คือปัจจุบัน จะใช้วิธีโอนเข้าบัญชีเงินเดือน เท่าๆกันทุกเดือนๆละ 5พัน โดยไม่ขอใบเสร็จและไม่สนใจว่า พนักงานจะเอาไปเติมน้ำมันทั้งหมดหรือไม่
เช่น พนักงานอาจเอาส่วนนึงไปเป็นค่าทางด่วน ค่าที่จอดรถ ค่าซ่อมรถ หรือแม้กระทั่งเอาไปใช้ซื้อของใช้จิปาถะส่วนตัว บริษัทก็ไม่ได้สนใจ
คือเหมาให้ไปเลย 5 พันบาท ( แต่พนักงานก็จะโดนหักภาษีในเงินจำนวนนี้ด้วย )
ซึ่งเท่าที่ทราบมา การจ่ายค่าน้ำมันลักษณะนี้ถือเป็นค่าจ้าง ที่นายจ้างต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยเวลาที่เลิกจ้างด้วย ใช่มั้ยคะ?
ถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆ เราจะแก้ไขโดยให้พนักงานไปใช้บัตรเติมน้ำมัน แทนดีมั้ยคะ ( โดยให้วงเงินไม่เกินไปกว่าเดิม )
สรุปคือ พนักงานต้องใช้เพื่อรูดค่าน้ำมันเท่านั้น จะเอาไปจ่ายอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าใช้รูดน้ำมันไม่ถึง5 พัน ก็ถือว่าเสียสิทธิในส่วนต่างสำหรับเดือนนั้น
แต่ก็มีข้อดีคือพนักงานไม่ต้องโดนหักภาษีอีกต่อไป
วัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนให้ใช้บัตรเติมน้ำมันคือ
1. ตรวจสอบและควบคุมค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เพราะทุกสิ้นเดือน ทางบริษัทน้ำมันจะสรุปยอดมาให้เลยว่า ใครรูดค่าน้ำมันไปเท่าไหร่บ้าง
( และบริษัทไม่ต้องมาเรียกเก็บใบเสร็จจากพนักงาน )
2. ตรงวัตถุประสงค์ของการจ่ายมากขึ้น คือเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าน้ำมันจริงๆ
3. ค่าน้ำมันที่จ่ายผ่านบัตรเติมน้ำมัน ไม่เป็นค่าจ้างที่จะนำมารวมคำนวณค่าชดเชย กรณีเลิกจ้างพนักงาน
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ และถ้ามีความเห็นอื่นๆก็กรุณาเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
ค่าน้ำมันที่จ่ายเท่ากันทุกเดือนโดยไม่เรียกใบเสร็จ ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณค่าชดเชย ?
เช่น พนักงานอาจเอาส่วนนึงไปเป็นค่าทางด่วน ค่าที่จอดรถ ค่าซ่อมรถ หรือแม้กระทั่งเอาไปใช้ซื้อของใช้จิปาถะส่วนตัว บริษัทก็ไม่ได้สนใจ
คือเหมาให้ไปเลย 5 พันบาท ( แต่พนักงานก็จะโดนหักภาษีในเงินจำนวนนี้ด้วย )
ซึ่งเท่าที่ทราบมา การจ่ายค่าน้ำมันลักษณะนี้ถือเป็นค่าจ้าง ที่นายจ้างต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยเวลาที่เลิกจ้างด้วย ใช่มั้ยคะ?
ถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆ เราจะแก้ไขโดยให้พนักงานไปใช้บัตรเติมน้ำมัน แทนดีมั้ยคะ ( โดยให้วงเงินไม่เกินไปกว่าเดิม )
สรุปคือ พนักงานต้องใช้เพื่อรูดค่าน้ำมันเท่านั้น จะเอาไปจ่ายอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าใช้รูดน้ำมันไม่ถึง5 พัน ก็ถือว่าเสียสิทธิในส่วนต่างสำหรับเดือนนั้น
แต่ก็มีข้อดีคือพนักงานไม่ต้องโดนหักภาษีอีกต่อไป
วัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนให้ใช้บัตรเติมน้ำมันคือ
1. ตรวจสอบและควบคุมค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เพราะทุกสิ้นเดือน ทางบริษัทน้ำมันจะสรุปยอดมาให้เลยว่า ใครรูดค่าน้ำมันไปเท่าไหร่บ้าง
( และบริษัทไม่ต้องมาเรียกเก็บใบเสร็จจากพนักงาน )
2. ตรงวัตถุประสงค์ของการจ่ายมากขึ้น คือเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าน้ำมันจริงๆ
3. ค่าน้ำมันที่จ่ายผ่านบัตรเติมน้ำมัน ไม่เป็นค่าจ้างที่จะนำมารวมคำนวณค่าชดเชย กรณีเลิกจ้างพนักงาน
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ และถ้ามีความเห็นอื่นๆก็กรุณาเพิ่มเติมได้เลยค่ะ