ใจด้วยใจ ไม่มีใครแสดงธรรมได้เท่ากับพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) หลวงตามหาบัว
อนิจจา วต สังขารา อุปปาทวยธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโม สุโข"
อนิจจา วต สังขารา-สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ...
อุปปาทวยธัมมิโน-มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา...
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ-บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป...
เตสัง วูปสโม สุโข-การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข...
ผมเห็นว่ามันตรงกับพระสูตรนี้ ที่หลวงตาบัวได้กล่าวใว้
[๑๐]
ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ ชรามรณสมุทัย ชรามรณนิโรธ
ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง หนทางแรกคือการรู้ทุกข์ รู้อริยสัจ 4
[๒๙] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน
ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน เครื่องหมายเป็นสังขาร
ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่ประมวล
มาเป็นนิพพาน ความสืบต่อเป็นสังขาร ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไป
เป็นสังขาร ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็น
นิพพาน ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความเกิดเป็นสังขาร
ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความ
ป่วยไข้เป็นสังขาร ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความตายเป็นสังขาร ความไม่
ตายเป็นนิพพาน ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน
ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความคับแค้นใจเป็นสังขาร
ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=160&w=%CA%D8%A2%E0%C7%B7%B9%D2
รากเหง้าของความปรุงแต่ง
…………………..
“รากเหง้าของความปรุงแต่ง
ก็คืออวิชชานั่นเอง
ฉะนั้นพวกเราพยายามมาเรียนรู้นะ
ไม่ต้องหาทางว่า
จะปรุงอย่างไรที่จะไม่ปรุงชั่ว
ไม่ต้องหาทางว่า
จะปรุงอย่างไรที่จะปรุงแต่ดีๆ
หรือจะปรุงอย่างไร
ที่จะว่างๆ ไม่ยึดอะไรสักอย่าง
ไม่ต้องดิ้นรนหาทางปรุงแต่งอย่างนั้น
เรียนรู้ลงมาที่รูปนาม กายใจนี้
ให้เห็นความจริงของรูปนาม กายใจนี้
ถ้าเห็นแจ้งแล้วก็รู้ว่าขันธ์ ๕ มันเป็นตัวทุกข์นะ
ความอยากที่จะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุข ก็ไม่มี
ความอยากที่ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี
จิตเข้าถึงความเป็นกลาง
ตรงที่จิตมันเข้าถึงความเป็นกลางนะ
มันจะไม่ปรุงต่อ
ที่มันปรุงเพราะมันไม่เป็นกลาง
อย่างมันอยากดี มันเกลียดชั่ว
หรือมันรักสุข เกลียดทุกข์อย่างนี้
เพราะจิตมันไม่เป็นกลาง มันจึงปรุงต่อ
ถ้าเมื่อไหร่จิตมีปัญญาแก่รอบ
เป็นกลางต่อทุกสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาเฉพาะหน้า
จิตจะไม่ปรุงต่อ
ไม่ว่าดี หรือชั่ว หรือว่าง
จะไม่ปรุงอะไรเลย
เมื่อจิตไม่ปรุงแต่งต่อ
การหยั่งจิตลงไปเกิดในภพใหม่จะไม่มี
เพราะ
ตัวสังขารนี่เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
ให้จิตหยั่งลงไปสู่ภพต่างๆ
ฉะนั้นการที่เรารู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ
จิตก็พ้นไปจากความปรุงแต่ง
เมื่อรู้ว่ารูปนามขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
จิตจะไม่ปรุงต่อ
ถ้าจิตไม่ปรุงต่อ
จิตจะไม่หยั่งลงสู่ความเกิด
…………………..
พระธรรมเทศนา
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
วันอาสาฬหบูชา ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑
ถอดคำ : พีเค
เรียบเรียง : สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
การเกิดเป็นทุกข์ ก็ตรงนี้แหละ
ตอนรู้อริยสัจ 4 คราวนี้มาเรียนรู้ลักษณะของทุกข์ มีหลายทุกข์
แต่ทุกข์อริยสัจ เป็นทุกข์ที่เราไม่เคยรู้สึกมาก่อนทั้งชีวิต แต่แปลกยิ่งรู้ทุกข์ยิ่งร่าเริง
ตอนผมตั้งกระทู้บ่อยๆหรือเถียงใครผมก็ มักรู้ทุกข์เสมอมา การปฏิบัติธรรม มันอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งเราพิมพ์เรายังเห็นตัวเองเลยบางทีสติระลึกอกุศลกรรม ไม่เอาๆไม่ทำ
แต่การจะละอกุศลได้นั้น ต้อง รู้อริยสัจ 4 รากเหง้าเสียก่อน
ไม่งั้นธรรมจะไม่เป็นไปตามลำดับ
เราต้องเอาความจริงคือ รู้จิตใจอย่างที่เป็น รู้เห็นมารยา จิตใจของตัวเองตามลำดับคือการระลึกเห็นเรื้อยๆ
จิตใจเรามีมารยา พอค่อยๆเห็น
คราวนี้ๆ อริยสัจ 4 คือ ตามความเป็นจริง
อนิจจา วต สังขารา (สังขารธรรม)
ใจด้วยใจ ไม่มีใครแสดงธรรมได้เท่ากับพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) หลวงตามหาบัว
อนิจจา วต สังขารา อุปปาทวยธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโม สุโข"
อนิจจา วต สังขารา-สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ...
อุปปาทวยธัมมิโน-มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา...
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ-บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป...
เตสัง วูปสโม สุโข-การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข...
ผมเห็นว่ามันตรงกับพระสูตรนี้ ที่หลวงตาบัวได้กล่าวใว้
[๑๐] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ ชรามรณสมุทัย ชรามรณนิโรธ
ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง หนทางแรกคือการรู้ทุกข์ รู้อริยสัจ 4
[๒๙] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน
ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน เครื่องหมายเป็นสังขาร
ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่ประมวล
มาเป็นนิพพาน ความสืบต่อเป็นสังขาร ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไป
เป็นสังขาร ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็น
นิพพาน ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความเกิดเป็นสังขาร
ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความ
ป่วยไข้เป็นสังขาร ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความตายเป็นสังขาร ความไม่
ตายเป็นนิพพาน ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน
ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความคับแค้นใจเป็นสังขาร
ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=160&w=%CA%D8%A2%E0%C7%B7%B9%D2
รากเหง้าของความปรุงแต่ง
…………………..
“รากเหง้าของความปรุงแต่ง
ก็คืออวิชชานั่นเอง
ฉะนั้นพวกเราพยายามมาเรียนรู้นะ
ไม่ต้องหาทางว่า
จะปรุงอย่างไรที่จะไม่ปรุงชั่ว
ไม่ต้องหาทางว่า
จะปรุงอย่างไรที่จะปรุงแต่ดีๆ
หรือจะปรุงอย่างไร
ที่จะว่างๆ ไม่ยึดอะไรสักอย่าง
ไม่ต้องดิ้นรนหาทางปรุงแต่งอย่างนั้น
เรียนรู้ลงมาที่รูปนาม กายใจนี้
ให้เห็นความจริงของรูปนาม กายใจนี้
ถ้าเห็นแจ้งแล้วก็รู้ว่าขันธ์ ๕ มันเป็นตัวทุกข์นะ
ความอยากที่จะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุข ก็ไม่มี
ความอยากที่ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี
จิตเข้าถึงความเป็นกลาง
ตรงที่จิตมันเข้าถึงความเป็นกลางนะ
มันจะไม่ปรุงต่อ
ที่มันปรุงเพราะมันไม่เป็นกลาง
อย่างมันอยากดี มันเกลียดชั่ว
หรือมันรักสุข เกลียดทุกข์อย่างนี้
เพราะจิตมันไม่เป็นกลาง มันจึงปรุงต่อ
ถ้าเมื่อไหร่จิตมีปัญญาแก่รอบ
เป็นกลางต่อทุกสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาเฉพาะหน้า
จิตจะไม่ปรุงต่อ
ไม่ว่าดี หรือชั่ว หรือว่าง
จะไม่ปรุงอะไรเลย
เมื่อจิตไม่ปรุงแต่งต่อ
การหยั่งจิตลงไปเกิดในภพใหม่จะไม่มี
เพราะตัวสังขารนี่เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
ให้จิตหยั่งลงไปสู่ภพต่างๆ
ฉะนั้นการที่เรารู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ
จิตก็พ้นไปจากความปรุงแต่ง
เมื่อรู้ว่ารูปนามขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
จิตจะไม่ปรุงต่อ
ถ้าจิตไม่ปรุงต่อ
จิตจะไม่หยั่งลงสู่ความเกิด
…………………..
พระธรรมเทศนา
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
วันอาสาฬหบูชา ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑
ถอดคำ : พีเค
เรียบเรียง : สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
การเกิดเป็นทุกข์ ก็ตรงนี้แหละ
ตอนรู้อริยสัจ 4 คราวนี้มาเรียนรู้ลักษณะของทุกข์ มีหลายทุกข์
แต่ทุกข์อริยสัจ เป็นทุกข์ที่เราไม่เคยรู้สึกมาก่อนทั้งชีวิต แต่แปลกยิ่งรู้ทุกข์ยิ่งร่าเริง
ตอนผมตั้งกระทู้บ่อยๆหรือเถียงใครผมก็ มักรู้ทุกข์เสมอมา การปฏิบัติธรรม มันอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งเราพิมพ์เรายังเห็นตัวเองเลยบางทีสติระลึกอกุศลกรรม ไม่เอาๆไม่ทำ
แต่การจะละอกุศลได้นั้น ต้อง รู้อริยสัจ 4 รากเหง้าเสียก่อน
ไม่งั้นธรรมจะไม่เป็นไปตามลำดับ
เราต้องเอาความจริงคือ รู้จิตใจอย่างที่เป็น รู้เห็นมารยา จิตใจของตัวเองตามลำดับคือการระลึกเห็นเรื้อยๆ
จิตใจเรามีมารยา พอค่อยๆเห็น
คราวนี้ๆ อริยสัจ 4 คือ ตามความเป็นจริง