สิ่งที่อยากให้สมาคมเอากลับมาคิดคือ การจัดการลีกของเกาหลี
ถ้าทำดีๆ มันต่อยอดให้ทีมชาติได้เยอะนะ
ระบบลีกของเรา จะไปทำแบบจีนก็ยาก เพราะของเขาเป็นคอมมิวนิสต์ อิงกับมณฑลสูง ได้งบประมาณส่วนนึงจากมณฑล
ซึ่งของเราทำไม่ได้ ที่จะไปดึงงบประมาณจากจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดมา (มณฑลนึงของเขาบางแห่งก็ใหญ่พอๆกับประเทศไทยแล้ว)
ของญี่ปุ่น ก็มีสโมสรหลายสโมสร และตัวนักกีฬาเอง นอกจากจะเป็นนักกีฬาของสโมสรแล้ว หลายๆคน ก็เป็นพนักงานของบริษัทที่เป็นเจ้าของสโมสรด้วย
(เราคิดว่า บีจี จะทำไปในแนวนี้ แต่ยุบทีมไปก่อน ส่วยรายละเอียดและเหตุผลของการยุบทีม ขอไม่ลงรายละเอียด)
ลีกเกาหลี เพิ่งมาติดตามไม่นาน ยังไม่เข้าใจระบบทั้งหมด แต่คิดว่า มีส่วนที่คล้ายญี่ปุ่นตรงที่ มีบริษัทใหญ่เป็นเจ้าของสโมสร แต่เข้าใจว่า นักกีฬาอาจจะไม่ได้เป็นพนักงานของสโมสร
แต่ถ้าได้รับคัดเลือกเข้าไปเล่น ค่าตอบแทนมักจะสูง และสัญญาจะเป็นระยะยาวนานหลายปี อย่างน้อยก็เป้นหลักประกันว่า ถ้านักกีฬาได้รับคิดเลือกเข้าสโมสร จะไม่โดนตัดออกหรือไม่ต่อสัญญาตั้งแต่ปีแรก (แต่อาจจะเป็นข้อเสียสำหรับคนที่เก่งมากๆ ก็จะไปไหนลำบากเพราะติดสัญญา เหมือนตอนที่คิมมีปัญหา)
เคยดูคลิปการเลือกนักกีฬาใหม่เข้าทีม จะคัดพร้อมกันทั้งที่เด็กจบมัธยมและเด็กจากลีกมหาลัย ซึ่งตามที่เห็นและคิดจากการดูคลิปคัดเลือกนักกีฬา (ซึ่งอาจจะเข้าใจถูกบ้างผิดบ้าง)
คือ โค้ชของแต่ละทีม จะขึ้นมาบนเวที แล้วเลือกรายชื่อนักกีฬาสลับวนกันไป แล้วแต่ว่าใครอยากได้ตำแหน่งไหนบ้าง เลือกได้รอบละคน
ไม่ใช่การจับฉลาก เพราะจะเห็นรายชื่อนักกีฬาอยู่บนบอร์ด แล้วโค้ชของทีมจะหยิบป้ายรายชื่อขึ้นมา แล้วไปแปะที่กระดานรายชื่อทีมของตนเอง
คนที่มีชื่อซึ่งนั่งรออยู่ด้านล่าง ก็จะขึ้นมาข้างบน โค้ชคนที่เลือกก็จะให้เสื้อทีม เด็กก็จะสวมทับไปเลย หรือบางทีก้ให้เสื้อให้หมวกทีม ถ่ายรูปพอเป็นพิธี
เช่น ทีม A ขึ้นมา เลือกไป 1 คน ทีม B ขึ้นมา เลือก 1 คน ทีม C ขึ้นมา เลือก 1 คน
สมมติทีม A อยากได้หัวเสาเพิ่มในปีนี้ 3 คน ก็ต้องขึ้นมา 3 รอบ ไม่ใช่ขึ้นมารอบแรก แล้วช้อนไปทีเดียว 3 คน (มันก็เป็นข้อดีตรงที่ ป้องกันทีมใดทีมนึงช้อนเด็กเก่งไปทีเดียวหมด ถึงเวลาแข่งก็ไปโดนดอง เด็กก็ไม่มีการพัฒนา และถ้าทีมแรกเลือกช้อนเด็กดีๆไปหมด อีทีมที่ขึ้นมาเลือกทีหลังทีมที่ 6-7 ก็คงไม่เหลือตัวดีๆแล้วอะ)
เด็กเก่ง จะกระจายกันไปทุกทีม
แต่ละทีมมีระบบการจัดการและรายได้เท่าๆกัน ไม่ได้ต่างกันมาก
(ของไทยนี่ บางทีมให้เงินเดือนนักกีฬา 5000 แล้วสัญญาจ้างแค่ 5-6 เดือน ใครมันจะมาอยากเป็นนักกีฬา ได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำอีก)
เมื่อผลตอบแทนดี มันก็เป็นแรงจูงใจให้คนอยากเป็นนักกีฬามากขึ้น
(ซึ่งในวงการฟุตบอลของไทยทำได้แล้ว เมื่อก่อนนั้น ใครจะคิดบ้างว่า ตอนนี้เงินเดือนนักฟุตบอล ได้ค่าจ้างมากกว่านักฟุตบอลญี่ปุ่น)
และการที่กระจายเด็กไปอยู่หลายๆทีม มันก็ทำให้เด็กมีที่แสดงฝีมือมากขึ้น
หันมามองของไทย ก็รู้อะนะว่า อยู่ทีมใหญ่ โอกาสได้ลงเล่นมันน้อย แต่ก็ยอม เพราะรายได้มันต่างกันชัดเจนมาก
บางทีคนเรามันก็ต้องคิดเรื่องปากท้อง เรื่องรายได้
คนที่ด่าเขาว่าเห็นแก่เงิน ถ้าเขาเลิกเล่นกีฬา ไม่มีงานทำ จะหาเงินให้เขาใช้หรือเปล่า
อย่างของ อิมดองฮยอก ถ้าเราจำไม่ผิด พ่อฮีเสียตั้งแต่ตอนมัธยมนะ ก็เหลือแต่แม่
เราว่าฮีแกร่งพอตัวเลยนะ กับการใช้ชีวิตในสังคมเกาหลี
ถ้าอยู่ในไทย พอจบมัธยมอาจจะลังเล แบบ ไปหาทุนเรียนเพื่อให้จบมาได้งานที่มั่นคง เลี้ยงดูครอบครัวไป หรือถ้าจะเล่นกีฬาเราว่าไปอยุ่แอร์ฟอร์ซเป็นทหารอากาศแน่ๆ ทีมชาย เก่งสุดๆในไทย มันก็ยังมีทางเลือกไม่เท่าไหร่
(เคยเจอบอลเร้วทหารอากาศคนนึง สุดท้ายก็ลาออก แล้วไปทำงานสายโรงแรม เขาบอกว่า เป็นจ่ามันไม่พอกิน)
แต่ระดับเอซยุวชนเยาวชน pass ชั้นไปคิด U20 ตั้งแต่ 15-16 หลายทีมต้องการตัว ประกอบกับพ่อเสีย การดูแลตัวเองต้องมากกว่าคนอื่นที่มีครอบครัวช่วย ก็ตัดสินใจได้ไม่ยากว่าไปเล่นลีกอาชีพดีกว่า เพราะเงินเดือนดีกว่า เลี้ยงตัวเองได้
มันอาจจะเป็นโจทย์ใหญ่และยากพอสมควร
แต่ก็อยากให้สมาคมวอลเลย์บอลทำได้ เหมือนสมาคมฟุตบอลทำได้ เพราะลีกฟุตบอลก็ย่ำแย่เหมือนกัน ต้องเอาตลกมาเล่นตอนพักครึ่งเพื่อเรียกแขกเรียกคนดู
ดูแต่ละทีมของเกาหลี ฝีมือมันไม่ต่างกันมาก
แน่นอนว่ามันต้องมีทีมที่เก่งมาก เก่งน้อย
แต่มันไม่ได้ต่างกันขนาดของไทยลีก ที่แทบจะเดาได้เลยว่า ทีมไหนจะบ๊วย หรือแน่ใจได้เลยว่า ถ้าเจอกันทีมไหนจะชนะ
ตัวสำรองกับตัวจริงของเขา ฝีมือมันไม่ได้หนีกันมาก
เมื่อค่าจ้างดี ระบบการดูลจากสโมสรดี นักกีฬาก็ฝึกซ้อมได้เต็มที่ ไม่ต้องพะวงกับเรื่องอื่นๆมากนัก
ถ้าใครทำผลงานไม่ได้ หมดสัญญาก็อาจจะไม่ได้ต่อสัญญา
ใครผลงานดี นอกจากได้ต่อสัญญาแล้ว ค่าตัวขึ้นอีก
แล้วรายการ KOVO Cup นี่ ตัวที่เข้าแคมป์ทีมชาติ ไม่ได้ปล่อยออกมาแข่งเลย
แล้วดูคนที่ได้ Best scorer อีโซยังนี่ ปีที่แล้วสำรองยาวแทบทุกนัดนะ
แถม GS ก็ทีมกลางๆ คังโซวี กะกัปตัน KOVO cup ตอนนี้จองคนละเสา ปีที่แล้วมีฟาตูเป้นบีหลัง
ขนาดตอนกัปตันเจ็บตอนท้ายๆฤดูยังแทบไม่ได้ลง
แล้วดูทีมอื่นๆ หัวเสาเขาลงมาแทบไม่ต่างจากตัวหลักมาก
บอลเสิร์ฟก็น่ากลัวทุมทีม เกมรับ เกมบล็อก เหนียวกันทุกทีม
หันมามองสำรองทีมชาติของเราแล้วปวดหัว
แน่นอนว่า ถ้าเกาหลีใต้ ไม่มีคิม คงจะดรอปลงบ้าง
แต่ด้วยระบบลีกที่ค่อนข้างแข็งของเขา ทำให้เขาหาตัวเปลี่ยนได้ไม่ยาก แม้จะไม่ดีเท่าเดิม
ยังสร้างแรงจูงใจให้หาคนเก่งให้เข้าสู่ทีมชาติได้
ถ้าไม่มีคิม ก็อาจจะมีช่วงที่ตกไปบ้าง เหมือนที่แพ้เวียดนาม 2-3 ตอนปี 2012
แต่คิดว่า ถึงไม่มีคิม เกาหลีก็ต้องหาทางกลับมาจนได้
ปล. ช่วงนี้ยังไม่มีข่าวอัพเดทของอิมซองจิน
ฮีเพิ่งจะกลับบ้าน หลังจากแข่ง U20 ที่บาห์เรนเสร็จ ฮีก็ตะเวณแรดกับเพื่อนทุกวัน เป็นอาทิตย์ เพิ่งจะกลับบ้านไม่กี่วันนี้เอง
มีแค่คอมเมน้ท์กับอึนฮูเล็กๆน้อยๆ
ถึงจะแพ้ แต่อย่างน้อยอยากให้สมาคมเก็บบทเรียนอื่นๆกลับมาด้วย : เกาหลีใต้ ไม่ได้มีแค่คิม
ถ้าทำดีๆ มันต่อยอดให้ทีมชาติได้เยอะนะ
ระบบลีกของเรา จะไปทำแบบจีนก็ยาก เพราะของเขาเป็นคอมมิวนิสต์ อิงกับมณฑลสูง ได้งบประมาณส่วนนึงจากมณฑล
ซึ่งของเราทำไม่ได้ ที่จะไปดึงงบประมาณจากจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดมา (มณฑลนึงของเขาบางแห่งก็ใหญ่พอๆกับประเทศไทยแล้ว)
ของญี่ปุ่น ก็มีสโมสรหลายสโมสร และตัวนักกีฬาเอง นอกจากจะเป็นนักกีฬาของสโมสรแล้ว หลายๆคน ก็เป็นพนักงานของบริษัทที่เป็นเจ้าของสโมสรด้วย
(เราคิดว่า บีจี จะทำไปในแนวนี้ แต่ยุบทีมไปก่อน ส่วยรายละเอียดและเหตุผลของการยุบทีม ขอไม่ลงรายละเอียด)
ลีกเกาหลี เพิ่งมาติดตามไม่นาน ยังไม่เข้าใจระบบทั้งหมด แต่คิดว่า มีส่วนที่คล้ายญี่ปุ่นตรงที่ มีบริษัทใหญ่เป็นเจ้าของสโมสร แต่เข้าใจว่า นักกีฬาอาจจะไม่ได้เป็นพนักงานของสโมสร
แต่ถ้าได้รับคัดเลือกเข้าไปเล่น ค่าตอบแทนมักจะสูง และสัญญาจะเป็นระยะยาวนานหลายปี อย่างน้อยก็เป้นหลักประกันว่า ถ้านักกีฬาได้รับคิดเลือกเข้าสโมสร จะไม่โดนตัดออกหรือไม่ต่อสัญญาตั้งแต่ปีแรก (แต่อาจจะเป็นข้อเสียสำหรับคนที่เก่งมากๆ ก็จะไปไหนลำบากเพราะติดสัญญา เหมือนตอนที่คิมมีปัญหา)
เคยดูคลิปการเลือกนักกีฬาใหม่เข้าทีม จะคัดพร้อมกันทั้งที่เด็กจบมัธยมและเด็กจากลีกมหาลัย ซึ่งตามที่เห็นและคิดจากการดูคลิปคัดเลือกนักกีฬา (ซึ่งอาจจะเข้าใจถูกบ้างผิดบ้าง)
คือ โค้ชของแต่ละทีม จะขึ้นมาบนเวที แล้วเลือกรายชื่อนักกีฬาสลับวนกันไป แล้วแต่ว่าใครอยากได้ตำแหน่งไหนบ้าง เลือกได้รอบละคน
ไม่ใช่การจับฉลาก เพราะจะเห็นรายชื่อนักกีฬาอยู่บนบอร์ด แล้วโค้ชของทีมจะหยิบป้ายรายชื่อขึ้นมา แล้วไปแปะที่กระดานรายชื่อทีมของตนเอง
คนที่มีชื่อซึ่งนั่งรออยู่ด้านล่าง ก็จะขึ้นมาข้างบน โค้ชคนที่เลือกก็จะให้เสื้อทีม เด็กก็จะสวมทับไปเลย หรือบางทีก้ให้เสื้อให้หมวกทีม ถ่ายรูปพอเป็นพิธี
เช่น ทีม A ขึ้นมา เลือกไป 1 คน ทีม B ขึ้นมา เลือก 1 คน ทีม C ขึ้นมา เลือก 1 คน
สมมติทีม A อยากได้หัวเสาเพิ่มในปีนี้ 3 คน ก็ต้องขึ้นมา 3 รอบ ไม่ใช่ขึ้นมารอบแรก แล้วช้อนไปทีเดียว 3 คน (มันก็เป็นข้อดีตรงที่ ป้องกันทีมใดทีมนึงช้อนเด็กเก่งไปทีเดียวหมด ถึงเวลาแข่งก็ไปโดนดอง เด็กก็ไม่มีการพัฒนา และถ้าทีมแรกเลือกช้อนเด็กดีๆไปหมด อีทีมที่ขึ้นมาเลือกทีหลังทีมที่ 6-7 ก็คงไม่เหลือตัวดีๆแล้วอะ)
เด็กเก่ง จะกระจายกันไปทุกทีม
แต่ละทีมมีระบบการจัดการและรายได้เท่าๆกัน ไม่ได้ต่างกันมาก
(ของไทยนี่ บางทีมให้เงินเดือนนักกีฬา 5000 แล้วสัญญาจ้างแค่ 5-6 เดือน ใครมันจะมาอยากเป็นนักกีฬา ได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำอีก)
เมื่อผลตอบแทนดี มันก็เป็นแรงจูงใจให้คนอยากเป็นนักกีฬามากขึ้น
(ซึ่งในวงการฟุตบอลของไทยทำได้แล้ว เมื่อก่อนนั้น ใครจะคิดบ้างว่า ตอนนี้เงินเดือนนักฟุตบอล ได้ค่าจ้างมากกว่านักฟุตบอลญี่ปุ่น)
และการที่กระจายเด็กไปอยู่หลายๆทีม มันก็ทำให้เด็กมีที่แสดงฝีมือมากขึ้น
หันมามองของไทย ก็รู้อะนะว่า อยู่ทีมใหญ่ โอกาสได้ลงเล่นมันน้อย แต่ก็ยอม เพราะรายได้มันต่างกันชัดเจนมาก
บางทีคนเรามันก็ต้องคิดเรื่องปากท้อง เรื่องรายได้
คนที่ด่าเขาว่าเห็นแก่เงิน ถ้าเขาเลิกเล่นกีฬา ไม่มีงานทำ จะหาเงินให้เขาใช้หรือเปล่า
อย่างของ อิมดองฮยอก ถ้าเราจำไม่ผิด พ่อฮีเสียตั้งแต่ตอนมัธยมนะ ก็เหลือแต่แม่
เราว่าฮีแกร่งพอตัวเลยนะ กับการใช้ชีวิตในสังคมเกาหลี
ถ้าอยู่ในไทย พอจบมัธยมอาจจะลังเล แบบ ไปหาทุนเรียนเพื่อให้จบมาได้งานที่มั่นคง เลี้ยงดูครอบครัวไป หรือถ้าจะเล่นกีฬาเราว่าไปอยุ่แอร์ฟอร์ซเป็นทหารอากาศแน่ๆ ทีมชาย เก่งสุดๆในไทย มันก็ยังมีทางเลือกไม่เท่าไหร่
(เคยเจอบอลเร้วทหารอากาศคนนึง สุดท้ายก็ลาออก แล้วไปทำงานสายโรงแรม เขาบอกว่า เป็นจ่ามันไม่พอกิน)
แต่ระดับเอซยุวชนเยาวชน pass ชั้นไปคิด U20 ตั้งแต่ 15-16 หลายทีมต้องการตัว ประกอบกับพ่อเสีย การดูแลตัวเองต้องมากกว่าคนอื่นที่มีครอบครัวช่วย ก็ตัดสินใจได้ไม่ยากว่าไปเล่นลีกอาชีพดีกว่า เพราะเงินเดือนดีกว่า เลี้ยงตัวเองได้
มันอาจจะเป็นโจทย์ใหญ่และยากพอสมควร
แต่ก็อยากให้สมาคมวอลเลย์บอลทำได้ เหมือนสมาคมฟุตบอลทำได้ เพราะลีกฟุตบอลก็ย่ำแย่เหมือนกัน ต้องเอาตลกมาเล่นตอนพักครึ่งเพื่อเรียกแขกเรียกคนดู
ดูแต่ละทีมของเกาหลี ฝีมือมันไม่ต่างกันมาก
แน่นอนว่ามันต้องมีทีมที่เก่งมาก เก่งน้อย
แต่มันไม่ได้ต่างกันขนาดของไทยลีก ที่แทบจะเดาได้เลยว่า ทีมไหนจะบ๊วย หรือแน่ใจได้เลยว่า ถ้าเจอกันทีมไหนจะชนะ
ตัวสำรองกับตัวจริงของเขา ฝีมือมันไม่ได้หนีกันมาก
เมื่อค่าจ้างดี ระบบการดูลจากสโมสรดี นักกีฬาก็ฝึกซ้อมได้เต็มที่ ไม่ต้องพะวงกับเรื่องอื่นๆมากนัก
ถ้าใครทำผลงานไม่ได้ หมดสัญญาก็อาจจะไม่ได้ต่อสัญญา
ใครผลงานดี นอกจากได้ต่อสัญญาแล้ว ค่าตัวขึ้นอีก
แล้วรายการ KOVO Cup นี่ ตัวที่เข้าแคมป์ทีมชาติ ไม่ได้ปล่อยออกมาแข่งเลย
แล้วดูคนที่ได้ Best scorer อีโซยังนี่ ปีที่แล้วสำรองยาวแทบทุกนัดนะ
แถม GS ก็ทีมกลางๆ คังโซวี กะกัปตัน KOVO cup ตอนนี้จองคนละเสา ปีที่แล้วมีฟาตูเป้นบีหลัง
ขนาดตอนกัปตันเจ็บตอนท้ายๆฤดูยังแทบไม่ได้ลง
แล้วดูทีมอื่นๆ หัวเสาเขาลงมาแทบไม่ต่างจากตัวหลักมาก
บอลเสิร์ฟก็น่ากลัวทุมทีม เกมรับ เกมบล็อก เหนียวกันทุกทีม
หันมามองสำรองทีมชาติของเราแล้วปวดหัว
แน่นอนว่า ถ้าเกาหลีใต้ ไม่มีคิม คงจะดรอปลงบ้าง
แต่ด้วยระบบลีกที่ค่อนข้างแข็งของเขา ทำให้เขาหาตัวเปลี่ยนได้ไม่ยาก แม้จะไม่ดีเท่าเดิม
ยังสร้างแรงจูงใจให้หาคนเก่งให้เข้าสู่ทีมชาติได้
ถ้าไม่มีคิม ก็อาจจะมีช่วงที่ตกไปบ้าง เหมือนที่แพ้เวียดนาม 2-3 ตอนปี 2012
แต่คิดว่า ถึงไม่มีคิม เกาหลีก็ต้องหาทางกลับมาจนได้
ปล. ช่วงนี้ยังไม่มีข่าวอัพเดทของอิมซองจิน
ฮีเพิ่งจะกลับบ้าน หลังจากแข่ง U20 ที่บาห์เรนเสร็จ ฮีก็ตะเวณแรดกับเพื่อนทุกวัน เป็นอาทิตย์ เพิ่งจะกลับบ้านไม่กี่วันนี้เอง
มีแค่คอมเมน้ท์กับอึนฮูเล็กๆน้อยๆ