สำหรับเพื่อนๆ ที่มีบ้าน หรือคอนโด เป็นของตนเองและยังคงมีการผ่อนชำระรายเดือนกันอยู่คงอาจจะเคยได้ยิน หรือรู้จักกับคำว่าการ รีไฟแนนซ์ กันอย่างแน่นอน (สำหรับใครที่ไม่ทราบ แนะนำให้ศึกษาเพิ่มในส่วนนี้ครับมีประโยชน์แน่นอน) หากให้พูดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น การ รีไฟแนนซ์ คือการย้ายสถาบันการเงินที่เราขอสินเชื่อ เพื่อให้ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายนั้น น้อยลงจากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน บางคนอาจจะย้ายเพราะโปรโมชั่นที่ได้รับเดิมนั้นหมดลง หรือมีแห่งใหม่ที่มีโปรโมชั่นดอกเบี้ยที่น้อยกว่า และยังคงมีอีกหลายๆ เหตุผล ซึ่งอาจจะทำให้หลายๆ คนสับสน
K-Expert อยากจะขอแนะนำ 3 ข้อที่ควรรู้ก่อนติดสินใจ รีไฟแนนซ์ เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจกันนะครับ
1.
อัตราดอกเบี้ยของที่ใหม่เป็นอย่างไร ข้อสำคัญของการรีไฟแนนซ์ คือ “อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง” ส่วนใหญ่จะเริ่มมองหาสถาบันแห่งใหม่หลังจากที่ที่ผ่อนชำระมาแล้วประมาณ 3 ปี เนื่องจากติดข้อสัญญาที่หากมีการปิดหนี้ก่อนกำหนด 3 ปีจะมีค่าธรรมเนียมเกิดขึ้น เพราะการรีไฟแนนซ์ ก็คือการปิดหนี้จากที่เดิมแล้วไปขอสินเชื่อกับสถาบันแห่งใหม่
ยกตัวอย่าง เดิมกู้บ้านไว้ที่ 2 ล้านบาท โดยมีการผ่อนชำระเดือนละ 12,100 บาท เมื่อผ่อนชำระไประยะหนึ่งจนหนี้เหลือเพียง 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ที่ MRR-1% ต่อปี ซึ่งเท่ากับ 6.12% ต่อปี ดอกเบี้ยอีก 3 ปีจะอยู่ที่ประมาณ 159,752 บาท แต่หากรีไฟแนนซ์ได้ดอกเบี้ยคงที่ 4.60% ต่อปี จะทำให้ยอดหนี้ที่เหลือ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 117,141 บาท โดยที่ผ่อนชำระเท่าเดิม เท่ากับว่าจะประหยัดดอกเบี้ยอยู่ที่ 42,611 บาท ด้วยวิธีการคำนวณแบบลดต้นลดดอก
2.
ค่าใช้จ่ายจากการรีไฟแนนซ์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะลืมข้อสำคัญในจุดนี้ บางคนอาจจะได้ไม่คุ้มเสียก็เป็นได้ ซึ่งการ รีไฟแนนซ์ คล้ายกับการขอสินเชื่อใหม่นั่นเอง ค่าใช้จ่ายที่ตามมาที่สำคัญแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ค่าใช้จ่ายให้กับกรมที่ดิน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% และค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้
ส่วนที่ 2 ค่าใช้จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่ ได้แก่ ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน ประมาณ 3,000 บาท และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย หากกรมธรรม์เดิมยังมีความคุ้มครอง ผู้กู้สามารถแจ้งโอนผลประโยชน์จากสถาบันการเงินเดิม เพื่อยกผลประโยชน์ให้สถาบันการเงินแห่งใหม่ได้
อย่างที่ได้กล่าวไปหากเรามีการปิดหนี้ก่อนกำหนดโดยส่วนใหญ่ 3 ปีแรก มักจะมีค่าปรับ 2-3% ของยอดหนี้ สมมติยอดหนี้ 1 ล้านบาท จะมีค่าปรับประมาณ 20,000-30,000 บาท เพื่อนๆ ก็อย่าลืมเช็คข้อนี้ในสัญญากันด้วยนะครับ
3.
ยอดหนี้ และระยะเวลาในการผ่อนเหลือมากน้อยแค่ไหน บางคนอาจจะผ่อนมานานจนลืมไปว่า ยอดหนี้นั้นใกล้จะหมด หรือเหลือผ่อนชำระอีกเพียงไม่กี่ปี หากได้โบนัส หรืออาจจะมีเงินก้อนที่ได้รับจากการลงทุนอื่นๆ ที่สามารถมาปิดหนี้ก่อนนี้ได้ก็ไม่จำเป็นต้อง รีไฟแนนซ์ ที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่า
ดังนั้นหากเพื่อนต้องการที่จะ รีไฟแนนซ์ ก็อย่าลืมเช็ค 3 ข้อที่ได้กล่าวมาแล้วเปรียบเทียบความคุ้มค่าว่าควรเลือกทางใดมากกว่ากัน หรือเพื่อนๆ ท่านไหนมีเหตุผลในการ รีไฟแนนซ์ นอกเหนือจากเรื่องดอกเบี้ยช่วยแชร์กันได้เลยนะครับ
3 ข้อควรรู้ก่อน รีไฟแนนซ์บ้าน
สำหรับเพื่อนๆ ที่มีบ้าน หรือคอนโด เป็นของตนเองและยังคงมีการผ่อนชำระรายเดือนกันอยู่คงอาจจะเคยได้ยิน หรือรู้จักกับคำว่าการ รีไฟแนนซ์ กันอย่างแน่นอน (สำหรับใครที่ไม่ทราบ แนะนำให้ศึกษาเพิ่มในส่วนนี้ครับมีประโยชน์แน่นอน) หากให้พูดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น การ รีไฟแนนซ์ คือการย้ายสถาบันการเงินที่เราขอสินเชื่อ เพื่อให้ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายนั้น น้อยลงจากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน บางคนอาจจะย้ายเพราะโปรโมชั่นที่ได้รับเดิมนั้นหมดลง หรือมีแห่งใหม่ที่มีโปรโมชั่นดอกเบี้ยที่น้อยกว่า และยังคงมีอีกหลายๆ เหตุผล ซึ่งอาจจะทำให้หลายๆ คนสับสน
K-Expert อยากจะขอแนะนำ 3 ข้อที่ควรรู้ก่อนติดสินใจ รีไฟแนนซ์ เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจกันนะครับ
1. อัตราดอกเบี้ยของที่ใหม่เป็นอย่างไร ข้อสำคัญของการรีไฟแนนซ์ คือ “อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง” ส่วนใหญ่จะเริ่มมองหาสถาบันแห่งใหม่หลังจากที่ที่ผ่อนชำระมาแล้วประมาณ 3 ปี เนื่องจากติดข้อสัญญาที่หากมีการปิดหนี้ก่อนกำหนด 3 ปีจะมีค่าธรรมเนียมเกิดขึ้น เพราะการรีไฟแนนซ์ ก็คือการปิดหนี้จากที่เดิมแล้วไปขอสินเชื่อกับสถาบันแห่งใหม่
ยกตัวอย่าง เดิมกู้บ้านไว้ที่ 2 ล้านบาท โดยมีการผ่อนชำระเดือนละ 12,100 บาท เมื่อผ่อนชำระไประยะหนึ่งจนหนี้เหลือเพียง 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ที่ MRR-1% ต่อปี ซึ่งเท่ากับ 6.12% ต่อปี ดอกเบี้ยอีก 3 ปีจะอยู่ที่ประมาณ 159,752 บาท แต่หากรีไฟแนนซ์ได้ดอกเบี้ยคงที่ 4.60% ต่อปี จะทำให้ยอดหนี้ที่เหลือ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 117,141 บาท โดยที่ผ่อนชำระเท่าเดิม เท่ากับว่าจะประหยัดดอกเบี้ยอยู่ที่ 42,611 บาท ด้วยวิธีการคำนวณแบบลดต้นลดดอก
2.ค่าใช้จ่ายจากการรีไฟแนนซ์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะลืมข้อสำคัญในจุดนี้ บางคนอาจจะได้ไม่คุ้มเสียก็เป็นได้ ซึ่งการ รีไฟแนนซ์ คล้ายกับการขอสินเชื่อใหม่นั่นเอง ค่าใช้จ่ายที่ตามมาที่สำคัญแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ค่าใช้จ่ายให้กับกรมที่ดิน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% และค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้
ส่วนที่ 2 ค่าใช้จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่ ได้แก่ ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน ประมาณ 3,000 บาท และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย หากกรมธรรม์เดิมยังมีความคุ้มครอง ผู้กู้สามารถแจ้งโอนผลประโยชน์จากสถาบันการเงินเดิม เพื่อยกผลประโยชน์ให้สถาบันการเงินแห่งใหม่ได้
อย่างที่ได้กล่าวไปหากเรามีการปิดหนี้ก่อนกำหนดโดยส่วนใหญ่ 3 ปีแรก มักจะมีค่าปรับ 2-3% ของยอดหนี้ สมมติยอดหนี้ 1 ล้านบาท จะมีค่าปรับประมาณ 20,000-30,000 บาท เพื่อนๆ ก็อย่าลืมเช็คข้อนี้ในสัญญากันด้วยนะครับ
3.ยอดหนี้ และระยะเวลาในการผ่อนเหลือมากน้อยแค่ไหน บางคนอาจจะผ่อนมานานจนลืมไปว่า ยอดหนี้นั้นใกล้จะหมด หรือเหลือผ่อนชำระอีกเพียงไม่กี่ปี หากได้โบนัส หรืออาจจะมีเงินก้อนที่ได้รับจากการลงทุนอื่นๆ ที่สามารถมาปิดหนี้ก่อนนี้ได้ก็ไม่จำเป็นต้อง รีไฟแนนซ์ ที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่า
ดังนั้นหากเพื่อนต้องการที่จะ รีไฟแนนซ์ ก็อย่าลืมเช็ค 3 ข้อที่ได้กล่าวมาแล้วเปรียบเทียบความคุ้มค่าว่าควรเลือกทางใดมากกว่ากัน หรือเพื่อนๆ ท่านไหนมีเหตุผลในการ รีไฟแนนซ์ นอกเหนือจากเรื่องดอกเบี้ยช่วยแชร์กันได้เลยนะครับ