เรือลาดตระเวนหนักคองโก เธอสวย สง่า น่ารัก และ เรือหลวงธนบุรี ผู้รักษาเขตแดนไทยจากการรบที่เกาะช้าง กับฝรั่งเศส-ราคาเรือ

กระทู้สนทนา
ช่วงนี้ไม่ มี   การ์ตูนหรือ หนัง เกี่ยวกับเรือรบ   ดูเลย



คันไถ   ก็ไม่รู้ว่า มี ภาคใหม่ๆ  นำกองเรือ มาออกทะเล หรือไม่


วันนี้ ขอ    พาสาวสวย สง่า  น่ารัก       แต่โหด  ยิงหนัก  และอยู่รอดจนถึงช่วงท้ายของ สงครามโลกครั้งที่ 2



_______


กองทัพเรือ ญี่ปุ่น พัฒนาเร็วมา  ตั้งแต่มีการทำสงคราม เพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่  

อย่างที่เรา ดูในเรื่อ ยาเอะ   ยอดหญิงซามมูไร  ที่พึ่งจบไป  


และหลังจาก สงคราม ครั้งนั้น ญี่ปุ่นได้ปฎิรูปประเทศครั้งใหญ่  


และไม่กี่ปี หลังจาก  เรียวมะ  ซามูไร ระดับต่ำ  ก็ยังมีแนวคิด  จะสรา้งเรือรบ

หลังจากที่เห็นเรือดำ ของต่างชาติ


ญี่ปุ่น พัฒนาประเทศไม่กี่สิบปี  ก็สามารถไปเปิดสงคราม กับรัสเซียได้แล้ว

และจากที่ เรือดำของ สหรัฐมาบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ


อีกร้อยปี ต่อมา   ญี่ปุ่นก็ได้ ยกกองเรือ  ไปเคาะประตูบ้าน ของสหรัฐ ที่ อ่าวเพริล์  บ้าง

_____________




มาดูความสง่างาม ความสวยของเธอกัน  ตั้งแต่วัยเด็ก  จนเป็นสาวงาม


คองโก แบบของ kantai






คองโก ในแบบ  ars  nova










ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

20 มีนาคม 1908

ที่สำนักงานใหญ่ของ Sir W. G. Armstrong, Whitworth & Co., Ltd เมืองนิวคาสเซิล ที่ซึ่งได้ออกแบบและสร้างเรือหลัก (Capital Ship) ลำใหม่ให้กองทัพเรือสหราชอาณาจักร เรือลาดตระเวนประจัญบานชั้นอินวินซิเบิล เอชเอ็มเอส อินวินซิเบิล (HMS INVINCIBLE) มีระวาง 17250 ตันติดตั้งปืนหลักขนาด 12 นิ้ว 2 กระบอกต่อป้อม จำนวน 4 ป้อม สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 26 นอต ซึ่งเรือเอชเอ็มเอส อินวินซิเบิล
ลำนี้เป็นต้นแบบของเรือลาดตระเวนประจัญบานลำใหม่ที่จักรวรรดิญี่ปุ่นมีแผนจัดหามาประจำการ


เรือ       อินวินซิเบิล        ตอนนี้ ชื่อนี้ กลายเป็นชื่อ เรือบรรทุกเครื่องบิน ของอังกฤษ







เรือบรรทุกเครื่องบิน    Invincible





ปี 1910

คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นผ่านงบประมาณให้กองทัพเรือจัดหาเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนประจัญบาน 4 ลำ

17 มกราคม 1911

Barrow-in-Furness, Cumbria ประเทศอังกฤษ ที่อู่หมายเลข 414 วางกระดูงูเรือลาดตระเวนประจัญบานที่ญี่ปุ่นสั่งต่อ ระวาง 32200 ตัน ซึ่งออกแบบโดย Sir George Thurston



ต่อที่        Vickers Shipbuilding Company, Barrow-in-Furness

Laid down       17 January 1911
Launched      18 May 1912               ต่อปีเดียว  ลงน้ำได้  

ยาว    222  เมตร

กว้าง  31  เมตร             กว้างพอๆ กับดาดฟ้า เรือหลวงจักรีนฤเบศร          เลย

ระวงขับน้ำ   33600  ตัน





  


18 พฤษภาคม 1912

               ________  ปล่อยเรือลงน้ำ   เรือได้รับชื่อว่า คองโก




..  ถ้าตอน รศ. 112  หรือ  ยุทธนาวี เกาะช้าง   ทร. มีแบบนี้ซักลำ  ละก็

ลามอสปิเกร์      คงลงไปเป็นปากาลัง  ให้เราไปดำน้ำ ดูแล้ว ในวันนี้




12-27 มกราคม 1914
เข้าเทียบท่าที่คุเระ เพื่อติดตั้งและตรวจสอบกล้องวัดระยะปืน
27 มกราคม 1914
ออกจากคุเระไปคุนิยะ
12 กุมภาพันธ์ 1914
ออกจากคุนิยะ
18 กุมภาพันธ์ 1914
มาถึง ชินแฮ ที่เกาหลี
3 สิงหาคม 1914 : สงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้น
15 สิงหาคม 1914
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เค้าท์ โอคุมะ ชิเกะโนบุ ได้ยื่นคำขาดไปยัง ไกเซอร์ วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm) ที่กรุงเบอร์ลิน ว่าต้องการให้กองกำลังของเยอรมันที่อยู่ที่ชิงเต่าในประเทศจีนยอมแพ้และถอน กำลังออกไป โดยให้ทำลายสิ่งปลูกสร้างและฐานที่มั่นที่สร้างไว้ทั้งหมด และยังเรียกร้องให้ดินแดนอาณานิคมของเยอรมันนีในประเทศจีนและหมู่เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิกตกเป็นของญี่ปุ่น

16-23 สิงหาคม 1914
ออกจากโยโกสุกะวันที่ 16 ไปซาเซโบะ และกลับมายังโยโกสุกะในวันที่ 23
23 สิงหาคม 1914
ไม่มีคำตอบจากทางเยอรมัน จักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศสงครามกับเยอรมัน จากนั้นกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มเข้ายึดครองดินแดนอาณานิคมของ เยอรมันในหมู่เกาะแคโรไลน์ ปาเลา มาเรียนาและหมู่เกาะมาร์แชล
ในช่วงที่สงครามเริ่มขึ้น พลเรือโท ยามายะ ทามิน ผู้บัญชาการกองเรือรบที่ 1 ส่งเรือคองโกซึ่งขณะนี้นาวาเอก ยามานากะ ชิบาคิชิ เป็นผู้บังคับการเรือ ไปยังมิดเวย์เพื่อลาดตระเวน


13 ธันวาคม 1915
คองโกเป็นเรือกำลังสำรองที่ 2 ที่โยโกสุกะ นาวาเอก อะราคาวะ ชูโกะ เป็นผู้บังคับการเรือ

15 กันยายน 1916
คองโกเป็นเรือกำลังสำรองที่ 1 ที่โยโกสุกะ

1 ธันวาคม 1916
เรือคองโกขึ้นกับ หมู่เรือประจัญบานที่ 3 กองเรือที่ 2 นาวาเอก โยชิโอกะ ฮันซาคุ เป็นผู้บังคับการเรือ

9 มกราคม 1917
ทดลองติดตั้งเครื่องบิน

1 เมษายน 1917
ออกจากซาเซโบะเพื่อไปปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนนอกเขตทะเลจีน

11 เมษายน 1917
กลับมาถึงซาเซโบะ


1-6 พฤษภาคม 1917
เข้าอู่แห้งที่โยโกสุกะ ติดตั้งหอควบคุมการยิงปืน


19 พฤษภาคม 1917
ทดสอบและปรับแต่งระบบควบคุมการยิง นอกฝั่งซากามิ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่