คนโบราณชอบแต่งเรื่องโกหก เพื่อสอนลูกหลานให้เป็นคนดีจริงมั้ยครับ?

พอดีผมอ่านจดหมายของท่านเหลี่ยวฝาน  ชื่อโอวาสสี่ของท่านเหลี่ยวฝาน

เป็นคำสอนที่มาจากจดหมายที่ท่านเหลี่ยวฝาน อดีตขุนนางจีน เขียนเพื่อสอนลูกให้เป็นคนดี

ในจดหมายนั้นดีหมด แต่ผมอ่านแล้วรู้สึกมีพิรุธตรงที่ท่านเล่าว่า ท่านได้ตำราดูโชคชะตา มาจากท่านผู้เฒ่าท่านหนึ่ง

แม่นมากถึงขนาดว่าจะได้เบี้ยหวัดจากราชการเท่าไหร่ในปีไหนตรงเป๊ะๆ

ปัญหาคือสมัยนี้ใครจะเชื่อเรื่องแบบนั้นจริงมั้ยครับ?


แต่ที่ท่านเล่านั้น เพราะต้องการหลอกลูกชายว่าชะตาฟ้าลิขิตแต่เปลี่ยนได้ด้วยการทำดี

เพราะถ้าเชื่อตามตำราที่ท่านอ่านแล้วทำนายได้แม่นยำมาตลอดท่านจะต้องตายเร็วกว่านี้และไม่มีลูก



แต่พอทำความดีสะสมไว้เยอะๆ ชีวิตท่านก็เริ่มเปลี่ยนไปไม่ตรงกับคำพยากรณ์



ผมจึงคิดได้ว่าเรื่องราวต่างๆที่คนโบราณ ใช้สอนเรา เช่น ในศาสนาต่างๆ ไหว้เจ้า เทพยาดา นรก สวรรค์ ก็คนโบราณแต่งขึ้นเรียกง่ายๆว่าโกหก เพื่อสอนคนให้เป็นคนดี  เรื่องไหนแต่งได้ดี ก็ยังเชื่อกันอยู่ เรื่องไหนโกหกแบบเหลือเชื่อคนก็เลิกเชื่อไป


แต่มันน่าแปลกคือ สอนให้คนเป็นคนดี แต่ตัวเองกับทำชั่วด้วยการโกหก

ดังนั้นแสดงว่ามีคนอยู่จำพวกนึง ที่มีคุณลักษณะแบบนี้คือแต่งเรื่องขึ้นเสมือนจริงไม่รู้สึกผิดอะไรเพื่อให้ได้ตามที่ตนต้องการ


ยกตัวอย่าง ท่าน โรเบิร์ต คิยาซากิ  ที่แต่งเรื่องพ่อรวยสอนลูก

แต่ก่อนใครๆก็เชื่อว่าเรื่องที่ท่านเล่าว่า มีพ่อจริงๆที่รับราชการ กับพ่อเพื่อนคือคนรวย สอนต่างกัน และท่านได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง

ใครๆก็คิดว่าเป็นเรื่องจริง ตอนหลังมีคนออกมาบอกว่าเป็นเรื่องแต่ง

และคุณโรเบิร์ต ก็เหมือนจะยอมรับเรื่องนี้แล้ว



เมื่อผมเขียนมาถึงตรงนี้ถ้ามีคนทนอ่านมาถึงนี้ อาจถามว่าผมต้องการอะไร  จริงๆสิ่งที่ผมต้องการสื่อผมพูดไม่ได้ มีใครเดาใจผมได้มั้ยครับ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่