บทความวิเคราะห์ ผลงานของ อ. เสถียร โพธินันทะ เกี่ยวนิกายเซน นายแพทย์ต้นม่อเซี้ยง แซ่ตั้ง ฌานวังศะ แสดง ณ พุทธสมาคม แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านผู้ปาฐกเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในนิกายเซ็น (ฌาน) นี้โดยเฉพาะ ท่านเป็นกรรมการทำการเผยแผ่พุทธธรรมของสมาคมพุทธบริษัท สยาม จีน ประชา ในปาฐกถาเรื่องนี้ในฐานะที่ข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลเป็นภาษาไทย ก็ใคร่จะแสดงความเห็นและความรู้สึกบางประการไว้บ้างดังต่อไปนี้. หลักธรรมะในนิกายเซ็น
ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานถือสำคัญมาก ในจำนวนนิกายทั้งหมดของมหายาน นิกายเซ็น (ฌาน) นี้นับว่าเป็นนิกายหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมาก เป็นนิกายฝ่ายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ในส่วนธรรมะนั้นก็ดูเหมือนว่าไม่มีความแตกต่างอะไรมากนักกับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเรา เช่นในข้อที่ว่า พุทธภาวะมีอยู่ในสรรพสัตว์ เมื่อรู้ก็เป็นพุทธะ เมื่อยังโง่ก็เป็นสัตว์ ฝ่ายเราก็มีกล่าวว่า เมื่อทำลายอวิชชาเสียได้ ก็เป็นผู้ตรัสรู้เท่ากันหมด และที่ยังไม่ได้ตรัสรู้เพราะอวิชชาความหลงผิดวิธีปฏิบัติซึ่งทางนิกายเซ็นกล่าวว่า เป็นแนวพิเศษที่สามารถจะทำให้ได้ตรัสรู้อย่างฉับพลัน เป็นพุทธะในปัจจุบันทันด่วนไม่ต้องรีรอนั้น ข้อนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าธรรมปฏิบัติเช่นนี้ ไม่ใช่มีแต่ในนิกายเซ็นเท่านั้น แท้จริงเป็นหลักทั่วไปของพระพุทธศาสนา เพราะเหตุว่าธรรมปฏิบัติเพื่อจะทำบุคคลให้ได้บรรลุเป็นพุทธะในปัจจุบันนี้นั้น เป็นสิ่งที่ถูกสอนจากสมเด็จพระบรมครูผู้ให้กำเนิดแก่พระพุทธศาสนา จึงนับได้ว่า เป็นหลักพระพุทธศาสนาทั่วไป ไม่ใช่เป็นหลักนิกายใดนิกายหนึ่ง
หลักของพระศาสดาก็มีสำคัญในการที่ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถหลุดพ้นทุกข์ได้ในปัจจุบันชาติ โดยไม่ต้องไปรอความหลุดพ้นต่อเมื่อชาติหน้าหรือชาติไหน ๆ เพราะว่า ชาตินี้ก็เป็นโอกาสอันเหมาะอย่างยิ่งที่เราจะทำความหลุดพ้นให้แก่ตัวเอง ฉะนั้น จึงมีคำสรรเสริญว่า “การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของประเสริฐที่สุด” เพราะเป็นเหตุให้ได้มีโอกาสทำความพ้นทุกข์ได้ในชาตินั้น ๆแม้บรรดาพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ก็มิใช่ว่าท่านจะต้องปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป แล้วจึงจะได้บรรลุก็หามิได้ เพราะถ้าเช่นนั้นแล้ว เราอาจจะไม่เห็นพระอรหันต์กันก็ได้ เพราะท่านต้องไปรอเอาตรัสรู้กันในชาติต่อ ๆ ไป และที่ว่านิกายเซ็นเป็นนิกายย่นทางตรัสรู้ให้เร็ว คือไม่ต้องรักษาศีลก่อน แล้วจึงค่อยหัดทำสมาธิ แล้วจึงไปขึ้นปัญญานั้น
ถ้าจะดูตามหลักฐานต่าง ๆ ในปกรณ์ฝ่ายของเรา ก็จะพบว่า ได้มีพระอรหันต์เป็นจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านการรักษาศีล หรือการทำสมาธิอย่างชนิดสูง ๆ แต่ว่าได้ตรัสรู้กันในขณะฟังธรรมบรรยายของพระบรมศาสดา เช่นพระยสและเหล่ามิตรสหายเป็นต้น ท่านเหล่านี้มิใช่พวกตรัสรู้อย่างฉับพลันหรือว่าไร?พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เล่า ทางพระพุทธศาสนา ชนิดที่ไม่เป็นของนิกายใดนิกายหนึ่งโดยเฉพาะ ก็ได้วางแนวไว้สองทาง; ทางหนึ่งได้แก่พวกที่ได้ตรัสรู้ด้วยการบำเพ็ญเพียรทางศีล แล้วเลื่อนขึ้นมาบำเพ็ญเพียรทางสมาธิหนักในทางจิตจนสามารถบรรลุฌานต่าง ๆ ทั้ง รูปฌาน อรูปฌาน เมื่อจิตถูกอบรมฝึกฝนจนมีอำนาจแข็งแกร่งแล้ว ก็ใช้อำนาจแห่งจิตนั้น ทำลายอวิชชาเสียได้ เรียกกันว่า พวก “เจโตวิมุต” แปลว่า หลุดพ้นด้วยอำนาจจิต พระอริยเจ้าเหล่านี้ เพราะเหตุที่บรรลุฌานมาก่อน จึงสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ อีกทางหนึ่งได้แก่ ท่านที่ใช้อำนาจปัญญา พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายตามเป็นจริง จนสามารถหลุดพ้นทุกข์ได้ พวกนี้ไม่จำเป็นต้องได้ฌานสมาบัติ เพียงแต่มีสมาธิขั้นขณิกแล้วยกจิตขึ้นสู่ปัญญาเท่านั้น เรียกว่าพวก “ปัญญาวิมุต” แปลว่า หลุดพ้นด้วยอำนาจปัญญา แสดงอิทธิปาฏิหาริย์อะไรไม่ได้พระอริยเจ้าทั้งสองพวกนี้ ถ้าเราจะพิจารณาดูกันแล้ว หลักธรรมในนิกายเซ็นก็คือการปฎิบัติเอาทางปัญญากันโดยเฉพาะ อันได้แก่พวกหลังนี้เอง คำสอนทางฝ่ายของเราก็มีกล่าวเป็นไปอย่างทำนองนี้หลายแห่ง เช่นพุทธภาษิตในติลักขณาทิคาถาว่า
“เมื่อใดมาเห็นสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน; เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ อันนี้เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์หมดจด”๑
ในพุทธภาษิตนี้ไม่ได้บอกว่า ต้องรักษาศีล แล้วทำสมาธิ จึงจะเกิดมีปัญญาหลุดพ้นทุกข์ได้แต่ว่า มีปัญญาเห็นแจ้งในพระไตรลักษณ์แล้ว ก็เป็นเหตุให้หลุดพ้นได้ นี่เป็นการแสดงถึงความสำคัญของปัญญาไปในตัว เพราะเหตุว่า ขณะใดมีปัญญา ขณะนั้นก็มีสมาธิและศีลไปในตัว ขณะใดมีสมาธิ ขณะนั้นก็มีศีล พระเถระผู้ทรงคุณธรรมของฝ่ายเรา ก็เคยเทศนาย้ำกล่าวเสมอ เช่น ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กล่าวว่า “ศีลอันใด สมาธิก็อันนั้น สมาธิอันใด ปัญญาก็อันนั้น” และที่กล่าวว่า เมื่อได้บรรลุเป็นพุทธะแล้ว เหตุที่ไม่มีอิทธิปาฎิหาริย์ หรือไม่มีคุณลักษณะอย่างพระศาสดานั้นก็เป็นอันเฉลยด้วย คือว่า พวกปัญญาวิมุตนั้นแสดงฤทธิ์ไม่ได้ และเพราะเหตุที่ไม่ใช่เป็นสัมมาสัมพุทธะ แต่เป็นเพียงสุตพุทธะ หรืออนุพุทธะเท่านั้น จึงไม่มีมหาปุริสลักษณะอย่างพระบรมครู นี้เป็นความเห็นของข้าพเจ้า นิกายเซ็นเป็นนิกายแห่งปัญญา
เมื่อเรารู้ว่านิกายเซ็นก็คือนิกายแห่งปัญญาวิมุตเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ข้อปฏิบัติต้องหนักไปในทางปัญญา เพราะฉะนั้นจึงเกิดมีปริศนาธรรม หรือ กงอั้น (โกอาน) ไว้สำหรับให้ขบคิด
วิธีการปฏิบัติและกงอั้น นอกจากจะดำเนินตามคำสอนของพระศาสดาแล้ว ยังมีวิธีการปฏิบัติและกงอั้นที่ถูกตั้งขึ้น โดยท่านสมาธิยาจารย์แห่งนิกายเซ็นอีกด้วย เรียกว่า “จูซือสัน” คือ “แบบสมาธิของท่านบูรพาจารย์” ซึ่งมีอยู่มากมาย แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการปฏิบัติและกงอั้นเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมะที่ลึกซึ้งชวนขบคิดทั้งสิ้น
ข้าพเจ้าจักอธิบายกงอั้นบางอันตามมติของตนเอง พอเป็นเครื่องชี้ให้เห็นความลึกซึ้งของนิกายเซ็น
กงอั้นที่สมเด็จพระภควาตรัสแก่พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และท่านมัญชุศรีได้ทูลตอบไปว่า
“ข้าพระองไม่เห็นธรรม แม้หนึ่งอยู่ภายนอกประตู เหตุไรจึงทรงสอนให้ข้าพระองค์เข้าประตูเล่า?”
ตอนนี้แสดงให้รู้ถึงธรรมชาติหนึ่ง อันเรียกว่า “พระนิพพาน” พระนิพพานเป็นสิ่งที่มีอยู่ที่ทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดที่ทาง ไม่มีการเข้า การออก เพราะนิพพานภาวะมีอยู่ทั่วไปทุกซอกทุกมุม หรืออีกนัยหนึ่งคือว่า พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ได้บรรลุความเห็นแจ้งแล้ว ไม่มีการที่จะต้องกลับกลาย เข่นเข้า-ออกต่อธรรมอีก เพราะธรรมทั้งหลาย ท่านละวางไว้ขาดแล้ว มีปัญญาอันไพบูลย์ เห็นสรรพสิ่งมีภาวะว่างเปล่านั่นเอง และที่พระพุทธองค์ทรงนิ่งไม่ตอบพาหิรชน ก็เพราะพระองค์ต้องการแสดงนิพพานภาวะอันลึกซึ้งให้เห็น พาหิรชนผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา ได้รู้แจ้งจึงเลื่อมใส และที่ว่าพระสังฆปริณายกองค์ที่สองหาจิตไม่พบนั้น เพราะเหตุที่จิตนี้เกิดดับอยู่เป็นนิตย์ไม่มีตัวตนอันใด ข้อที่ธรรมาจารย์ผู้หนึ่งว่า ขี่โคไปหาโค นั้น อธิบายว่า ตัวเรานั้นก็เป็นพุทธะอยู่แล้ว ยังจะไปหาพุทธะที่ไหน คือหมายว่า พุทธะก็อยู่ที่เรา ๆ จะไปค้นหาพุทธะข้างนอกนั้นไม่พบหรอก เพราะเหตุที่ พุทธะนั้นก็คือ ภาวะในตัวเรา นี้เอง
อนึ่ง ข้อที่ให้คอยระวังโค นั้น ความตรงนี้ดูจะมีความหมายกระไรชอบกลอยู่ คือ ถ้าหากว่า เราสามารถค้นพบและเห็นแจ้งพุทธภาวะในตัวเราแล้ว ก็หมายความว่า เราได้ตรัสรู้พระนิพพานแล้ว เหตุไรจึงยังต้องคอยระวังรักษาอีกเล่า? เพราะฉะนั้น ความตอนนี้ส่อให้เห็นว่า ที่กล่าวมาแต่เบื้องแรกว่าผู้ได้ตรัสรู้ (อันข้าพเจ้าแปลตรงกับความหมายทางภาษาจีน) แล้ว ยังต้องคอยทะนุถนอมภาวะอันนั้นอยู่ นั้นหมายความว่า การได้ผลจากการเห็นแจ้งในธรรมะที่ยังเป็นขั้นต่ำ ๆ ชนิดยังเป็นสังขตะอยู่ เช่น การได้สมาธิจิต เป็นต้น ถ้าเราปล่อยปละละเลยไม่นำพา สมาธิจิตก็อาจจะเสื่อมได้ แม้พวกฌานชั้นสูง ๆ เช่น อรูปฌาน ก็เช่นกัน เพราะฉะนั้น จึงสรุปความได้ว่า ความหมาย ณ ที่นี้ ไม่ได้หมายเอาว่า ได้พระนิพพาน แต่หมายเอาว่า เริ่มที่จะได้สูดกลิ่นไอน้อย ๆ ของพระนิพพาน เช่นการที่จิตใจสงบจากกิเลสชั่วคราวอะไรเหล่านี้
นิกายเซน (ฌาน)
ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานถือสำคัญมาก ในจำนวนนิกายทั้งหมดของมหายาน นิกายเซ็น (ฌาน) นี้นับว่าเป็นนิกายหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมาก เป็นนิกายฝ่ายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ในส่วนธรรมะนั้นก็ดูเหมือนว่าไม่มีความแตกต่างอะไรมากนักกับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเรา เช่นในข้อที่ว่า พุทธภาวะมีอยู่ในสรรพสัตว์ เมื่อรู้ก็เป็นพุทธะ เมื่อยังโง่ก็เป็นสัตว์ ฝ่ายเราก็มีกล่าวว่า เมื่อทำลายอวิชชาเสียได้ ก็เป็นผู้ตรัสรู้เท่ากันหมด และที่ยังไม่ได้ตรัสรู้เพราะอวิชชาความหลงผิดวิธีปฏิบัติซึ่งทางนิกายเซ็นกล่าวว่า เป็นแนวพิเศษที่สามารถจะทำให้ได้ตรัสรู้อย่างฉับพลัน เป็นพุทธะในปัจจุบันทันด่วนไม่ต้องรีรอนั้น ข้อนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าธรรมปฏิบัติเช่นนี้ ไม่ใช่มีแต่ในนิกายเซ็นเท่านั้น แท้จริงเป็นหลักทั่วไปของพระพุทธศาสนา เพราะเหตุว่าธรรมปฏิบัติเพื่อจะทำบุคคลให้ได้บรรลุเป็นพุทธะในปัจจุบันนี้นั้น เป็นสิ่งที่ถูกสอนจากสมเด็จพระบรมครูผู้ให้กำเนิดแก่พระพุทธศาสนา จึงนับได้ว่า เป็นหลักพระพุทธศาสนาทั่วไป ไม่ใช่เป็นหลักนิกายใดนิกายหนึ่ง
หลักของพระศาสดาก็มีสำคัญในการที่ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถหลุดพ้นทุกข์ได้ในปัจจุบันชาติ โดยไม่ต้องไปรอความหลุดพ้นต่อเมื่อชาติหน้าหรือชาติไหน ๆ เพราะว่า ชาตินี้ก็เป็นโอกาสอันเหมาะอย่างยิ่งที่เราจะทำความหลุดพ้นให้แก่ตัวเอง ฉะนั้น จึงมีคำสรรเสริญว่า “การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของประเสริฐที่สุด” เพราะเป็นเหตุให้ได้มีโอกาสทำความพ้นทุกข์ได้ในชาตินั้น ๆแม้บรรดาพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ก็มิใช่ว่าท่านจะต้องปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป แล้วจึงจะได้บรรลุก็หามิได้ เพราะถ้าเช่นนั้นแล้ว เราอาจจะไม่เห็นพระอรหันต์กันก็ได้ เพราะท่านต้องไปรอเอาตรัสรู้กันในชาติต่อ ๆ ไป และที่ว่านิกายเซ็นเป็นนิกายย่นทางตรัสรู้ให้เร็ว คือไม่ต้องรักษาศีลก่อน แล้วจึงค่อยหัดทำสมาธิ แล้วจึงไปขึ้นปัญญานั้น
ถ้าจะดูตามหลักฐานต่าง ๆ ในปกรณ์ฝ่ายของเรา ก็จะพบว่า ได้มีพระอรหันต์เป็นจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านการรักษาศีล หรือการทำสมาธิอย่างชนิดสูง ๆ แต่ว่าได้ตรัสรู้กันในขณะฟังธรรมบรรยายของพระบรมศาสดา เช่นพระยสและเหล่ามิตรสหายเป็นต้น ท่านเหล่านี้มิใช่พวกตรัสรู้อย่างฉับพลันหรือว่าไร?พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เล่า ทางพระพุทธศาสนา ชนิดที่ไม่เป็นของนิกายใดนิกายหนึ่งโดยเฉพาะ ก็ได้วางแนวไว้สองทาง; ทางหนึ่งได้แก่พวกที่ได้ตรัสรู้ด้วยการบำเพ็ญเพียรทางศีล แล้วเลื่อนขึ้นมาบำเพ็ญเพียรทางสมาธิหนักในทางจิตจนสามารถบรรลุฌานต่าง ๆ ทั้ง รูปฌาน อรูปฌาน เมื่อจิตถูกอบรมฝึกฝนจนมีอำนาจแข็งแกร่งแล้ว ก็ใช้อำนาจแห่งจิตนั้น ทำลายอวิชชาเสียได้ เรียกกันว่า พวก “เจโตวิมุต” แปลว่า หลุดพ้นด้วยอำนาจจิต พระอริยเจ้าเหล่านี้ เพราะเหตุที่บรรลุฌานมาก่อน จึงสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ อีกทางหนึ่งได้แก่ ท่านที่ใช้อำนาจปัญญา พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายตามเป็นจริง จนสามารถหลุดพ้นทุกข์ได้ พวกนี้ไม่จำเป็นต้องได้ฌานสมาบัติ เพียงแต่มีสมาธิขั้นขณิกแล้วยกจิตขึ้นสู่ปัญญาเท่านั้น เรียกว่าพวก “ปัญญาวิมุต” แปลว่า หลุดพ้นด้วยอำนาจปัญญา แสดงอิทธิปาฏิหาริย์อะไรไม่ได้พระอริยเจ้าทั้งสองพวกนี้ ถ้าเราจะพิจารณาดูกันแล้ว หลักธรรมในนิกายเซ็นก็คือการปฎิบัติเอาทางปัญญากันโดยเฉพาะ อันได้แก่พวกหลังนี้เอง คำสอนทางฝ่ายของเราก็มีกล่าวเป็นไปอย่างทำนองนี้หลายแห่ง เช่นพุทธภาษิตในติลักขณาทิคาถาว่า
“เมื่อใดมาเห็นสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน; เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ อันนี้เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์หมดจด”๑
ในพุทธภาษิตนี้ไม่ได้บอกว่า ต้องรักษาศีล แล้วทำสมาธิ จึงจะเกิดมีปัญญาหลุดพ้นทุกข์ได้แต่ว่า มีปัญญาเห็นแจ้งในพระไตรลักษณ์แล้ว ก็เป็นเหตุให้หลุดพ้นได้ นี่เป็นการแสดงถึงความสำคัญของปัญญาไปในตัว เพราะเหตุว่า ขณะใดมีปัญญา ขณะนั้นก็มีสมาธิและศีลไปในตัว ขณะใดมีสมาธิ ขณะนั้นก็มีศีล พระเถระผู้ทรงคุณธรรมของฝ่ายเรา ก็เคยเทศนาย้ำกล่าวเสมอ เช่น ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กล่าวว่า “ศีลอันใด สมาธิก็อันนั้น สมาธิอันใด ปัญญาก็อันนั้น” และที่กล่าวว่า เมื่อได้บรรลุเป็นพุทธะแล้ว เหตุที่ไม่มีอิทธิปาฎิหาริย์ หรือไม่มีคุณลักษณะอย่างพระศาสดานั้นก็เป็นอันเฉลยด้วย คือว่า พวกปัญญาวิมุตนั้นแสดงฤทธิ์ไม่ได้ และเพราะเหตุที่ไม่ใช่เป็นสัมมาสัมพุทธะ แต่เป็นเพียงสุตพุทธะ หรืออนุพุทธะเท่านั้น จึงไม่มีมหาปุริสลักษณะอย่างพระบรมครู นี้เป็นความเห็นของข้าพเจ้า นิกายเซ็นเป็นนิกายแห่งปัญญา
เมื่อเรารู้ว่านิกายเซ็นก็คือนิกายแห่งปัญญาวิมุตเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ข้อปฏิบัติต้องหนักไปในทางปัญญา เพราะฉะนั้นจึงเกิดมีปริศนาธรรม หรือ กงอั้น (โกอาน) ไว้สำหรับให้ขบคิด
วิธีการปฏิบัติและกงอั้น นอกจากจะดำเนินตามคำสอนของพระศาสดาแล้ว ยังมีวิธีการปฏิบัติและกงอั้นที่ถูกตั้งขึ้น โดยท่านสมาธิยาจารย์แห่งนิกายเซ็นอีกด้วย เรียกว่า “จูซือสัน” คือ “แบบสมาธิของท่านบูรพาจารย์” ซึ่งมีอยู่มากมาย แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการปฏิบัติและกงอั้นเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมะที่ลึกซึ้งชวนขบคิดทั้งสิ้น
ข้าพเจ้าจักอธิบายกงอั้นบางอันตามมติของตนเอง พอเป็นเครื่องชี้ให้เห็นความลึกซึ้งของนิกายเซ็น
กงอั้นที่สมเด็จพระภควาตรัสแก่พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และท่านมัญชุศรีได้ทูลตอบไปว่า
“ข้าพระองไม่เห็นธรรม แม้หนึ่งอยู่ภายนอกประตู เหตุไรจึงทรงสอนให้ข้าพระองค์เข้าประตูเล่า?”
ตอนนี้แสดงให้รู้ถึงธรรมชาติหนึ่ง อันเรียกว่า “พระนิพพาน” พระนิพพานเป็นสิ่งที่มีอยู่ที่ทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดที่ทาง ไม่มีการเข้า การออก เพราะนิพพานภาวะมีอยู่ทั่วไปทุกซอกทุกมุม หรืออีกนัยหนึ่งคือว่า พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ได้บรรลุความเห็นแจ้งแล้ว ไม่มีการที่จะต้องกลับกลาย เข่นเข้า-ออกต่อธรรมอีก เพราะธรรมทั้งหลาย ท่านละวางไว้ขาดแล้ว มีปัญญาอันไพบูลย์ เห็นสรรพสิ่งมีภาวะว่างเปล่านั่นเอง และที่พระพุทธองค์ทรงนิ่งไม่ตอบพาหิรชน ก็เพราะพระองค์ต้องการแสดงนิพพานภาวะอันลึกซึ้งให้เห็น พาหิรชนผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา ได้รู้แจ้งจึงเลื่อมใส และที่ว่าพระสังฆปริณายกองค์ที่สองหาจิตไม่พบนั้น เพราะเหตุที่จิตนี้เกิดดับอยู่เป็นนิตย์ไม่มีตัวตนอันใด ข้อที่ธรรมาจารย์ผู้หนึ่งว่า ขี่โคไปหาโค นั้น อธิบายว่า ตัวเรานั้นก็เป็นพุทธะอยู่แล้ว ยังจะไปหาพุทธะที่ไหน คือหมายว่า พุทธะก็อยู่ที่เรา ๆ จะไปค้นหาพุทธะข้างนอกนั้นไม่พบหรอก เพราะเหตุที่ พุทธะนั้นก็คือ ภาวะในตัวเรา นี้เอง
อนึ่ง ข้อที่ให้คอยระวังโค นั้น ความตรงนี้ดูจะมีความหมายกระไรชอบกลอยู่ คือ ถ้าหากว่า เราสามารถค้นพบและเห็นแจ้งพุทธภาวะในตัวเราแล้ว ก็หมายความว่า เราได้ตรัสรู้พระนิพพานแล้ว เหตุไรจึงยังต้องคอยระวังรักษาอีกเล่า? เพราะฉะนั้น ความตอนนี้ส่อให้เห็นว่า ที่กล่าวมาแต่เบื้องแรกว่าผู้ได้ตรัสรู้ (อันข้าพเจ้าแปลตรงกับความหมายทางภาษาจีน) แล้ว ยังต้องคอยทะนุถนอมภาวะอันนั้นอยู่ นั้นหมายความว่า การได้ผลจากการเห็นแจ้งในธรรมะที่ยังเป็นขั้นต่ำ ๆ ชนิดยังเป็นสังขตะอยู่ เช่น การได้สมาธิจิต เป็นต้น ถ้าเราปล่อยปละละเลยไม่นำพา สมาธิจิตก็อาจจะเสื่อมได้ แม้พวกฌานชั้นสูง ๆ เช่น อรูปฌาน ก็เช่นกัน เพราะฉะนั้น จึงสรุปความได้ว่า ความหมาย ณ ที่นี้ ไม่ได้หมายเอาว่า ได้พระนิพพาน แต่หมายเอาว่า เริ่มที่จะได้สูดกลิ่นไอน้อย ๆ ของพระนิพพาน เช่นการที่จิตใจสงบจากกิเลสชั่วคราวอะไรเหล่านี้