BTS, the band that changed K-pop, explained
BTS วงที่เปลี่ยนวงการ เค-ป๊อป
กุญแจสู่ความสำเร็จของ BTS: ความเร้าอารมณ์(สะท้อนอารมณ์ความรู้สึก), ความจริงใจ และ ARMY
แทบจะไม่ได้รับความสนใจเลยสำหรับวง ฮิบ-ฮอป ของเกาหลี.
แต่วงบอยแบนด์ที่ถูกตั้งคำถามคือ bangtan boys หรือที่รู้กันในชื่อ BTS พวกเขาเป็นวงที่เปลี่ยนภาพลักษณ์เดิมของบอยแบนด์ชายในเกาหลี และเปลี่ยนแนวคิดเรื่องความสำเร็จที่แตกต่างออกไปของวงดนตรีเกาหลีในต่างประเทศ
ความสำเร็จของ BTS ในอเมริกา ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา เมื่อพวกเขาประสบความสำเร็จบนชาร์ตที่เป็นตัววัดความสำเร็จนานหลายสัปดาห์ และได้รับความสนใจอย่างมากมายใน American Music Awards รวมไปถึงการร่วมงานกันระหว่าง Steve Aoki ในเพลง Mic drop Remix
ตอนนี้ BTS กำลังสร้างประวัติศาสตร์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน:
พวกเขาเป็นวงแรกในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ ในพาตัวอัลบั้มขึ้นอันดับ 1 ในชาร์ต
บิลบอร์ด 200 ของสหรัฐอเมริกา และมีซิงเกิลที่เปิดตัวสูงถึง 10 ใน Billboard Hot 100 อัลบั้มใหม่ของพวกเขา Love Yourself: Tear ซึ่งเป็นผลงานถัดจาก Love Yourself: Her ของปี 2017 ทำยอดขายมากถึง 135,000 ยูนิตในสัปดาห์แรกและขึ้นสู่อันดับสูงสุด ในเดือน เมษายน BTS ประกาศทัวร์รอบโลกซึ่งรวมถึงเมืองต่างๆในสหรัฐฯด้วย และบัตรถูกขายจนหมดเกลี้ยง - เป็นครั้งแรกสำหรับวงดนตรีเกาหลี ที่เปลี่ยนสิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับ K-pop ในอเมริกาไปเลย
ทำไม BTS ถึงได้ทำลายอุปสรรคด้านวัฒนธรรมในต่างประเทศลงได้ และสร้างคลื่นที่สำคัญในสหรัฐฯ?
คำตอบคือการรวมกันของปัจจัยต่าง ๆ และส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งเดิม ๆ: การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมในค่ายเพลงของ K-pop เช่นการสร้าง "ไอดอล" การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของวงดนตรีในเกาหลี การเปลี่ยนวิธีการแสดงออกที่ยอมรับได้ใน K-pop; และเหนือสิ่งอื่นใด BTS สร้างฐานแฟนคลับ และมีปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ เสมอ
BTS เป็นผลผลิตของคนในวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการจะสร้างรูปแบบใหม่ของไอดอล
K-POP เริ่มต้นในเดือน เมษายน 1992 เมื่อวง ฮิบฮอป ที่ชื่อ
Seo Taeji and Boys ได้ไปแสดงในรายการโชว์ของเกาหลีใต้ Seo Taiji and Boys เป็นผู้ริเริ่มท้าทายบรรทัดฐานเกี่ยวกับหัวข้อดนตรี (เนื้อเพลง) แฟชั่น และการเซ็นเซอร์เพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับวัฒนธรรมเกาหลี ที่ใช้เวลานานในการทำเพลงและอยู่ใต้การกำกับของรัฐบาล
ในยุค 1990 ค่ายเพลงที่มีอิทธิพล 3 ค่าย เริ่มปลูกฝังสิ่งที่จะกลายเป็นที่รู้จักในฐานะไอดอลกรุ๊ป โดยประกอบไปด้วย การออดิชั่น กลุ่มคนที่จะกลายเป็น ไอดอล ต้องได้รับการขัดเกลาเพื่อผลรับแห่งความยอดเยี่ยม ทั้งการเต้น และการทำเพลงให้ดี เด็กฝึกที่เข้าร่วมการฝึกเทรน ส่วนใหญ่ชีวิตของพวกเขาคือการฝึกอย่างเข้มงวดตลอดเวลา เพื่อที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวงไอดอลนั้น ๆ เด็กฝึกเหล่านั้นจะถูกปิดกั้นทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตส่วนตัว ซึ่งการใช้ชีวิตส่วนตัวที่ไม่เป็นอิสระนี้สร้างปัญหาให้วัฒนธรรมเกาหลีเช่นกัน
ภายใต้สภาพแวดล้อมนี้ มีชายชื่อ
บัง ชีฮยอก เริ่มสร้างค่ายเพลงที่แตกต่าง และปลูกฝังวงดนตรีที่จะกลายเป็น
BTS ในปัจจุบัน เขาเป็น 1 ในนักแต่งเพลง และ โปรดิวเซอร์ ที่ประสบความสำเร็จ บัง ชีฮยอก เขาได้รับฉายาว่า "Hitman" จากการที่เขาเขียนเพลงฮิตหลายเพลงเช่น "One Candle" ของวง g.o.d. ในปี 1999 รวมไปถึงเพลง "Like the First Time" ของ T-ara ในปีต่อ ๆ มา เขาทำงานในฐานะโปรดิวเซอร์ และผู้อำนวยการร่วมกับค่าย JYP จนถึงปี พ. ศ. 2005 และออกมาสร้างค่าย Big Hit Entertainment ด้วยตัวเอง
แต่ บัง ชีฮยอก ก็ต้องต่อสู้กับตำแหน่งของเขาในวงการนี้ด้วยเช่นกัน ในฐานะเจ้าของค่าย เขาสารภาพว่ารู้สึกไม่มั่นคงเกี่ยวกับงานของเขา และบอกว่าตัวเขานั้นชื่นชมนักร้องที่สามารถแสดงตัวตนในเพลงได้ การรวมกันของความคิดนี้คือการแสดงออกทางดนตรีที่ซื่อสัตย์ ซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของ BTS
ในปี 2010 บัง ชีฮยอก เริ่มรวบรวมกลุ่มวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่เขาเรียกว่า Bulletproof Boy Scouts ซึ่งเด็กเหล่านั้นจะกลายเป็น BTS ในปัจจุบัน แต่ส่วนประกอบของความสำเร็จโดยเนื้อแท้แล้วมีอยู่ในชื่อเดิม บัง ชีฮยอก ตั้งใจที่จะให้ "Bulletproof" มีความสามารถในการทนต่อแรงกดดันของโลก แต่เขาก็อยากให้ BTS สามารถแสดงความจริงใจและความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าจะสร้างไอดอลที่ไร้ที่ติประหนึ่งรูปปั้นบูชาในค่ายเพลง แต่จะสร้างให้เป็นเด็กผู้ชายที่แท้จริง ที่มีบุคลิก และพรสวรรค์เพื่อถ่ายทอดไปยังโลกใบนี้
การทำคอนเท้นท์แบบนี้ (ข้างบน) ค่อนข้างแตกต่างจากรูปแบบค่ายเพลงทั่วไป
ซึ่ง BTS ได้รับการฝึกให้ดูร่าเริง แต่ไม่ได้ปลูกฝังในร่าเริงตลอดเวลาจนดูไม่เป็นธรรมชาติ ในทางตรงกันข้าม บัง ชีฮยอก ต้องการให้ BTS ได้รับการกล่าวขานจากผู้ที่เข้ามาชม การให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เกาหลีใต้ปี พ. ศ. 2018 มีคนอธิบายเอาไว้ว่า เขาคิดว่า BTS เป็นวงที่อ่อนโยน เป็นไอดอลที่แสดงความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำแก่แฟน ๆ ได้
ในการสร้างวงดนตรีนั้น บัง ชีฮยอก ต้องกระตุ้นการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มไอดอล
BTS ไม่ได้มีสัญญา และข้อบังคับที่เข้มงวด พวกเขาจะได้รับอนุญาตให้พูดถึงแรงกดดันในการเป็นไอดอลได้ เนื้อเพลงของพวกเขาจะเปิดกว้างขึ้นเกี่ยวกับแรงกดดันทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นเกาหลี
สิ่งที่พวกเขาทำ: ข้อความที่ใส่ใจต่อสังคม
“พวกเรามาพร้อมกับความฝัน การเขียนเพลง การเต้น และการผลิตเพลงที่สะท้อนถึงภูมิหลังทางดนตรีของเรา ตลอดจนค่านิยมในชีวิตของเราในการยอมรับความอ่อนแอและประสบความสำเร็จ" ลีดเดอร์แห่ง BTS ได้กล่าวไว้ ซึ่งกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Time ในปี 2560
1. พวกเขามักเขียนเพลงเอง
2. เนื้อเพลงของพวกเขามีจิตสำนึกทางสังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการอธิบายความกดดันของชีวิตวัยรุ่นที่ทันยุคสมัยในเกาหลีใต้
3. พวกเขาสร้าง และจัดการ การมีตัวตนบนสื่อออนไลน์
4. พวกเขาไม่ได้เซ็น"สัญญาทาส" หรือสัญญาที่มีข้อจำกัด ที่กำลังเป็นปัญหาในไอดอลวงอื่นๆ
5. พวกเขามักจะมุ่งเน้นไปที่การตลาดแบบทั้งอัลบั้ม แทนที่จะเป็นซิงเกิ้ลเดี่ยว
6. พวกเขาพูดคุยอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการดิ้นรน และความวิตกกังวลในอาชีพของพวกเขา แทนการนำเสนอภาพที่สวยงามมากตลอดเวลา
Stephen นักวิจารณ์เพลง K-pop ผู้จัดรายการพอดแคสท์รายสัปดาห์ ‘This Week in K-Pop’ ตั้งแต่ปี 2013 จนถึง 2017 ที่รายงานผลงานเพลงใหม่ ๆ ในแวดวง K-pop และบันทึกเรื่องราวของวง BTS อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในตอนแรกนั้นทั้ง Stephen และผู้ร่วมจัดรายการของเขานั้นต่างก็มีข้อสงสัยต่อตัววง “ในตอนนี้แวดวง K-pop เต็มไปด้วยวงที่มีกลิ่นอายฮิปฮอปแบบปลอม ๆ” เขากล่าว “แต่เมื่อปี 2013 นอกจากวง Big Bang แล้วก็ไม่ได้มี (วงแนวฮิปฮอป) อยู่มากนัก ฉะนั้นเมื่อ BTS กล้าเดบิวต์ด้วยภาพลักษณ์ ‘พวกเราคือวงฮิป-ฮอป’ แบบนี้เลยดูไม่ฉลาดเสียเท่าไหร่”
Stephen ชี้ให้เห็นว่างแวดวง K-pop นั้นกำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ “วงการ K-pop ชอบท่าทางและทัศนคติของฮิปฮอป แต่เข้าถึงมันไม่ได้มากนัก เขาคิดกันแบบตื้น ๆ: ฮิปฮอปเป็นวัฒนธรรมไม่ใช่แค่ดนตรี”
-แก้คำผิด-
[แปลบทความ] BTS วงที่เปลี่ยนวงการ K-POP เขียนโดย VOX
BTS วงที่เปลี่ยนวงการ เค-ป๊อป
แทบจะไม่ได้รับความสนใจเลยสำหรับวง ฮิบ-ฮอป ของเกาหลี.
แต่วงบอยแบนด์ที่ถูกตั้งคำถามคือ bangtan boys หรือที่รู้กันในชื่อ BTS พวกเขาเป็นวงที่เปลี่ยนภาพลักษณ์เดิมของบอยแบนด์ชายในเกาหลี และเปลี่ยนแนวคิดเรื่องความสำเร็จที่แตกต่างออกไปของวงดนตรีเกาหลีในต่างประเทศ
ความสำเร็จของ BTS ในอเมริกา ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา เมื่อพวกเขาประสบความสำเร็จบนชาร์ตที่เป็นตัววัดความสำเร็จนานหลายสัปดาห์ และได้รับความสนใจอย่างมากมายใน American Music Awards รวมไปถึงการร่วมงานกันระหว่าง Steve Aoki ในเพลง Mic drop Remix
ตอนนี้ BTS กำลังสร้างประวัติศาสตร์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน:
พวกเขาเป็นวงแรกในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ ในพาตัวอัลบั้มขึ้นอันดับ 1 ในชาร์ต บิลบอร์ด 200 ของสหรัฐอเมริกา และมีซิงเกิลที่เปิดตัวสูงถึง 10 ใน Billboard Hot 100 อัลบั้มใหม่ของพวกเขา Love Yourself: Tear ซึ่งเป็นผลงานถัดจาก Love Yourself: Her ของปี 2017 ทำยอดขายมากถึง 135,000 ยูนิตในสัปดาห์แรกและขึ้นสู่อันดับสูงสุด ในเดือน เมษายน BTS ประกาศทัวร์รอบโลกซึ่งรวมถึงเมืองต่างๆในสหรัฐฯด้วย และบัตรถูกขายจนหมดเกลี้ยง - เป็นครั้งแรกสำหรับวงดนตรีเกาหลี ที่เปลี่ยนสิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับ K-pop ในอเมริกาไปเลย
ทำไม BTS ถึงได้ทำลายอุปสรรคด้านวัฒนธรรมในต่างประเทศลงได้ และสร้างคลื่นที่สำคัญในสหรัฐฯ?
คำตอบคือการรวมกันของปัจจัยต่าง ๆ และส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งเดิม ๆ: การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมในค่ายเพลงของ K-pop เช่นการสร้าง "ไอดอล" การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของวงดนตรีในเกาหลี การเปลี่ยนวิธีการแสดงออกที่ยอมรับได้ใน K-pop; และเหนือสิ่งอื่นใด BTS สร้างฐานแฟนคลับ และมีปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ เสมอ
BTS เป็นผลผลิตของคนในวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการจะสร้างรูปแบบใหม่ของไอดอล
K-POP เริ่มต้นในเดือน เมษายน 1992 เมื่อวง ฮิบฮอป ที่ชื่อ Seo Taeji and Boys ได้ไปแสดงในรายการโชว์ของเกาหลีใต้ Seo Taiji and Boys เป็นผู้ริเริ่มท้าทายบรรทัดฐานเกี่ยวกับหัวข้อดนตรี (เนื้อเพลง) แฟชั่น และการเซ็นเซอร์เพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับวัฒนธรรมเกาหลี ที่ใช้เวลานานในการทำเพลงและอยู่ใต้การกำกับของรัฐบาล
ในยุค 1990 ค่ายเพลงที่มีอิทธิพล 3 ค่าย เริ่มปลูกฝังสิ่งที่จะกลายเป็นที่รู้จักในฐานะไอดอลกรุ๊ป โดยประกอบไปด้วย การออดิชั่น กลุ่มคนที่จะกลายเป็น ไอดอล ต้องได้รับการขัดเกลาเพื่อผลรับแห่งความยอดเยี่ยม ทั้งการเต้น และการทำเพลงให้ดี เด็กฝึกที่เข้าร่วมการฝึกเทรน ส่วนใหญ่ชีวิตของพวกเขาคือการฝึกอย่างเข้มงวดตลอดเวลา เพื่อที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวงไอดอลนั้น ๆ เด็กฝึกเหล่านั้นจะถูกปิดกั้นทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตส่วนตัว ซึ่งการใช้ชีวิตส่วนตัวที่ไม่เป็นอิสระนี้สร้างปัญหาให้วัฒนธรรมเกาหลีเช่นกัน
ภายใต้สภาพแวดล้อมนี้ มีชายชื่อ บัง ชีฮยอก เริ่มสร้างค่ายเพลงที่แตกต่าง และปลูกฝังวงดนตรีที่จะกลายเป็น BTS ในปัจจุบัน เขาเป็น 1 ในนักแต่งเพลง และ โปรดิวเซอร์ ที่ประสบความสำเร็จ บัง ชีฮยอก เขาได้รับฉายาว่า "Hitman" จากการที่เขาเขียนเพลงฮิตหลายเพลงเช่น "One Candle" ของวง g.o.d. ในปี 1999 รวมไปถึงเพลง "Like the First Time" ของ T-ara ในปีต่อ ๆ มา เขาทำงานในฐานะโปรดิวเซอร์ และผู้อำนวยการร่วมกับค่าย JYP จนถึงปี พ. ศ. 2005 และออกมาสร้างค่าย Big Hit Entertainment ด้วยตัวเอง
แต่ บัง ชีฮยอก ก็ต้องต่อสู้กับตำแหน่งของเขาในวงการนี้ด้วยเช่นกัน ในฐานะเจ้าของค่าย เขาสารภาพว่ารู้สึกไม่มั่นคงเกี่ยวกับงานของเขา และบอกว่าตัวเขานั้นชื่นชมนักร้องที่สามารถแสดงตัวตนในเพลงได้ การรวมกันของความคิดนี้คือการแสดงออกทางดนตรีที่ซื่อสัตย์ ซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของ BTS
ในปี 2010 บัง ชีฮยอก เริ่มรวบรวมกลุ่มวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่เขาเรียกว่า Bulletproof Boy Scouts ซึ่งเด็กเหล่านั้นจะกลายเป็น BTS ในปัจจุบัน แต่ส่วนประกอบของความสำเร็จโดยเนื้อแท้แล้วมีอยู่ในชื่อเดิม บัง ชีฮยอก ตั้งใจที่จะให้ "Bulletproof" มีความสามารถในการทนต่อแรงกดดันของโลก แต่เขาก็อยากให้ BTS สามารถแสดงความจริงใจและความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าจะสร้างไอดอลที่ไร้ที่ติประหนึ่งรูปปั้นบูชาในค่ายเพลง แต่จะสร้างให้เป็นเด็กผู้ชายที่แท้จริง ที่มีบุคลิก และพรสวรรค์เพื่อถ่ายทอดไปยังโลกใบนี้
การทำคอนเท้นท์แบบนี้ (ข้างบน) ค่อนข้างแตกต่างจากรูปแบบค่ายเพลงทั่วไป
ซึ่ง BTS ได้รับการฝึกให้ดูร่าเริง แต่ไม่ได้ปลูกฝังในร่าเริงตลอดเวลาจนดูไม่เป็นธรรมชาติ ในทางตรงกันข้าม บัง ชีฮยอก ต้องการให้ BTS ได้รับการกล่าวขานจากผู้ที่เข้ามาชม การให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เกาหลีใต้ปี พ. ศ. 2018 มีคนอธิบายเอาไว้ว่า เขาคิดว่า BTS เป็นวงที่อ่อนโยน เป็นไอดอลที่แสดงความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำแก่แฟน ๆ ได้
ในการสร้างวงดนตรีนั้น บัง ชีฮยอก ต้องกระตุ้นการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มไอดอล
BTS ไม่ได้มีสัญญา และข้อบังคับที่เข้มงวด พวกเขาจะได้รับอนุญาตให้พูดถึงแรงกดดันในการเป็นไอดอลได้ เนื้อเพลงของพวกเขาจะเปิดกว้างขึ้นเกี่ยวกับแรงกดดันทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นเกาหลี
สิ่งที่พวกเขาทำ: ข้อความที่ใส่ใจต่อสังคม
“พวกเรามาพร้อมกับความฝัน การเขียนเพลง การเต้น และการผลิตเพลงที่สะท้อนถึงภูมิหลังทางดนตรีของเรา ตลอดจนค่านิยมในชีวิตของเราในการยอมรับความอ่อนแอและประสบความสำเร็จ" ลีดเดอร์แห่ง BTS ได้กล่าวไว้ ซึ่งกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Time ในปี 2560
1. พวกเขามักเขียนเพลงเอง
2. เนื้อเพลงของพวกเขามีจิตสำนึกทางสังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการอธิบายความกดดันของชีวิตวัยรุ่นที่ทันยุคสมัยในเกาหลีใต้
3. พวกเขาสร้าง และจัดการ การมีตัวตนบนสื่อออนไลน์
4. พวกเขาไม่ได้เซ็น"สัญญาทาส" หรือสัญญาที่มีข้อจำกัด ที่กำลังเป็นปัญหาในไอดอลวงอื่นๆ
5. พวกเขามักจะมุ่งเน้นไปที่การตลาดแบบทั้งอัลบั้ม แทนที่จะเป็นซิงเกิ้ลเดี่ยว
6. พวกเขาพูดคุยอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการดิ้นรน และความวิตกกังวลในอาชีพของพวกเขา แทนการนำเสนอภาพที่สวยงามมากตลอดเวลา
Stephen นักวิจารณ์เพลง K-pop ผู้จัดรายการพอดแคสท์รายสัปดาห์ ‘This Week in K-Pop’ ตั้งแต่ปี 2013 จนถึง 2017 ที่รายงานผลงานเพลงใหม่ ๆ ในแวดวง K-pop และบันทึกเรื่องราวของวง BTS อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในตอนแรกนั้นทั้ง Stephen และผู้ร่วมจัดรายการของเขานั้นต่างก็มีข้อสงสัยต่อตัววง “ในตอนนี้แวดวง K-pop เต็มไปด้วยวงที่มีกลิ่นอายฮิปฮอปแบบปลอม ๆ” เขากล่าว “แต่เมื่อปี 2013 นอกจากวง Big Bang แล้วก็ไม่ได้มี (วงแนวฮิปฮอป) อยู่มากนัก ฉะนั้นเมื่อ BTS กล้าเดบิวต์ด้วยภาพลักษณ์ ‘พวกเราคือวงฮิป-ฮอป’ แบบนี้เลยดูไม่ฉลาดเสียเท่าไหร่”
Stephen ชี้ให้เห็นว่างแวดวง K-pop นั้นกำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ “วงการ K-pop ชอบท่าทางและทัศนคติของฮิปฮอป แต่เข้าถึงมันไม่ได้มากนัก เขาคิดกันแบบตื้น ๆ: ฮิปฮอปเป็นวัฒนธรรมไม่ใช่แค่ดนตรี”
-แก้คำผิด-