http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3216
บริษัทการตลาดจำพวกของหวานขนาดเล็กมาก (ทุนจดทะเบียนล่าสุด 81.56 ล้านบาท แต่มีส่วนผู้ถือหุ้นเกือบ 1 พันล้านบาท) อย่าง บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU เป็นที่รู้จักว่าเป็นหุ้น "น้ำแข็งไส" ที่มีค่าพี/อี ตั้งแต่ขายหุ้นจองแพงลิ่วเกิน 100 เท่า และใกล้จะผ่านมาเกือบ 2 ปีตั้งแต่เข้าเทรดในตลาด mai ก็ไม่เคยมีค่าพี/อีต่ำกว่า 50 เท่าเลย....
ดูเฉพาะค่าพี/อีอย่างเดียว เมินเฉยหุ้นตัวนี้จากสายตาไกลได้เลย แต่ถ้าหากดูผลประกอบการและความสามารถทำกำไร (อัตรากำไรสุทธิ) กลับตรงกันข้าม
AU คือหุ้น Growth Stock ที่น่าจับตาอย่างมากเพราะเหตุผลว่า แรกสุดผู้บริหารขับเคลื่อนการเติบโตของยอดขายและกำไรต่อเนื่องไม่มีหยุด เข้าข่าย Let Profit Run โดยที่สามารถรักษาอัตรากำไรสุทธิเหนือ 15%ต่อเนื่อง ไม่เหมือนบริษัททางการตลาดหลายแห่งที่ยิ่งยอดขายมาก อัตรากำไรสุทธิกลับดิ่งเหวน่าใจหาย เพราะการตลาดที่ผิดพลาด
ประการสุดท้าย โดดเด่นกว่าอย่างแรกด้วยซ้ำ เพราะกลยุทธ์การตลาดของ AU มีหลากหลายจับทางยาก ชนิดครบเครื่องเลยทีเดียว สามารถมองเห็นล่วงหน้าถึงสตอรี่ในการรุกที่ยืดหยุ่น สมกับเป็นนักการตลาดรุ่นใหม่ที่อายุไม่ได้บอกประสบการณ์และความช่ำชองในการทำธุรกิจ
ภาพความครบเครื่องของการตลาด AU จากนี้ไป เห็นได้จากการแถลงแผนธุรกิจครึ่งหลังปีนี้ของผู้บริหารคนสำคัญ นายแม่ทัพ ต.สุวรรณ กรรมการผู้จัดการ ล่าสุด
นายแม่ทัพ เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 กลุ่มของ AU ที่ประกอบด้วยคน นามสกุล กนกวัฒนาวรรณ และ ต.สุวรรณ (ตระกูลนี้เคยเป็นเจ้าของ ไทยวัฒนาพาณิชย์ โรงพิมพ์ตำราใหญ่สุดของไทยในอดีต) ที่ถือครองหุ้นล่าสุดถือรวมกันประมาณ 65%(ไม่นับนอมินีและอื่นๆ) เปิดวิสัยทัศน์ของ AU ที่ชัดเจนอย่างมากน่าสนใจยิ่ง
นอกจาก นายแม่ทัพ จะกล่าวถึงตั้งเป้ายอดขายของ AU ปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อนอยู่ที่ 735.38 ล้านบาท เป็นไปตามการขยายสาขาภายใต้แบรนด์ อาฟเตอร์ ยู ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่เพิ่มขึ้น โดยปีนี้มีแผนขยายสาขาเพิ่มอีก 8-10 สาขา วางงบลงทุนต่อสาขาเฉลี่ย 6-7 ล้านบาท หลังจากในไตรมาสแรกเปิดไปแล้ว 3 สาขา ได้แก่ ดอนเมือง, เซ็นทรัลเวิลด์ , จ.เชียงใหม่ และในเดือน มิ.ย.นี้ จะเปิดสาขาที่จ.อุดรธานี ส่วนในไตรมาส 3/61 จะเปิดเพิ่มที่เซ็นทรัลพระราม 2, ไตรมาส 4/61 ที่จ.ภูเก็ต ,พัทยา และสุขุมวิท 101 รวมถึงยังอยู่ระหว่างคัดเลือกทำเลเพิ่มเติมอีก คาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีสาขาทั้งสิ้น 37 สาขา ขณะเดียวกันยอดขายจากสาขาเดิมก็ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยังพูดถึงเรื่องอื่นที่ประกอบด้วย แผนการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ไปยังต่างประเทศ และ การทำสิ่งที่เรียกว่า co-branding ที่ถือว่าน่าสนใจยิ่ง
การรุกทางการตลาดที่มีทั้ง samestore branches, franchising, และ co-brandind ครบเครื่อง ต้องการความพร้อมในการบริหารจัดการอย่างมาก เพราะในข้อเด่นคือสามารถผิดจุดอ่อนทางการตลาดของกลยุทธ์เดี่ยวได้สนิท แต่หากขาดความพร้อมก็อาจกลายเป็นดาบสองคมที่ทำร้ายตัวเองได้ง่ายมาก
สำหรับ แผนการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ไปยังต่างประเทศ ของ AU นายแม่ทัพ ระบุว่า บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาขายแฟรนไชส์ให้แก่พันธมิตร ประเทศมาเลเซีย ได้ภายในไตรมาสสามปีนี้ และน่าจะเห็นสาขาอาฟเตอร์ ยู ในประเทศมาเลเซีย เป็นสาขาแรกได้ในไตรมาส 2 ปีหน้า ขณะที่บริษัทฯ ยังมองโอกาสในการขยายไปยังประเทศอื่นๆ อีกโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ คาดหวังว่าจะสามารถเปิดสาขาให้ได้อย่างน้อยปีละประเทศ ภายใน 5 ปี
ส่วนกลยุทธ์ co-branding ที่เคยสร้างความฮือฮาหลายเดือนก่อน จากการจับมือร่วมกับร้านกาแฟแบรนด์สตาร์บัคส์บางแห่ง นำขนมหวานเมนูยอดนิยมของอาฟเตอร์ ยู เข้าไปอยู่ในร้านกาแฟของฝ่ายหลัง โดยมี AU เป็นซัพพลายเออร์ที่แทรกตัวเข้าไปสร้างสีสัน นายจอมทัพย้ำว่า มีการตอบรับที่ดีจากลูกค้า โดยล่าสุดทางสตาร์บัคส์ ได้ให้ AU นำส่งขนมหวานให้สาขาอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ส่งผลทำให้ขณะนี้บริษัทฯ สามารถขยายเข้าไปในร้านสตาร์บัคส์เพิ่มขึ้นเป็น 11 สาขา อีกทั้งก็อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรธุรกิจร้านอาหารจำนวน 2 ราย เพื่อทำธุรกิจลักษณะ Co-Branding คาดว่าจะเห็นความชัดเจนได้ภายในเดือนตุลาคมนี้
กลยุทธ์ Co-branding ยังไม่หยุดแค่นี้ เพราะ AU เตรียมนำขนมหวานไปให้บริการบนเครื่องบินแก่สายการบินอื่นเพิ่มเติมอีก 1 ราย โดยคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในไตรมาสสามปีนี้ นอกเหนือจากเดิมที่บริษัทฯ เป็นพันธมิตรกับสายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ ในการนำขนมหวานไปให้บริการบนเครื่องบินเพียง 1 แห่งเท่านั้น
การรุกทางการตลาดส่วนหน้า เรียกร้องงานด้านลอจิสติกส์หลังบ้านควบคู่กันไปด้วย ทำให้
นายแม่ทัพ กล่าวเพิ่มเติมว่า AU อยู่ระหว่างก่อสร้างห้องเย็นเก็บสินค้า บนพื้นที่โรงงานเดิม เพื่อรองรับปริมาณงานจากต่างประเทศและต่างจังหวัด ที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยวางงบลงทุนไม่เกิน 90 ล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายในไตรมาสสองปีหน้า
การรุก และเตรียมรุกไม่หยุดยั้งทำให้ AUมั่นใจกับการตั้งเป้าหมายว่า ภายใน 3-5 ปีจากนี้ สัดส่วนรายได้ที่มาจาก Co-Branding, แฟรนไชส์, Take a way และเดลิเวอรี่ จะขยับเพิ่มขึ้นมาในระดับใกล้เคียงกับรายได้ที่มาจากสาขา หรือประมาณ 50% จากปัจจุบันบริษัทฯ ยังมีรายได้หลักมาจากสาขาประมาณ 95%
ความมั่นใจของผู้บริหาร AU อาจจะไม่ตรงกับมุมมองของนักวิเคราะห์หลายสำนักที่ยังมีคำถามเกี่ยวกับค่า พี/อี ของ AU ที่ยังสูงลิ่วต่อไป แม้ว่าล่าสุดราคาจะถดถอยลงมาต่ำกว่า 9.50 บาทก็ตาม
นักวิเคราะห์ขาเชียร์ที่เคยให้คำชี้แนะ "ซื้อเก็งกำไร" ราคาเป้าหมายเดิม 15 บาท/หุ้น ในเดือนพฤษภา ล่าสุดปรับลดเหลือแค่ 11 บาท ยังให้ราคาซึมยาวเกือบหลุด 9.00 บาท แต่อีกหลายสำนักยังมีมุมมองบวกต่อไป ระบุว่า การที่กำไรหลักสำหรับไตรมาส 1 ที่ 31 ล้านบาท เติบโต 43% จากปีก่อน แต่ลดลง 10% จากไตรมาสี่ปีก่อน ไม่เกินคาดหมาย
ที่สำคัญ การที่ AU ยังสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 67.6% ในไตรมาสแรก จากเดิมอยู่ที่ 65.7% เพราะลดต้นทุนการบริหาร และ การปล่อยเมนูเด่นประจำเทศกาลอันเป็นจุดขายสำคัญในช่วงโปรโมชั่น ส่งผลให้กำไรเติบโต แม้จะมีปัญหาถูกกระทบจากอัตราส่วนค่าใช้จ่ายด้านจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้น ผสมกับค่าเช่าพื้นที่ที่สูงขึ้นจากการขยายสาขา มีส่วนทำให้อัตรากำไรสุทธิลดลงเล็กน้อย
ที่สำคัญสุด มีการคาดหมายว่า ไตรมาส 2 ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นคาดว่า AU จะมีกำไรหลักโดดเด่นทั้งเทียบปีก่อนและไตรมาสแรก รวมทั้งส่งผลให้คาดกำไรหลักปี 2561 จะเติบโต 36%
ถ้าประเมินจากจุดหลังสุดนี้ ราคาและค่าพี/อีของ AU ใต้ 10 บาท ไม่ถือว่าแพง
สำคัญที่ความเชื่อมั่นจะเอาชนะความสังสัยได้หรือไม่ เท่านั้น
//////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
www.share2trade.com
AU ครบเครื่องมากกว่าของหวาน (โดย อีหล่าน้อย เว็บ Share2Trade)
บริษัทการตลาดจำพวกของหวานขนาดเล็กมาก (ทุนจดทะเบียนล่าสุด 81.56 ล้านบาท แต่มีส่วนผู้ถือหุ้นเกือบ 1 พันล้านบาท) อย่าง บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU เป็นที่รู้จักว่าเป็นหุ้น "น้ำแข็งไส" ที่มีค่าพี/อี ตั้งแต่ขายหุ้นจองแพงลิ่วเกิน 100 เท่า และใกล้จะผ่านมาเกือบ 2 ปีตั้งแต่เข้าเทรดในตลาด mai ก็ไม่เคยมีค่าพี/อีต่ำกว่า 50 เท่าเลย....
ดูเฉพาะค่าพี/อีอย่างเดียว เมินเฉยหุ้นตัวนี้จากสายตาไกลได้เลย แต่ถ้าหากดูผลประกอบการและความสามารถทำกำไร (อัตรากำไรสุทธิ) กลับตรงกันข้าม
AU คือหุ้น Growth Stock ที่น่าจับตาอย่างมากเพราะเหตุผลว่า แรกสุดผู้บริหารขับเคลื่อนการเติบโตของยอดขายและกำไรต่อเนื่องไม่มีหยุด เข้าข่าย Let Profit Run โดยที่สามารถรักษาอัตรากำไรสุทธิเหนือ 15%ต่อเนื่อง ไม่เหมือนบริษัททางการตลาดหลายแห่งที่ยิ่งยอดขายมาก อัตรากำไรสุทธิกลับดิ่งเหวน่าใจหาย เพราะการตลาดที่ผิดพลาด
ประการสุดท้าย โดดเด่นกว่าอย่างแรกด้วยซ้ำ เพราะกลยุทธ์การตลาดของ AU มีหลากหลายจับทางยาก ชนิดครบเครื่องเลยทีเดียว สามารถมองเห็นล่วงหน้าถึงสตอรี่ในการรุกที่ยืดหยุ่น สมกับเป็นนักการตลาดรุ่นใหม่ที่อายุไม่ได้บอกประสบการณ์และความช่ำชองในการทำธุรกิจ
ภาพความครบเครื่องของการตลาด AU จากนี้ไป เห็นได้จากการแถลงแผนธุรกิจครึ่งหลังปีนี้ของผู้บริหารคนสำคัญ นายแม่ทัพ ต.สุวรรณ กรรมการผู้จัดการ ล่าสุด
นายแม่ทัพ เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 กลุ่มของ AU ที่ประกอบด้วยคน นามสกุล กนกวัฒนาวรรณ และ ต.สุวรรณ (ตระกูลนี้เคยเป็นเจ้าของ ไทยวัฒนาพาณิชย์ โรงพิมพ์ตำราใหญ่สุดของไทยในอดีต) ที่ถือครองหุ้นล่าสุดถือรวมกันประมาณ 65%(ไม่นับนอมินีและอื่นๆ) เปิดวิสัยทัศน์ของ AU ที่ชัดเจนอย่างมากน่าสนใจยิ่ง
นอกจาก นายแม่ทัพ จะกล่าวถึงตั้งเป้ายอดขายของ AU ปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อนอยู่ที่ 735.38 ล้านบาท เป็นไปตามการขยายสาขาภายใต้แบรนด์ อาฟเตอร์ ยู ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่เพิ่มขึ้น โดยปีนี้มีแผนขยายสาขาเพิ่มอีก 8-10 สาขา วางงบลงทุนต่อสาขาเฉลี่ย 6-7 ล้านบาท หลังจากในไตรมาสแรกเปิดไปแล้ว 3 สาขา ได้แก่ ดอนเมือง, เซ็นทรัลเวิลด์ , จ.เชียงใหม่ และในเดือน มิ.ย.นี้ จะเปิดสาขาที่จ.อุดรธานี ส่วนในไตรมาส 3/61 จะเปิดเพิ่มที่เซ็นทรัลพระราม 2, ไตรมาส 4/61 ที่จ.ภูเก็ต ,พัทยา และสุขุมวิท 101 รวมถึงยังอยู่ระหว่างคัดเลือกทำเลเพิ่มเติมอีก คาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีสาขาทั้งสิ้น 37 สาขา ขณะเดียวกันยอดขายจากสาขาเดิมก็ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยังพูดถึงเรื่องอื่นที่ประกอบด้วย แผนการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ไปยังต่างประเทศ และ การทำสิ่งที่เรียกว่า co-branding ที่ถือว่าน่าสนใจยิ่ง
การรุกทางการตลาดที่มีทั้ง samestore branches, franchising, และ co-brandind ครบเครื่อง ต้องการความพร้อมในการบริหารจัดการอย่างมาก เพราะในข้อเด่นคือสามารถผิดจุดอ่อนทางการตลาดของกลยุทธ์เดี่ยวได้สนิท แต่หากขาดความพร้อมก็อาจกลายเป็นดาบสองคมที่ทำร้ายตัวเองได้ง่ายมาก
สำหรับ แผนการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ไปยังต่างประเทศ ของ AU นายแม่ทัพ ระบุว่า บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาขายแฟรนไชส์ให้แก่พันธมิตร ประเทศมาเลเซีย ได้ภายในไตรมาสสามปีนี้ และน่าจะเห็นสาขาอาฟเตอร์ ยู ในประเทศมาเลเซีย เป็นสาขาแรกได้ในไตรมาส 2 ปีหน้า ขณะที่บริษัทฯ ยังมองโอกาสในการขยายไปยังประเทศอื่นๆ อีกโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ คาดหวังว่าจะสามารถเปิดสาขาให้ได้อย่างน้อยปีละประเทศ ภายใน 5 ปี
ส่วนกลยุทธ์ co-branding ที่เคยสร้างความฮือฮาหลายเดือนก่อน จากการจับมือร่วมกับร้านกาแฟแบรนด์สตาร์บัคส์บางแห่ง นำขนมหวานเมนูยอดนิยมของอาฟเตอร์ ยู เข้าไปอยู่ในร้านกาแฟของฝ่ายหลัง โดยมี AU เป็นซัพพลายเออร์ที่แทรกตัวเข้าไปสร้างสีสัน นายจอมทัพย้ำว่า มีการตอบรับที่ดีจากลูกค้า โดยล่าสุดทางสตาร์บัคส์ ได้ให้ AU นำส่งขนมหวานให้สาขาอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ส่งผลทำให้ขณะนี้บริษัทฯ สามารถขยายเข้าไปในร้านสตาร์บัคส์เพิ่มขึ้นเป็น 11 สาขา อีกทั้งก็อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรธุรกิจร้านอาหารจำนวน 2 ราย เพื่อทำธุรกิจลักษณะ Co-Branding คาดว่าจะเห็นความชัดเจนได้ภายในเดือนตุลาคมนี้
กลยุทธ์ Co-branding ยังไม่หยุดแค่นี้ เพราะ AU เตรียมนำขนมหวานไปให้บริการบนเครื่องบินแก่สายการบินอื่นเพิ่มเติมอีก 1 ราย โดยคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในไตรมาสสามปีนี้ นอกเหนือจากเดิมที่บริษัทฯ เป็นพันธมิตรกับสายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ ในการนำขนมหวานไปให้บริการบนเครื่องบินเพียง 1 แห่งเท่านั้น
การรุกทางการตลาดส่วนหน้า เรียกร้องงานด้านลอจิสติกส์หลังบ้านควบคู่กันไปด้วย ทำให้
นายแม่ทัพ กล่าวเพิ่มเติมว่า AU อยู่ระหว่างก่อสร้างห้องเย็นเก็บสินค้า บนพื้นที่โรงงานเดิม เพื่อรองรับปริมาณงานจากต่างประเทศและต่างจังหวัด ที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยวางงบลงทุนไม่เกิน 90 ล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายในไตรมาสสองปีหน้า
การรุก และเตรียมรุกไม่หยุดยั้งทำให้ AUมั่นใจกับการตั้งเป้าหมายว่า ภายใน 3-5 ปีจากนี้ สัดส่วนรายได้ที่มาจาก Co-Branding, แฟรนไชส์, Take a way และเดลิเวอรี่ จะขยับเพิ่มขึ้นมาในระดับใกล้เคียงกับรายได้ที่มาจากสาขา หรือประมาณ 50% จากปัจจุบันบริษัทฯ ยังมีรายได้หลักมาจากสาขาประมาณ 95%
ความมั่นใจของผู้บริหาร AU อาจจะไม่ตรงกับมุมมองของนักวิเคราะห์หลายสำนักที่ยังมีคำถามเกี่ยวกับค่า พี/อี ของ AU ที่ยังสูงลิ่วต่อไป แม้ว่าล่าสุดราคาจะถดถอยลงมาต่ำกว่า 9.50 บาทก็ตาม
นักวิเคราะห์ขาเชียร์ที่เคยให้คำชี้แนะ "ซื้อเก็งกำไร" ราคาเป้าหมายเดิม 15 บาท/หุ้น ในเดือนพฤษภา ล่าสุดปรับลดเหลือแค่ 11 บาท ยังให้ราคาซึมยาวเกือบหลุด 9.00 บาท แต่อีกหลายสำนักยังมีมุมมองบวกต่อไป ระบุว่า การที่กำไรหลักสำหรับไตรมาส 1 ที่ 31 ล้านบาท เติบโต 43% จากปีก่อน แต่ลดลง 10% จากไตรมาสี่ปีก่อน ไม่เกินคาดหมาย
ที่สำคัญ การที่ AU ยังสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 67.6% ในไตรมาสแรก จากเดิมอยู่ที่ 65.7% เพราะลดต้นทุนการบริหาร และ การปล่อยเมนูเด่นประจำเทศกาลอันเป็นจุดขายสำคัญในช่วงโปรโมชั่น ส่งผลให้กำไรเติบโต แม้จะมีปัญหาถูกกระทบจากอัตราส่วนค่าใช้จ่ายด้านจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้น ผสมกับค่าเช่าพื้นที่ที่สูงขึ้นจากการขยายสาขา มีส่วนทำให้อัตรากำไรสุทธิลดลงเล็กน้อย
ที่สำคัญสุด มีการคาดหมายว่า ไตรมาส 2 ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นคาดว่า AU จะมีกำไรหลักโดดเด่นทั้งเทียบปีก่อนและไตรมาสแรก รวมทั้งส่งผลให้คาดกำไรหลักปี 2561 จะเติบโต 36%
ถ้าประเมินจากจุดหลังสุดนี้ ราคาและค่าพี/อีของ AU ใต้ 10 บาท ไม่ถือว่าแพง
สำคัญที่ความเชื่อมั่นจะเอาชนะความสังสัยได้หรือไม่ เท่านั้น
//////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
www.share2trade.com