สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 21
ในตอนนี้ประเทศไทยพร้อมที่สุดแล้ว ที่จะมีรถไฟความเร็วสูง จากจำนวนนักท่องเที่ยว และ ผู้โดยสารที่ใช้การเดินทางโดยเครื่องบิน สูงขึ้นมาก
สนามบินดอนเมือง อยู่ดีๆ ก็กลายเป็นสนามบินของสายการบินต้นทุนต่ำ ที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลกไปแล้ว ทางมาเลเซียเอง ก็ปั้นตัวเองแทบตาย ลงทุนสร้างสนามบินใหม่ ให้เป็น hub สายการบินต้นทุนต่ำระดับโลก ก็โดนสนามบินดอนเมืองแซงไปแบบงงๆ (ร้องเพลงหนูเปล่านะ เค้ามาเอง) 555
รถไฟทั้งสองแบบ ทั้งรถไฟความเร็วสูง และ รถไฟรางคู่ ต่างมีวัตถุประสงค์ในการสร้างต่างกัน เหมือนกันคือการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วกว่าเดิมแค่นั้น
จากเดิม ระบบรถไฟมาตรฐานของเรา 4 พันกว่ากิโลเมตร เป็นทางเดี่ยว เกิดปัญหาความล่าช้าในการเดินทางและการส่งสินค้า ทำให้จำนวนการส่งสินค้าทางรางน้อยกว่าจำนวนที่เหมาะสมมาก (ส่งผลต่อต้นทุนการส่งสินค้า และความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า) เนื่องจากการขนส่งทางรถไฟ มีต้นทุนต่ำที่สุดจากระบบการขนส่งทุกประเภท แต่ปริมาณที่ส่งโดยรถไฟมีน้อย แค่ 2% เพราะเรื่องเวลานี่แหละ รถไฟรางคู่จึงถูกสร้างเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเวลาเป็นสำคัญ
รถไฟความสูง มีจุดประสงค์ เพื่อเน้นใช้ขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก คู่แข่งขันโดยตรงก็คือเครื่องบินนี่แหละครับ
หลายคนชอบตั้งคำถามว่า สมมุติเครื่องบินใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง แต่ รถไฟความเร็วสูงใช้เวลา 2.5-3 ชั่วโมง ในระยะทางที่เท่ากัน มันจะเร็วกว่ายังไง อย่าลืมนะครับ เครื่องบิน เราต้องมาเช็คอินก่อนเครื่องออก 1 ชั่วโมง หลายๆ สนามบิน อยู่ห่างจะเมืองออกไป 20-50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากบ้าน ไปสนามบิน ใช้เวลากี่นาที จากสนามบิน ไปจุดหมายปลายทาง ใช้เวลาเดินทางกี่นาที ในขณะที่สถานีรถไฟความเร็วสูง อยู่ในตัวเมืองเลย ไม่ต้องเผื่อเวลาเช็คอินนานเป็นชั่วโมง การเดินทางเข้ามาสถานีรถไฟสะดวกกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า ขั้นตอนต่างๆ ก็น้อยกว่า
ในขณะที่เครื่องบิน เดินทางจากจุดหมายหนึ่ง ไปยังจุดหมายหนึ่งเลย ในขณะที่รถไป จอดสถานีรายทาง นึกภาพตาม หากมีนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ออกเดินทางจากกรุงเทพ ลงสถานีอยุธยา เที่ยวที่นี่ 1 วัน ต่อรถไฟไปลงพิษณุโลก-สุโขทัยได้อีก ก่อนจะถึงเชียงใหม่ ตรงนี้มันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง และ เป็นข้อได้เปรียบที่การเดินทางโดยเครื่องบินทำไม่ได้นะครับ
สนามบินดอนเมือง อยู่ดีๆ ก็กลายเป็นสนามบินของสายการบินต้นทุนต่ำ ที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลกไปแล้ว ทางมาเลเซียเอง ก็ปั้นตัวเองแทบตาย ลงทุนสร้างสนามบินใหม่ ให้เป็น hub สายการบินต้นทุนต่ำระดับโลก ก็โดนสนามบินดอนเมืองแซงไปแบบงงๆ (ร้องเพลงหนูเปล่านะ เค้ามาเอง) 555
รถไฟทั้งสองแบบ ทั้งรถไฟความเร็วสูง และ รถไฟรางคู่ ต่างมีวัตถุประสงค์ในการสร้างต่างกัน เหมือนกันคือการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วกว่าเดิมแค่นั้น
จากเดิม ระบบรถไฟมาตรฐานของเรา 4 พันกว่ากิโลเมตร เป็นทางเดี่ยว เกิดปัญหาความล่าช้าในการเดินทางและการส่งสินค้า ทำให้จำนวนการส่งสินค้าทางรางน้อยกว่าจำนวนที่เหมาะสมมาก (ส่งผลต่อต้นทุนการส่งสินค้า และความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า) เนื่องจากการขนส่งทางรถไฟ มีต้นทุนต่ำที่สุดจากระบบการขนส่งทุกประเภท แต่ปริมาณที่ส่งโดยรถไฟมีน้อย แค่ 2% เพราะเรื่องเวลานี่แหละ รถไฟรางคู่จึงถูกสร้างเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเวลาเป็นสำคัญ
รถไฟความสูง มีจุดประสงค์ เพื่อเน้นใช้ขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก คู่แข่งขันโดยตรงก็คือเครื่องบินนี่แหละครับ
หลายคนชอบตั้งคำถามว่า สมมุติเครื่องบินใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง แต่ รถไฟความเร็วสูงใช้เวลา 2.5-3 ชั่วโมง ในระยะทางที่เท่ากัน มันจะเร็วกว่ายังไง อย่าลืมนะครับ เครื่องบิน เราต้องมาเช็คอินก่อนเครื่องออก 1 ชั่วโมง หลายๆ สนามบิน อยู่ห่างจะเมืองออกไป 20-50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากบ้าน ไปสนามบิน ใช้เวลากี่นาที จากสนามบิน ไปจุดหมายปลายทาง ใช้เวลาเดินทางกี่นาที ในขณะที่สถานีรถไฟความเร็วสูง อยู่ในตัวเมืองเลย ไม่ต้องเผื่อเวลาเช็คอินนานเป็นชั่วโมง การเดินทางเข้ามาสถานีรถไฟสะดวกกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า ขั้นตอนต่างๆ ก็น้อยกว่า
ในขณะที่เครื่องบิน เดินทางจากจุดหมายหนึ่ง ไปยังจุดหมายหนึ่งเลย ในขณะที่รถไป จอดสถานีรายทาง นึกภาพตาม หากมีนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ออกเดินทางจากกรุงเทพ ลงสถานีอยุธยา เที่ยวที่นี่ 1 วัน ต่อรถไฟไปลงพิษณุโลก-สุโขทัยได้อีก ก่อนจะถึงเชียงใหม่ ตรงนี้มันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง และ เป็นข้อได้เปรียบที่การเดินทางโดยเครื่องบินทำไม่ได้นะครับ
ความคิดเห็นที่ 15
ผมว่าเหตุการณ์รถติด เมื่อวานนี้(วันหยุดยาว)คงพอเป็นคำตอบได้ว่าทำไมต้องมีรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ได้สินค้ากับโดยสารราคาประหยัด รถไฟความเร็วสูงย่นระยะเวลา กระจายความเจริญออกสู่ชานเมือง ลองนึกภาพว่า ไปโคราช ไปหัวหิน ไประยอง ชม เดียวสิครับ การกระจายตัวของเมือง เศรษฐกิจ ดึงดูดนักลงทุนอีกมากมาย พื้นที่ที่รอทางรถไฟไปพัฬนาสักยภาพ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมเราถึงเลือกทำรถไฟความเร็วสูง ควบคู่ไปกับ รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ? ในเมื่อทางคู่มันสำคัญกว่าเยอะมาก
ทำไมเราไม่เน้นทำให้ทางคู่ กระจายได้ทั่วประเทศมาก่อน *เน้นเร่งตรงนี้เสร็จให้เร็ว ให้กระจายทั่วประเทศให้เร็วที่สุด แล้วค่อยสร้างความเร็วสูงก็ยังได้
*หรือ ถ้าสร้างความเร็วสูงควบคู่ได้ มันดูจะก้าวกระโดดในการขยายเมือง ขยายเศรษฐกิจได้มากกว่า ?