หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
🦎~มาลาริน~ทราบไหมคะ....จิ้งหรีดเป็นอาหารมนุษย์ได้ แต่จิ้งจกทำให้มนุษย์รำคาญ....ก.วิทย์ดันวิจัยจิ้งหรีดเป็นอาหารอนาคต
กระทู้คำถาม
การเมือง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ก.วิทย์ช่วยดันวิจัยจิ้งหรีดเป็นอาหารอนาคค
สอว.กระทรวงวิทย์ ดันโครงการวิจัยพัฒนาจิ้งหรีดเป็นอาหารแห่งอนาคตมุ่งสู่สมาร์ทฟาร์มใช้เทคโนโลยี ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมสนับสนุนและผลักดันโครงการวิจัยพัฒนาจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารแห่งอนาคตแบบครบวงจร พร้อมมุ่งพัฒนาสู่สมาร์ทฟาร์มสำหรับจิ้งหรีด เผยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ให้การยอมรับเป็นแหล่งอาหารเสบียงสำรองที่สำคัญของมนุษย์ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนที่ถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น ม.อุบลฯ ใช้เทคโนโลยี สกัดสารสำคัญ เช่น กรดอะมิโนแอซิด โปรตีน ไขมันกลุ่มที่มีประโยชน์จากจิ้งหรีดไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีน ช็อคโกแลต ผงโปรตีนสกัด
เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) (Science Park Promotion Agency : SPA) ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารแห่งอนาคตแบบครบวงจร ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ร่วมสนับสนุน โดยนำจิ้งหรีดหนึ่งในแมลงกินได้และได้รับความนิยมบริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมานาน ตลอดจนเริ่มมีการบริโภคกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปที่มีการเปิดรับ และนิยมบริโภคจิ้งหรีดมากขึ้นมาก เพราะถือเป็นแหล่งอาหารโปรตีนอีกแหล่งหนึ่งและจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญสำหรับมนุษยชาติในอนาคต
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้การยอมรับแมลงกินได้เป็นแหล่งอาหารเสบียงสำรองที่สำคัญของมนุษย์ เนื่องจากแมลงกินได้เป็นแหล่งโปรตีนที่ถูกและสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีวัฒนธรรมการบริโภคแมลงอยู่ก่อนแล้ว และปรากฏมีแมลงหลายชนิดที่ยังคงนิยมบริโภคในปัจจุบัน
น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) เปิดเผยว่า สอว.ให้การสนับสนุนการนำจิ้งหรีดมาเป็นแหล่งโปรตีน เพราะจิ้งหรีดมีประโยชน์มากมาย โดยประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 12.9% ไขมัน ประมาณ 5.54% และคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 5.1%
"นอกจากนี้จิ้งหรีดยังเป็นแมลงที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยแม่พันธุ์หนึ่งตัว สามารถให้ลูกได้ถึง 1,000 ตัว ใช้เวลาเลี้ยงไม่นาน คือ ประมาณ 30-45 วัน สามารถเพาะเลี้ยงในลักษณะฟาร์มเล็ก และขนาดใหญ่ได้ อีกทั้งในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดนั้นยังใช้พลังงานและทรัพยากรน้อยกว่าการเพาะเลี้ยงฟาร์มปศุสัตว์ทั่วไป และใช้แรงงานไม่มากอีกด้วย ที่สำคัญคือผู้บริโภคคุ้นเคยกับการบริโภคแมลงชนิดนี้อยู่แล้ว จึงสามารถส่งเสริมและทำตลาดได้ไม่ยากนัก"
รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ ผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้ข้อมูลว่า โครงการพัฒนาจิ้งหรีดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณาการความรู้สู่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพและส่งเสริมเศรษฐกินจฐานราก โดยมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีการวิจัยเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยง และแปรรูปจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารมาแล้วระยะหนึ่ง โดยกิจกรรมในโครงการมีทั้งส่วนของการศึกษาพัฒนาสายพันธุ์จิ้งหรีดเพื่อการเพาะเลี้ยง การพัฒนากระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดในลักษณะฟาร์ม โดยมุ่งไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ สำหรับจิ้งหรีด (Smart Farming for Cricket) การส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริม ตลอดจนการวิจัยด้านการแปรรูปจิ้งหรีดไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
"อุทยานวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาให้การสนับสนุนรูปแบบการดำเนินงานโครงการวิจัยพัฒนาจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารแห่งอนาคตแบบครบวงจร และต่อยอดในส่วนของการยกระดับการวิจัยไปสู่ตลาดและการสร้างผู้ประกอบการใหม่จากผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีดนี้"
ผศ.ดร.พรทิพย์ ไววุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการพัฒนาจิ้งหรีดนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาจิ้งหรีดให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ และสร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกร ในส่วนของการพัฒนากระบวนการเพาะเลี้ยง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้พัฒนากระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดปลอดภัย และนำไปฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร พร้อมทำการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม
"ปัจจุบันมีศูนย์ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดกระจายอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมเป็นเครือข่ายพัฒนาฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการจำหน่ายแล้วจำนวนหนึ่ง โดยเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดเล็กในบ่อซีเมนต์ บ่อหนึ่งบ่อสามารถเก็บจิ้งหรีดได้ประมาณ 10 กิโลกรัม และราคาจำหน่ายประมาณกิโลกรัมละ 150 – 200 บาท ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าโครงการสามารถมีรายได้ตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาทต่อเดือน"
ผศ.ดร.พรทิพย์ ระบุเพิ่มเติมว่าที่สำคัญยังได้เน้นการนำเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การพัฒนากระบวนการสกัดสารสำคัญ เช่น กรดอะมิโนแอซิด โปรตีน ไขมันกลุ่มที่มีประโยชน์จากจิ้งหรีด เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นมาได้แล้วจำนวนหนึ่ง เช่น ผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีนจากจิ้งหรีด ช็อคโกแลตจิ้งหรีด ผงโปรตีนสกัดจากจิ้งหรีด
https://mgronline.com/science/detail/9610000072978
http://topicstock.ppantip.com/home/topicstock/2011/02/R10202642/R10202642.html
จิ้งจกการเมืองยิ่งน่ารำคาญใหญ่ค่ะ เที่ยวร้องทักไปทั่วแต่ไม่เคยเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์
ต่อบ้านเมืองเลย...🦎🦎🦎🦎🦎🦎🦎🦎🦎
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
กาฬสินธุ์ ชวนเช็คอิน #วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์เพชรจินดา ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ปีใหม่นี้ สศท.4 ชวนเช็คอิน ‘วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์เพชรจินดา’ จ.กาฬสินธุ์ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างรายได้ให้ชุมชน #OAE_Navigator #สศก &n
สมาชิกหมายเลข 8558142
กรมสมเด็จพระเทพ ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงติดตามผลการดำเนินงาน โครงการ OUR Khung BangKachao
วันนี้ (20 ธ.ค. 2567) - สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงติดตามผลการดำเนินงาน โครงการ
สมาชิกหมายเลข 8063594
มกอช. จ่อขยายตลาดส่งออกจิ้งหรีด เปิดตลาดในสหภาพยุโรป และเม็กซิโก
ต่อยอดธุรกิจส่งออกประเทศคู่ค้า ลุยยกระดับกลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีด สู่มาตรฐาน GAP นายครรชิต สุขเสถียร รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า องค์การอาหารและเกษตรแห่งสห
สมาชิกหมายเลข 4870051
กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ทุ่มงบ 44 ล้านบาทหนุนเครือข่ายฯ ส่งเสริมอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย พัฒนานิเวศศิลปะ
กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ทุ่มงบ 44 ล้านบาทหนุนเครือข่ายฯ ส่งเสริมอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย พัฒนานิเวศศิลปะ ยกระดับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ คุณหญิงปัทมา&nbs
อาคุงกล่อง
ไม่ต้องเผาแล้ว “มิตรผล” เพิ่มรายได้เกษตรกร ตัดใบอ้อยขายตันละ 900 ป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวล
น่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดมลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากการเผาไหม้จากไร่อ้อยของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เอามาทำเป็นรายได้ซะเลย ต่อไปก็ไม่ต้องเผาแล้ว “มิตรผล” เพิ่มรายได้เกษตรกร ตัดใบอ้อยขายต
สมาชิกหมายเลข 2933266
ในหรือรอบ ๆ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ น่าจะเลี้ยงผึ้งได้นะคะ วันนี้เห็นแมลงหลายชนิดมาเก็บดอกไม้
ไปโครงการหลวงวันแรกมาค่ะ แวะนั่งรถชมรอบ ๆ ถ่ายรูปกับดอกไม้สวย ๆ เลยรู้สึกว่าน่าทำเป็น "ดอกไม้พันดวง" ไว้ขาย กลิ่น รส น่าจะพิเศษ เพราะเป็นดอกไม้คละชนิดกัน ทั้งน้ำผึ้ง ทั้งเกสรผึ้ง
อวัยวะชิ้นนั้น
มาทำความรู้จัก ไข่ผำ สุดยอดอาหารของโลก อาหารพื้นบ้านที่ครบถ้วนด้วยประโยชน์ .....
ไข่ผำ Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน ไข่ผำ (Wolffia) เป็น Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน และเป็น 1 ในพืชน้ำ อาหารแห่งอนาคต
weiweija
เคาะแล้ว! เม็กซิโกเปิดตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดจากไทย
แมลง เป็นเทรนด์อาหารทางเลือกใหม่ที่กำลังมาแรง เป็นแหล่งโปรตีนแห่งอนาคตเนื่องจากมีโปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น มีกระบวนการเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากใช้น้ำ อาหาร
Zacalop
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม
พ.ศ.2539 คุณพ่อ สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต โดยรับผู้จบการศึกษาชั้น ม.3 จากโรงเรียนข
สมาชิกหมายเลข 8415605
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี พ.ศ.2539 คุณพ่อ สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต โดยรับผู้จบการศึกษาชั้น
สมาชิกหมายเลข 4440335
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
การเมือง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ : 1
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
🦎~มาลาริน~ทราบไหมคะ....จิ้งหรีดเป็นอาหารมนุษย์ได้ แต่จิ้งจกทำให้มนุษย์รำคาญ....ก.วิทย์ดันวิจัยจิ้งหรีดเป็นอาหารอนาคต
ก.วิทย์ช่วยดันวิจัยจิ้งหรีดเป็นอาหารอนาคค
สอว.กระทรวงวิทย์ ดันโครงการวิจัยพัฒนาจิ้งหรีดเป็นอาหารแห่งอนาคตมุ่งสู่สมาร์ทฟาร์มใช้เทคโนโลยี ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมสนับสนุนและผลักดันโครงการวิจัยพัฒนาจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารแห่งอนาคตแบบครบวงจร พร้อมมุ่งพัฒนาสู่สมาร์ทฟาร์มสำหรับจิ้งหรีด เผยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ให้การยอมรับเป็นแหล่งอาหารเสบียงสำรองที่สำคัญของมนุษย์ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนที่ถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น ม.อุบลฯ ใช้เทคโนโลยี สกัดสารสำคัญ เช่น กรดอะมิโนแอซิด โปรตีน ไขมันกลุ่มที่มีประโยชน์จากจิ้งหรีดไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีน ช็อคโกแลต ผงโปรตีนสกัด
เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) (Science Park Promotion Agency : SPA) ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารแห่งอนาคตแบบครบวงจร ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ร่วมสนับสนุน โดยนำจิ้งหรีดหนึ่งในแมลงกินได้และได้รับความนิยมบริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมานาน ตลอดจนเริ่มมีการบริโภคกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปที่มีการเปิดรับ และนิยมบริโภคจิ้งหรีดมากขึ้นมาก เพราะถือเป็นแหล่งอาหารโปรตีนอีกแหล่งหนึ่งและจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญสำหรับมนุษยชาติในอนาคต
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้การยอมรับแมลงกินได้เป็นแหล่งอาหารเสบียงสำรองที่สำคัญของมนุษย์ เนื่องจากแมลงกินได้เป็นแหล่งโปรตีนที่ถูกและสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีวัฒนธรรมการบริโภคแมลงอยู่ก่อนแล้ว และปรากฏมีแมลงหลายชนิดที่ยังคงนิยมบริโภคในปัจจุบัน
น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) เปิดเผยว่า สอว.ให้การสนับสนุนการนำจิ้งหรีดมาเป็นแหล่งโปรตีน เพราะจิ้งหรีดมีประโยชน์มากมาย โดยประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 12.9% ไขมัน ประมาณ 5.54% และคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 5.1%
"นอกจากนี้จิ้งหรีดยังเป็นแมลงที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยแม่พันธุ์หนึ่งตัว สามารถให้ลูกได้ถึง 1,000 ตัว ใช้เวลาเลี้ยงไม่นาน คือ ประมาณ 30-45 วัน สามารถเพาะเลี้ยงในลักษณะฟาร์มเล็ก และขนาดใหญ่ได้ อีกทั้งในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดนั้นยังใช้พลังงานและทรัพยากรน้อยกว่าการเพาะเลี้ยงฟาร์มปศุสัตว์ทั่วไป และใช้แรงงานไม่มากอีกด้วย ที่สำคัญคือผู้บริโภคคุ้นเคยกับการบริโภคแมลงชนิดนี้อยู่แล้ว จึงสามารถส่งเสริมและทำตลาดได้ไม่ยากนัก"
รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ ผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้ข้อมูลว่า โครงการพัฒนาจิ้งหรีดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณาการความรู้สู่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพและส่งเสริมเศรษฐกินจฐานราก โดยมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีการวิจัยเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยง และแปรรูปจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารมาแล้วระยะหนึ่ง โดยกิจกรรมในโครงการมีทั้งส่วนของการศึกษาพัฒนาสายพันธุ์จิ้งหรีดเพื่อการเพาะเลี้ยง การพัฒนากระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดในลักษณะฟาร์ม โดยมุ่งไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ สำหรับจิ้งหรีด (Smart Farming for Cricket) การส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริม ตลอดจนการวิจัยด้านการแปรรูปจิ้งหรีดไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
"อุทยานวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาให้การสนับสนุนรูปแบบการดำเนินงานโครงการวิจัยพัฒนาจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารแห่งอนาคตแบบครบวงจร และต่อยอดในส่วนของการยกระดับการวิจัยไปสู่ตลาดและการสร้างผู้ประกอบการใหม่จากผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีดนี้"
ผศ.ดร.พรทิพย์ ไววุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการพัฒนาจิ้งหรีดนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาจิ้งหรีดให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ และสร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกร ในส่วนของการพัฒนากระบวนการเพาะเลี้ยง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้พัฒนากระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดปลอดภัย และนำไปฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร พร้อมทำการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม
"ปัจจุบันมีศูนย์ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดกระจายอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมเป็นเครือข่ายพัฒนาฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการจำหน่ายแล้วจำนวนหนึ่ง โดยเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดเล็กในบ่อซีเมนต์ บ่อหนึ่งบ่อสามารถเก็บจิ้งหรีดได้ประมาณ 10 กิโลกรัม และราคาจำหน่ายประมาณกิโลกรัมละ 150 – 200 บาท ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าโครงการสามารถมีรายได้ตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาทต่อเดือน"
ผศ.ดร.พรทิพย์ ระบุเพิ่มเติมว่าที่สำคัญยังได้เน้นการนำเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การพัฒนากระบวนการสกัดสารสำคัญ เช่น กรดอะมิโนแอซิด โปรตีน ไขมันกลุ่มที่มีประโยชน์จากจิ้งหรีด เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นมาได้แล้วจำนวนหนึ่ง เช่น ผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีนจากจิ้งหรีด ช็อคโกแลตจิ้งหรีด ผงโปรตีนสกัดจากจิ้งหรีด
https://mgronline.com/science/detail/9610000072978
http://topicstock.ppantip.com/home/topicstock/2011/02/R10202642/R10202642.html
จิ้งจกการเมืองยิ่งน่ารำคาญใหญ่ค่ะ เที่ยวร้องทักไปทั่วแต่ไม่เคยเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์
ต่อบ้านเมืองเลย...🦎🦎🦎🦎🦎🦎🦎🦎🦎