ว่าเป็นแม่ทัพอยุทธยาที่ยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ในรัชกาลของกษัตริย์ที่มีพระนามว่าสมเด็จพระพันวษา แต่ไม่ได้มีรายละเอียดอะไรมากนัก
อย่างไรก็ตาม การจะยึดถือเนื้อหาของคำให้การชาวกรุงเก่าเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมดนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่นั้นเหมือนเป็นเรื่องบอกเล่ากันปากต่อปากเป็นมุขปาฐะมากกว่าเนื้อหาที่มีหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ เนื้อหาหลายตอนเมื่อสอบทานกับหลักฐานชั้นต้นอื่นๆ พบว่ามีความคลาดเคลื่อนกันมาก มีลักษณะบอกเล่าของบุคคลที่ปนเปกันอยู่เสมอ รวมถึงอาจเอาเรื่องบุคคลที่มีตัวตนจริงไปปะปนกับเรื่องคติเชิงตำนาน
เนื้อหาที่เกี่ยวกับขุนแผนในคำให้การก็มีความพิสดารสูงและมีกลิ่นอายเป็นตำนานมาก นอกจากนี้ก็คลาดเคลื่อนอยู่หลายประเด็น เช่น ระบุว่าพระเจ้าเชียงใหม่มีพระนามว่าพระเจ้าโพธิสารราช ไปฉุดธิดาพระเจ้าล้านช้างซึ่งถูกส่งไปถวายสมเด็จพระพันวษาจนทำให้อยุทธยายกทัพไปตีเชียงใหม่ แต่ความจริงแล้วพระเจ้าโพธิสารราชเป็นกษัตริย์ล้านช้างและเป็นลูกเขยของพระเมืองเกษเกล้าแห่งเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารราชครองราชย์ในช่วง พ.ศ. ๒๐๖๓ ถึง ๒๐๙๑ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในระหว่างนั้นอยุทธยากับเชียงใหม่ก็มีสงครามกันหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีครั้งใดที่อยุทธยาสามารถพิชิตเชียงใหม่ได้อย่างเด็ดขาดจนพระเจ้าเชียงใหม่ต้องทิ้งเมืองตามที่คำให้การระบุ เพิ่งมาปรากฏถูกตีแตกจริงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เรื่องขุนแผนเป็นชาวเมืองสุพรรณบุรีไม่ปรากฏในคำให้การสมัยอยุทธยา ก็เพิ่งมาปรากฏในเสภาที่แต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่มีขนบธรรมเนียมและอิทธิพลสมัยรัตนโกสินทร์ไปเจือปนมากแล้ว การจะเอาสถานที่ที่ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์เข้าไปเจือปนในวรรณกรรมก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด สภาพเมืองสุพรรณบุรีที่ปรากฏในเสภาขุนช้างขุนแผนนั้น ผมเห็นว่าเป็นสภาพที่จำลองมาจากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับผู้แต่งเสภาหลายท่าน ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าวรรณกรรมเรื่องนี้คงเล่าสืบต่อกันมาเป็นทอดๆ และก็มีการแต่งเสริมเรื่องราวมากขึ้นตามเวลา
ข้อนี้ผมเห็นตรงกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงพระนิพนธ์คำนำของเสภาขุนช้างชุนแผนไว้ว่า “ตัวเรื่องขุนช้างขุนแผนที่เล่าในคำให้การชาวกรุงเก่า แม้สังเขปเพียงนั้น ยังเห็นได้ว่าไม่ตรงกับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่เราขับเสภากัน ความข้อนี้ก็ไม่อัศจรรย์อันใด ด้วยเรื่องขุนช้างขุนแผนเอามาเล่าเป็นนิทานกันเสียช้านานหลายร้อยปี แลซ้ำมาแต่งเป็นกลอนเสภาในชั้นหลังอิก คงตกแต่งเรื่องให้พิลึกกึกก้องสนุกสนานขึ้น แลต่อเติมยืดยาวออกทุกที เชื่อได้ว่าเรื่องในเสภาคงคลาศเคลื่อนจากเรื่องเดิมเสียมาก แต่คงจะยังมีเค้ามูลเรื่องเดิมอยู่บ้าง”
มีข้อน่าสนใจคือ แม้จะเป็นสำนวนสมัยหลัง แต่พิจารณาจากตำแหน่งตัวละครเอกคือ ขุนช้าง-ขุนแผน นั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น “ขุน” ซึ่งในสมัยอยุทธยาตอนปลายมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์เป็นเพียงบรรดาศักดิ์ระดับล่างๆ แต่ในสมัยอยุทธยาตอนต้นถึงช่วงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถนั้น พบว่า “ขุน” เป็นตำแหน่งระดับสูง จึงเป็นไปได้ว่าเรื่องขุนช้าง-ขุนแผนนี้อาจมีเค้ามูลมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนต้นแล้วก็เป็นได้ หรืออาจจะเก่าแก่กว่านั้น เพราะ "ขุน" ในวัฒนธรรมไท-ลาวโบราณหมายถึง กษัตริย์
ขุนช้าง เป็นตำแหน่งโบราณ พบในกฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถหลายมาตรา เข้าใจว่าหมายถึงขุนนางที่ควบคุมดูแลทหารช้าง นอกจากนี้ยังพบตำแหน่งแบบโบราณอีกหลายตำแหน่งคือ ขุนม้า ขุนดาบ ขุนเรือ ขุนตำรวจ ขุนสนม แม้ในสมัยหลังจำมีตำแหน่งจางวางหรือเจ้ากรมพระคชบาลมาแล้ว ก็ยังปรากฏในพงศาวดารใช้คำว่า “ขุนช้าง” อยู่
เช่น ปรากฏในพงศาวดารตอนพระราชพิธีอาศวยุธในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถว่า “เรือจำนำขุนช้างขุนม้าขุนตำรวจ ขุนดาบ ขุนด่าน ขุนการ ทหารพลเรือนทั้งปวง” หรือในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ที่กล่าวถึง “พระยาตะนาวแลพฤฒิบาลแลขุนช้างชาวช้างทั้งหลาย” แต่ในสมัยหลังที่บรรดาศักดิ์ขุนนางเฟ้อขึ้น ขุนช้างจึงอาจจะลดความหมายลงมาหมายถึง ข้าราชการชั้นขุนในกรมช้างที่มีจำนวนมากอย่างรวมๆ เท่านั้น
ขุนแผน ก็พบหลักฐานว่ามีอยู่ในสมัยอยุทธยาตอนต้น พบในพระราชกำหนดในสมัยพระเจ้ารามาธิบดี (อู่ทอง) มีอยู่ตอนหนึ่งกล่าวถึง “ขุนแผน” บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นตำแหน่งเดียวกับ “ขุนแผลงสะท้าน” ปลัดซ้ายกรมพระตำรวจภูบาล ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ซึ่งตำแหน่งนี้บางครั้งก็สะกดว่า “ขุนแผนสะท้าน” (พบในพงศาวดารตอนสมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถี)
นักประวัติศาสตร์บางคน เช่น สุจิตต์ วงษ์เทศ สันนิษฐานว่ารากเดิมของขุนช้าง-ขุนแผนอาจจะมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุทธยา โดยเป็นตำนานวีรบุรุษหรือนิทานศักดิ์สิทธิของกลุ่มชนที่พูดภาษาไท-ลาว โดยอาจจะมีโครงเรื่องเดิมแค่ขุนแผนกับดาบฟ้าฟื้นเท่านั้น สันนิษฐานด้วยว่าอาจเป็นวรรณกรรมในรัฐสุพรรณภูมิโบราณซึ่งได้รับอิทธิพลไท-ลาวมาจากสองฝั่งโขง เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่เกิดในสุพรรณบุรี และเมื่อสุพรรณภูมิเข้าไปมีอิทธิพลเหนือกรุงศรีอยุทธยา ก็นำวรรณกรรมนี้เข้าไปด้วย
ทั้งนี้เพราะชื่อ “ขุนแผน” มีที่มาจากคำว่า แถน หมายถึง ผีฟ้า เป็นผีบรรพชนของคนในวัฒนธรรมลาวลุ่มน้ำโขง (ภาษาปากเรียก ผีฟ้าพญาแถน) ในโองการแช่งน้ำ วรรณกรรมยุคต้นอยุทธยาใช้คำว่า “ขุนแผน” เรียกแทนพระพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก จึงเข้าใจว่ามีความหมายแปลงไปจากเดิมหลังจากได้รับวัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดูเข้าไปผสม จึงเห็นได้ว่าในสมัยอยุทธยาตอนต้นนั้น “ขุนแผน” นั้นมีสถานะสูง การที่วรรณกรรมใช้ชื่อนี้เป็นตัวเอก น่าจะเป็นการบ่งบอกถึงสถานะตำนานศักดิ์
ดาบฟ้าฟื้นของขุนแผน ในคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าขุนแผนถวายให้พระพันวษา ต่อมาจึงถูกใช้เป็นพระแสงสำคัญคู่กับพระแสงขรรค์ชัยศรีที่สืบทอดมาจากพระยาแกรก กษัตริย์ในตำนาน ทั้งนี้พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางการเมืองในวัฒนธรรมเขมรมาตั้งแต่โบราณซึ่งสืบทอดมาถึงสมัยอยุทธยา จึงนำมาสู่การสันนิษฐานว่าดาบฟ้าฟื้นน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางการเองในวัฒนธรรมลาวของคนส่วนมากในกรุงเก่าซึ่งยกย่องดาบฟ้าฟื้นเสมอพระแสงขรรค์ชัยศรีของเขมร
- ฟ้าฟื้น ก็เป็นคำไท-ลาวโบราณ มีร่องรอยให้น่าเชื่อว่ามาจากชื่อปู่ฟ้าฟื้นในตำนานผีบรรพชนของกษัตริย์ หรือเจ้านายเมืองน่าน ซึ่งเป็นเครือญาติกับกษัตริย์สุโขทัย ซึ่งมีลำดับรายชื่ออยู่ในจารึกปู่สบถหลานพบที่เมืองสุโขทัย
- ดาบฟ้าฟื้น หมายถึง ดาบ (อาวุธ) วิเศษที่ผีฟ้าพญาแถนสร้างคืนกลับขึ้นใหม่ในสถานการณ์ศักดิ์สิทธิ์
- ฟ้าฟื้น หมายถึง เทวดาสร้างคืนกลับขึ้นใหม่ (ฟ้า หมายถึง เทวดา, แถน, ฟื้น แปลว่า คืนกลับ, พลิกกลับขึ้นมา, สร้างใหม่)
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความศักดิ์สิทธิดั้งเดิมลดน้อยลง แล้วค่อยๆ วิวัฒนาการมาเป็นเสภาขุนช้างขุนแผนในสมัยรัตนโกสินทร์ครับ
ข้อสันนิษฐานที่ว่าขุนช้าง-ขุนแผนมีรากเดิมที่เก่าแก่มาก พิจารณาจากตอนต้นของเสภาขุนช้าง-ขุนแผนที่ระบุว่าเหตุการณ์ของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อ "ศักราชร้อยสี่สิบเจ็ดปี" ซึ่งเดิมสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าจะเขียนตกมาจาก "แปดร้อยสี่สิบเจ็ดปี" หมายถึงจุลศักราช ๘๔๗ (พ.ศ. ๒๐๒๘) สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ซึ่งเป็นปีที่ขุนแผนเกิด แล้วพอโตขึ้นแล้วก็จะตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเชื่อกันว่าคือองค์เดียวกับพระพันวษา
แต่พิเศษ เจียจันทร์พงศ์ เสนอว่า "ศักราชร้อยสี่สิบเจ็ดปี" นั้นถูกต้องแล้ว โดยเป็นตัวเลขเดียวกับเลขศักราชสุดท้ายในตำนานของล้านนาคือ "อัญชนะศักราช" ซึ่งกล่าวว่าเป็นศักราชที่ใช้นับเวลาก่อนพุทธศักราช ๑๔๘ ปี กล่าวคืออัญชนะศักราชที่ ๑๔๘ คือปีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งเป็นปีแรกของพุทธศักราชนั่นเอง
ศักราช ๑๔๗ ในขุนช้างขุนแผนนั้นเป็นปีเดียวกับ อัญชนะศักราช ๑๔๘ ทั้งที่มีตัวเลขต่างกัน ๑ ปี เนื่องจากว่า ๑๔๗ เป็นการนับแบบเมื่อครบปีจึงเริ่มนับหนึ่ง ส่วน ๑๔๘ เป็นการนับแบบย่าง คือเมื่อย่างปีก็เริ่มนับ ๑ เลย จำนวนปีจึงอาจต่างกันได้
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าเหตุการณ์ในขุนช้างขุนแผนเกิดตั้งแต่ พ.ศ. ๑ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่เพราะศักราช ๑๔๗ เป็นตัวเลขที่คนสมัยก่อนมีความคุ้นเคยเมื่อนึกถึงเวลาที่เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ เป็นเหมือนจำนวนแรกที่ติดปาก มากกว่าจะเจาะจงปีใดปีหนึ่ง (ทำนองเดียวกับ 'โจร ๕๐๐' ไม่ได้แปลว่ามีโจรห้าร้อยคน)
ศักราชชนิดนี้พบในเอกสารล้านนาที่ใช้อธิบายลำดับชั้นพระอัยกาของพระพุทธเจ้า ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์ในชพูทวีป ๓ องค์คือ พระเจ้าอัญชนะแห่งกรุงเทวทหะ พระเจ้าสีหหนุแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และพระเจ้าพาทิยะแห่งกรุงราชคฤห์ พบในหนังสือเกี่ยวกับตำนานบรรพบุรุษของพญามังราย (ลวจักราชหรือปู่เจ้าลาวจก) คือ เอกสารตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ โดยเล่าพุทธประวัติสั้นๆ ก่อนเล่าเรื่องลวจักราชลงจากสวรรค์มาถือกำเนิดในโลกมนุษย์ โดยตอนพุทธประวัติจะเล่าถึง "ปัญจมหาวิโลกนะ" คือเหตุการณ์ที่โลกเกิดโกลาหล ๕ ครั้ง ซึ่งจะมีอัญชนะศักราชระบุอยู่ด้วยเสมอ (ครั้งสุดท้ายคือศักราช ๑๔๘ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน)
ในที่นี้ก็คือการบอกว่า ขุนช้าง-ขุนแผน เป็นเรื่องโบราณปรัมปราที่เกิดขึ้นมานานนมแล้วครับ
ในเอกสาร "คำให้การชาวกรุงเก่า" หรือ โยดะยายาซะวิง (Yodaya Yazawin - ราชวงศ์อยุทธยา) ซึ่งเรียบเรียงมาจากคำให้การของเชลยชาวอยุทธยาที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าหลังสงครามเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้กล่าวถึง "ขุนแผน" ว่าเป็นแม่ทัพอยุทธยาที่ยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ในรัชกาลของกษัตริย์ที่มีพระนามว่าสมเด็จพระพันวษา แต่ไม่ได้มีรายละเอียดอะไรมากนัก
อย่างไรก็ตาม การจะยึดถือเนื้อหาของคำให้การชาวกรุงเก่าเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมดนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่นั้นเหมือนเป็นเรื่องบอกเล่ากันปากต่อปากเป็นมุขปาฐะมากกว่าเนื้อหาที่มีหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ เนื้อหาหลายตอนเมื่อสอบทานกับหลักฐานชั้นต้นอื่นๆ พบว่ามีความคลาดเคลื่อนกันมาก มีลักษณะบอกเล่าของบุคคลที่ปนเปกันอยู่เสมอ รวมถึงอาจเอาเรื่องบุคคลที่มีตัวตนจริงไปปะปนกับเรื่องคติเชิงตำนาน
เนื้อหาที่เกี่ยวกับขุนแผนในคำให้การก็มีความพิสดารสูงและมีกลิ่นอายเป็นตำนานมาก นอกจากนี้ก็คลาดเคลื่อนอยู่หลายประเด็น เช่น ระบุว่าพระเจ้าเชียงใหม่มีพระนามว่าพระเจ้าโพธิสารราช ไปฉุดธิดาพระเจ้าล้านช้างซึ่งถูกส่งไปถวายสมเด็จพระพันวษาจนทำให้อยุทธยายกทัพไปตีเชียงใหม่ แต่ความจริงแล้วพระเจ้าโพธิสารราชเป็นกษัตริย์ล้านช้างและเป็นลูกเขยของพระเมืองเกษเกล้าแห่งเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารราชครองราชย์ในช่วง พ.ศ. ๒๐๖๓ ถึง ๒๐๙๑ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในระหว่างนั้นอยุทธยากับเชียงใหม่ก็มีสงครามกันหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีครั้งใดที่อยุทธยาสามารถพิชิตเชียงใหม่ได้อย่างเด็ดขาดจนพระเจ้าเชียงใหม่ต้องทิ้งเมืองตามที่คำให้การระบุ เพิ่งมาปรากฏถูกตีแตกจริงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เรื่องขุนแผนเป็นชาวเมืองสุพรรณบุรีไม่ปรากฏในคำให้การสมัยอยุทธยา ก็เพิ่งมาปรากฏในเสภาที่แต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่มีขนบธรรมเนียมและอิทธิพลสมัยรัตนโกสินทร์ไปเจือปนมากแล้ว การจะเอาสถานที่ที่ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์เข้าไปเจือปนในวรรณกรรมก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด สภาพเมืองสุพรรณบุรีที่ปรากฏในเสภาขุนช้างขุนแผนนั้น ผมเห็นว่าเป็นสภาพที่จำลองมาจากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับผู้แต่งเสภาหลายท่าน ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าวรรณกรรมเรื่องนี้คงเล่าสืบต่อกันมาเป็นทอดๆ และก็มีการแต่งเสริมเรื่องราวมากขึ้นตามเวลา
ข้อนี้ผมเห็นตรงกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงพระนิพนธ์คำนำของเสภาขุนช้างชุนแผนไว้ว่า “ตัวเรื่องขุนช้างขุนแผนที่เล่าในคำให้การชาวกรุงเก่า แม้สังเขปเพียงนั้น ยังเห็นได้ว่าไม่ตรงกับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่เราขับเสภากัน ความข้อนี้ก็ไม่อัศจรรย์อันใด ด้วยเรื่องขุนช้างขุนแผนเอามาเล่าเป็นนิทานกันเสียช้านานหลายร้อยปี แลซ้ำมาแต่งเป็นกลอนเสภาในชั้นหลังอิก คงตกแต่งเรื่องให้พิลึกกึกก้องสนุกสนานขึ้น แลต่อเติมยืดยาวออกทุกที เชื่อได้ว่าเรื่องในเสภาคงคลาศเคลื่อนจากเรื่องเดิมเสียมาก แต่คงจะยังมีเค้ามูลเรื่องเดิมอยู่บ้าง”
มีข้อน่าสนใจคือ แม้จะเป็นสำนวนสมัยหลัง แต่พิจารณาจากตำแหน่งตัวละครเอกคือ ขุนช้าง-ขุนแผน นั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น “ขุน” ซึ่งในสมัยอยุทธยาตอนปลายมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์เป็นเพียงบรรดาศักดิ์ระดับล่างๆ แต่ในสมัยอยุทธยาตอนต้นถึงช่วงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถนั้น พบว่า “ขุน” เป็นตำแหน่งระดับสูง จึงเป็นไปได้ว่าเรื่องขุนช้าง-ขุนแผนนี้อาจมีเค้ามูลมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนต้นแล้วก็เป็นได้ หรืออาจจะเก่าแก่กว่านั้น เพราะ "ขุน" ในวัฒนธรรมไท-ลาวโบราณหมายถึง กษัตริย์
ขุนช้าง เป็นตำแหน่งโบราณ พบในกฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถหลายมาตรา เข้าใจว่าหมายถึงขุนนางที่ควบคุมดูแลทหารช้าง นอกจากนี้ยังพบตำแหน่งแบบโบราณอีกหลายตำแหน่งคือ ขุนม้า ขุนดาบ ขุนเรือ ขุนตำรวจ ขุนสนม แม้ในสมัยหลังจำมีตำแหน่งจางวางหรือเจ้ากรมพระคชบาลมาแล้ว ก็ยังปรากฏในพงศาวดารใช้คำว่า “ขุนช้าง” อยู่
เช่น ปรากฏในพงศาวดารตอนพระราชพิธีอาศวยุธในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถว่า “เรือจำนำขุนช้างขุนม้าขุนตำรวจ ขุนดาบ ขุนด่าน ขุนการ ทหารพลเรือนทั้งปวง” หรือในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ที่กล่าวถึง “พระยาตะนาวแลพฤฒิบาลแลขุนช้างชาวช้างทั้งหลาย” แต่ในสมัยหลังที่บรรดาศักดิ์ขุนนางเฟ้อขึ้น ขุนช้างจึงอาจจะลดความหมายลงมาหมายถึง ข้าราชการชั้นขุนในกรมช้างที่มีจำนวนมากอย่างรวมๆ เท่านั้น
ขุนแผน ก็พบหลักฐานว่ามีอยู่ในสมัยอยุทธยาตอนต้น พบในพระราชกำหนดในสมัยพระเจ้ารามาธิบดี (อู่ทอง) มีอยู่ตอนหนึ่งกล่าวถึง “ขุนแผน” บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นตำแหน่งเดียวกับ “ขุนแผลงสะท้าน” ปลัดซ้ายกรมพระตำรวจภูบาล ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ซึ่งตำแหน่งนี้บางครั้งก็สะกดว่า “ขุนแผนสะท้าน” (พบในพงศาวดารตอนสมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถี)
นักประวัติศาสตร์บางคน เช่น สุจิตต์ วงษ์เทศ สันนิษฐานว่ารากเดิมของขุนช้าง-ขุนแผนอาจจะมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุทธยา โดยเป็นตำนานวีรบุรุษหรือนิทานศักดิ์สิทธิของกลุ่มชนที่พูดภาษาไท-ลาว โดยอาจจะมีโครงเรื่องเดิมแค่ขุนแผนกับดาบฟ้าฟื้นเท่านั้น สันนิษฐานด้วยว่าอาจเป็นวรรณกรรมในรัฐสุพรรณภูมิโบราณซึ่งได้รับอิทธิพลไท-ลาวมาจากสองฝั่งโขง เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่เกิดในสุพรรณบุรี และเมื่อสุพรรณภูมิเข้าไปมีอิทธิพลเหนือกรุงศรีอยุทธยา ก็นำวรรณกรรมนี้เข้าไปด้วย
ทั้งนี้เพราะชื่อ “ขุนแผน” มีที่มาจากคำว่า แถน หมายถึง ผีฟ้า เป็นผีบรรพชนของคนในวัฒนธรรมลาวลุ่มน้ำโขง (ภาษาปากเรียก ผีฟ้าพญาแถน) ในโองการแช่งน้ำ วรรณกรรมยุคต้นอยุทธยาใช้คำว่า “ขุนแผน” เรียกแทนพระพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก จึงเข้าใจว่ามีความหมายแปลงไปจากเดิมหลังจากได้รับวัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดูเข้าไปผสม จึงเห็นได้ว่าในสมัยอยุทธยาตอนต้นนั้น “ขุนแผน” นั้นมีสถานะสูง การที่วรรณกรรมใช้ชื่อนี้เป็นตัวเอก น่าจะเป็นการบ่งบอกถึงสถานะตำนานศักดิ์
ดาบฟ้าฟื้นของขุนแผน ในคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าขุนแผนถวายให้พระพันวษา ต่อมาจึงถูกใช้เป็นพระแสงสำคัญคู่กับพระแสงขรรค์ชัยศรีที่สืบทอดมาจากพระยาแกรก กษัตริย์ในตำนาน ทั้งนี้พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางการเมืองในวัฒนธรรมเขมรมาตั้งแต่โบราณซึ่งสืบทอดมาถึงสมัยอยุทธยา จึงนำมาสู่การสันนิษฐานว่าดาบฟ้าฟื้นน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางการเองในวัฒนธรรมลาวของคนส่วนมากในกรุงเก่าซึ่งยกย่องดาบฟ้าฟื้นเสมอพระแสงขรรค์ชัยศรีของเขมร
- ฟ้าฟื้น ก็เป็นคำไท-ลาวโบราณ มีร่องรอยให้น่าเชื่อว่ามาจากชื่อปู่ฟ้าฟื้นในตำนานผีบรรพชนของกษัตริย์ หรือเจ้านายเมืองน่าน ซึ่งเป็นเครือญาติกับกษัตริย์สุโขทัย ซึ่งมีลำดับรายชื่ออยู่ในจารึกปู่สบถหลานพบที่เมืองสุโขทัย
- ดาบฟ้าฟื้น หมายถึง ดาบ (อาวุธ) วิเศษที่ผีฟ้าพญาแถนสร้างคืนกลับขึ้นใหม่ในสถานการณ์ศักดิ์สิทธิ์
- ฟ้าฟื้น หมายถึง เทวดาสร้างคืนกลับขึ้นใหม่ (ฟ้า หมายถึง เทวดา, แถน, ฟื้น แปลว่า คืนกลับ, พลิกกลับขึ้นมา, สร้างใหม่)
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความศักดิ์สิทธิดั้งเดิมลดน้อยลง แล้วค่อยๆ วิวัฒนาการมาเป็นเสภาขุนช้างขุนแผนในสมัยรัตนโกสินทร์ครับ
ข้อสันนิษฐานที่ว่าขุนช้าง-ขุนแผนมีรากเดิมที่เก่าแก่มาก พิจารณาจากตอนต้นของเสภาขุนช้าง-ขุนแผนที่ระบุว่าเหตุการณ์ของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อ "ศักราชร้อยสี่สิบเจ็ดปี" ซึ่งเดิมสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าจะเขียนตกมาจาก "แปดร้อยสี่สิบเจ็ดปี" หมายถึงจุลศักราช ๘๔๗ (พ.ศ. ๒๐๒๘) สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ซึ่งเป็นปีที่ขุนแผนเกิด แล้วพอโตขึ้นแล้วก็จะตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเชื่อกันว่าคือองค์เดียวกับพระพันวษา
แต่พิเศษ เจียจันทร์พงศ์ เสนอว่า "ศักราชร้อยสี่สิบเจ็ดปี" นั้นถูกต้องแล้ว โดยเป็นตัวเลขเดียวกับเลขศักราชสุดท้ายในตำนานของล้านนาคือ "อัญชนะศักราช" ซึ่งกล่าวว่าเป็นศักราชที่ใช้นับเวลาก่อนพุทธศักราช ๑๔๘ ปี กล่าวคืออัญชนะศักราชที่ ๑๔๘ คือปีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งเป็นปีแรกของพุทธศักราชนั่นเอง
ศักราช ๑๔๗ ในขุนช้างขุนแผนนั้นเป็นปีเดียวกับ อัญชนะศักราช ๑๔๘ ทั้งที่มีตัวเลขต่างกัน ๑ ปี เนื่องจากว่า ๑๔๗ เป็นการนับแบบเมื่อครบปีจึงเริ่มนับหนึ่ง ส่วน ๑๔๘ เป็นการนับแบบย่าง คือเมื่อย่างปีก็เริ่มนับ ๑ เลย จำนวนปีจึงอาจต่างกันได้
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าเหตุการณ์ในขุนช้างขุนแผนเกิดตั้งแต่ พ.ศ. ๑ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่เพราะศักราช ๑๔๗ เป็นตัวเลขที่คนสมัยก่อนมีความคุ้นเคยเมื่อนึกถึงเวลาที่เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ เป็นเหมือนจำนวนแรกที่ติดปาก มากกว่าจะเจาะจงปีใดปีหนึ่ง (ทำนองเดียวกับ 'โจร ๕๐๐' ไม่ได้แปลว่ามีโจรห้าร้อยคน)
ศักราชชนิดนี้พบในเอกสารล้านนาที่ใช้อธิบายลำดับชั้นพระอัยกาของพระพุทธเจ้า ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์ในชพูทวีป ๓ องค์คือ พระเจ้าอัญชนะแห่งกรุงเทวทหะ พระเจ้าสีหหนุแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และพระเจ้าพาทิยะแห่งกรุงราชคฤห์ พบในหนังสือเกี่ยวกับตำนานบรรพบุรุษของพญามังราย (ลวจักราชหรือปู่เจ้าลาวจก) คือ เอกสารตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ โดยเล่าพุทธประวัติสั้นๆ ก่อนเล่าเรื่องลวจักราชลงจากสวรรค์มาถือกำเนิดในโลกมนุษย์ โดยตอนพุทธประวัติจะเล่าถึง "ปัญจมหาวิโลกนะ" คือเหตุการณ์ที่โลกเกิดโกลาหล ๕ ครั้ง ซึ่งจะมีอัญชนะศักราชระบุอยู่ด้วยเสมอ (ครั้งสุดท้ายคือศักราช ๑๔๘ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน)
ในที่นี้ก็คือการบอกว่า ขุนช้าง-ขุนแผน เป็นเรื่องโบราณปรัมปราที่เกิดขึ้นมานานนมแล้วครับ
แสดงความคิดเห็น
ผมคนสุพรรณบุรี (ดอนเจดีย์) อยากทราบว่าตามหลักสากลแล้ว นักประวัติศาสตร์ มองเรื่องขุนแผน เป็นอย่างไร?
เข้าเรื่องดีกว่า ผมกำลังเถียงกับเกรียนในวิกิพีเดีย อยู่รอมร่อ
ในหน้าขุนแผน ซึ่งผมเองเป็นคนสุพรรณโดยกำเนิด จึงเชื่อเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องจริงโดยไม่ต้องสงสัย
นักประวัติศาสตร์บางคนยังใช้วลีเด็ดบอกเลยว่า
"อย่าไปคุยเรื่องขุนช้างขุนแผนกับคนสุพรรณเด็ดขาด เพราะมุมมองต่างกัน"
เหตุผลเดียวที่ทำให้ขุนแผนถูกมองว่าเป็นเรื่องแต่งเพราะชื่อพระมหากษัตริย์ไม่ปรากฎนาม (แต่ผมรู้สึกนะครับว่ามีปรากฎไว้ว่า พระพันวษา หรือพระเจ้าสามพระยา ที่มีพระนามตามสุพรรณบัตรว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2" ครับ ใครที่บอกไม่ปรากฎนามก็ไม่ค้านครับ เพราะเรามองต่างกัน เนื่องจากชื่อในนิทานมันเป็นชื่อลำลอง)
และอีกอย่างที่คนสุพรรณบุรีเชื่อเรื่องนี้เพราะมีพยานสถานที่ยืนยัน เช่น วัดป่าเลไลยก์ และที่พีคสุดคือ เขาชนไก่ ที่เป็นสถานที่สุดท้ายในบั้นปลายชีวิตของขุนแผน
(ทหารที่ประจำ ณ ศูนย์การกำลังสำรอง โรงเรียนรักษาดินแดน ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นทหารที่ต้องขึ้นเขาชนไก่ทุกวันที่ 4 มกราคม ของทุกปีไปอยู่ที่นั่น เพื่อฝึกเด็กภาคสนามรวมถึงพ่อของผมเองก็เป็นทหารที่ประจำในรด. แบะพักในแฟลตนายทหารที่นั่นด้วย ผมจึงเถียงมิได้เพราะทหารที่นั่นทุกคนพูดตรงกันว่า เจ้าพ่อเขาชนไก่ คือพลายแก้ว หรือขุนแผน)
ผมจึงอยากทราบทัศนของนักประวัติศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ
ห้ามด่า และกรุณาสุภาพด้วยนะครับ!