Shoplifters เหมือนกับ Nobody Knows เวอร์ชั่นต่อยอด
เพียงแต่ว่า 14 ปีให้หลัง มันกลายเป็นงานที่ลุ่มลึก กลมกล่อม และถ่ายทอดความเป็นมนุษยนิยมได้ดียิ่งขึ้น
จุดต่างของทั้ง 2 เรื่องคือ
- Nobody Knows สร้างขึ้นโดยมีเค้าโครงเรื่องจริง และโฟกัสไปที่เด็ก ๆ มากกว่า
- ขณะที่ Shoplifters นั้นเป็น fiction ที่ Kore-eda ใช้เวลาเก็บข้อมูลและตกผลึกนานร่วม 10 ปี โดยการตระเวนไปตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดแง่มุมของตัวละครทั้งผู้ใหญ่และเด็กอย่างรอบด้าน
ที่น่าสนใจก็คือ Shoplifters มีการชูประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับ #ครอบครัวผสม ที่พบได้ในหนังดราม่าญี่ปุ่นยุคหลัง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Her Love Boils Bathwater (Ryota Nakano) หรือหนังทริลเลอร์อย่าง Creepy (Kiyoshi Kurosawa) รวมทั้งผลงานเก่าของเขาเองอย่างเช่น Like Father, Like Son กล่าวคือในหนัง Shoplifters ครอบครัวที่มีคุณยายฮัตสึเอะเป็นเหมือนแกนกลางนี้ แทบทุกคนไม่ได้มีความเกี่ยวพันกันทางสายเลือดแต่อย่างใด
ความประทับใจอยู่ตรงที่ Kore-eda สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครได้อย่างสมจริงและเป็นธรรมชาติมาก ในขณะเดียวกันก็มีหลายปมขัดแย้งที่หยิบยื่นคำถามกระแทกใจให้กับคนดู ซึ่งเป็นคำถามที่เย้าหยอกบรรทัดฐานสังคมหรือศีลธรรมได้อย่างแยบคาย หนังของ Kore-eda หลาย ๆ เรื่องนำไปสู่การถกเถียงตีความบนเส้นแบ่งสีเทา ๆ ทำให้เกิดความรู้สึกอ้ำอึ้ง ยากจะตัดสินว่าใครถูกใครผิดกันแน่ (เช่น เคสของน้องยูริ ที่ถูกพ่อแม่แท้ ๆ ทำร้ายร่างกายจนหนีออกจากบ้าน ขณะที่ครอบครัวชิบาตะแม้จะถูกสังคมประณามว่าลักพาตัวน้องมา แต่พวกเขาก็เลี้ยงดูเธอด้วยความรักเอาใจใส่เหมือนลูกแท้ ๆ)
อีกประเด็นหนึ่งที่ชื่นชอบ ก็คือ การสะท้อนปัญหาสังคมของ Kore-eda โดยการสะท้อนภาพยุคเสื่อมของญี่ปุ่น (ที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับงานหลายชิ้นของ Kiyoshi Kurosawa) ใน Shoplifters มันเป็นการสะท้อนถึงภาวะบ้านแตก ที่ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยจะเห็นได้ว่าสมาชิกในบ้าน ไม่ว่าจะโอซามุ (ผัว) โนบุโยะ (เมีย) พวกเขาไม่ได้ขี้เกียจขนาดนั้น เมื่อสามารถพวกเขาก็ออกไปทำงานตัวเป็นเกลียว แต่ด้วยการปรับลดอัตราหรือสวัสดิการ หรือการว่าจ้างงานแบบ temp ทำให้ทั้งคู่ต้องมาเกาะแม่กิน (แม่แก่ ๆ ของพวกเขาได้รับเงินบำนาญ) และนำไปสู่การลักเล็กขโมยน้อย ตอนท้าย ๆ เรื่องจะเห็นการพูดถึงระบบ work sharing ที่ส่งผลกระทบต่อที่ทางและความอยู่รอดของโนบุโยะด้วย
จริง ๆ มีปมหลายเรื่องที่รู้สึกค้างคา ตัวอย่างเช่น เรื่องของสาวสวย อากิ ที่หนังเล่าไม่หมด ว่าอะไรทำให้เธอต้องหนีออกจากบ้านมาอยู่กับย่า(ที่ไม่ใช่ย่าแท้ ๆ ด้วยซ้ำ) หลายฉากก็จี๊ดใจมาก ๆ เช่น ฉากที่โนบุโยะคุยกับน้องยูริที่อ่างอาบน้ำ หรือฉากคุณปู่ร้านชำที่ตักเตือนโชตะ เป็นต้น
แล้ว Kore-eda นี่พี่แก cast นักแสดงเด็กได้โอ๊ย ๆ เหลือเกิน น้องผู้ชาย Kairi Jo นี่อย่างหล่อ (เชื่อว่าบางคนคงภาวนาอย่าให้น้องดีแตกเหมือน Yuya 555) หรือน้องผู้หญิง Miyu Sasaki นี่น่ารักอย่างกับตุ๊กตา ไม่แปลกใจที่ครอบครัวนี้จะเต็มใจรับเลี้ยง 555)
ปล1. ประเด็นหนึ่งที่คล้ายกับหนัง Her Love Boils Bathwater มาก ๆ ก็คือการ #รวมพลคนบ้านแตก ซึ่งโนบุโยะพูดได้พีคมาก ๆ เพราะเมื่อ 2 ผัวเมียเห็นเด็ก 2 คนนี้ก็เหมือนภาพสะท้อนของตน ที่เป็นผลผลิตจากผู้ใหญ่ที่ไม่พร้อมจะมีลูก
ปล2. แต่หนังเลือก framing ได้ฉลาดมากนะ มันคงจะดีแล้วก็ได้ที่ให้ความเป็นครอบครัวของพวกเขาจบลงแค่นี้ เพราะถ้าดันทุรังอยู่กันต่อไป จากโคตรซึ้งอาจจะกลายเป็นโคตรดาร์กแทน 555
[SR] หลังดู Shoplifters (spoil นิดหน่อย)
Shoplifters เหมือนกับ Nobody Knows เวอร์ชั่นต่อยอด
เพียงแต่ว่า 14 ปีให้หลัง มันกลายเป็นงานที่ลุ่มลึก กลมกล่อม และถ่ายทอดความเป็นมนุษยนิยมได้ดียิ่งขึ้น
จุดต่างของทั้ง 2 เรื่องคือ
- Nobody Knows สร้างขึ้นโดยมีเค้าโครงเรื่องจริง และโฟกัสไปที่เด็ก ๆ มากกว่า
- ขณะที่ Shoplifters นั้นเป็น fiction ที่ Kore-eda ใช้เวลาเก็บข้อมูลและตกผลึกนานร่วม 10 ปี โดยการตระเวนไปตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดแง่มุมของตัวละครทั้งผู้ใหญ่และเด็กอย่างรอบด้าน
ที่น่าสนใจก็คือ Shoplifters มีการชูประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับ #ครอบครัวผสม ที่พบได้ในหนังดราม่าญี่ปุ่นยุคหลัง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Her Love Boils Bathwater (Ryota Nakano) หรือหนังทริลเลอร์อย่าง Creepy (Kiyoshi Kurosawa) รวมทั้งผลงานเก่าของเขาเองอย่างเช่น Like Father, Like Son กล่าวคือในหนัง Shoplifters ครอบครัวที่มีคุณยายฮัตสึเอะเป็นเหมือนแกนกลางนี้ แทบทุกคนไม่ได้มีความเกี่ยวพันกันทางสายเลือดแต่อย่างใด
ความประทับใจอยู่ตรงที่ Kore-eda สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครได้อย่างสมจริงและเป็นธรรมชาติมาก ในขณะเดียวกันก็มีหลายปมขัดแย้งที่หยิบยื่นคำถามกระแทกใจให้กับคนดู ซึ่งเป็นคำถามที่เย้าหยอกบรรทัดฐานสังคมหรือศีลธรรมได้อย่างแยบคาย หนังของ Kore-eda หลาย ๆ เรื่องนำไปสู่การถกเถียงตีความบนเส้นแบ่งสีเทา ๆ ทำให้เกิดความรู้สึกอ้ำอึ้ง ยากจะตัดสินว่าใครถูกใครผิดกันแน่ (เช่น เคสของน้องยูริ ที่ถูกพ่อแม่แท้ ๆ ทำร้ายร่างกายจนหนีออกจากบ้าน ขณะที่ครอบครัวชิบาตะแม้จะถูกสังคมประณามว่าลักพาตัวน้องมา แต่พวกเขาก็เลี้ยงดูเธอด้วยความรักเอาใจใส่เหมือนลูกแท้ ๆ)
อีกประเด็นหนึ่งที่ชื่นชอบ ก็คือ การสะท้อนปัญหาสังคมของ Kore-eda โดยการสะท้อนภาพยุคเสื่อมของญี่ปุ่น (ที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับงานหลายชิ้นของ Kiyoshi Kurosawa) ใน Shoplifters มันเป็นการสะท้อนถึงภาวะบ้านแตก ที่ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยจะเห็นได้ว่าสมาชิกในบ้าน ไม่ว่าจะโอซามุ (ผัว) โนบุโยะ (เมีย) พวกเขาไม่ได้ขี้เกียจขนาดนั้น เมื่อสามารถพวกเขาก็ออกไปทำงานตัวเป็นเกลียว แต่ด้วยการปรับลดอัตราหรือสวัสดิการ หรือการว่าจ้างงานแบบ temp ทำให้ทั้งคู่ต้องมาเกาะแม่กิน (แม่แก่ ๆ ของพวกเขาได้รับเงินบำนาญ) และนำไปสู่การลักเล็กขโมยน้อย ตอนท้าย ๆ เรื่องจะเห็นการพูดถึงระบบ work sharing ที่ส่งผลกระทบต่อที่ทางและความอยู่รอดของโนบุโยะด้วย
จริง ๆ มีปมหลายเรื่องที่รู้สึกค้างคา ตัวอย่างเช่น เรื่องของสาวสวย อากิ ที่หนังเล่าไม่หมด ว่าอะไรทำให้เธอต้องหนีออกจากบ้านมาอยู่กับย่า(ที่ไม่ใช่ย่าแท้ ๆ ด้วยซ้ำ) หลายฉากก็จี๊ดใจมาก ๆ เช่น ฉากที่โนบุโยะคุยกับน้องยูริที่อ่างอาบน้ำ หรือฉากคุณปู่ร้านชำที่ตักเตือนโชตะ เป็นต้น
แล้ว Kore-eda นี่พี่แก cast นักแสดงเด็กได้โอ๊ย ๆ เหลือเกิน น้องผู้ชาย Kairi Jo นี่อย่างหล่อ (เชื่อว่าบางคนคงภาวนาอย่าให้น้องดีแตกเหมือน Yuya 555) หรือน้องผู้หญิง Miyu Sasaki นี่น่ารักอย่างกับตุ๊กตา ไม่แปลกใจที่ครอบครัวนี้จะเต็มใจรับเลี้ยง 555)
ปล1. ประเด็นหนึ่งที่คล้ายกับหนัง Her Love Boils Bathwater มาก ๆ ก็คือการ #รวมพลคนบ้านแตก ซึ่งโนบุโยะพูดได้พีคมาก ๆ เพราะเมื่อ 2 ผัวเมียเห็นเด็ก 2 คนนี้ก็เหมือนภาพสะท้อนของตน ที่เป็นผลผลิตจากผู้ใหญ่ที่ไม่พร้อมจะมีลูก
ปล2. แต่หนังเลือก framing ได้ฉลาดมากนะ มันคงจะดีแล้วก็ได้ที่ให้ความเป็นครอบครัวของพวกเขาจบลงแค่นี้ เพราะถ้าดันทุรังอยู่กันต่อไป จากโคตรซึ้งอาจจะกลายเป็นโคตรดาร์กแทน 555
SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้