กระทู้วันนี้ผมแนะนำเสนอพาย้อนประวัติศาสตร์กาลโพ้น สมัยที่กรุงศรีอยุธยายังรุ่งเรืองดีอยู่ มีกษัตริย์หลายพระองค์เสวยราชย์สืบเนื่องกันมา จนถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ในหลวงพระองค์นี้ทรงรอบรู้รัฏฐาภิปาลโนบายและทรงเป็นนักรบ ได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง และเนื่องด้วย รัฏฐาภิปาลโนบายอันชาญฉลาด ในหลวงจึงทรงอุ้มชูอุปการะพวกฝรั่ง ซึ่งเข้ามาเที่ยวค้าขายแผ่จักรวรรดิกันทางตะวันออกหลายชาติหลายภาษาด้วยกัน พระองค์ทรงมีเสนาฝรั่ง พวกบาทหลวงสอนศาสนาก็ได้รับราชอุปการะหลายอย่างหลายประการ เช่นสร้างโรงสวดพระราชทาน และให้อิสรเสรีในการประกาศศาสนาเป็นต้น จนเกิดกิตติศัพท์ว่า พระเจ้ากรุงสยามพระองค์นี้สนพระทัยในคริสต์ศาสนามาก เลื่องลือไปทั่วยุโรป โดยเฉพาะที่ราชสำนักฝรั่งเศส พวกบาทหลวงฝรั่งคิดกันว่า ถ้าสามารถทำให้ในหลวงกลับพระทัยมาเลื่อมใสในคริสต์ศาสนาได้ คนไทยทั้งประเทศก็ต้องพลอยเข้ารีตด้วยเป็นแน่ จึงมีบาทหลวงบางคนที่เคยอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาก่อน คิดอ่านเพ็ดทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เจ้าเหนือหัวของฝรั่งเศสในสมัยนั้น ให้ทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารีตเป็นทางการ จะได้เป็นพระราชเกียรติยศว่าสามารถทำพระราชศรัทธาให้บังเกิดขึ้นในพระทัยของพระเจ้ากรุงสยาม ผู้ทรงดำรงฐานะเป็นเจ้าเหนือหัวของประชาชนเป็นจำนวนมาก และมีเมืองประเทศราชขึ้นอยู่มากมาย พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กษัตริย์ผู้เคร่งครัดในคริสต์ศาสนาทรงชอบพระทัยมากในข้อทูล รัฐบาลฝรั่งเศสก็เห็นดีด้วย ฉะนั้นราชทูตคณะหนึ่งภายใต้พระนามของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีนายเชอวาเลีย เดอโชมองต์เป็นเอกอัครราชทูต มีบาทหลวงชัวซี เป็นตำแหน่งรอง และพระโปรดศีลแก่พระเจ้ากรุงสยามด้วย จึงได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาเป็นระยะทางหลายพันไมล์ มาถึงสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงศรีอยุธยา ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๒๒๘ครั้งนั้น เมืองไทยมีคนสำคัญในการติดต่อกับต่างประเทศอยู่คนหนึ่ง คือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ฟอลคอน) ซึ่งเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ของไทยคนเดียวที่เป็นฝรั่งชาติกรีก แต่รู้ภาษาไทยดี เป็นที่โปรดปรานของในหลวงมาก เมื่อข่าวว่าเรือทูตฝรั่งเศสมาถึงสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าพระยาวิชาเยนทร์คงจะทราบระแคะระคายว่า พวกทูตชุดนี้มีจุดประสงค์มาทูลเชิญในหลวงเข้ารีตด้วย จึงไต่ถามพวกคนในคณะทูตที่มารายงานธุรกิจบางเรื่องว่า นอกจากการที่ราชทูตฝรั่งเศสจะมาเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสยามโดยปกติแล้ว ราชทูตยังได้รับคำสั่งพิเศษอะไรหรือไม่ พวกนั้นก็ตอบให้ไม่เป็นที่แจ่มแจ้ง ครั้นวันรุ่งขึ้น สังฆราชคริสตจักรทางกรุงศรีอยุธยา ชื่อ เดอเมเตโลโปลิศ มาหาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ที่บ้าน เจ้าคุณจึงถามถึงเรื่องการมาของราชทูต สังฆราชเดอเมเตโลโปลิศซึ่งลงไปเยี่ยมเยียนเอกอัครราชทูตในเรือแล้วก็ตอบว่า มีจุดประสงค์ใหญ่ก็ให้มาทูลเชิญพระเจ้ากรุงสยามเข้ารีต เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็ตกใจมาก บอกว่าพระเจ้าหลุยส์ถูกคนหลอกเสียแล้ว เพราะอย่างไรเสีย สมเด็จพระนารายณ์ก็จักไม่เข้ารีตอย่างเด็ดขาด ไม่ใช่ว่าพอทรงพระราชทานสร้างโรงสวด หรืออุปการะคณะบาทหลวงแล้วเป็นต้องแสดงว่า ในหลวงทรงพระราชศรัทธาในคริสต์ศาสนา เหตุผลเรื่องนี้ยังไม่เพียงพอที่แสดงว่าในหลวงจักทรงเข้ารีตได้เลย สังฆราชก็เห็นด้วยบอกว่า ตนก็ไม่เห็นวี่แววว่าจักทรงเข้ารีตได้อย่างไร ในเมื่อยังทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแข็งแรง เจ้าพระยาวิชาเยนทร์จึงกำชับไม่ให้สังฆราชบาทหลวงแปลคำบังคมทูลเรื่องศาสนาของราชทูตเป็นอันขาด เกรงจะเป็นที่ขัดพระทัยของพระเจ้าอยู่หัว แล้วเมื่อมีโอกาสพบปะกับเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็พยายามชี้แจงว่า ไม่ควรจะทูลเรื่องศาสนากับในหลวง แล้วยกเหตุผลแจงสี่เบี้ยให้ราชทูตฟังต่าง ๆ แต่นายโชมองต์ก็ไม่ยอมฟังเสียง บอกว่าตนจะต้องปฏิบัติตามราชโองการของพระเจ้าหลุยส์ฝรั่งเศสอย่างเคร่งครัด เมื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์คราวใด นายโชมองต์ก็ทูลเรื่องให้เข้ารีตคราวนั้น แต่นายโชมองต์พูดภาษาไทยไม่ได้ ต้องคอยให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์แปลให้ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไม่ยอมแปล กลับพูดเรื่องอื่นเสีย จนภายหลังเมื่อนายโชมองต์รู้ความจริงเข้าก็โกรธเสนาบดีมาก นายโชมองต์จึงใช้วิธีถวายสาส์นแด่สมเด็จพระนารายณ์ คราวนี้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์จำใจต้องแปลถวาย แต่แปลในขณะที่ในหลวงประทับอยู่ในที่รโหฐาน เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เสนาบดีไทยชาติฝรั่ง ทั้งหนักใจทั้งเกรงกลัวจะทรงกริ้ว จึงทูลขอพระราชทานอภัยโทษเสียก่อน แล้วก็แปลข้อความในสาส์นนั้นอย่างยืดยาว สรุปแล้วได้ความว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสขอทูลเชิญ พระเจ้ากรุงสยามมานับถือศาสนาอันเดียวกัน เพื่อจะได้กระชับสายสัมพันธ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันยิ่งขึ้น ทูลว่า การที่สมเด็จพระนารายณ์แผ่พระราชอาณาเขตได้กว้างขวาง ก็เพราะการดลบันดาลของพระเจ้าผู้สร้างโลก ลงท้ายผู้แปลก็ทูลเชิญด้วยตนเองด้วยว่า ถ้าในหลวงทรงเข้ารีตแล้ว ตนถึงจะมีชีวิตได้ตั้ง ๑,๐๐๐ ชีวิต ก็จะยินดีสละถวายและยังทูลขอว่า ถ้าจะรับสั่งในทางที่ผิดหวังต่อราชทูตแล้ว ก็ขออย่าให้ตนต้องเป็นผู้เชิญกระแสรับสั่งไปบอกราชทูตเลย
ตลอดเวลาที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์กราบทูลอย่างยืดยาวนั้น ในหลวงทรงสดับนิ่งอยู่ ครั้นสิ้นกระแสกราบทูลแล้ว จึงทรงถามว่า ผู้ใดที่ไปทูลพระเจ้าหลุยส์ว่า พระองค์ทรงเลื่อมใสในคริสต์ศาสนา เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็ทูลว่า ไม่ทราบ แต่คงจะเป็นเพราะพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเห็นในหลวงอุปการะพวกบาทหลวง เป็นต้นเหตุแสดงอยู่ กับทั้งราชทูตยังทราบว่า พวกทูตอิหร่านได้ถวายคัมภีร์โกหร่านให้ทรง และทั้งทูลเชิญให้เข้ารีตลัทธิมะหะหมัด ดังนั้นจึงต้องรีบทูลเชิญให้ทรงเข้ารีตลัทธิคริสต์บ้าง ในหลวงจึงรับสั่งว่าเราอยากหนักหนาที่จะให้ราชทูตฝรั่งเศสอยู่ในที่นี้ เพื่อจะได้เห็นว่า เราจะตอบราชทูตเปอร์เซีย (คืออิหร่าน) อย่างไร แต่ข้อนี้เป็นความจริงว่า ถ้าเราเป็นผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอย่างใดแล้ว ทำอย่างไร ๆ เราก็คงจะไม่เลือกเอาศาสนามะหะหมัดเป็นแน่ แต่ในข้อที่จะตอบราชทูตฝรั่งเศสนั้น เจ้าจงไปบอกราชทูตแทนเราว่า เรามีความขอบพระทัยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ทรงแสดงไมตรีต่อตัวเราดังนี้ และการที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงแสดงไมตรีต่อเรานั้น เป็นการที่ได้ทราบกันแพร่หลายในฝ่ายทิศตะวันออกแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงขอบพระคุณยิ่งนัก แต่การที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเพื่อนรักของเรา มาแนะนำการอันยากเช่นนี้ และเป็นเรื่องที่เราไม่มีความรุ้เลยนั้น เป็นเรื่องที่กระทำให้เราเสียใจเป็นอันมาก แต่ขอให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ผู้ทรงปรีชาญาณอย่างล้ำเลิศ ได้ทรงตรึกตรองดูว่า การที่จะเปลี่ยนศาสนาซึ่งได้เคยนับถือต่อ ๆ กันมาถึง ๒๒๒๙ ปีแล้ว จะเป็นการสำคัญและยากลำบากสักเพียงไร อีกประการหนึ่ง เราก็มีความประหลาดใจมากว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเพื่อนรักของเรา ได้ทรงมาเป็นธุระในการอันเป็นกิจของพระเป็นเจ้า เพราะเราก็เห็นว่า พระเป็นเจ้าเอวก็หาได้ฝักใฝ่ในเรื่องนี้ไม่ เพราะการที่มนุษย์เรามีร่างกาย มีวิญญาณ มีธรรมชาติอย่างเดียวกัน ไม่ใช่พระเป็นเจ้าเป็นผู้ทำให้เป็นเช่นนั้นดอกหรือ ? ถ้าพระเป็นเจ้าจะโปรดให้มนุษย์ทั้งปวงมีความนับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเป็นเจ้ามิทำให้มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาร่วมศาสนาเดียวกันหรือ ? แต่นี่พระเป็นเจ้าก็ไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น กลับปล่อยให้มีศาสนาต่าง ๆ กันทั่วโลกตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะไม่ควรเชื่อหรือว่า พระเป็นเจ้ามีความประสงค์จะให้มนุษย์เราได้นับถือและบูชาพระองค์ด้วยวิธีและลัทธิต่าง ๆ กัน ดังเราได้เห็นอยู่แล้วว่า ต่างพวกก็ต่างนับถือและบูชาพระเป็นเจ้าตามลัทธิของตัว แต่อย่างไรก็ดี เราก็รู้กันอยู่แล้วว่า การทั้งปวงจะเป็นอย่างไร ก็ต้องสุดแล้วแต่พระเป็นเจ้าจะสั่งให้เป็น เพราะฉะนั้น เราจึงขอมอบกายของเรา และแผ่นดินของเรา ให้อยู่ในความปกครองของพระเป็นเจ้า กาลต่อไปข้างหน้าจะดีร้ายแระการใด ก็แล้วแต่พระเป็นเจ้าจะโปรดเถิด ฯลฯ...”
(จากจดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์)
ครั้นในหลวงทรงแสดงความฉลาดล้ำ ตอบอย่างบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ยกหลักคริสต์ศาสนานั้นเองขึ้นมาอ้างเช่นนี้แล้ว ก็ตรัสถามเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่า “แต่นั่นแหละ ข้อต่าง ๆที่เรายกขึ้นมาอ้างนี้ ราชทูตฝรั่งเศสจะว่ากระไรบ้าง ? เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ซึ่งคงมีความรู้สึกสมน้ำหน้าความดื้อดันของนายโชมองต์ และรู้สึกผิดหวังในฐานะที่ตนเป็นคริสต์ศาสนิก ก็กราบทูลสนองพระราชดำรัสว่า “ราชทูตฝรั่งเศสก็คงจะไม่ทราบที่จะพูดว่ากระไรได้ เพราะตามที่ใต้ฝ่าละออกธุลีพระบาทได้รับสั่งมาทั้งนี้ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นข้อสำคัญ ๆ ทั้งนั้น แต่ราชทูตฝรั่งเศสก็คงจะอดนึกไม่ได้ว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงพระปรีชาสามารถเหลือล้น....”
แล้วเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็จำใจเขียนพระบรมราชโองการตอบเรื่องศาสนา ตามที่ในหลวงรับสั่งไปให้นายโชมองต์ และนายโชมองต์ได้แต่ทำตาปริบ ๆ อับจนหนทางที่จะทูลเชิญต่อไปอีก ด้วยในหลวงทรงอ้างพระเป็นเจ้าของตนว่าเป็นผู้อาจดลบันดาลความเป็นไปในโลกได้ต่าง ๆ เช่นที่ตนเคยทูลไปว่า การที่ในหลวงทรงชนะอริราชศัตรู แผ่พระราชอาณาเขตกว้างขวาง เป็นเพราะพระเจ้าบันดาล ในหลวงท่านก็จักรอให้พระเจ้าบันดาลให้พระองค์ทรงเกิดพระราชศรัทธาขึ้นเองเหมือนกันเช่นนี้ เป็นอันว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และรัฐบาลฝรั่งเศส ตลอดพวกคริสต์ศาสนิกชน ต้องผิดหวัง แต่ก็จะโกรธพระเจ้ากรุงสยามไม่ได้เลย ทั้งนี้ก็ด้วยพระปรีชาสามารถนพระราชดำรัสตอบอันคมคายของอดีตพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นั้น. สมาชิกท่านใดมีความรู้ความคิดเห็นใดๆแลกเปลี่ยนได้ครับ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตอบการเชิญเข้ารีต เสถียร โพธินันทะ
ตลอดเวลาที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์กราบทูลอย่างยืดยาวนั้น ในหลวงทรงสดับนิ่งอยู่ ครั้นสิ้นกระแสกราบทูลแล้ว จึงทรงถามว่า ผู้ใดที่ไปทูลพระเจ้าหลุยส์ว่า พระองค์ทรงเลื่อมใสในคริสต์ศาสนา เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็ทูลว่า ไม่ทราบ แต่คงจะเป็นเพราะพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเห็นในหลวงอุปการะพวกบาทหลวง เป็นต้นเหตุแสดงอยู่ กับทั้งราชทูตยังทราบว่า พวกทูตอิหร่านได้ถวายคัมภีร์โกหร่านให้ทรง และทั้งทูลเชิญให้เข้ารีตลัทธิมะหะหมัด ดังนั้นจึงต้องรีบทูลเชิญให้ทรงเข้ารีตลัทธิคริสต์บ้าง ในหลวงจึงรับสั่งว่าเราอยากหนักหนาที่จะให้ราชทูตฝรั่งเศสอยู่ในที่นี้ เพื่อจะได้เห็นว่า เราจะตอบราชทูตเปอร์เซีย (คืออิหร่าน) อย่างไร แต่ข้อนี้เป็นความจริงว่า ถ้าเราเป็นผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอย่างใดแล้ว ทำอย่างไร ๆ เราก็คงจะไม่เลือกเอาศาสนามะหะหมัดเป็นแน่ แต่ในข้อที่จะตอบราชทูตฝรั่งเศสนั้น เจ้าจงไปบอกราชทูตแทนเราว่า เรามีความขอบพระทัยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ทรงแสดงไมตรีต่อตัวเราดังนี้ และการที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงแสดงไมตรีต่อเรานั้น เป็นการที่ได้ทราบกันแพร่หลายในฝ่ายทิศตะวันออกแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงขอบพระคุณยิ่งนัก แต่การที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเพื่อนรักของเรา มาแนะนำการอันยากเช่นนี้ และเป็นเรื่องที่เราไม่มีความรุ้เลยนั้น เป็นเรื่องที่กระทำให้เราเสียใจเป็นอันมาก แต่ขอให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ผู้ทรงปรีชาญาณอย่างล้ำเลิศ ได้ทรงตรึกตรองดูว่า การที่จะเปลี่ยนศาสนาซึ่งได้เคยนับถือต่อ ๆ กันมาถึง ๒๒๒๙ ปีแล้ว จะเป็นการสำคัญและยากลำบากสักเพียงไร อีกประการหนึ่ง เราก็มีความประหลาดใจมากว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเพื่อนรักของเรา ได้ทรงมาเป็นธุระในการอันเป็นกิจของพระเป็นเจ้า เพราะเราก็เห็นว่า พระเป็นเจ้าเอวก็หาได้ฝักใฝ่ในเรื่องนี้ไม่ เพราะการที่มนุษย์เรามีร่างกาย มีวิญญาณ มีธรรมชาติอย่างเดียวกัน ไม่ใช่พระเป็นเจ้าเป็นผู้ทำให้เป็นเช่นนั้นดอกหรือ ? ถ้าพระเป็นเจ้าจะโปรดให้มนุษย์ทั้งปวงมีความนับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเป็นเจ้ามิทำให้มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาร่วมศาสนาเดียวกันหรือ ? แต่นี่พระเป็นเจ้าก็ไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น กลับปล่อยให้มีศาสนาต่าง ๆ กันทั่วโลกตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะไม่ควรเชื่อหรือว่า พระเป็นเจ้ามีความประสงค์จะให้มนุษย์เราได้นับถือและบูชาพระองค์ด้วยวิธีและลัทธิต่าง ๆ กัน ดังเราได้เห็นอยู่แล้วว่า ต่างพวกก็ต่างนับถือและบูชาพระเป็นเจ้าตามลัทธิของตัว แต่อย่างไรก็ดี เราก็รู้กันอยู่แล้วว่า การทั้งปวงจะเป็นอย่างไร ก็ต้องสุดแล้วแต่พระเป็นเจ้าจะสั่งให้เป็น เพราะฉะนั้น เราจึงขอมอบกายของเรา และแผ่นดินของเรา ให้อยู่ในความปกครองของพระเป็นเจ้า กาลต่อไปข้างหน้าจะดีร้ายแระการใด ก็แล้วแต่พระเป็นเจ้าจะโปรดเถิด ฯลฯ...”
(จากจดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์)
ครั้นในหลวงทรงแสดงความฉลาดล้ำ ตอบอย่างบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ยกหลักคริสต์ศาสนานั้นเองขึ้นมาอ้างเช่นนี้แล้ว ก็ตรัสถามเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่า “แต่นั่นแหละ ข้อต่าง ๆที่เรายกขึ้นมาอ้างนี้ ราชทูตฝรั่งเศสจะว่ากระไรบ้าง ? เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ซึ่งคงมีความรู้สึกสมน้ำหน้าความดื้อดันของนายโชมองต์ และรู้สึกผิดหวังในฐานะที่ตนเป็นคริสต์ศาสนิก ก็กราบทูลสนองพระราชดำรัสว่า “ราชทูตฝรั่งเศสก็คงจะไม่ทราบที่จะพูดว่ากระไรได้ เพราะตามที่ใต้ฝ่าละออกธุลีพระบาทได้รับสั่งมาทั้งนี้ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นข้อสำคัญ ๆ ทั้งนั้น แต่ราชทูตฝรั่งเศสก็คงจะอดนึกไม่ได้ว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงพระปรีชาสามารถเหลือล้น....”
แล้วเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็จำใจเขียนพระบรมราชโองการตอบเรื่องศาสนา ตามที่ในหลวงรับสั่งไปให้นายโชมองต์ และนายโชมองต์ได้แต่ทำตาปริบ ๆ อับจนหนทางที่จะทูลเชิญต่อไปอีก ด้วยในหลวงทรงอ้างพระเป็นเจ้าของตนว่าเป็นผู้อาจดลบันดาลความเป็นไปในโลกได้ต่าง ๆ เช่นที่ตนเคยทูลไปว่า การที่ในหลวงทรงชนะอริราชศัตรู แผ่พระราชอาณาเขตกว้างขวาง เป็นเพราะพระเจ้าบันดาล ในหลวงท่านก็จักรอให้พระเจ้าบันดาลให้พระองค์ทรงเกิดพระราชศรัทธาขึ้นเองเหมือนกันเช่นนี้ เป็นอันว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และรัฐบาลฝรั่งเศส ตลอดพวกคริสต์ศาสนิกชน ต้องผิดหวัง แต่ก็จะโกรธพระเจ้ากรุงสยามไม่ได้เลย ทั้งนี้ก็ด้วยพระปรีชาสามารถนพระราชดำรัสตอบอันคมคายของอดีตพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นั้น. สมาชิกท่านใดมีความรู้ความคิดเห็นใดๆแลกเปลี่ยนได้ครับ