โดยค่าใช้จ่ายที่กองทุนรวมเรียกเก็บจากผู้ลงทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุนโดยตรง (Transaction Fee) ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องจ่ายให้แก่บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) และผู้ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน เมื่อมีการซื้อขาย สับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในกองทุนรวมเกิดขึ้นนั่นเอง ซึ่งได้แก่
- ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการซื้อหน่วยลงทุน โดยจะบวกเข้าไปในมูลค่าหน่วยลงทุนที่จ่ายซื้อ
- ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ บลจ. โดยจะหักออกจากเงินที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน
- ค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนกองทุน (Switching Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ลงทุนต้องการสับเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุนรวมหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมอีกกองหนึ่ง ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ. เดียวกัน หรือต่างบลจ. ก็ได้
- ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการโอนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้อื่น ค่าธรรมเนียมในการออกใบหน่วยลงทุนใหม่ และค่าปรับ (Exit Fee) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น กรณีขายคืนหน่วยลงทุนก่อนกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการลงทุน เป็นต้น
โดยค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ผู้ลงทุนอาจถูกเรียกเก็บในอัตราที่ไม่เท่ากัน หรืออาจจะไม่มีการเรียกเก็บเลยก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุนรวม แต่จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจนให้ผู้ลงทุนได้รับทราบ
2. ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากตัวกองทุนรวมเอง (Ongoing Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนรวม และเป็น "ต้นทุนทางอ้อม" ที่แต่ละกองทุนรวมเรียกเก็บจากกองทรัพย์สินในอัตราที่ไม่เท่ากัน โดยผู้ลงทุนต้องแบกรับไว้ภายหลังจากที่มีการซื้อหน่วยลงทุนแล้วไม่ว่าผลของการบริหารจัดการกองทุนรวมนั้นจะติดลบหรือได้กำไรก็ตาม ซึ่งได้แก่
- ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ (Management Fee) ที่ บลจ. เรียกเก็บจากการบริหารจัดการเงินลงทุนให้
- ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee fee) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการตรวจตราดูแล และรักษาผลประโยชน์ให้แก่ผู้ลงทุน
- ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ค่าผู้สอบบัญชี ค่าใช้จ่ายในการจัดทำ และแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนที่จะพิจารณาตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมใดๆ ผู้ลงทุนจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่กองทุนรวมนั้นเรียกเก็บ และใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบ หากองทุนรวมที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด...นั่นเอง!
ค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุน (ปัจจัยในการเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวม)
1.ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุนโดยตรง (Transaction Fee) ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องจ่ายให้แก่บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) และผู้ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน เมื่อมีการซื้อขาย สับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในกองทุนรวมเกิดขึ้นนั่นเอง ซึ่งได้แก่
- ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการซื้อหน่วยลงทุน โดยจะบวกเข้าไปในมูลค่าหน่วยลงทุนที่จ่ายซื้อ
- ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ บลจ. โดยจะหักออกจากเงินที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน
- ค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนกองทุน (Switching Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ลงทุนต้องการสับเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุนรวมหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมอีกกองหนึ่ง ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ. เดียวกัน หรือต่างบลจ. ก็ได้
- ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการโอนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้อื่น ค่าธรรมเนียมในการออกใบหน่วยลงทุนใหม่ และค่าปรับ (Exit Fee) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น กรณีขายคืนหน่วยลงทุนก่อนกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการลงทุน เป็นต้น
โดยค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ผู้ลงทุนอาจถูกเรียกเก็บในอัตราที่ไม่เท่ากัน หรืออาจจะไม่มีการเรียกเก็บเลยก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุนรวม แต่จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจนให้ผู้ลงทุนได้รับทราบ
2. ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากตัวกองทุนรวมเอง (Ongoing Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนรวม และเป็น "ต้นทุนทางอ้อม" ที่แต่ละกองทุนรวมเรียกเก็บจากกองทรัพย์สินในอัตราที่ไม่เท่ากัน โดยผู้ลงทุนต้องแบกรับไว้ภายหลังจากที่มีการซื้อหน่วยลงทุนแล้วไม่ว่าผลของการบริหารจัดการกองทุนรวมนั้นจะติดลบหรือได้กำไรก็ตาม ซึ่งได้แก่
- ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ (Management Fee) ที่ บลจ. เรียกเก็บจากการบริหารจัดการเงินลงทุนให้
- ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee fee) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการตรวจตราดูแล และรักษาผลประโยชน์ให้แก่ผู้ลงทุน
- ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ค่าผู้สอบบัญชี ค่าใช้จ่ายในการจัดทำ และแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนที่จะพิจารณาตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมใดๆ ผู้ลงทุนจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่กองทุนรวมนั้นเรียกเก็บ และใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบ หากองทุนรวมที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด...นั่นเอง!