คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ช่วงสงครามนโปเลียนนั้นอังกฤษมีเรือน้อยใหญ่รวมประมาณ 600 ลำครับ ส่วนของฝรั่งเศสประมาณเกือบๆ 300 ลำ ส่วนสเปนกับเนเธอร์แลนด์ประเทศละประมาณ 200 ลำ รัสเซียจะมีเรือเยอะหน่อยคือ 800 ลำแต่เป็นเรือเล็กเรือน้อยซะมาก (เรือยุคนั้นวัดขนาดกันที่จำนวนปืนใหญ่ประจำเรือ) ซึ่งก็ต้องบอกว่าอังกฤษมีกองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุดแต่ก็ยังไม่ได้ห่างจากคนอื่นมากนัก และเมื่อมาพิจารณาว่าอังกฤษต้องส่งเรือพวกนี้กระจายกันไปทั่วโลกเพื่อปกป้องเส้นทางการค้าและอาณานิคมของตนก็ยิ่งทำให้ข้อได้เปรียบเรื่องปริมาณนั้นลดลง
วิธีการครองทะเลของอังกฤษก็คือเอากองเรือตัวเองไปอุดเรือรบศัตรูให้อยู่แต่ในท่าครับ ภาษาอังกฤษเรียกว่า blockade เป็นยุทธวิธีที่ใช้กันเป็นปกติเลย แน่นอนว่าอังกฤษก็ต้องใช้กองเรือที่ได้เปรียบมีจำนวนมากกว่าไปอุดท่าเรือศัตรูนะครับ
อีกวิธีนึงที่ทำกันก็คือปล้นเรือสินค้าของศัตรูครับ จะใช้เรือเร็ว(ฟริเกต)ของเราก็ได้หรือจ้างโจรสลัดอย่างถูกกฎหมาย(privateer)ก็ได้ สินค้าที่ปล้นมาและเรือที่ยึดได้ก็เอามาขายต่อทอดตลาดไป เงินที่ได้ก็เข้าคลังส่วนหนึ่งเข้ากระเป๋ากัปตันกับลูกเรือที่ล่าได้อีกส่วนหนึ่ง กองทัพเรือยุคนั้นยิ่งรบยิ่งรวยครับ
ยุคที่ยังเป็นเรือไม้อยู่นั้นเรือสร้างไม่ยากแต่จมยาก ดังนั้นตอนที่เรือเข้ารบกันอาจมีโอกาสสูงที่จะยึดเรือศัตรูได้ ยึดได้ก็เอามาขายต่อทอดตลาดหรือขายให้รัฐบาลก็ได้ รัฐบาลก็ซ่อมแซมและเอาเรือลำนั้นมาใช้ต่อ ดังนั้นพอรบกันไปเรื่อยๆ ผู้ที่ชนะบ่อยครั้งจะยิ่งมีกองเรือที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตอนจบสงครามนโปเลียนนี่อังกฤษมีเรือเกือบ 1000 ลำโดยที่ประมาณ 200+ ลำเป็นเรือที่ยึดมาครับ ตรงนี้ต่างจากตอนที่เป็นเรือเหล็กยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งถ้ารบแพ้เรือมักจะจมหรือลูกเรือปล่อยน้ำเข้าเรือให้จมเอง เรือก็สร้างยากใช้เวลานานกว่า สร้างเป็นปีๆ (เทียบกับสามสี่เดือนตอนสร้างเรือไม้) ดังนั้นความได้เปรียบของกองเรือเราต้องมีตั้งแต่ก่อนประกาศสงครามแล้วครับ ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษจึงระดมสร้างเรือรบหลายสิบลำเลย และมีหลักการที่ว่ากองทัพเรืออังกฤษต้องแข็งแกร่งที่สุดในโลกและต้องแข็งแกร่งกว่ากองทัพเรือที่สองกับที่สามรวมกันด้วย
วิธีการครองทะเลของอังกฤษก็คือเอากองเรือตัวเองไปอุดเรือรบศัตรูให้อยู่แต่ในท่าครับ ภาษาอังกฤษเรียกว่า blockade เป็นยุทธวิธีที่ใช้กันเป็นปกติเลย แน่นอนว่าอังกฤษก็ต้องใช้กองเรือที่ได้เปรียบมีจำนวนมากกว่าไปอุดท่าเรือศัตรูนะครับ
อีกวิธีนึงที่ทำกันก็คือปล้นเรือสินค้าของศัตรูครับ จะใช้เรือเร็ว(ฟริเกต)ของเราก็ได้หรือจ้างโจรสลัดอย่างถูกกฎหมาย(privateer)ก็ได้ สินค้าที่ปล้นมาและเรือที่ยึดได้ก็เอามาขายต่อทอดตลาดไป เงินที่ได้ก็เข้าคลังส่วนหนึ่งเข้ากระเป๋ากัปตันกับลูกเรือที่ล่าได้อีกส่วนหนึ่ง กองทัพเรือยุคนั้นยิ่งรบยิ่งรวยครับ
ยุคที่ยังเป็นเรือไม้อยู่นั้นเรือสร้างไม่ยากแต่จมยาก ดังนั้นตอนที่เรือเข้ารบกันอาจมีโอกาสสูงที่จะยึดเรือศัตรูได้ ยึดได้ก็เอามาขายต่อทอดตลาดหรือขายให้รัฐบาลก็ได้ รัฐบาลก็ซ่อมแซมและเอาเรือลำนั้นมาใช้ต่อ ดังนั้นพอรบกันไปเรื่อยๆ ผู้ที่ชนะบ่อยครั้งจะยิ่งมีกองเรือที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตอนจบสงครามนโปเลียนนี่อังกฤษมีเรือเกือบ 1000 ลำโดยที่ประมาณ 200+ ลำเป็นเรือที่ยึดมาครับ ตรงนี้ต่างจากตอนที่เป็นเรือเหล็กยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งถ้ารบแพ้เรือมักจะจมหรือลูกเรือปล่อยน้ำเข้าเรือให้จมเอง เรือก็สร้างยากใช้เวลานานกว่า สร้างเป็นปีๆ (เทียบกับสามสี่เดือนตอนสร้างเรือไม้) ดังนั้นความได้เปรียบของกองเรือเราต้องมีตั้งแต่ก่อนประกาศสงครามแล้วครับ ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษจึงระดมสร้างเรือรบหลายสิบลำเลย และมีหลักการที่ว่ากองทัพเรืออังกฤษต้องแข็งแกร่งที่สุดในโลกและต้องแข็งแกร่งกว่ากองทัพเรือที่สองกับที่สามรวมกันด้วย
แสดงความคิดเห็น
สมัยก่อนการครองน่านน้ำของอังกฤษ หรือญี่ปุ่นเป็นเช่นไรครับ