หมดยุคกอง active คิดค่าธรรมเนียมแพงๆแล้ว บางทีบริหารแพ้เม่าอีก 555+
ปรบมือให้ SCBAM ครับ
https://www.moneychannel.co.th/news_detail/24309/?fbclid=IwAR2a4gzc40k7o21hX5pcaam_e3E12SWMllqDcnDryaE7WK9yM3iMMYjbSTQ
เจ้าแรกในไทย ซื้อกองทุน “Index Fund” ฟรีค่าธรรมเนียม
อีกหนึ่งข่าวดีสำหรับผู้ลงทุนไทย กับโอกาสลงทุนในกองทุนรวม แบบไม่ต้องเสียค่าฟี ...ติดตามในช่วง Fund view
เมื่อกลางปี 2561 ที่ผ่านมา มีหนึ่งข่าวใหญ่ที่สะเทือนวงการลงทุนระดับโลก เมื่อ "Fidelity" หนึ่งใน Asset management รายใหญ่ ประกาศว่าจะเปิดขายกองทุนรวมดัชนี (Index fund) จำนวน 2 กองทุน โดยเป็นกองทุนที่จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม หรือที่เรียกกันว่า “ค่าฟี”
มาวันนี้ วงการกองทุนรวมของไทย ก็มีข่าวดีที่สะเทือนวงการด้วยเช่นกัน เพราะล่าสุด บลจ.ไทยพาณิชย์ ประกาศยกเว้น “ค่าฟี” สำหรับกองทุนหุ้นที่อยู่ภายใต้การบริหาร โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นการซื้อผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเท่านั้น
โดย บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “SCBAM Fund Click" ขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางใหม่ที่ผู้ลงทุน จะสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้ด้วยตัวเอง และเพื่อขยายฐานลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลให้มากขึ้น ค่ายนี้ จึงได้จัดตั้งกองทุนชนิด Electronic หรือ e-class สำหรับกองทุนประเภท Passive ขึ้นมา
ประเดิมที่ "กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เซ็ท อินเด็กซ์ ฟันด์ (SCB SET Index Fund)" ซึ่งปัจจุบัน กองทุนนี้ เน้นลงทุนในหุ้นไทย โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงนั่นคือ SET Index นั่นเอง
โดยผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุนนี้ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลของ บลจ. จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการสั่งซื้อ (Front End Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ตลอดการลงทุน โดยสามารถลงทุนด้วยมูลค่าขั้นต่ำเพียง 1 บาท และสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมการซื้อคืนหน่วยลงทุน (back-end fee) ผู้ถือหน่วยยังคงต้องจ่ายตามปกติ ในกรณีที่มีการไถ่ถอนหน่วยลงทุน แต่ก็อยู่ในอัตราที่ไม่สูงมากอยู่แล้ว
บลจ.ไทยพาณิชย์ ย้ำว่า นโยบายฟรีค่าธรรมเนียม สำหรับกองทุนนี้ เป้าหมายส่วนหนึ่งคือต้องการให้ผู้ลงทุนไทย สามารถเข้าถึงการลงทุนในหุ้นได้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน สัดส่วนการถือหุ้นเพื่อการออมของคนไทย อยู่ในอัตราที่ต่ำมาก ในขณะที่เดียวกัน บัญชีกองทุนรวมที่มีอยู่ปัจจุบัน ก็อยู่ในสัดส่วนที่ต่ำเพียง 3 ล้านคนเท่านั้น เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ดังนั้น การที่ผู้ลงทุน มีทางเลือกลงทุนในหุ้นไทย โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ จึงเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนและดึงเข้าสู่ตลาดทุนไทยได้มากขึ้น
ประกอบกับกองทุน SCB SET Index Fund เอง เป็นกองทุนเดียวที่อิงผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของ SET Index ซึ่งเหมาะกับผู้ลงทุนหน้าใหม่ ที่จะใช้เป็นพอร์ตลงทุนขั้นพื้นฐาน เพื่อต่อยอดไปสู่กองทุนอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น และคาดหวังผลตอบแทนได้สูงขึ้น และในอนาคต ทางไทยพาณิชย์เอง มีโอกาสที่จะเพิ่มทางเลือกลงทุนแบบไม่มีค่าฟี สำหรับกองทุนตราสารหนี้อีกด้วย
มีความเห็นจาก "มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย)" ที่ระบุถึงการแข่งขันด้านค่าธรรมเนียมในธุรกิจจัดการกองทุน โดยเฉพาะในต่างประเทศนั้น เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดย บลจ. จะใช้กองทุนค่าธรรมเนียมต่ำมากๆ หรือไม่เก็บค่าธรรมเนียม เพื่อเป็นแรงจูงใจนักลงทุน และขายผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นๆ ที่เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมแทน ซึ่งจะเป็นลักษณะเดียวกันกับการโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
ในขณะที่อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย "มอร์นิ่งสตาร์" ให้ข้อมูลว่า ค่า Net expense ratio ของกองทุนรวมดัชนี 14 กอง จาก 6 บลจ. หรือกองทุนที่ลงทุนตามดัชนี SET50 (SET50Index fund ตาม AIMC Category) ก็มีแนวโน้มลดลงใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยเมื่อปี 2012 มีค่าเฉลี่ยที่ 0.91% และลดลงมาที่ 0.80% เมื่อปี 2017 และเป็นไปได้ว่าจะลดลงต่อเนื่อง
"มอร์นิ่งสตาร์" ทิ้งท้ายว่า เรื่องของ "ค่าธรรมเนียม" สำหรับกองทุนประเภท Index Fund ถือเป็นจุดขายที่ บลจ. ให้ความสำคัญและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นักลงทุนควรพิจารณาในการเลือกกองทุน เพราะกองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากเก็บค่าธรรมเนียมต่างกัน ก็ย่อมมีผลกระทบโดยตรงกับผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ
หมดยุคกองทุนค่าธรรมเนียมแพงแล้ว...ต้อนรับโลกใหม่ด้วยความตื่นเต้น ปรบมือให้ SCBAM.ฟรีค่าธรรมเนียม
ปรบมือให้ SCBAM ครับ
https://www.moneychannel.co.th/news_detail/24309/?fbclid=IwAR2a4gzc40k7o21hX5pcaam_e3E12SWMllqDcnDryaE7WK9yM3iMMYjbSTQ
เจ้าแรกในไทย ซื้อกองทุน “Index Fund” ฟรีค่าธรรมเนียม
อีกหนึ่งข่าวดีสำหรับผู้ลงทุนไทย กับโอกาสลงทุนในกองทุนรวม แบบไม่ต้องเสียค่าฟี ...ติดตามในช่วง Fund view
เมื่อกลางปี 2561 ที่ผ่านมา มีหนึ่งข่าวใหญ่ที่สะเทือนวงการลงทุนระดับโลก เมื่อ "Fidelity" หนึ่งใน Asset management รายใหญ่ ประกาศว่าจะเปิดขายกองทุนรวมดัชนี (Index fund) จำนวน 2 กองทุน โดยเป็นกองทุนที่จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม หรือที่เรียกกันว่า “ค่าฟี”
มาวันนี้ วงการกองทุนรวมของไทย ก็มีข่าวดีที่สะเทือนวงการด้วยเช่นกัน เพราะล่าสุด บลจ.ไทยพาณิชย์ ประกาศยกเว้น “ค่าฟี” สำหรับกองทุนหุ้นที่อยู่ภายใต้การบริหาร โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นการซื้อผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเท่านั้น
โดย บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “SCBAM Fund Click" ขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางใหม่ที่ผู้ลงทุน จะสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้ด้วยตัวเอง และเพื่อขยายฐานลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลให้มากขึ้น ค่ายนี้ จึงได้จัดตั้งกองทุนชนิด Electronic หรือ e-class สำหรับกองทุนประเภท Passive ขึ้นมา
ประเดิมที่ "กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เซ็ท อินเด็กซ์ ฟันด์ (SCB SET Index Fund)" ซึ่งปัจจุบัน กองทุนนี้ เน้นลงทุนในหุ้นไทย โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงนั่นคือ SET Index นั่นเอง
โดยผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุนนี้ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลของ บลจ. จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการสั่งซื้อ (Front End Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ตลอดการลงทุน โดยสามารถลงทุนด้วยมูลค่าขั้นต่ำเพียง 1 บาท และสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมการซื้อคืนหน่วยลงทุน (back-end fee) ผู้ถือหน่วยยังคงต้องจ่ายตามปกติ ในกรณีที่มีการไถ่ถอนหน่วยลงทุน แต่ก็อยู่ในอัตราที่ไม่สูงมากอยู่แล้ว
บลจ.ไทยพาณิชย์ ย้ำว่า นโยบายฟรีค่าธรรมเนียม สำหรับกองทุนนี้ เป้าหมายส่วนหนึ่งคือต้องการให้ผู้ลงทุนไทย สามารถเข้าถึงการลงทุนในหุ้นได้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน สัดส่วนการถือหุ้นเพื่อการออมของคนไทย อยู่ในอัตราที่ต่ำมาก ในขณะที่เดียวกัน บัญชีกองทุนรวมที่มีอยู่ปัจจุบัน ก็อยู่ในสัดส่วนที่ต่ำเพียง 3 ล้านคนเท่านั้น เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ดังนั้น การที่ผู้ลงทุน มีทางเลือกลงทุนในหุ้นไทย โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ จึงเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนและดึงเข้าสู่ตลาดทุนไทยได้มากขึ้น
ประกอบกับกองทุน SCB SET Index Fund เอง เป็นกองทุนเดียวที่อิงผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของ SET Index ซึ่งเหมาะกับผู้ลงทุนหน้าใหม่ ที่จะใช้เป็นพอร์ตลงทุนขั้นพื้นฐาน เพื่อต่อยอดไปสู่กองทุนอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น และคาดหวังผลตอบแทนได้สูงขึ้น และในอนาคต ทางไทยพาณิชย์เอง มีโอกาสที่จะเพิ่มทางเลือกลงทุนแบบไม่มีค่าฟี สำหรับกองทุนตราสารหนี้อีกด้วย
มีความเห็นจาก "มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย)" ที่ระบุถึงการแข่งขันด้านค่าธรรมเนียมในธุรกิจจัดการกองทุน โดยเฉพาะในต่างประเทศนั้น เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดย บลจ. จะใช้กองทุนค่าธรรมเนียมต่ำมากๆ หรือไม่เก็บค่าธรรมเนียม เพื่อเป็นแรงจูงใจนักลงทุน และขายผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นๆ ที่เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมแทน ซึ่งจะเป็นลักษณะเดียวกันกับการโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
ในขณะที่อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย "มอร์นิ่งสตาร์" ให้ข้อมูลว่า ค่า Net expense ratio ของกองทุนรวมดัชนี 14 กอง จาก 6 บลจ. หรือกองทุนที่ลงทุนตามดัชนี SET50 (SET50Index fund ตาม AIMC Category) ก็มีแนวโน้มลดลงใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยเมื่อปี 2012 มีค่าเฉลี่ยที่ 0.91% และลดลงมาที่ 0.80% เมื่อปี 2017 และเป็นไปได้ว่าจะลดลงต่อเนื่อง
"มอร์นิ่งสตาร์" ทิ้งท้ายว่า เรื่องของ "ค่าธรรมเนียม" สำหรับกองทุนประเภท Index Fund ถือเป็นจุดขายที่ บลจ. ให้ความสำคัญและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นักลงทุนควรพิจารณาในการเลือกกองทุน เพราะกองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากเก็บค่าธรรมเนียมต่างกัน ก็ย่อมมีผลกระทบโดยตรงกับผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ