อายุมากแถมยังมีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจ จะออกกำลังกายก็กลัวโรคหัวใจจะกำเริบ ผู้สูงอายุหลายท่านอาจจะคิดแบบนี้เลยกลัวที่จะออกกำลังกาย ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้ และที่สำคัญการออกกำลังกายแบบถูกต้องเหมาะสม ยังช่วยฟื้นฟูสุขภาพหัวใจให้กลับมาแข็งแรงได้อีกด้วยนะครับ
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ดังนั้นก่อนจะออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวที่รักษาโรคหัวใจก่อนเพื่อประเมินว่าสามารถออกกำลังกายชนิดไหน แบบไหนได้บ้าง มีข้อห้ามหรือขีดจำกัดอะไรบ้าง และออกกำลังกายได้มากน้อยแค่ไหนนั่นเองครับ โดยแพทย์อาจจะทำการทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน หรือ Exercise Stress Test เป็นการทดสอบเพื่อดูระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจและระบบกล้ามเนื้อโดยรวม เพราะความผิดปกติของระบบหัวใจบางอย่างก็ไม่สามารถตรวจพบได้ขณะที่ร่างกายหยุดนิ่ง แต่จะแสดงให้เห็นในขณะออกกำลังกายนั่นเอง
แล้วจะเริ่มออกกำลังกาย อย่างไรดี?
1. การเริ่มต้นออกกำลังกายควรเน้น การเล่นคาดิโอแบบเบาๆ คือเริ่มจากการเดินช้าๆ และเปลี่ยนเป็นจ๊อกกิ้งหรือวิ่งเหยาะๆ ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ
2. ควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที และที่สำคัญไม่ควรออกกำลังกายคนเดียว
3. ควรออกกำลังกายในสถานที่ที่ไม่แออัด อากาศถ่ายเทสะดวก ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดีและรองเท้าที่สวมใส่สบาย
4. หากออกกำลังกายแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก หายใจไม่ทัน ตัวซีดเย็น เหงื่อออก ควรหยุดออกกำลังกายแล้วหาที่นั่งพัก เพราะเลือดอาจจะไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ และอาจเหนื่อยเกินไปแล้วนะครับ
5. การออกกำลังต้องอยู่ในการดูแลติดตามอาการจากแพทย์ และควรไปพบแพทย์ตามนัดเสมอด้วยนะครับ
การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ควรให้ความสำคัญ เพราะหากออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและถูกวิธีจะส่งผลให้สุขภาพดีขึ้นได้ ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจการปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนจะเริ่มออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อที่จะช่วยให้สามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย มีความสุข และมีสุขภาพดีนั่นเองครับ
ผู้สูงอายุเป็นโรคหัวใจ ใครว่าออกกำลังกายไม่ได้
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ดังนั้นก่อนจะออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวที่รักษาโรคหัวใจก่อนเพื่อประเมินว่าสามารถออกกำลังกายชนิดไหน แบบไหนได้บ้าง มีข้อห้ามหรือขีดจำกัดอะไรบ้าง และออกกำลังกายได้มากน้อยแค่ไหนนั่นเองครับ โดยแพทย์อาจจะทำการทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน หรือ Exercise Stress Test เป็นการทดสอบเพื่อดูระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจและระบบกล้ามเนื้อโดยรวม เพราะความผิดปกติของระบบหัวใจบางอย่างก็ไม่สามารถตรวจพบได้ขณะที่ร่างกายหยุดนิ่ง แต่จะแสดงให้เห็นในขณะออกกำลังกายนั่นเอง
แล้วจะเริ่มออกกำลังกาย อย่างไรดี?
1. การเริ่มต้นออกกำลังกายควรเน้น การเล่นคาดิโอแบบเบาๆ คือเริ่มจากการเดินช้าๆ และเปลี่ยนเป็นจ๊อกกิ้งหรือวิ่งเหยาะๆ ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ
2. ควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที และที่สำคัญไม่ควรออกกำลังกายคนเดียว
3. ควรออกกำลังกายในสถานที่ที่ไม่แออัด อากาศถ่ายเทสะดวก ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดีและรองเท้าที่สวมใส่สบาย
4. หากออกกำลังกายแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก หายใจไม่ทัน ตัวซีดเย็น เหงื่อออก ควรหยุดออกกำลังกายแล้วหาที่นั่งพัก เพราะเลือดอาจจะไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ และอาจเหนื่อยเกินไปแล้วนะครับ
5. การออกกำลังต้องอยู่ในการดูแลติดตามอาการจากแพทย์ และควรไปพบแพทย์ตามนัดเสมอด้วยนะครับ
การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ควรให้ความสำคัญ เพราะหากออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและถูกวิธีจะส่งผลให้สุขภาพดีขึ้นได้ ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจการปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนจะเริ่มออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อที่จะช่วยให้สามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย มีความสุข และมีสุขภาพดีนั่นเองครับ